ฉบับ อัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมวันที่15 ตุลาคม
ปลายปีนี้คริสโตเฟอร์ โนแลน , โจนาธาน โนแลน และ เอ็มม่า โทมัส (Emma Thomas) ภรรยาของคริสโตเฟอร์ (ที่เป็นโปรดิวเซอร์ของเรื่อง) จะพาเราออกเดินทางสู่อวกาศที่แท้จริงและหนาวเหน็บ ซึ่งไม่มีเสียงอะไรให้ได้ยินซึ่งยังเต็มไปด้วยรังสีที่อันตราย ความหมายของ 'อินเตอร์สเตลล่าร์' (Interstellar) ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่มีนัยยะถึงแนวคิดชีวิตเริ่มต้นจากดวงดาว การขนถ่ายสิ่งมีชีวิตระหว่างดาวฤกษ์ เป็นไปได้ที่จะเป็นเนื้อหาหลักของเรื่องนี้ มีชีวิตอยู่ในที่อื่นๆของจักรวาลหรือไม่ จุดเริ่มต้นของมนุษย์ในการเดินทางไปในจักรวาลด้วยเทคโนโลยีการวาร์ปทฤษฏีใหม่ ซึ่งไม่ใช่การเดินทางผ่านรูหนอนใดๆในจักรวาลและการวาร์ปรูปแบบเดิมๆที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นการวาร์ป โดยการติดตั้งวาร์ปไดรฟ์ซึ่งสามารถบิดบิดกาลอวกาศเป็นทรงกลม ด้วย Negative matter (ขอบคุณ คุณ KenSama ที่ช่วยแก้ให้มากๆครับ) หรือก็คือ สสารที่มีมวลเป็นลบนั่นเอง
เอาล่ะถึงตรงนี้เราจะเห็นว่าหนัง ดำเนินเรื่องการส่งยานอวกาศไปสำรวจอวกาศ หาสิ่งมีชีวิตต่างดาวเช่นเดียวกับสตาร์เทรคฉบับซีรี่ย์ ซีซั่นแรกๆ แต่ใช้พลังงานของวาร์ปไดรฟ์แตกต่างออกไป จากภาพยนตร์สตาร์เทรค ฟิวเจอร์ บีกินส์และอิน ทู ดาร์คเนส แต่นี่คือการเดินทางข้ามอวกาศ ฉบับ โนแลน ต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจซ่อนอยู่ไม่น้อยแน่ๆ ที่แน่ๆโนแลนกล่าวว่าเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจจาก สเปซ โอดิสซี ชื่อไทย:จอมจักรวาล (2001:A Space Odyssey ที่ฉายในปี1968) , Star Wars Episodes IV & V และ Blade Runner ส่วนตัวผมชอบเบลด รันเนอร์มากๆ ผมเข้าใจทันทีหลังดูจบว่าทำไมคริสโตเฟอร์มักจะวางบทให้คิดต่อว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปจากเรื่องนี้ ปู่ริดลี่ย์ สก็อตสุดยอด! ส่วนสตาร์เทรคซีรี่ย์ เป็นแรงบันดาลใจของนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นทฤษฎีนี้
Dr.Harold Sonny White แห่งแผนกวิจัยและพัฒนาระบบขับเคลื่อนขั้นสูง ประจำคณะกรรมการวิศวกรรมแห่งองค์การ NASA ซึ่งโนแลน ได้ไปขอคำปรึกษาด้วยก่อนสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
การปล่อยกระแสไฟฟ้ารอบตัวยานเพื่อบิดกาลอวกาศ
"ส่วนที่เป็นท่อกลมรอบยานมีหน้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อบิดกาลอวกาศให้เป็นทรงกลมคล้ายฟองอากาศ
ส่วนสีแดงคือบิดกาลอวกาศขึ้น และด้านสีฟ้าคือส่วนที่อวกาศถูกบิดลงจากระนาบปกติ
และในที่สุดมันจะถูกบิดครอบจนบรรจบกันเป็นทรงกลมคล้ายฟอง ที่เราเรียกว่า "ฟองวาร์ป"
การบิดอวกาศรูปแบบนี้ทำให้ยานลอยอยู่นิ่งๆในอวกาศที่ถูกบิด แม้อวกาศรอบนอกจะคลายตัวและไปปรากฏในอีกที่นึง
โดยยานไม่ต้องเคลื่อนที่เลย"
การควบคุมการวาร์ปและข้อดีของการใช้ฟองวาร์ป
การควบคุมก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า การคงสภาพของฟองวาร์ปไปเรื่อยๆ ด้วยสสารที่มีมวลเป็นลบ
แต่สสารมวลเป็นลบก็ไม่ได้สูญเสียไปมากนักในการคงสภาพ เพราะข้อดีของฟองวาร์ปคือการที่เราสามารถควบคุมขนาดมันได้ตามต้องการ
