จริงๆผมมีเรื่องคาใจกับ Frozen มานานตั้งแต่ดูจบครั้งแรกแล้ว แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เขียนรีวิวจริงๆจังๆเสียที
เห็นช่วงนี้เริ่มมีกระทู้สวนกระแส Frozen ผุดขึ้นมาบ่อยๆ(ในขณะที่หนังกวาดรายได้ถล่มทลายในแดนปลาดิบ...หลังเขมือบออสการ์จนอิ่มหนำสำราญไปแล้วด้วย) เลยขอนำบทวิเคราะห์ส่วนตัวมาแชร์ครับ
ขอสรุปเป็นข้อๆเพื่อความสะดวก
ธีมที่ที่ขัดแย้งกัน
Frozen มีโครงเรื่องที่ขัดกันระหว่าง
Realistic(เนื้อหาที่สมจริง) กับ
Suspension of Disbelief(การมองข้ามความไม่สมจริง) โดยพล็อตหลักของ Frozen พยามจะทำตัวป็น "การฉีกขนบธรรมเนียมเดิมๆของการ์ตูนดิสนีย์" แต่กลับลืมที่จะใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยต่อคำถามที่อาจจะเกิดเพราะพล็อตโหว่ของเนื้อเรื่องด้วย เช่น
-
พลังของเอลซ่าเกิดมาจากอะไร? (ถ้าจะบอกว่ารายละเอียดส่วนนี้เป็นเรื่องลึกลับของเทพนิยาที่ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบชัดเจน ผมอยากให้ลองเทียบเรื่องพลังน้ำแข็งกับ "ดอกไม้อายุวัฒนะ" ของราพันเซลดู อันนั้นก็เป็นเรื่องลึกลับของเทพนิยายที่ไม่มีคำตอบชัดเจนเช่นกัน แต่ใช้การอารัมภบทง่ายๆเพื่อให้ข้อมูลกับคนดู(น้ำวิเศษจากสรวงสวรรค์) ผมว่าพลังของเอลซ่าเองก็สามารถใช้การอารัมภบทสั้นๆอธิบายพื้นฐานได้ซักหน่อยเหมือนกัน)
-
พ่อแม่ของคริสทอฟคือใคร? และหากเขาเป็นเด็กกำพร้า...แล้วเขาไปทำอะไรกับคนงานตัดน้ำแข็งตอนต้นเรื่อง? หลังจากโทรหินรับเขาไปเลี้ยงแล้วคริสทอฟใช้ชีวิตอยู่อย่างไร? ทำไมเขาถึงยังทำมาค้าขายอยู่ในเมืองมนุษย์ (ฉากเปิดเรื่องนั้นหนังไม่ได้แสดงให้คนดูรู้มากพอว่าสถานะของคริสทอฟคืออะไร หากดูผ่านๆเราจะคิดไปด้วยซ้ำว่าเขาน่าจะเป็นลูกของคนงานคนใดคนหนึ่งที่มาตัดน้ำแข็ง นั่นทำให้เมื่อเจ้าตัวพูดตอนท้ายเรื่องว่าเขาถูกเลี้ยงโดยโทรลยิ่งชวนสับสนเข้าไปอีกเพราะฉากที่โทรลหินกอดเขาแล้วบอกว่าอยากจะเก็บเขาไว้ตอนเด็กๆนั้นเหมือนเป็นมุขน่ารักๆมากกว่า)
-
หลังราชากับราชินีสิ้นพระชนม์ ใครเป็นคนดูแลอาณาจักรแทนเจ้าหญิงทั้ง 2 องค์? (หากจะบอกว่าเป็นกลุ่มข้าหลวงที่เป็นแค่ตัวประกอบเลยไม่จำเป็นต้องมีบทบาทในจอก็ไม่ใช่......เพราะมันทิ้งคำถามไว้ว่าผู้รักษาการแทนเหล่านี้รู้เรื่องพลังของเอลซ่ารึเปล่า?(ถ้าไม่รู้ ทำไมถึงไม่มีใครสงสัยเรื่องการเก็บตัวขององค์หญิง พอถึงวันราชินีภิเษกก็เรียกมารับตำแหน่งเฉยๆซะงั้น?) แล้วประชาชนล่ะมีคำถามอะไรมั้ยที่องค์หญิงทั้ง 2 ไม่เคยปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณะชนอีกเลย?)
-
ทำไมพวกข้าหลวงถึงปล่อยให้อันนาขึ้นไปตามเอลซ่าเพียงคนเดียว? (อันนาเป็นแค่เจ้าหญิงองค์เล็ก ต่อให้เธอบอกว่าอยากจะคุยกับพี่สาวเป็นการส่วนตัว อย่างน้อยก็ควรจะมีองค์รักษ์หรือทหารนำทางตามไปด้วยสักคน 2 คนเพื่อคุ้มกัน)
-
ตอนที่ฮานถูกอันนาชกจนตกจากเรือ(ตอนท้ายเรื่อง) ทำไมพวกข้าหลวงที่ดูอยู่ถึงทำท่าดีใจ? (ในเมื่อก่อนหน้านั้นพวกเขายังเชื่อว่าเจ้าชายฮานเป็นคนดีอยู่เลย กรณีที่ฮานพยามสังหารเอลซ่าก็เป็นเรื่องที่คนอื่นทูลขอ และที่สำคัญ...
