หนูแต่งกลอนภาษาไทยเป็นครั้งแรกค่ะ เป็นกลอนแปด พอดีครูขึ้นให้เลยคือ "ภาษาไทยภาษาใดไพเราะเท่า" อยากให้ลองอ่านกลอนที่หนูแต่งมาน่ะค่ะ บางวรรดูขำๆหน่อย ^^ติชมได้เต็มที่เลยค่ะ พร้อมรับคำติชมแล้วจะนำไปแก้ไขและพัฒนาค่ะ ขอบคุณค่ะ
ภาษาไทยภาษาใดไพเราะเท่า โบราณเล่ากล่าวขานขนานไว้
พ้องรูปเสียงพญาชนาไทย ไม้มาลัยสระโอสระอี
สมาสชนสนธิเชื่อมเอื้อประโยชน์ ใช้สังโกตสังเกตคำบาลี
ครุยาวหลุสั้นจำให้ดี อยู่บทที่เภทคำฉันท์สร้างสรรค์ชม
กล่าวเสภาวันทองโดนสาสม ให้ยินยมว่าคายคมชั่งงายงม
แสนขื่นขมรักล่มพาดิ่งลม ใคร่รู้ก้มอ่านลงขุนช้างกลอน
ภาษาไทยภาษาใดทรงค่าเท่า เป็นเรื่องเศร้าคนไทยบิดเบือนหนี
คำไทยมีมาเปลี่ยนเป็นกาลี เราควรที่รักษ์ไว้ชั่วรุ่นเอย
1.ความหมายบทแรกก็ประมาณว่า ภาษาไทยไม่มีใดที่จะไพเราะเท่าอีกแล้ว มีการกล่าวหรือบัญญัติไว้ว่ามีคำพ้องรูปพ้องเสียง มีพยัญชนะไทย แล้วก็สระต่างๆ
2.ความหมายบทที่สองอันนี้หนูเพิ่งเรียนคำสมาสกับสนธิมาค่ะ ^^ ก็เลยอยากเอามาเป็นหลักการจำโดยการนำมาแต่งเป็นกลอนซะ แล้วก็อยู่ในเรื่องที่เรียนก็คือ สามัคคีเภทคำฉันท์ ค่ะ
3.ความหมายบทที่สามเอาจากเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฏีกา ค่ะ ในเรื่องคือนางวันทองโดนพระพันวษาตัดสินประหารชีวิตเพราะเลือกไม่ถูกว่าจะอยู่กับใคร เหตุเพราะนางวันทองรักทั้งลูกและขุนแผนนั่นเอง คือจะแต่งมาในแนวเชิญชวนอยากให้ลองมาอ่านเรื่องนี้ดู ประมาณนี้ค่ะ^^
4.ความหมายบทที่ก็ประมาณว่า ทั้งๆที่ภาษาไทยเป็นภาษาที่ทรงคุณค่า งดงาม แต่ว่าน่าผิดหวังที่คนส่วนใหญ่เอามาใช้กันผิดแล้วยังใช้คำวิบัติบางคำด้วยค่ะ ซึ่งเราควรอนุรักษ์ไว้ให้ยืนยาวค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หนูพอจะไปวัดไปวากับเค้าได้ไหมคะ มีอันไหนที่หนูควรแก้ไขก็บอกได้เลยค่ะ แล้วเป็นการฝึกฝนไปในตัวด้วยค่ะ ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ ขออภัยด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ ^^
แต่งกลอนภาษาไทยเป็นครั้งแรก !!
ภาษาไทยภาษาใดไพเราะเท่า โบราณเล่ากล่าวขานขนานไว้
พ้องรูปเสียงพญาชนาไทย ไม้มาลัยสระโอสระอี
สมาสชนสนธิเชื่อมเอื้อประโยชน์ ใช้สังโกตสังเกตคำบาลี
ครุยาวหลุสั้นจำให้ดี อยู่บทที่เภทคำฉันท์สร้างสรรค์ชม
กล่าวเสภาวันทองโดนสาสม ให้ยินยมว่าคายคมชั่งงายงม
แสนขื่นขมรักล่มพาดิ่งลม ใคร่รู้ก้มอ่านลงขุนช้างกลอน
ภาษาไทยภาษาใดทรงค่าเท่า เป็นเรื่องเศร้าคนไทยบิดเบือนหนี
คำไทยมีมาเปลี่ยนเป็นกาลี เราควรที่รักษ์ไว้ชั่วรุ่นเอย
1.ความหมายบทแรกก็ประมาณว่า ภาษาไทยไม่มีใดที่จะไพเราะเท่าอีกแล้ว มีการกล่าวหรือบัญญัติไว้ว่ามีคำพ้องรูปพ้องเสียง มีพยัญชนะไทย แล้วก็สระต่างๆ
2.ความหมายบทที่สองอันนี้หนูเพิ่งเรียนคำสมาสกับสนธิมาค่ะ ^^ ก็เลยอยากเอามาเป็นหลักการจำโดยการนำมาแต่งเป็นกลอนซะ แล้วก็อยู่ในเรื่องที่เรียนก็คือ สามัคคีเภทคำฉันท์ ค่ะ
3.ความหมายบทที่สามเอาจากเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฏีกา ค่ะ ในเรื่องคือนางวันทองโดนพระพันวษาตัดสินประหารชีวิตเพราะเลือกไม่ถูกว่าจะอยู่กับใคร เหตุเพราะนางวันทองรักทั้งลูกและขุนแผนนั่นเอง คือจะแต่งมาในแนวเชิญชวนอยากให้ลองมาอ่านเรื่องนี้ดู ประมาณนี้ค่ะ^^
4.ความหมายบทที่ก็ประมาณว่า ทั้งๆที่ภาษาไทยเป็นภาษาที่ทรงคุณค่า งดงาม แต่ว่าน่าผิดหวังที่คนส่วนใหญ่เอามาใช้กันผิดแล้วยังใช้คำวิบัติบางคำด้วยค่ะ ซึ่งเราควรอนุรักษ์ไว้ให้ยืนยาวค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หนูพอจะไปวัดไปวากับเค้าได้ไหมคะ มีอันไหนที่หนูควรแก้ไขก็บอกได้เลยค่ะ แล้วเป็นการฝึกฝนไปในตัวด้วยค่ะ ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ ขออภัยด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ ^^