สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
.
.
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าค่ะ ขัตติยนารีที่ผ่านความโทมนัสที่สุดของที่สุด
เป็นสมเด็จย่าของพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9
ในช่วงชีวิตของพระองค์ท่านผ่านความทุกข์มานับครั้งไม่ถ้วน มากเสียจนท่านถึงกับอธิษฐานว่า
"ขอให้ลืม ลืมให้หมด อย่าให้มีความจำอะไรเลย จำอะไรขึ้นมา ก็ล้วนแต่ความทุกข์ทั้งนั้น"
พระองค์ท่านเป็นแม่ที่ต้องทนดูพระโอรสพระธิดาที่จากตายไปทุกพระองค์ ไม่เว้นแม้แต่พระโอรสพระธิดาบุญธรรม
พระองค์ท่านเป็นย่าที่สูญเสียหลาน ในขณะที่หลานเป็นกษัตริย์เจ้าเหนือหัวของคนทั้งปวง
..
........พอข่าวเรื่องสวรรคตเป็นที่แน่นอนรู้ทั่วไปทั้งแผ่นดินก็ตกลงกันที่จะไม่กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพราะไม่มีใครทายถูกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ความทุกข์ครั้งทรงสูญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ฯ ก็ดี ความทุกข์ครั้งทรงสูญสมเด็จพระราชโอรส – ราชธิดาก็ดี ความทุกข์ครั้งสมเด็จกรมพระยาชัยนาท ฯ ทรงถูกจับจะเทียบเท่าความทุกข์ครั้งนี้หรือไม่ มากกว่า หรือน้อยกว่า ใครจะประมาณได้ ทุกคนในวังสระปทุมไม่ไว้ทุกข์ ไม่ร้องไห้ เคยปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ปฏิบัติต่อไปอย่างนั้น ในเวลาเดียวกับที่เชิญพระบรมศพลงพระโกศ สมเด็จ ฯ ประทับที่พระเฉลียงทอดพระเนตรท้องฟ้าอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็ตรัสขึ้นว่า
“วันนี้เป็นอะไร ฟ้าเศร้าจริง นกสักตัว กาสักตัวก็ไม่มาร้อง เศร้าเหลือเกิน นี่ทำไมมันเงียบเชียบไปหมดอย่างนี้ล่ะ”
ไม่มีคำกราบบังคมทูลตอบ ใครทนได้ก็เฝ้าอยู่ต่อไป ใครเหลือทนก็คลานหนีออกไปเข้าห้องร้องไห้จนสะใจ กระแสพระราชดำรัสที่เคยมียังก้องอยู่ในหู ทุกคนรู้สึกว่าทรงห่วง ทรงรักสมเด็จพระราชนัดดาเพียงไหน
“ดีใจ๊ ดีใจ หลานอยู่เมืองนอก ไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้ ไม่อย่างนั้น ฉันคงเอาตัวไม่รอด ห่วงหลาน”
เจ้าพระคุณเอ๋ย ถ้าเทพยดาอารักษ์ไม่คุ้มครองไว้ดวงพระราชหฤทัยของสมเด็จ ฯ คงแตกสลาย เพราะแรงประหารของพระหัตถ์ที่พระอุระ ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จมาเฝ้าหลังจากรัชกาลที่ ๘ สวรรคตแล้ว ก็ต้องมีคนผิดศีลข้อมุสาอยู่คนหนึ่งเสมอ เพราะทรงสงสัยตรัสถามว่า
“หลานฉันสองคนนี่”
คำกราบบังคมทูลตอบก็คือ พระองค์หนึ่งเสด็จอยู่ต่างประเทศ
...ความลืมที่ต้องพระราชประสงค์คืบคลานเข้ามาทุกระยะ ความทรงจำเหลืออยู่น้อยมาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ก็ไม่ทรงทราบ.........
จากหนังสือ "สมเด็จพระศรีสวรินทิรา ฯ" โดยนายสมภพ จันทรประภา
.
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าค่ะ ขัตติยนารีที่ผ่านความโทมนัสที่สุดของที่สุด
เป็นสมเด็จย่าของพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9
ในช่วงชีวิตของพระองค์ท่านผ่านความทุกข์มานับครั้งไม่ถ้วน มากเสียจนท่านถึงกับอธิษฐานว่า
"ขอให้ลืม ลืมให้หมด อย่าให้มีความจำอะไรเลย จำอะไรขึ้นมา ก็ล้วนแต่ความทุกข์ทั้งนั้น"
พระองค์ท่านเป็นแม่ที่ต้องทนดูพระโอรสพระธิดาที่จากตายไปทุกพระองค์ ไม่เว้นแม้แต่พระโอรสพระธิดาบุญธรรม
พระองค์ท่านเป็นย่าที่สูญเสียหลาน ในขณะที่หลานเป็นกษัตริย์เจ้าเหนือหัวของคนทั้งปวง
..