ฉากที่ฮานกำลังจะลงดาบเอลซ่านั้นมีพายุปกคลุมทะเลสาบ คนนอกไม่มีใครมองเห็นอะไรจนกระทั่งเอลซ่าละลายน้ำแข็ง ระหว่างนั้นไม่มีฉากอะไรที่บ่งชี้ว่าฮานทำตัวเป็นผู้ร้ายเลย!!)
จากทั้งหมดหลายๆคนอาจจะอยากค้านว่า
ในการ์ตูนดิสนีย์เรื่องอื่นๆก็มีพล็อตโหว่แบบนี้เหมือนกัน แต่นั่นคือจุดที่ความขัดแย้งของ Realistic และ Suspension of Disbelief ส่งผล
เจ้าหญิงนิทรา สโนว์ไวท์ เงือกน้อย ซินเดอเรลล่า และการ์ตูนเจ้าหญิงอื่นๆของดิสนีย์เล่าเรื่องด้วยโทนของ
"เทพนิยาย" ที่ใส่ Suspension of Disbelief เข้ามาอย่างเต็มที่ แก่นเรื่องของเทพนิยายนั้นไม่ใช่ความสมเหตุสมผล แต่เป็นอารมณ์ของตัวละครและบรรยากาศของการดำเนินเรื่อง พล็อตของเทพนิยายสามารถสมบูรณ์ได้เพียงบ่งบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เพราะเป็นการเล่าเรื่องแบบเรียบง่าย ผู้ชมที่เข้าถึงอารมณ์จะสามารถมองข้ามความไม่สมเหตุสมผลหลายๆอย่างซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เนื้อเรื่องเน้นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
แต่ Frozen ไปในทางตรงกันข้าม การ์ตูนเรื่องนี้ใส่โทนแบบเทพนิยาย มีฉากหลังแบบเทพนิยาย มีโครงเรื่องที่คล้ายจะเป็นเทพนิยาย แต่โครงเรื่องกลับเรียกร้องให้ผู้ชม
"มองความสมจริง(Realistic)" ของพล็อต ที่เด่นๆเลยก็คือเรื่องรักแรกพบที่ตัวหนังขยี้แล้วขยี้อีก(จนบางคนเดาตอนหักมุมมาได้แต่ไกล)ว่าคนพึ่งเจอกันจะรีบแต่งกันไม่ได้ นั่นคือหนังได้ตั้งเงื่อนไขแล้วว่า
โครงเรื่องของ Frozen จะไม่ใช่การวาดฝันธรรมดา แต่เต็มไปด้วยหลักการและข้อคิดอันเฉียบแหลมล้ำสมัยเหนือเทพนิยายยุคเก่าทั่วไป กระนั้นปัญหาที่ตามขึ้นมาแทบจะในทันทีก็คือหากหนังขอให้ผู้ชมเพ่งเล็งรายละเอียดในส่วนหนึ่งแล้ว...มีความเป็นไปได้มากที่รายละเอียดอื่นๆในหนังจะถูกเพ่งเล็งตามไปด้วย(ตามที่ลิสต์ไว้ด้านบน แค่ยกตัวอย่าง) และนี่คือช่วงเวลาที่ Suspension of Disbelief กลายเป็นจุดบกพร่องของหนัง เพราะมันไม่ได้ถูกปกป้องด้วยกรอบแห่งอารมณ์และการเล่าเรื่องอีกต่อไป หนังดึงการวิเคราะห์ความสมจริงเข้ามาจนทำร้ายพื้นเรื่องหลักเพียงเพื่อแลกกับการขยี้พล็อตหักมุม 2-3 อย่าง
แน่นอนว่าหากผู้ชมสามารถมองข้ามจุดนี้ได้ก็จะไม่เป็นปัญหา(ซึ่งนั่นน่าจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของโลก...รายรับในญี่ปุ่นนี่ซื้อเรือยอร์ชได้กี่ลำแล้วนะ?) แต่หากผู้ชมคนไหนที่สะดุดกับจุดนี้......Frozen ก็เต็มไปด้วยความบกพร่องที่ยิ่งดำเนินไปยิ่งพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
ตัวร้ายที่ไร้บทบาท
การหักมุมของตัวละครเจ้าชายฮาน หลายๆคนชมว่าฉลาดและคาดไม่ถึง(เพื่อนผมพาน้องชาย(เด็กๆ)ไปดูในโรงก็บอกว่าฉากนั้นน้องอ้าปากค้างเลย) แต่ลองมาพิจารณาสักนิด ตัวละครตัวนี้มีข้อผิดพลาดอยู่ 2 ระดับ คือระดับเทคนิค และระดับบทบาท
ในระดับเทคนิค นี่คือการหักมุมที่อาจเรียกได้ว่า