ยิ่งฟองวาร์ปมีขนาดเล็กก็ใช้พลังงานคงสภาพน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งคือสิ่งที่นาซ่าต้องการในตอนนี้ "การวาร์ปแสนประหยัด" (แม้สสารที่มีมวลเป็นลบ จะมีอยู่เพียงแค่ทฤษฏีในตอนนี้
ปัจจุบันยังคงหาไม่เจอ และคาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสสารมืดที่เรายังไม่ค่อยเข้าใจนัก และเมื่อนำมาใช้ได้มันอาจมีราคาไม่ถูกนักก็ตาม) แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ตอนนี้ยังคงถกเถียงซึ่งจะเป็นหัวข้อถัดไปของเรา
ช่องว่างทางทฤษฎีที่เป็นที่ถกเถียง
นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้แย้งเอาไว้ว่า: "ฟองวาร์ปจะปล่อยรังสีรุนแรงเป็นอันตรายต่อนักบินในยาน" ซึ่งนาซาไม่สนใจ อนุญาตให้ทำการทดลองค้นคว้าต่อไป ซึ่งต้องรอดูต่อไปครับว่าทฤษฎีนี้จะเวิร์คหรือล่มในอนาคต แต่เราคงไม่ต้องสนใจมากนัก สนุกไปกับอินเตอร์สเตลลาร์ของโนแลนกันดีกว่า
รูปยานในภาพยนตร์
ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.popsci.com/technology/article/2013-03/faster-light-drive
http://www.extremetech.com/extreme/136408-nasa-working-on-faster-than-light-travel-says-warp-drives-are-plausible
ในตอนนี้ตัวอย่างของภาพยนตร์ได้ปล่อยมาถึงตัวอย่างที่3 คือ
ตัวอย่างที่1
ตัวอย่างที่2
ตัวอย่างที่3
ตัวอย่างแรกเราจะเห็นเรื่องราวคร่าวๆทั้งโดรนที่ไม่รู้ว่ามาทำไม การเผาไร่ข้าวโพด? พายุทราย ยานปฏิสสารและเรื่องของการวาร์ปด้วยการบิดกาลอวกาศอย่างชัดเจนและยานก็หายไปโดยไม่รู้ว่าไปที่ไหน
ตัวอย่างที่สองเราจะเห็นเรื่องราวมากขึ้น เพียงเล็กน้อย การทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะโคม่าและแช่อยู่ในน้ำก่อนเข้าสู่การวาร์ป?
ตัวอย่างที่สาม จะเผยให้เห็นโครงเรื่องใหญ่ๆบางจุด และความสมจริงทางด้านเนื้อหาของภาพยนตร์
นั่นคือ เมื่อยานอวกาศออกนอกชั้นบรรยากาศของโลกเสียงทั้งหมดจะหายไป เรื่องราวที่เหมือนกับเรากำลังมองนายคูเปอร์ (Matthew McConaughey)
ที่ยังไม่ปะติดปะต่อ เรื่องราวดราม่า นักบินอวกาศคนอื่นๆ และการไปถึงดาวดวงหนึ่งที่มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็ง โดยตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งทั้งดวงหรือไม่
สำหรับดาวดวงนี้มีความเป็นไปได้หลายอย่าง ถ้าเป็นดาวที่มีน้ำแข็งบางส่วนเช่นโลกของเรา อาจเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิต
ถ้าดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ซึ่งเป็นน้ำแข็งทั้งหมด ดาวอาจไม่มีอะไรเลยแม้แต่น้ำในรูปของเหลว หรือถ้ามันมีน้ำอยู่ในชั้นน้ำแข็ง ดาวดวงนี้อาจจะเป็นดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัส หรือดาวที่มีดาวแม่ใหญ่ยักษ์และมีความโน้มถ่วงสูงมากเช่นกันในระบบสุริยะอื่นที่ห่างไกลโดยมันอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันมาก ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างดาวพฤหัส ปัจจุบันเชื่อว่าดาวพฤหัสน่าจะมีแกนเป็นของแข็งพวกหินหรือโลหะ โดยมีเปลือกดาวเป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ซึ่งชั้นแมนเทิล (ชั้นแมนเทิลคือชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกและแกนของดาว) ไฮโดรเจนโลหะเหลวซึ่งสร้างสนามแม่เหล็กแรงสุดขั้วและปล่อยรังสีรุนแรง ดาวที่มีมวลมากพวกนี้สร้างแรงโน้มถ่วงมหาศาล บีบให้ดวงจันทร์ของมันร้อน และทำให้ดวงจันทร์น้ำแข็งของมันมีน้ำในรูปของเหลวอยู่ข้างใต้ชั้นน้ำแข็ง นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรปามีน้ำและอาจมีสิ่งมีชีวิต ในปี2009ภาพยนตร์เรื่อง Avatar ได้เสนอเรื่องราวของดาวแพนดอร่าที่โคจรอยู่รอบดาวแม่ซึ่งเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ยักษ์สีฟ้าซึ่งอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของมันเช่นกัน แต่คราวนี้โนแลนได้วาดภาพอวกาศที่แตกต่างจากกรอบเดิมๆนั่นคือ เรื่องของจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นที่แท้จริง
เพิ่มเติม: ทำไมถึงมีชื่อดวงจันทร์ยูโรปา ว่าอาจเป็นดาวน้ำแข็งที่อยู่ในตัวอย่างของภาพยนตร์
ผมคิดว่าตัวอย่างที่เราได้ดูกัน เป็นเรื่องราวที่ถูกวางสลับกัน ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเป็นเรื่องราวช่วงใดก็ได้ของเรื่อง และอาจเป็นเนื้อหาช่วงต้นเรื่องเลยก็ได้ เทคโนโลยีวาร์ปทำให้การเดินทางโดยการส่งนักสำรวจและนักวิจัยออกสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเป็นเรื่องง่าย ทำไมจะไม่ลองส่งใครไปสำรวจดูบ้าง แทนที่จะต้องมองผ่านหน้าจอเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากดาวเทียมหรือหุ่นยนต์
ถ้าเป็นการสำรวจดาวจากช่วงต้นของเรื่องจริงๆ เรื่องราวในภาพยนตร์คงเป็นอย่างนี้: ยานได้ออกสำรวจดวงจันทร์ยูโรปาเพื่อค้นหาชีวิตบนดาวโดยมี "คูเปอร์" ร่วมออกสำรวจ และมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ "คูเปอร์" ไม่ต้องการเดินทางบนอวกาศอีกเลย
// ถ้ามันเป็นเนื้อหาช่วงต้นเรื่องจริงๆนะครับ
แอบเอามาแปะ
แท่งเหล็กเอไอนั้นเดินได้ แท่งเหล็กที่ชื่อ TARS นั่นเอง
อันนี้ที่ฉายในIMAXไม่นานมานี้
Trailer F1-F5 (ยกเว้น F4)
Trailer F1
Trailer F2
Trailer F3
Trailer F5
ตัวอย่างโปสเตอร์
ระบบที่ฉายในไทย
INTERSTELLAR (อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก) เข้าฉายในรูปแบบ IMAX 70 มม. กรุงศรีฯ IMAX Siam Paragon
นอกเหนือจากนี้แล้ว ทางบริษัทฯยังนำเสนอภาพยนตร์เรื่อง INTERSTELLAR (อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก) เข้าฉายในระบบ IMAX Digital 2D อีก 4 สาขา ที่ ไอแมกซ์ เมเจอร์ฯ รัชโยธิน, ไอแมกซ์ เมเจอร์ฯ ปิ่นเกล้า, ไอแมกซ์ หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์ และ ไอแมกซ์ เมเจอร์ฯ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีกำหนดฉายทั่วโลก วันที่ 6 พฤศจิกายน 2014
เว็บไซต์ของภาพยนตร์(อย่างเป็นทางการ)
http://www.interstellar-movie.com/
ฉบับเกมขนาดมินิๆ
สำรวจระบบสุริยะจักรวาลไปกับเกมจากภาพยนตร์ Interstellar - อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก
APPในระบบแอนดรอยด์
http://play.google.com/store/apps/details?id=com.paramount.interstellar
WEB VERSIONS (คอมพิวเตอร์)
http://game.interstellarmovie.com/?lang=th ที่มาข้อมูลของเกม: Interstellar Movie (Facebook Page)
เพจเฟสบุ๊คที่ควรติดตาม ซึ่งมักจะมีเกร็ดต่างๆอัพเดทเป็นระยะๆ
