โครงสี่สุภาพ ทำไมต้องมีคำว่าสุภาพอยู่ด้านหลังชื่อ(โครงสี่สุภาพ)

สงสัยมานานครับกับชื่อของมันใครรู้ช่วยตอบที่ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
โคลงสุภาพ : คำประพันธ์ประเภทโคลงแบบหนึ่ง กำหนัดลักษณะบังคับ  คณะ เอกโท และสัมผัสเฉพาะภายในบทแต่ละบท โคลงสุภาพแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้
( "คำสุภาพ" หมายถึง คำไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์)

๑. โคลงสองสุภาพ
๒. โคลงสามสุภาพ
๓. โคลงสี่สุภาพ
๔. โคลงจัตวาทัณฑี
๕. โคลงสี่สุภาพตรีพิธพรรณ

ตัวอย่าง (ตัวเอียงคือตำแหน่งบังคับเอกโท  ตัวเข้มคือตำแหน่งบังคับคำสัมผัส)

โคลงสองสุภาพ :

โคลงสองเป็นอย่างนี้
แสดงแก่กุลบุตรชี้          เช่นให้เห็นลแบง  แบบนาน     (โคลงแบบ)


โคลงสามสุภาพ :

โคลงสามแปลกโคลงสอง
ตามทำนองที่แท้
วรรคหนึ่งพึงเติมแล้   เล่ห์นี้จึงยล  เยี่ยงเทอญ    (โคลงแบบ)


โคลงสี่สุภาพ

เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง                  อันใด  พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร                 ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล                   ลืมตื่น  ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า                        อย่าได้ถามเผือ   (ลิลิตพระลอ)


จากมามาลิ่วล้ำ                        ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง                      พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง                  เมียงม่าน มานา
บาง บ่ รับคำคล้อง                  คล่าวน้ำตาคลอ   (นิราศนรินทร์)


ถับถึงบางแก้วถิ่น                     ธานี
เสนอชื่อนครชัยศรี                    ท่านตั้ง
ขวาแขวงแห่งนที                      คลองหนึ่ง  แวะนา
เรียมเร่งเรือฤๅตั้ง                     ด่วนเลี้ยวคลองใคร

คลาคลามาเคลื่อนคล้อย            คลองบาง  แก้วนา
ทุกข์พี่พรากพลัดนาง               หนุ่มเหน้า
อาวรณ์ห่อนจืดจาง                  ใจจี่   โศกเฮย
กลืนแต่ทุกข์แทนเข้า                คั่งแค้นคาคอ    (โคลงนิราศพระประโทน)



โคลงจัตวาทัณฑี

โคลงหนึ่งนามแจ้งจัต           วาทัณ  ฑีฤๅ
บังคับรับกันแสดง                อย่างพร้อง
ขบวนแบบแยบยลผัน           แผกชนิด  อื่นเฮย
ที่สี่บทสองคล้อง                   ท่านท้าย บทปฐม   (โคลงแบบ)
[ปรับสะกดการันต์ตามปัจจุบัน]


โคลงตรีพิธพรรณ (ตรีเพชรทัณฑี)

ข้าขอประณตน้อม                  กายวจี   จิตนา
ต่อพระตรีไตรรัตน์                 โรจน์เรื้อง
เป็นประทีปส่องศรี                  โลกชัช  วาลนา
กำจัดมืดมนธ์เปลื้อง                สัตว์พ้นสงสาร   (พระยาอุปกิตศิลปสาร)


: สังเกตว่า นอกจากตำแหน่งบังคับรูปวรรณยุกต์เอกโทแล้ว คำอื่นไม่ปรากฏคำที่มีรูปวรรณยุกต์  ดังนี้ จึงเรียกโคลงสุภาพ


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ภาค ฉันทลักษณ์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่