"เล่นตุกติก" กับคนดู มากกว่าจะเป็นการซ่อนความลับแล้วเฉลยแบบที่การหักมุมทั่วไปทำกัน เพราะตลอดทั้งเรื่องนั้นเจ้าชายฮานไม่เคยถูกโยงเข้าไปใน
ข่ายผู้ต้องสงสัยเลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่มีการบอกใบ้หรือหรือพฤติกรรมน่าสงสัยของตัวละครที่จะดึงความสนใจของคนดูให้หยุดคิด ตรงกันข้าม...กลับมีฉากมากมายที่จงใจชี้คนดูไปผิดทางว่าตัวละครตัวนี้เป็นเจ้าชายตามขนบของการ์ตูนดิสนีย์ ทั้งตอนที่ฮานยิ้มอย่างอ่อนโยนลับหลังอันนา(ตอนเจอกันครั้งแรก) หรือการที่เจ้าชายดูแลประชาชนในเมืองเป็นอย่างดีในช่วงรักษาการแทน
แต่...แล้วฉากร้องเพลงล่ะ? หรือฉากที่เจ้าชายคุยเรื่องพี่น้อง หรือฉากขอแต่งงานอย่างรีบเร่ง? หรือถ้าพูดกันจริงๆแล้ว...พฤติกรรมดีๆของเจ้าชายตลอดเรื่องนั่นจะถือว่าเป็นแค่การเสแสร้งก็ได้ใช่รึเปล่า? ตามแบบฉบับของวายร้ายเจ้าเล่ห์ที่ตบตาแม้กระทั่งคนดู
เหตุผลที่ฉากเหล่านี้ไม่นับเป็นคำใบ้เพราะพวกนี้เป็นฉากที่ตีความได้ 2 ทาง แถมด้วยตัวหนังเทน้ำหนักไปที่ทางหลอกมากกว่าการให้คนดูตัดสินอย่างแฟร์ๆ
หรือต่อให้นับ...ฉากเหล่านี้ก็ยังไม่เข้าข่ายผู้ต้องสงสัยอยู่ดี เพราะว่า
Frozen ไม่มีข่ายผู้ต้องสงสัย หนังเรื่องนี้ไม่มีตัวร้ายเบื้องหลัง
ปัญหาในระดับบทบาทของตัวละครฮานคือ ในฐานะวายร้ายแล้ว
เขาไม่ได้จงใจทำอะไรที่มีผลต่อเนื้อเรื่องเลย
ฮานไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่เอลซ่ามีพลังน้ำแข็ง
ฮานไม่รู้เรื่องพลังน้ำแข็งของเอลซ่า
ฮานไม่ได้ตั้งใจก่อเรื่องให้เอลซ่าโมโห(ฮานขอแต่งงานแค่เพราะอยากปกครองเอรันเดล)
ฮานไม่ใช่คนผลักไสอันนาให้ออกไปตามหาพี่เธอจนโดนพลังน้ำแข็งยิงใส่
ความผิดเดียวในฐานะตัวร้ายที่ฮานทำคือการปล่อยให้อันนาตายและคิดจะฮุบอาณาจักรเท่านั้น ซึ่งพล็อตนี้โผล่เข้ามาท้ายเรื่องแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย!! ทั้งๆที่แก่นเรื่องก่อนหน้านี้คือการที่เอลซ่าควบคุมพลังไม่ได้และแช่แข็งดินแดนเท่านั้นเอง (จริงอยู่ว่าพ่อค้าวีเซิลอยากจะหากำไรจากอาณาจักรนี้ แต่เขาก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับฮานอยู่ดี)
ถ้าถามว่าเหตุการณ์นี้สมเหตุสมผลไหม? ขอตอบว่า
สมเหตุผลครับ นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้หากตัวละครเหล่านี้มาพัวพันกับเรื่องราวโดยบังเอิญแล้วพยามสบโอกาสหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง
แต่ในหลักของการเล่าเรื่อง แบบนี้เรียกว่าพล็อตไม่อยู่กับร่องรอย เนื้อหาเร่งรัดที่ถูกใส่เข้ามาในวินาทีสุดท้ายนี้คือเหตุผลที่ฮานไม่เคยเข้าข่ายผู้ต้องสงสัย เพราะเนื้อเรื่องไม่เคยบอกถึงความเสี่ยงที่อาณาจักรจะถูกยึดครอง จึงไม่แปลกที่จะไม่มีใครพยามจับผิดเจ้าชายฮาน เพราะตัวละครนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงเรื่องที่ถูกเกริ่นมาตอนแรกเลย
Let it Go......ร้องถึงใคร???