- Interstellar Movie Fans (เพจอย่างเป็นทางการ)
- Interstellar Movie (เพจของไทยเอง)
- Christopher Nolan Thailand's fanpage
คริสโตเฟอร์ โนแลน และ อินเตอร์สเตลล่าร์ (Christopher Nolan And Interstellar)
ปลายปีนี้คริสโตเฟอร์ โนแลน , โจนาธาน โนแลน และ เอ็มม่า โทมัส (Emma Thomas) ภรรยาของคริสโตเฟอร์ (ที่เป็นโปรดิวเซอร์ของเรื่อง) จะพาเราออกเดินทางสู่อวกาศที่แท้จริงและหนาวเหน็บ ซึ่งไม่มีเสียงอะไรให้ได้ยินซึ่งยังเต็มไปด้วยรังสีที่อันตราย ความหมายของ 'อินเตอร์สเตลล่าร์' (Interstellar) ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่มีนัยยะถึงแนวคิดชีวิตเริ่มต้นจากดวงดาว การขนถ่ายสิ่งมีชีวิตระหว่างดาวฤกษ์ เป็นไปได้ที่จะเป็นเนื้อหาหลักของเรื่องนี้ มีชีวิตอยู่ในที่อื่นๆของจักรวาลหรือไม่ จุดเริ่มต้นของมนุษย์ในการเดินทางไปในจักรวาลด้วยเทคโนโลยีการวาร์ปทฤษฏีใหม่ ซึ่งไม่ใช่การเดินทางผ่านรูหนอนใดๆในจักรวาลและการวาร์ปรูปแบบเดิมๆที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นการวาร์ป โดยการติดตั้งวาร์ปไดรฟ์ซึ่งสามารถบิดบิดกาลอวกาศเป็นทรงกลม ด้วย Negative matter (ขอบคุณ คุณ KenSama ที่ช่วยแก้ให้มากๆครับ) หรือก็คือ สสารที่มีมวลเป็นลบนั่นเอง
เอาล่ะถึงตรงนี้เราจะเห็นว่าหนัง ดำเนินเรื่องการส่งยานอวกาศไปสำรวจอวกาศ หาสิ่งมีชีวิตต่างดาวเช่นเดียวกับสตาร์เทรคฉบับซีรี่ย์ ซีซั่นแรกๆ แต่ใช้พลังงานของวาร์ปไดรฟ์แตกต่างออกไป จากภาพยนตร์สตาร์เทรค ฟิวเจอร์ บีกินส์และอิน ทู ดาร์คเนส แต่นี่คือการเดินทางข้ามอวกาศ ฉบับ โนแลน ต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจซ่อนอยู่ไม่น้อยแน่ๆ ที่แน่ๆโนแลนกล่าวว่าเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจจาก สเปซ โอดิสซี ชื่อไทย:จอมจักรวาล (2001:A Space Odyssey ที่ฉายในปี1968) , Star Wars Episodes IV & V และ Blade Runner ส่วนตัวผมชอบเบลด รันเนอร์มากๆ ผมเข้าใจทันทีหลังดูจบว่าทำไมคริสโตเฟอร์มักจะวางบทให้คิดต่อว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปจากเรื่องนี้ ปู่ริดลี่ย์ สก็อตสุดยอด! ส่วนสตาร์เทรคซีรี่ย์ เป็นแรงบันดาลใจของนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นทฤษฎีนี้ Dr.Harold Sonny White แห่งแผนกวิจัยและพัฒนาระบบขับเคลื่อนขั้นสูง ประจำคณะกรรมการวิศวกรรมแห่งองค์การ NASA ซึ่งโนแลน ได้ไปขอคำปรึกษาด้วยก่อนสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
การปล่อยกระแสไฟฟ้ารอบตัวยานเพื่อบิดกาลอวกาศ
ส่วนสีแดงคือบิดกาลอวกาศขึ้น และด้านสีฟ้าคือส่วนที่อวกาศถูกบิดลงจากระนาบปกติ
และในที่สุดมันจะถูกบิดครอบจนบรรจบกันเป็นทรงกลมคล้ายฟอง ที่เราเรียกว่า "ฟองวาร์ป"
การบิดอวกาศรูปแบบนี้ทำให้ยานลอยอยู่นิ่งๆในอวกาศที่ถูกบิด แม้อวกาศรอบนอกจะคลายตัวและไปปรากฏในอีกที่นึง
โดยยานไม่ต้องเคลื่อนที่เลย"
การควบคุมการวาร์ปและข้อดีของการใช้ฟองวาร์ป
การควบคุมก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า การคงสภาพของฟองวาร์ปไปเรื่อยๆ ด้วยสสารที่มีมวลเป็นลบ
แต่สสารมวลเป็นลบก็ไม่ได้สูญเสียไปมากนักในการคงสภาพ เพราะข้อดีของฟองวาร์ปคือการที่เราสามารถควบคุมขนาดมันได้ตามต้องการ
