นักวิจัย มอ.พัฒนาน้ำยาเคลือบผิวอเนกประสงค์ ลดการยึดเกาะของน้ำและปัสสาวะป้องกันไม่ให้เกิดคราบเหลืองเป็นรายแรกในประเทศ
รศ. ดร. นันทกาญจน์ มุรศิต ผู้อำนวยการสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพลังงาน หรือ CENE แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ดร. ฉลองรัฐ แดงงาม นักวิจัยทางด้านนาโนฟิสิกส์ ร่วมกันพัฒนา น้ำยาเคลือบผิววัสดุนานาชนิดในสูตรเดียวและใช้งานได้ในขั้นตอนเดียว ที่มาของงานวิจัยนี้จะเช่นเดียวกันกับงานวิจัยอีกหลายเรื่องในสถานวิจัยฯซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยหลากหลายสาขาบูรณาการกันวิจัยในทิศทางที่มุ่งเน้นการประหยัดพลังงานซึ่งจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับทรัพยากรที่ร่อยหรอลงเรื่อยๆ
โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ ในเรื่องของน้ำ ไอน้ำรวมทั้งสารละลายต่างๆที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นปัญหาหนึ่งของวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ทั้งนี้เพราะปกติไม่ว่าวัสดุใดก็ตามหากโดนน้ำซ้ำๆหรืออยู่ในบรรยากาศร้อนชื้นดังตัวอย่างเช่นเมืองไทย หากเป็นวัสดุซีเมนต์หรืออิฐนานไปมักเกิดคราบตะไคร่น้ำทำความสะอาดยาก วัสดุพวกไม้ก็ผุพังเร็ว หากเป็นโลหะก็จะเกิดสนิม เป็นต้น ล้วนเป็นปัญหาทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมใหญ่น้อย จึงเป็นความเหมาะเจาะเหมาะสมอย่างยิ่งที่มีการวิจัยพัฒนาน้ำยาเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติกันน้ำอย่างยิ่งยวด
คุณสมบัติดีเด่นสามารถทำให้น้ำรวมตัวเป็นหยดและทำมุมมากกว่า 150-160 องศากับผิววัสดุที่ถูกเคลือบ มุมสัมผัสนี้มีความสำคัญคือหากยิ่งมีค่าน้อยน้ำจะยิ่งแผ่แบน อาจป้องกันการเปียกของน้ำได้บ้างแต่จะยังไม่มากพอที่จะทำให้น้ำรวมตัวเป็นหยด เมื่อฉีดพ่นบนผิวแห้งสนิทของวัสดุและรอประมาณ 15 นาที จะเกิดชั้นเคลือบเกาะยึดบนวัสดุ ด้วยความไม่ชอบน้ำยิ่งยวดของชั้นเคลือบ หยดน้ำจะกลิ้งลงไปอย่างง่ายดายพร้อมทั้งนำฝุ่นหรือสิ่งสกปรกติดออกไปด้วย นั่นคือมีกลไกทำความสะอาดตัวเอง (Self-cleaning surface)
ซึ่งถ้าหากมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวมีค่าน้อยกว่า 90-120 องศาแล้วละก็จะไม่สามารถเกิดกลไกนี้ได้เพราะแบนเกินไป ถ้าหากสิ่งสกปรกนั้นคือปัสสาวะซึ่งประกอบด้วยน้ำ 95% ยูเรีย 2.5% และสารอื่นๆอีก 2.5% ผลลัพธ์ก็คือปัสสาวะไม่สามารถยึดเกาะโถปัสสาวะได้ แต่ถ้าหากจะชำระน้ำตามไปด้วยก็จะทำให้ปัสสาวะหลุดหายไปหมดอย่างง่ายดายรวดเร็วด้วยปริมาณน้ำเพียง 20% ของปริมาณน้ำที่เคยใช้ทีเดียว นอกจากนี้ภายหลังกดชักโครกชั้นเคลือบจะยังติดอยู่ตราบใดที่ไม่ถูกขีดข่วนด้วยอุปกรณ์ขัดถูหรือราดด้วยสารละลายเคมี การฉีดพ่นสตริงเกอร์ให้กับสุขภัณฑ์ในห้องน้ำตามบ้านเรือนสัปดาห์ละครั้งจึงเท่ากับเป็นการยืดเวลาการทำความสะอาดห้องน้ำช่วยประหยัดเวลาได้มาก
ล่าสุดบริษัทวอนนาเทค จำกัด ได้ขออนุญาตใช้สิทธิจากทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นำอนุสิทธิบัตรการเตรียมและกรรมวิธีการผลิตน้ำยาเคลือบผิวดังกล่าวไปทำเป็นผลิตภัณฑ์และใช้ชื่อทางการค้าว่า ““สตริงเกอร์ ” (Strinker)
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักวิจัย มอ.พัฒนาน้ำยาเคลือบผิวอเนกประสงค์ ขจัดกลิ่น-คราบในห้องน้ำ