มาถึงเพลงดัง Let it Go ความหมายของเพลงนี้ผมจะบอกเลยว่า
ผมชอบมาก และเชื่อว่านี่คือเพลงที่กล่าวถึงจิตใจของวัยรุ่นหลายๆคน ณ จุดใดจุดหนึ่งในชีวิต เนื้อเพลงที่ว่าด้วยความเก็บกด ควาไม่เข้าใจของสังคม และการปลอดปล่อยเปิดเผยตัวตนโดนไม่แคร์สายตารอบข้าง มันคือความสดชื่นของจิตใจที่ได้หลุดจากกรอบซึ่งคนอื่นกักขังเรา
มีปัญหาอยู่นิดเดียว สำหรับเอลซ่าแล้ว...
เธอร้องเพลงนี้ให้ใคร?
ใช่ เธอร้องให้ตัวเธอเอง แต่เธอคือตัวเอก(ในเพลง) ที่ถามคือคนร้ายในเพลงคือใคร?
ใครเป็นคนกดดันเธอตลอดหลายปี ใครคือผู้ที่บังคับกักขังเธอไว้ในห้อง ใครที่เฝ้าบอกให้เธอเก็บพลังเป็นความลับ ไม่ยอมให้เธอเผยตัวสู่โลกภายนอก ไม่ใช่อันนา ไม่ใช่ฮาน ไม่ใช่วีเซิล ไม่ใช่เหล่าข้าหลวง ไม่ใช่ประชาชนของเอรันเดล
แต่คือราชากับราชินี คือพ่อกับแม่ของเธอใช่มั้ย? ซึ่ง
พวกเขาตายไปแล้ว
ความหมายของ let it Go ไม่ใช่แค่การระบายความรู้สึกของตัวเองเท่านั้น แต่ทำนองเพลงยังมาในโทน
ตอกหน้าผู้ที่กดดันเธอด้วย เหมือนจะพูดว่า
"ฉันไม่เอาแล้ว!! ไม่ทนแล้ว ฉันจะใช้พลังของฉัน เธอมาห้ามฉันไม่ได้ เห็นพลังของฉันมั้ย? เห็นความยิ่งใหญ่งดงามของมันมั้ย? เด็กดีที่เธอเคยอยากให้ฉันเป็นน่ะไม่มีอีกแล้วนะ!! ต่อแต่นี้ไปฉันจะไม่สนใจฟังเธอและเลือกทางเดินของฉันเอง" เพราะงั้นตัวเพลงจำเป็นต้องเพ่งเล็งใครคนใดคนหนึ่งที่จะรับคำท้าทายเหล่านี้ด้วย ซึ่งในบริบทของเนื้อเรื่องไม่มีคนเหล่านี้ หรือพูดให้ถูกคือมีแต่ตายไปนานแล้ว...ช่วงเวลาแห่งความเก็บกดตลอดมานั้นเอลซ่าไม่มีใครให้โทษนอกจากตัวเอง(เพราะไม่มีใครอีกเลยที่รู้เรื่องพลังของเธอ)
หากในพล็อตเรื่องมีใครอีกซักคนที่คอยกดดันเอลซ่า คอยสั่งเธอไม่ให้ใช้พลัง ไม่ให้ออกไปไหน แล้วจนปัจจุบันคนๆนั้นยังมีชีวิตอยู่และได้เห็นสิ่งที่เอลซ่าทำ นั่นจึงจะสมบูรณ์ นั่นจึงจะสอดคล้องกับ Let it Go เป็นเพลงที่ท้าทายผู้ซึ่งพยามบงการชีวิตของคนอื่น แต่ใน Frozen นั้นความผิดนี้ไม่อาจนับให้ตกอยู่กับใครได้
ในส่วนของพ่อแม่ที่เสียไป นี่ไม่ใช่บริบทที่เพลงอย่าง Let it Go จะโจมตีได้ คนเหล่านี้ตายไปแล้วและไม่อาจรับรู้ผลการกระทำที่พวกตนทิ้งไว้ หากเอลซ่าจะสื่อเพลงนี้ถึงพ่อแม่ผู้ล่วงลับของเธอ...ตัวเพลงควรจะออกมาในลักษณะการรำพันถึงผู้ตายและต่อสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ และการปลดปล่อยของเธอก็เป็นการเปลื้องภาระของเธอเอง ภาระที่ทิ้งไว้จากผู้ล่วงลับ ไม่ได้กล่าวหาใครคนใดคนหนึ่งโดยตรง
สรุป
ท้ายที่สุดแล้ว ผมชอบหนังเรื่องนี้มั้ย?