ยิ่งฟองวาร์ปมีขนาดเล็กก็ใช้พลังงานคงสภาพน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งคือสิ่งที่นาซ่าต้องการในตอนนี้ "การวาร์ปแสนประหยัด" (แม้สสารที่มีมวลเป็นลบ จะมีอยู่เพียงแค่ทฤษฏีในตอนนี้ ปัจจุบันยังคงหาไม่เจอ และคาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสสารมืดที่เรายังไม่ค่อยเข้าใจนัก และเมื่อนำมาใช้ได้มันอาจมีราคาไม่ถูกนักก็ตาม) แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ตอนนี้ยังคงถกเถียงซึ่งจะเป็นหัวข้อถัดไปของเรา
ช่องว่างทางทฤษฎีที่เป็นที่ถกเถียง
นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้แย้งเอาไว้ว่า: "ฟองวาร์ปจะปล่อยรังสีรุนแรงเป็นอันตรายต่อนักบินในยาน" ซึ่งนาซาไม่สนใจ อนุญาตให้ทำการทดลองค้นคว้าต่อไป ซึ่งต้องรอดูต่อไปครับว่าทฤษฎีนี้จะเวิร์คหรือล่มในอนาคต แต่เราคงไม่ต้องสนใจมากนัก สนุกไปกับอินเตอร์สเตลลาร์ของโนแลนกันดีกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.popsci.com/technology/article/2013-03/faster-light-drive
http://www.extremetech.com/extreme/136408-nasa-working-on-faster-than-light-travel-says-warp-drives-are-plausible
ในตอนนี้ตัวอย่างของภาพยนตร์ได้ปล่อยมาถึงตัวอย่างที่3 คือ
ตัวอย่างแรกเราจะเห็นเรื่องราวคร่าวๆทั้งโดรนที่ไม่รู้ว่ามาทำไม การเผาไร่ข้าวโพด? พายุทราย ยานปฏิสสารและเรื่องของการวาร์ปด้วยการบิดกาลอวกาศอย่างชัดเจนและยานก็หายไปโดยไม่รู้ว่าไปที่ไหน
ตัวอย่างที่สองเราจะเห็นเรื่องราวมากขึ้น เพียงเล็กน้อย การทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะโคม่าและแช่อยู่ในน้ำก่อนเข้าสู่การวาร์ป?
ตัวอย่างที่สาม จะเผยให้เห็นโครงเรื่องใหญ่ๆบางจุด และความสมจริงทางด้านเนื้อหาของภาพยนตร์
นั่นคือ เมื่อยานอวกาศออกนอกชั้นบรรยากาศของโลกเสียงทั้งหมดจะหายไป เรื่องราวที่เหมือนกับเรากำลังมองนายคูเปอร์ (Matthew McConaughey)
ที่ยังไม่ปะติดปะต่อ เรื่องราวดราม่า นักบินอวกาศคนอื่นๆ และการไปถึงดาวดวงหนึ่งที่มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็ง โดยตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งทั้งดวงหรือไม่
สำหรับดาวดวงนี้มีความเป็นไปได้หลายอย่าง ถ้าเป็นดาวที่มีน้ำแข็งบางส่วนเช่นโลกของเรา อาจเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิต
ถ้าดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ซึ่งเป็นน้ำแข็งทั้งหมด ดาวอาจไม่มีอะไรเลยแม้แต่น้ำในรูปของเหลว หรือถ้ามันมีน้ำอยู่ในชั้นน้ำแข็ง ดาวดวงนี้อาจจะเป็นดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัส หรือดาวที่มีดาวแม่ใหญ่ยักษ์และมีความโน้มถ่วงสูงมากเช่นกันในระบบสุริยะอื่นที่ห่างไกลโดยมันอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันมาก ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างดาวพฤหัส ปัจจุบันเชื่อว่าดาวพฤหัสน่าจะมีแกนเป็นของแข็งพวกหินหรือโลหะ โดยมีเปลือกดาวเป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ซึ่งชั้นแมนเทิล (ชั้นแมนเทิลคือชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกและแกนของดาว) ไฮโดรเจนโลหะเหลวซึ่งสร้างสนามแม่เหล็กแรงสุดขั้วและปล่อยรังสีรุนแรง