นักวิจัย มอ.พัฒนาน้ำยาเคลือบผิวอเนกประสงค์ ลดการยึดเกาะของน้ำและปัสสาวะป้องกันไม่ให้เกิดคราบเหลืองเป็นรายแรกในประเทศ
รศ. ดร. นันทกาญจน์ มุรศิต ผู้อำนวยการสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพลังงาน หรือ CENE แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ดร. ฉลองรัฐ แดงงาม นักวิจัยทางด้านนาโนฟิสิกส์ ร่วมกันพัฒนา น้ำยาเคลือบผิววัสดุนานาชนิดในสูตรเดียวและใช้งานได้ในขั้นตอนเดียว ที่มาของงานวิจัยนี้จะเช่นเดียวกันกับงานวิจัยอีกหลายเรื่องในสถานวิจัยฯซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยหลากหลายสาขาบูรณาการกันวิจัยในทิศทางที่มุ่งเน้นการประหยัดพลังงานซึ่งจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับทรัพยากรที่ร่อยหรอลงเรื่อยๆ
โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ ในเรื่องของน้ำ ไอน้ำรวมทั้งสารละลายต่างๆที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นปัญหาหนึ่งของวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ทั้งนี้เพราะปกติไม่ว่าวัสดุใดก็ตามหากโดนน้ำซ้ำๆหรืออยู่ในบรรยากาศร้อนชื้นดังตัวอย่างเช่นเมืองไทย หากเป็นวัสดุซีเมนต์หรืออิฐนานไปมักเกิดคราบตะไคร่น้ำทำความสะอาดยาก วัสดุพวกไม้ก็ผุพังเร็ว หากเป็นโลหะก็จะเกิดสนิม เป็นต้น ล้วนเป็นปัญหาทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมใหญ่น้อย จึงเป็นความเหมาะเจาะเหมาะสมอย่างยิ่งที่มีการวิจัยพัฒนาน้ำยาเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติกันน้ำอย่างยิ่งยวด
คุณสมบัติดีเด่นสามารถทำให้น้ำรวมตัวเป็นหยดและทำมุมมากกว่า 150-160 องศากับผิววัสดุที่ถูกเคลือบ มุมสัมผัสนี้มีความสำคัญคือหากยิ่งมีค่าน้อยน้ำจะยิ่งแผ่แบน อาจป้องกันการเปียกของน้ำได้บ้างแต่จะยังไม่มากพอที่จะทำให้น้ำรวมตัวเป็นหยด เมื่อฉีดพ่นบนผิวแห้งสนิทของวัสดุและรอประมาณ 15 นาที จะเกิดชั้นเคลือบเกาะยึดบนวัสดุ ด้วยความไม่ชอบน้ำยิ่งยวดของชั้นเคลือบ หยดน้ำจะกลิ้งลงไปอย่างง่ายดายพร้อมทั้งนำฝุ่นหรือสิ่งสกปรกติดออกไปด้วย นั่นคือมีกลไกทำความสะอาดตัวเอง (Self-cleaning surface)
ซึ่งถ้าหากมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวมีค่าน้อยกว่า 90-120 องศาแล้วละก็จะไม่สามารถเกิดกลไกนี้ได้เพราะแบนเกินไป ถ้าหากสิ่งสกปรกนั้นคือปัสสาวะซึ่งประกอบด้วยน้ำ 95% ยูเรีย 2.5% และสารอื่นๆอีก 2.5% ผลลัพธ์ก็คือปัสสาวะไม่สามารถยึดเกาะโถปัสสาวะได้ แต่ถ้าหากจะชำระน้ำตามไปด้วยก็จะทำให้ปัสสาวะหลุดหายไปหมดอย่างง่ายดายรวดเร็วด้วยปริมาณน้ำเพียง 20% ของปริมาณน้ำที่เคยใช้ทีเดียว นอกจากนี้ภายหลังกดชักโครกชั้นเคลือบจะยังติดอยู่ตราบใดที่ไม่ถูกขีดข่วนด้วยอุปกรณ์ขัดถูหรือราดด้วยสารละลายเคมี การฉีดพ่นสตริงเกอร์ให้กับสุขภัณฑ์ในห้องน้ำตามบ้านเรือนสัปดาห์ละครั้งจึงเท่ากับเป็นการยืดเวลาการทำความสะอาดห้องน้ำช่วยประหยัดเวลาได้มาก
ล่าสุดบริษัทวอนนาเทค จำกัด ได้ขออนุญาตใช้สิทธิจากทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นำอนุสิทธิบัตรการเตรียมและกรรมวิธีการผลิตน้ำยาเคลือบผิวดังกล่าวไปทำเป็นผลิตภัณฑ์และใช้ชื่อทางการค้าว่า ““สตริงเกอร์ ” (Strinker)
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์