ไม่ชอบ แต่ผมเกลียดมันมั้ย? ก็
ไม่เกลียดเช่นกัน แค่มีภาระใจที่หลังจากดูทั้ง Frozen และ Maleficent แล้ว....ผมเกรงเหลือเกินว่าเสน่ห์ของดิสนีย์ที่ผมเคยชื่นชอบในอดีตกำลังหายไปทีละน้อย หนังทุกเรื่องยังมีแนวคิดที่น่าสนใจ..แต่เริ่มจะขาดความละเมียดละไมในการแสดงออก
---------------------------------------------------------------------------------------------
3 เหตุผลที่ผมไม่ชอบ Forzen (กระทู้วิเคราะห์และอธิบายข้อคิดเห็น ไม่ได้ด่าเรื่อยเปื่อยนะครับ) [Spoilแรงสูง]
เห็นช่วงนี้เริ่มมีกระทู้สวนกระแส Frozen ผุดขึ้นมาบ่อยๆ(ในขณะที่หนังกวาดรายได้ถล่มทลายในแดนปลาดิบ...หลังเขมือบออสการ์จนอิ่มหนำสำราญไปแล้วด้วย) เลยขอนำบทวิเคราะห์ส่วนตัวมาแชร์ครับ
ขอสรุปเป็นข้อๆเพื่อความสะดวก
ธีมที่ที่ขัดแย้งกัน
Frozen มีโครงเรื่องที่ขัดกันระหว่าง Realistic(เนื้อหาที่สมจริง) กับ Suspension of Disbelief(การมองข้ามความไม่สมจริง) โดยพล็อตหลักของ Frozen พยามจะทำตัวป็น "การฉีกขนบธรรมเนียมเดิมๆของการ์ตูนดิสนีย์" แต่กลับลืมที่จะใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยต่อคำถามที่อาจจะเกิดเพราะพล็อตโหว่ของเนื้อเรื่องด้วย เช่น
-พลังของเอลซ่าเกิดมาจากอะไร? (ถ้าจะบอกว่ารายละเอียดส่วนนี้เป็นเรื่องลึกลับของเทพนิยาที่ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบชัดเจน ผมอยากให้ลองเทียบเรื่องพลังน้ำแข็งกับ "ดอกไม้อายุวัฒนะ" ของราพันเซลดู อันนั้นก็เป็นเรื่องลึกลับของเทพนิยายที่ไม่มีคำตอบชัดเจนเช่นกัน แต่ใช้การอารัมภบทง่ายๆเพื่อให้ข้อมูลกับคนดู(น้ำวิเศษจากสรวงสวรรค์) ผมว่าพลังของเอลซ่าเองก็สามารถใช้การอารัมภบทสั้นๆอธิบายพื้นฐานได้ซักหน่อยเหมือนกัน)
-พ่อแม่ของคริสทอฟคือใคร? และหากเขาเป็นเด็กกำพร้า...แล้วเขาไปทำอะไรกับคนงานตัดน้ำแข็งตอนต้นเรื่อง? หลังจากโทรหินรับเขาไปเลี้ยงแล้วคริสทอฟใช้ชีวิตอยู่อย่างไร? ทำไมเขาถึงยังทำมาค้าขายอยู่ในเมืองมนุษย์ (ฉากเปิดเรื่องนั้นหนังไม่ได้แสดงให้คนดูรู้มากพอว่าสถานะของคริสทอฟคืออะไร หากดูผ่านๆเราจะคิดไปด้วยซ้ำว่าเขาน่าจะเป็นลูกของคนงานคนใดคนหนึ่งที่มาตัดน้ำแข็ง นั่นทำให้เมื่อเจ้าตัวพูดตอนท้ายเรื่องว่าเขาถูกเลี้ยงโดยโทรลยิ่งชวนสับสนเข้าไปอีกเพราะฉากที่โทรลหินกอดเขาแล้วบอกว่าอยากจะเก็บเขาไว้ตอนเด็กๆนั้นเหมือนเป็นมุขน่ารักๆมากกว่า)
-หลังราชากับราชินีสิ้นพระชนม์ ใครเป็นคนดูแลอาณาจักรแทนเจ้าหญิงทั้ง 2 องค์? (หากจะบอกว่าเป็นกลุ่มข้าหลวงที่เป็นแค่ตัวประกอบเลยไม่จำเป็นต้องมีบทบาทในจอก็ไม่ใช่......เพราะมันทิ้งคำถามไว้ว่าผู้รักษาการแทนเหล่านี้รู้เรื่องพลังของเอลซ่ารึเปล่า?(ถ้าไม่รู้ ทำไมถึงไม่มีใครสงสัยเรื่องการเก็บตัวขององค์หญิง พอถึงวันราชินีภิเษกก็เรียกมารับตำแหน่งเฉยๆซะงั้น?) แล้วประชาชนล่ะมีคำถามอะไรมั้ยที่องค์หญิงทั้ง 2 ไม่เคยปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณะชนอีกเลย?)