........พอข่าวเรื่องสวรรคตเป็นที่แน่นอนรู้ทั่วไปทั้งแผ่นดินก็ตกลงกันที่จะไม่กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพราะไม่มีใครทายถูกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ความทุกข์ครั้งทรงสูญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ฯ ก็ดี ความทุกข์ครั้งทรงสูญสมเด็จพระราชโอรส – ราชธิดาก็ดี ความทุกข์ครั้งสมเด็จกรมพระยาชัยนาท ฯ ทรงถูกจับจะเทียบเท่าความทุกข์ครั้งนี้หรือไม่ มากกว่า หรือน้อยกว่า ใครจะประมาณได้ ทุกคนในวังสระปทุมไม่ไว้ทุกข์ ไม่ร้องไห้ เคยปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ปฏิบัติต่อไปอย่างนั้น ในเวลาเดียวกับที่เชิญพระบรมศพลงพระโกศ สมเด็จ ฯ ประทับที่พระเฉลียงทอดพระเนตรท้องฟ้าอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็ตรัสขึ้นว่า
“วันนี้เป็นอะไร ฟ้าเศร้าจริง นกสักตัว กาสักตัวก็ไม่มาร้อง เศร้าเหลือเกิน นี่ทำไมมันเงียบเชียบไปหมดอย่างนี้ล่ะ”
ไม่มีคำกราบบังคมทูลตอบ ใครทนได้ก็เฝ้าอยู่ต่อไป ใครเหลือทนก็คลานหนีออกไปเข้าห้องร้องไห้จนสะใจ กระแสพระราชดำรัสที่เคยมียังก้องอยู่ในหู ทุกคนรู้สึกว่าทรงห่วง ทรงรักสมเด็จพระราชนัดดาเพียงไหน
“ดีใจ๊ ดีใจ หลานอยู่เมืองนอก ไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้ ไม่อย่างนั้น ฉันคงเอาตัวไม่รอด ห่วงหลาน”
เจ้าพระคุณเอ๋ย ถ้าเทพยดาอารักษ์ไม่คุ้มครองไว้ดวงพระราชหฤทัยของสมเด็จ ฯ คงแตกสลาย เพราะแรงประหารของพระหัตถ์ที่พระอุระ ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จมาเฝ้าหลังจากรัชกาลที่ ๘ สวรรคตแล้ว ก็ต้องมีคนผิดศีลข้อมุสาอยู่คนหนึ่งเสมอ เพราะทรงสงสัยตรัสถามว่า
“หลานฉันสองคนนี่”
คำกราบบังคมทูลตอบก็คือ พระองค์หนึ่งเสด็จอยู่ต่างประเทศ
...ความลืมที่ต้องพระราชประสงค์คืบคลานเข้ามาทุกระยะ ความทรงจำเหลืออยู่น้อยมาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ก็ไม่ทรงทราบ.........
จากหนังสือ "สมเด็จพระศรีสวรินทิรา ฯ" โดยนายสมภพ จันทรประภา
แสดงความคิดเห็น
ถ้าในอนาคตสังคมไทยเปิดกว้างมากกว่านี้ อยากเห็นประวัติของเจ้านายหรือบุคคลสำคัญท่านใดบ้างมาทำเป็นละครหรือภาพยนตร์
อยากถามความเห็นของแต่ละท่านครับว่า สมมติ ถ้าในอนาคตสังคมไทยเปิดกว้างมากกว่านี้ อยากเห็นประวัติของเจ้านายหรือบุคคลสำคัญท่านใดบ้างมาทำเป็นละครหรือภาพยนตร์ หรืออย่างน้อย เหตุการณ์สำคัญที่ท่านนั้นอยู่ในเหตุการณ์ก็ได้ เท่าที่เห็น แบบช่องไทยพีบีเอสที่มีการนำมาทำเป็นสารคดีกึ่งละครนั้นก็ถือว่าดีมากๆแล้วในสมัยนี้ ในอนาคตอาจทำได้มากกว่า แต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขต
สำหรับ จขกท. อยากเห็นประมาณนี้
๑.พระประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี - ท่านประสูติจากครอบครัวสามัญชน ต่อมาได้ถูกพาไปถวายตัวเป็นนางข้าหลวงในวังของสมเด็จพระพันวัสสา ได้ไปศึกษาต่อวิชาพยาบาลจนได้พบรักและสมรสกับสมเด็จพระชนก (เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช) และได้เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ถึงสองพระองค์
๒.ความรักระหว่างเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กับหม่อมคัทริน - เรื่องนี้ถ้าทำไม่ว่าเป็นอะไรก็ตาม จะเป็นฟอร์มยักษ์อีกเรื่องหนึ่งเลย
๓.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช - หรือเจ้าพีระ ดาราทอง นักแข่งรถชาวไทย เรื่องนี้พอเป็นไปได้มากที่สุดในยุคนี้
(เรื่องที่สองที่สามนี้ ขอคุณฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ รับบทเป็นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ จะเพอร์เฟ็คมากๆ)
๔.เทียนวรรณ - อันนี้พอเป็นละครได้ เทียนวรรณเป็นนักคิดนักเขียนหัวก้าวหน้าสมัยรัชกาลที่ห้า
๕.เหตุการณ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนปี ๒๕๐๐ ช่วงนี้การแย่งชิงอำนาจดุเดือดเลือดพล่านมาก
ประมาณนี้