ดาวที่มีมวลมากพวกนี้สร้างแรงโน้มถ่วงมหาศาล บีบให้ดวงจันทร์ของมันร้อน และทำให้ดวงจันทร์น้ำแข็งของมันมีน้ำในรูปของเหลวอยู่ข้างใต้ชั้นน้ำแข็ง นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรปามีน้ำและอาจมีสิ่งมีชีวิต ในปี2009ภาพยนตร์เรื่อง Avatar ได้เสนอเรื่องราวของดาวแพนดอร่าที่โคจรอยู่รอบดาวแม่ซึ่งเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ยักษ์สีฟ้าซึ่งอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของมันเช่นกัน แต่คราวนี้โนแลนได้วาดภาพอวกาศที่แตกต่างจากกรอบเดิมๆนั่นคือ เรื่องของจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นที่แท้จริง
เพิ่มเติม: ทำไมถึงมีชื่อดวงจันทร์ยูโรปา ว่าอาจเป็นดาวน้ำแข็งที่อยู่ในตัวอย่างของภาพยนตร์
ผมคิดว่าตัวอย่างที่เราได้ดูกัน เป็นเรื่องราวที่ถูกวางสลับกัน ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเป็นเรื่องราวช่วงใดก็ได้ของเรื่อง และอาจเป็นเนื้อหาช่วงต้นเรื่องเลยก็ได้ เทคโนโลยีวาร์ปทำให้การเดินทางโดยการส่งนักสำรวจและนักวิจัยออกสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเป็นเรื่องง่าย ทำไมจะไม่ลองส่งใครไปสำรวจดูบ้าง แทนที่จะต้องมองผ่านหน้าจอเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากดาวเทียมหรือหุ่นยนต์
ถ้าเป็นการสำรวจดาวจากช่วงต้นของเรื่องจริงๆ เรื่องราวในภาพยนตร์คงเป็นอย่างนี้: ยานได้ออกสำรวจดวงจันทร์ยูโรปาเพื่อค้นหาชีวิตบนดาวโดยมี "คูเปอร์" ร่วมออกสำรวจ และมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ "คูเปอร์" ไม่ต้องการเดินทางบนอวกาศอีกเลย
// ถ้ามันเป็นเนื้อหาช่วงต้นเรื่องจริงๆนะครับ
แอบเอามาแปะ
แท่งเหล็กเอไอนั้นเดินได้ แท่งเหล็กที่ชื่อ TARS นั่นเอง
อันนี้ที่ฉายในIMAXไม่นานมานี้
ระบบที่ฉายในไทย
INTERSTELLAR (อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก) เข้าฉายในรูปแบบ IMAX 70 มม. กรุงศรีฯ IMAX Siam Paragon
นอกเหนือจากนี้แล้ว ทางบริษัทฯยังนำเสนอภาพยนตร์เรื่อง INTERSTELLAR (อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก) เข้าฉายในระบบ IMAX Digital 2D อีก 4 สาขา ที่ ไอแมกซ์ เมเจอร์ฯ รัชโยธิน, ไอแมกซ์ เมเจอร์ฯ ปิ่นเกล้า, ไอแมกซ์ หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์ และ ไอแมกซ์ เมเจอร์ฯ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีกำหนดฉายทั่วโลก วันที่ 6 พฤศจิกายน 2014
เว็บไซต์ของภาพยนตร์(อย่างเป็นทางการ)
http://www.interstellar-movie.com/
ฉบับเกมขนาดมินิๆ
สำรวจระบบสุริยะจักรวาลไปกับเกมจากภาพยนตร์ Interstellar - อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก
APPในระบบแอนดรอยด์ http://play.google.com/store/apps/details?id=com.paramount.interstellar
WEB VERSIONS (คอมพิวเตอร์) http://game.interstellarmovie.com/?lang=th ที่มาข้อมูลของเกม: Interstellar Movie (Facebook Page)
เพจเฟสบุ๊คที่ควรติดตาม ซึ่งมักจะมีเกร็ดต่างๆอัพเดทเป็นระยะๆ
- Interstellar Movie Fans (เพจอย่างเป็นทางการ)
- Interstellar Movie (เพจของไทยเอง)
- Christopher Nolan Thailand's fanpage