-ทำไมพวกข้าหลวงถึงปล่อยให้อันนาขึ้นไปตามเอลซ่าเพียงคนเดียว? (อันนาเป็นแค่เจ้าหญิงองค์เล็ก ต่อให้เธอบอกว่าอยากจะคุยกับพี่สาวเป็นการส่วนตัว อย่างน้อยก็ควรจะมีองค์รักษ์หรือทหารนำทางตามไปด้วยสักคน 2 คนเพื่อคุ้มกัน)
-ตอนที่ฮานถูกอันนาชกจนตกจากเรือ(ตอนท้ายเรื่อง) ทำไมพวกข้าหลวงที่ดูอยู่ถึงทำท่าดีใจ? (ในเมื่อก่อนหน้านั้นพวกเขายังเชื่อว่าเจ้าชายฮานเป็นคนดีอยู่เลย กรณีที่ฮานพยามสังหารเอลซ่าก็เป็นเรื่องที่คนอื่นทูลขอ และที่สำคัญ...ฉากที่ฮานกำลังจะลงดาบเอลซ่านั้นมีพายุปกคลุมทะเลสาบ คนนอกไม่มีใครมองเห็นอะไรจนกระทั่งเอลซ่าละลายน้ำแข็ง ระหว่างนั้นไม่มีฉากอะไรที่บ่งชี้ว่าฮานทำตัวเป็นผู้ร้ายเลย!!)
จากทั้งหมดหลายๆคนอาจจะอยากค้านว่า ในการ์ตูนดิสนีย์เรื่องอื่นๆก็มีพล็อตโหว่แบบนี้เหมือนกัน แต่นั่นคือจุดที่ความขัดแย้งของ Realistic และ Suspension of Disbelief ส่งผล
เจ้าหญิงนิทรา สโนว์ไวท์ เงือกน้อย ซินเดอเรลล่า และการ์ตูนเจ้าหญิงอื่นๆของดิสนีย์เล่าเรื่องด้วยโทนของ "เทพนิยาย" ที่ใส่ Suspension of Disbelief เข้ามาอย่างเต็มที่ แก่นเรื่องของเทพนิยายนั้นไม่ใช่ความสมเหตุสมผล แต่เป็นอารมณ์ของตัวละครและบรรยากาศของการดำเนินเรื่อง พล็อตของเทพนิยายสามารถสมบูรณ์ได้เพียงบ่งบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เพราะเป็นการเล่าเรื่องแบบเรียบง่าย ผู้ชมที่เข้าถึงอารมณ์จะสามารถมองข้ามความไม่สมเหตุสมผลหลายๆอย่างซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เนื้อเรื่องเน้นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
แต่ Frozen ไปในทางตรงกันข้าม การ์ตูนเรื่องนี้ใส่โทนแบบเทพนิยาย มีฉากหลังแบบเทพนิยาย มีโครงเรื่องที่คล้ายจะเป็นเทพนิยาย แต่โครงเรื่องกลับเรียกร้องให้ผู้ชม "มองความสมจริง(Realistic)" ของพล็อต ที่เด่นๆเลยก็คือเรื่องรักแรกพบที่ตัวหนังขยี้แล้วขยี้อีก(จนบางคนเดาตอนหักมุมมาได้แต่ไกล)ว่าคนพึ่งเจอกันจะรีบแต่งกันไม่ได้ นั่นคือหนังได้ตั้งเงื่อนไขแล้วว่าโครงเรื่องของ Frozen จะไม่ใช่การวาดฝันธรรมดา แต่เต็มไปด้วยหลักการและข้อคิดอันเฉียบแหลมล้ำสมัยเหนือเทพนิยายยุคเก่าทั่วไป กระนั้นปัญหาที่ตามขึ้นมาแทบจะในทันทีก็คือหากหนังขอให้ผู้ชมเพ่งเล็งรายละเอียดในส่วนหนึ่งแล้ว...มีความเป็นไปได้มากที่รายละเอียดอื่นๆในหนังจะถูกเพ่งเล็งตามไปด้วย(ตามที่ลิสต์ไว้ด้านบน แค่ยกตัวอย่าง) และนี่คือช่วงเวลาที่ Suspension of Disbelief กลายเป็นจุดบกพร่องของหนัง เพราะมันไม่ได้ถูกปกป้องด้วยกรอบแห่งอารมณ์และการเล่าเรื่องอีกต่อไป หนังดึงการวิเคราะห์ความสมจริงเข้ามาจนทำร้ายพื้นเรื่องหลักเพียงเพื่อแลกกับการขยี้พล็อตหักมุม 2-3 อย่าง
แน่นอนว่าหากผู้ชมสามารถมองข้ามจุดนี้ได้ก็จะไม่เป็นปัญหา(ซึ่งนั่นน่าจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของโลก...รายรับในญี่ปุ่นนี่ซื้อเรือยอร์ชได้กี่ลำแล้วนะ?) แต่หากผู้ชมคนไหนที่สะดุดกับจุดนี้......Frozen ก็เต็มไปด้วยความบกพร่องที่ยิ่งดำเนินไปยิ่งพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
ตัวร้ายที่ไร้บทบาท
