ตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช.ได้มอบหมายสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดร่วมกับภาคเอกชน สมาคมสปาทั้งในภาคกลางและภูมิภาคสำคัญๆที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ภูเก็ต สมุย และเชียงใหม่ร่วมจัดทำมาตรฐานอาชีพสปาของประเทศไทย โดยในระยะแรกนี้ได้จัดทำมาตรฐานอาชีพสปา 5 อาชีพ ได้แก่ (1) อาชีพบริหารจัดการสปา (2) อาชีพสปารีเซฟชั่นนิส (3) อาชีพสปาเทรนเนอร์ (4) อาชีพสปาเทอราปิ้ส และ(5) อาชีพสปาแอดเทนเดน โดยได้มีการจัดระดับสมรรถนะมาตรฐานอาชีพตั้งแต่ระดับผู้มีทักษะฝีมือไปจนถึงระดับเชี่ยวชาญในอาชีพเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยได้ผ่านการประชาพิเคราะห์กับเจ้าของอาชีพสปาจากทั่วประเทศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557
ขณะนี้โครงการฯอยู่ระหว่างการทดลองทดสอบเครื่องมือประเมินสมรรถนะอาชีพ ดังนี้ ในระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2557 สำหรับอาชีพบริหารจัดการสปา ในระดับ 4 และอาชีพสปารีเซฟชั่นนิส ในระดับ 3 และในวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2557 สำหรับอาชีพสปาเทอราปิ้ส ในระดับ 3 จัดทดลองทดสอบประเมินฯ ณ ศูนย์ทดสอบนำร่องโรงเรียนสอนวิชาชีพความงามและสุขภาพสปาชีวาศรม
ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดทำมาตรฐานอาชีพสปาและคุณวุฒิวิชาชีพครั้งนี้จะช่วยทำให้เจ้าของอาชีพสปาสามารถรู้ระดับสมรรถนะของตนเอง เชื่อมโยงไปกับค่าตอบแทนที่เหมาะสมสอดคล้องกับสมรรถนะของตนเองและสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาความก้าวหน้าสายอาชีพตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามระดับสมรรถนะต่างๆที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ฝ่ายนายจ้างหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจตนเองได้อย่างเหมาะสม
รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นางสาวกรณ์สรวง ภิรมย์ ได้กล่าวถึงความคืบหน้าเพิ่มเติมว่า หลังจากที่สถาบันคุณวุฒิาชีพได้จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสปาเสร็จสิ้นพร้อมกับการทำการทดสอบเครื่องมือประเมินแล้วนั้น ก้าวสำคัญต่อไป คือ การผลักดันสาขาอาชีพสปาไทยไปเทียบเคียงกับต่างประเทศ (Referencing) ซึ่งปัจจุบันนานาประเทศได้ใช้กระบวนการเทียบเคียงเป็นเครื่องมือสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อให้มาตรฐานสมรรถนะเป็นที่ยอมรับในอาเซียนและสากล โดยสคช.เริ่มต้นสร้างความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในระยะแรกนี้ คือ ร่วมกับประเทศอินโดนิเซียในการจัดทำสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายประเทศไทยและอินโดนีเซีย ผลที่ได้จากโครงการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนี้ จะเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด และสามารถนำผลที่ได้จากการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนี้มาจัดทำและวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนากำลังผลิตของประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับความเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยกระดับคุณภาพและให้กำลังพลของประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศและนำไปสู่กระบวนการทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน Mutual Recognition Agreement (MRA) ในลำดับต่อไป
ก้าวย่างสำคัญสำหรับความก้าวหน้าอาชีพสปาไทยและนับหนึ่งสู่อาเซียน
ตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช.ได้มอบหมายสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดร่วมกับภาคเอกชน สมาคมสปาทั้งในภาคกลางและภูมิภาคสำคัญๆที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ภูเก็ต สมุย และเชียงใหม่ร่วมจัดทำมาตรฐานอาชีพสปาของประเทศไทย โดยในระยะแรกนี้ได้จัดทำมาตรฐานอาชีพสปา 5 อาชีพ ได้แก่ (1) อาชีพบริหารจัดการสปา (2) อาชีพสปารีเซฟชั่นนิส (3) อาชีพสปาเทรนเนอร์ (4) อาชีพสปาเทอราปิ้ส และ(5) อาชีพสปาแอดเทนเดน โดยได้มีการจัดระดับสมรรถนะมาตรฐานอาชีพตั้งแต่ระดับผู้มีทักษะฝีมือไปจนถึงระดับเชี่ยวชาญในอาชีพเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยได้ผ่านการประชาพิเคราะห์กับเจ้าของอาชีพสปาจากทั่วประเทศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557
ขณะนี้โครงการฯอยู่ระหว่างการทดลองทดสอบเครื่องมือประเมินสมรรถนะอาชีพ ดังนี้ ในระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2557 สำหรับอาชีพบริหารจัดการสปา ในระดับ 4 และอาชีพสปารีเซฟชั่นนิส ในระดับ 3 และในวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2557 สำหรับอาชีพสปาเทอราปิ้ส ในระดับ 3 จัดทดลองทดสอบประเมินฯ ณ ศูนย์ทดสอบนำร่องโรงเรียนสอนวิชาชีพความงามและสุขภาพสปาชีวาศรม
ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดทำมาตรฐานอาชีพสปาและคุณวุฒิวิชาชีพครั้งนี้จะช่วยทำให้เจ้าของอาชีพสปาสามารถรู้ระดับสมรรถนะของตนเอง เชื่อมโยงไปกับค่าตอบแทนที่เหมาะสมสอดคล้องกับสมรรถนะของตนเองและสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาความก้าวหน้าสายอาชีพตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามระดับสมรรถนะต่างๆที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ฝ่ายนายจ้างหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจตนเองได้อย่างเหมาะสม
รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นางสาวกรณ์สรวง ภิรมย์ ได้กล่าวถึงความคืบหน้าเพิ่มเติมว่า หลังจากที่สถาบันคุณวุฒิาชีพได้จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสปาเสร็จสิ้นพร้อมกับการทำการทดสอบเครื่องมือประเมินแล้วนั้น ก้าวสำคัญต่อไป คือ การผลักดันสาขาอาชีพสปาไทยไปเทียบเคียงกับต่างประเทศ (Referencing) ซึ่งปัจจุบันนานาประเทศได้ใช้กระบวนการเทียบเคียงเป็นเครื่องมือสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อให้มาตรฐานสมรรถนะเป็นที่ยอมรับในอาเซียนและสากล โดยสคช.เริ่มต้นสร้างความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในระยะแรกนี้ คือ ร่วมกับประเทศอินโดนิเซียในการจัดทำสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายประเทศไทยและอินโดนีเซีย ผลที่ได้จากโครงการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนี้ จะเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด และสามารถนำผลที่ได้จากการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนี้มาจัดทำและวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนากำลังผลิตของประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับความเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยกระดับคุณภาพและให้กำลังพลของประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศและนำไปสู่กระบวนการทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน Mutual Recognition Agreement (MRA) ในลำดับต่อไป