ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า คำสอนเรื่องกรรมที่สอนว่า เมื่อมนุษย์ทำกรรมใดแล้วจะต้องไปรับผลของกรรมนั้นในชาติต่อไปหรือจากตายไปแล้วนั้น ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่ปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้วโดยชาวพุทธไม่รู้ตัว ซึ่งคำสอนเรื่องกรรมที่แท้จริงของพุทธศาสนานั้นจะเป็นการสอนเรื่องความจริงที่เกิดขึ้นแก่จิตของเราในปัจจุบันดังนี้
คำว่า กรรม แปลว่า การกระทำด้วยเจตนา (ตั้งใจ) ซึ่งเจตนานั้นก็คือ กิเลส (คือความพอใจ, ไม่พอใจ, และลังเลใจ ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ตัณหา ที่แปลว่า ความอยาก คือทั้งอยากได้และไม่อยากได้) ส่วน ผลของกรรม เรียกว่า วิบาก คือสรุปว่า เมื่อใดที่จิตของเราเกิดกิเลส ก็เรียกว่าเป็นกรรมทันที โดยกรรมนี้มี ๒ ประเภท คือ กรรมดี กับ กรรมชั่ว
กรรมดีก็คือ การกระทำที่ดี ที่เกิดมาจากกิเลสฝ่ายดี (อยากทำความดี ไม่อยากทำความชั่ว) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการกระทำทางกาย วาจา และใจ อันได้แก่ การมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิต ทรัพย์สิน และกามารมณ์ของผู้อื่น, การไม่พูดโกหก คำหยาบ ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ, การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น, การไม่โกรธอาฆาตพยาบาทผู้อื่น, และการมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม (เช่น เห็นว่าทำดีแล้วจะเกิดผลดีแก่จิตใจ), รวมทั้งการช่วยเหลือผู้อื่น (เช่น ให้ทรัพย์ ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้โอกาส ให้แรงกาย เป็นต้น) โดยไม่หวังผลตอบแทน, การปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องเหมาะสม (เช่น เลี้ยงดูพ่อแม่ เชื่อฟังครูอาจารย์ เป็นต้น), การมีความขยัน อดทน ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย, การให้อภัย, การเสียสละเพื่อสังคม (เช่น ช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก เสียภาษี เป็นทหาร เป็นข้าราชการที่ดี เป็นต้น), การช่วยเหลือชีวิตสัตว์, การอนุรักษ์ธรรมชาติ (เช่น ป่าไม้ ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง), การช่วยกันสร้างสันติสุขให้แก่ประเทศชาติ, และการช่วยกันสร้างสันติภาพให้แก่โลก เป็นต้น
หลักกรรมที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
คำว่า กรรม แปลว่า การกระทำด้วยเจตนา (ตั้งใจ) ซึ่งเจตนานั้นก็คือ กิเลส (คือความพอใจ, ไม่พอใจ, และลังเลใจ ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ตัณหา ที่แปลว่า ความอยาก คือทั้งอยากได้และไม่อยากได้) ส่วน ผลของกรรม เรียกว่า วิบาก คือสรุปว่า เมื่อใดที่จิตของเราเกิดกิเลส ก็เรียกว่าเป็นกรรมทันที โดยกรรมนี้มี ๒ ประเภท คือ กรรมดี กับ กรรมชั่ว
กรรมดีก็คือ การกระทำที่ดี ที่เกิดมาจากกิเลสฝ่ายดี (อยากทำความดี ไม่อยากทำความชั่ว) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการกระทำทางกาย วาจา และใจ อันได้แก่ การมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิต ทรัพย์สิน และกามารมณ์ของผู้อื่น, การไม่พูดโกหก คำหยาบ ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ, การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น, การไม่โกรธอาฆาตพยาบาทผู้อื่น, และการมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม (เช่น เห็นว่าทำดีแล้วจะเกิดผลดีแก่จิตใจ), รวมทั้งการช่วยเหลือผู้อื่น (เช่น ให้ทรัพย์ ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้โอกาส ให้แรงกาย เป็นต้น) โดยไม่หวังผลตอบแทน, การปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องเหมาะสม (เช่น เลี้ยงดูพ่อแม่ เชื่อฟังครูอาจารย์ เป็นต้น), การมีความขยัน อดทน ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย, การให้อภัย, การเสียสละเพื่อสังคม (เช่น ช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก เสียภาษี เป็นทหาร เป็นข้าราชการที่ดี เป็นต้น), การช่วยเหลือชีวิตสัตว์, การอนุรักษ์ธรรมชาติ (เช่น ป่าไม้ ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง), การช่วยกันสร้างสันติสุขให้แก่ประเทศชาติ, และการช่วยกันสร้างสันติภาพให้แก่โลก เป็นต้น