การหักมุมของตัวละครเจ้าชายฮาน หลายๆคนชมว่าฉลาดและคาดไม่ถึง(เพื่อนผมพาน้องชาย(เด็กๆ)ไปดูในโรงก็บอกว่าฉากนั้นน้องอ้าปากค้างเลย) แต่ลองมาพิจารณาสักนิด ตัวละครตัวนี้มีข้อผิดพลาดอยู่ 2 ระดับ คือระดับเทคนิค และระดับบทบาท
ในระดับเทคนิค นี่คือการหักมุมที่อาจเรียกได้ว่า "เล่นตุกติก" กับคนดู มากกว่าจะเป็นการซ่อนความลับแล้วเฉลยแบบที่การหักมุมทั่วไปทำกัน เพราะตลอดทั้งเรื่องนั้นเจ้าชายฮานไม่เคยถูกโยงเข้าไปในข่ายผู้ต้องสงสัยเลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่มีการบอกใบ้หรือหรือพฤติกรรมน่าสงสัยของตัวละครที่จะดึงความสนใจของคนดูให้หยุดคิด ตรงกันข้าม...กลับมีฉากมากมายที่จงใจชี้คนดูไปผิดทางว่าตัวละครตัวนี้เป็นเจ้าชายตามขนบของการ์ตูนดิสนีย์ ทั้งตอนที่ฮานยิ้มอย่างอ่อนโยนลับหลังอันนา(ตอนเจอกันครั้งแรก) หรือการที่เจ้าชายดูแลประชาชนในเมืองเป็นอย่างดีในช่วงรักษาการแทน
แต่...แล้วฉากร้องเพลงล่ะ? หรือฉากที่เจ้าชายคุยเรื่องพี่น้อง หรือฉากขอแต่งงานอย่างรีบเร่ง? หรือถ้าพูดกันจริงๆแล้ว...พฤติกรรมดีๆของเจ้าชายตลอดเรื่องนั่นจะถือว่าเป็นแค่การเสแสร้งก็ได้ใช่รึเปล่า? ตามแบบฉบับของวายร้ายเจ้าเล่ห์ที่ตบตาแม้กระทั่งคนดู
เหตุผลที่ฉากเหล่านี้ไม่นับเป็นคำใบ้เพราะพวกนี้เป็นฉากที่ตีความได้ 2 ทาง แถมด้วยตัวหนังเทน้ำหนักไปที่ทางหลอกมากกว่าการให้คนดูตัดสินอย่างแฟร์ๆ
หรือต่อให้นับ...ฉากเหล่านี้ก็ยังไม่เข้าข่ายผู้ต้องสงสัยอยู่ดี เพราะว่า Frozen ไม่มีข่ายผู้ต้องสงสัย หนังเรื่องนี้ไม่มีตัวร้ายเบื้องหลัง
ปัญหาในระดับบทบาทของตัวละครฮานคือ ในฐานะวายร้ายแล้ว เขาไม่ได้จงใจทำอะไรที่มีผลต่อเนื้อเรื่องเลย
ฮานไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่เอลซ่ามีพลังน้ำแข็ง
ฮานไม่รู้เรื่องพลังน้ำแข็งของเอลซ่า
ฮานไม่ได้ตั้งใจก่อเรื่องให้เอลซ่าโมโห(ฮานขอแต่งงานแค่เพราะอยากปกครองเอรันเดล)
ฮานไม่ใช่คนผลักไสอันนาให้ออกไปตามหาพี่เธอจนโดนพลังน้ำแข็งยิงใส่
ความผิดเดียวในฐานะตัวร้ายที่ฮานทำคือการปล่อยให้อันนาตายและคิดจะฮุบอาณาจักรเท่านั้น ซึ่งพล็อตนี้โผล่เข้ามาท้ายเรื่องแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย!! ทั้งๆที่แก่นเรื่องก่อนหน้านี้คือการที่เอลซ่าควบคุมพลังไม่ได้และแช่แข็งดินแดนเท่านั้นเอง (จริงอยู่ว่าพ่อค้าวีเซิลอยากจะหากำไรจากอาณาจักรนี้ แต่เขาก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับฮานอยู่ดี)
ถ้าถามว่าเหตุการณ์นี้สมเหตุสมผลไหม? ขอตอบว่าสมเหตุผลครับ นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้หากตัวละครเหล่านี้มาพัวพันกับเรื่องราวโดยบังเอิญแล้วพยามสบโอกาสหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง
แต่ในหลักของการเล่าเรื่อง แบบนี้เรียกว่าพล็อตไม่อยู่กับร่องรอย เนื้อหาเร่งรัดที่ถูกใส่เข้ามาในวินาทีสุดท้ายนี้คือเหตุผลที่ฮานไม่เคยเข้าข่ายผู้ต้องสงสัย เพราะเนื้อเรื่องไม่เคยบอกถึงความเสี่ยงที่อาณาจักรจะถูกยึดครอง จึงไม่แปลกที่จะไม่มีใครพยามจับผิดเจ้าชายฮาน เพราะตัวละครนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงเรื่องที่ถูกเกริ่นมาตอนแรกเลย
Let it Go......ร้องถึงใคร???
มาถึงเพลงดัง Let it Go ความหมายของเพลงนี้ผมจะบอกเลยว่า ผมชอบมาก และเชื่อว่านี่คือเพลงที่กล่าวถึงจิตใจของวัยรุ่นหลายๆคน ณ จุดใดจุดหนึ่งในชีวิต เนื้อเพลงที่ว่าด้วยความเก็บกด ควาไม่เข้าใจของสังคม และการปลอดปล่อยเปิดเผยตัวตนโดนไม่แคร์สายตารอบข้าง มันคือความสดชื่นของจิตใจที่ได้หลุดจากกรอบซึ่งคนอื่นกักขังเรา
มีปัญหาอยู่นิดเดียว สำหรับเอลซ่าแล้ว...เธอร้องเพลงนี้ให้ใคร?
ใช่ เธอร้องให้ตัวเธอเอง แต่เธอคือตัวเอก(ในเพลง) ที่ถามคือคนร้ายในเพลงคือใคร?
ใครเป็นคนกดดันเธอตลอดหลายปี ใครคือผู้ที่บังคับกักขังเธอไว้ในห้อง ใครที่เฝ้าบอกให้เธอเก็บพลังเป็นความลับ ไม่ยอมให้เธอเผยตัวสู่โลกภายนอก ไม่ใช่อันนา ไม่ใช่ฮาน ไม่ใช่วีเซิล ไม่ใช่เหล่าข้าหลวง ไม่ใช่ประชาชนของเอรันเดล
แต่คือราชากับราชินี คือพ่อกับแม่ของเธอใช่มั้ย? ซึ่งพวกเขาตายไปแล้ว
ความหมายของ let it Go ไม่ใช่แค่การระบายความรู้สึกของตัวเองเท่านั้น แต่ทำนองเพลงยังมาในโทน ตอกหน้าผู้ที่กดดันเธอด้วย เหมือนจะพูดว่า "ฉันไม่เอาแล้ว!! ไม่ทนแล้ว ฉันจะใช้พลังของฉัน เธอมาห้ามฉันไม่ได้ เห็นพลังของฉันมั้ย? เห็นความยิ่งใหญ่งดงามของมันมั้ย? เด็กดีที่เธอเคยอยากให้ฉันเป็นน่ะไม่มีอีกแล้วนะ!! ต่อแต่นี้ไปฉันจะไม่สนใจฟังเธอและเลือกทางเดินของฉันเอง" เพราะงั้นตัวเพลงจำเป็นต้องเพ่งเล็งใครคนใดคนหนึ่งที่จะรับคำท้าทายเหล่านี้ด้วย ซึ่งในบริบทของเนื้อเรื่องไม่มีคนเหล่านี้ หรือพูดให้ถูกคือมีแต่ตายไปนานแล้ว...ช่วงเวลาแห่งความเก็บกดตลอดมานั้นเอลซ่าไม่มีใครให้โทษนอกจากตัวเอง(เพราะไม่มีใครอีกเลยที่รู้เรื่องพลังของเธอ)
หากในพล็อตเรื่องมีใครอีกซักคนที่คอยกดดันเอลซ่า คอยสั่งเธอไม่ให้ใช้พลัง ไม่ให้ออกไปไหน แล้วจนปัจจุบันคนๆนั้นยังมีชีวิตอยู่และได้เห็นสิ่งที่เอลซ่าทำ นั่นจึงจะสมบูรณ์ นั่นจึงจะสอดคล้องกับ Let it Go เป็นเพลงที่ท้าทายผู้ซึ่งพยามบงการชีวิตของคนอื่น แต่ใน Frozen นั้นความผิดนี้ไม่อาจนับให้ตกอยู่กับใครได้
ในส่วนของพ่อแม่ที่เสียไป นี่ไม่ใช่บริบทที่เพลงอย่าง Let it Go จะโจมตีได้ คนเหล่านี้ตายไปแล้วและไม่อาจรับรู้ผลการกระทำที่พวกตนทิ้งไว้ หากเอลซ่าจะสื่อเพลงนี้ถึงพ่อแม่ผู้ล่วงลับของเธอ...ตัวเพลงควรจะออกมาในลักษณะการรำพันถึงผู้ตายและต่อสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ และการปลดปล่อยของเธอก็เป็นการเปลื้องภาระของเธอเอง ภาระที่ทิ้งไว้จากผู้ล่วงลับ ไม่ได้กล่าวหาใครคนใดคนหนึ่งโดยตรง
สรุป
ท้ายที่สุดแล้ว ผมชอบหนังเรื่องนี้มั้ย? ไม่ชอบ แต่ผมเกลียดมันมั้ย? ก็ไม่เกลียดเช่นกัน แค่มีภาระใจที่หลังจากดูทั้ง Frozen และ Maleficent แล้ว....ผมเกรงเหลือเกินว่าเสน่ห์ของดิสนีย์ที่ผมเคยชื่นชอบในอดีตกำลังหายไปทีละน้อย หนังทุกเรื่องยังมีแนวคิดที่น่าสนใจ..แต่เริ่มจะขาดความละเมียดละไมในการแสดงออก