จากกระแสละครไทยกลิ่นอายญี่ปุ่นอย่าง"รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน"ในพันทิป ที่กำลังถูกพูดถึงในตอนนี้
หนึ่งในทอปปิคที่พูดกันคือ'ไอโกะ'ตะละแม่แปดหลอด จากเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อนางออกมาที ก็จะกรี๊ดที
ประหนึ่งนางร้ายหลงยุคมาจากยุคดาวพระศุกร์เวอร์ชั่น สุวนันท์ จนเป็นที่บอกกังขาว่า
นางร้ายญี่ปุ่นมันเป็นแบบนี้หรือ??? หญิงไปเจอบทความน่าสนใจค่ะ เลยเอามาแชร์กันว่า
นางร้ายในซีรีส์ญี่ปุ่น จริงๆมันเป็นแบบไหนกันแน่!
=========================================
เมื่อหลายเดือนที่แล้ว "สายน้ำผึ้ง" นางร้ายในละคร "สามีตีตรา" มาแรงแบบสุดๆ เรียกได้ว่าคนดูอิน
ติดกันทั่วบ้าทั่วเมื่อง แถมยังน่าหมั่นไส้ น่าตบอีกต่างหาก
จากกระแสดังกล่าวทำให้ดิฉันนึกถึง “นางร้ายละครญี่ปุ่น” ค่ะ ถ้าพูดถึงนางร้ายละครไทยเราก็พอจะนึกภาพกันออก
แต่ว่าถ้าเป็นนางร้ายละครญี่ปุ่นล่ะจะเป็นยังไงกันนะ!
1. สายแบ๊วแต่ร้ายลึก
ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าดูนางร้ายญี่ปุ่นจากภายนอกจะดูไม่ค่อยออกค่ะ นางจะดูเป็นคนที่ธรรมดาๆ บางทีก็ออกแนวสายแบ๊ว น่ารักๆ บอบบางเสียด้วยซ้ำ (ส่วนมากนางร้ายญี่ปุ่นจะสวยเทียบเท่ากับนางเอกเลยค่ะ นางร้ายบางเรื่องก็เคยรับบทเป็นนางเอกในเรื่องอื่นๆ ด้วย) เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นก็จะทำเป็นดีแสนดี ดูไม่มีพิษไม่มีภัยอะไร แต่ใจจริงนั้นคนละขั้วเลยค่ะ ขอยกตัวอย่างนางคนนี้
Anzai Minami” (รับบทโดย Fukuda Saki) จากเรื่อง “Life” เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นก็จะเป็นคนดี ทำตัวเป็นผู้หญิงที่อ่อนแอ แบ๊วๆ ใสๆ แต่เอาเข้าจริง แหม! อย่าให้เล่าถึงวีรกรรม นางคนนี้เกลียดนางเอกเข้าไส้ ถึงขนาดที่ว่ายุให้เพื่อนในห้องรุมแกล้ง ใช้ให้กิ๊กตัวเองฉุดนางเอกมาขังไว้ในตึกร้างและเผาให้ตายคาตึกนั้นโหดมาก แต่โชคดีว่านางเอกของเรารอดชีวิตมาได้ค่ะ
2. มีแรงจูงใจที่หลากหลาย
นางร้ายญี่ปุ่นจะมีแรงจูงใจในการก่อความผิด ด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไปค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแนวละครด้วย ถ้าเป็นละครรัก เหตุผลหลักๆ เลยก็คือ “รักพระเอก” แต่ถ้าเป็นแนวสืบสวนก็ออกแนวอยากจะเป็นผู้ครองโลก เป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง แรงจูงใจอื่นๆ ที่พบเห็นอีกก็เช่น ไม่ชอบขี้หน้านางเอก เพราะอิจฉาที่ได้ดิบได้ดีกว่าตน เป็นต้นค่ะ
นอกจากนี้บางทีนางร้ายญี่ปุ่นก็จะไม่ได้เป็นศัตรูกับนางเอกเท่านั้นค่ะ เนื่องจากละครญี่ปุ่นจะมีเรื่องรักๆ ไม่เยอะเหมือนบ้านเรา แต่เขาจะมีแนวอื่นๆ มาผสมด้วย เช่น แนวชีวิต แนวอาชีพ แนวสืบสวนสอบสวน (แนวนี้จะเยอะหน่อย) ทำให้บางครั้ง “นางร้าย” ก็จะไม่ได้เป็นศัตรูกับนางเอกเสมอไป แต่จะเป็นศัตรูกับพระเอกด้วย
อย่างเช่นสาวสวยปริศนาจากเรื่อง “Ando Lloyd” คนนี้ (รับบทโดย Kiritani Mirei) แรงจูงใจในความร้ายของเธอก็คือ... “ต้องการจะครองโลก และควบคุมมนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกใบนี้” ศัตรูหมายเลข 1 ของเธอก็คือศาสตราจารย์ Reji กับหุ่นยนต์ Ando Lloyd พระเอกของเรื่องนี้นั่นเอง
3. ฉลาด IQ สูง
ลักษณะเด่นของนางร้ายละครญี่ปุ่นอีกอย่างก็คือ “ความฉลาด” ค่ะ เธอสามารถคิดแผนที่จะทำร้ายนางเอกหรือพระเอกได้ในรูปแบบที่หลากหลาย พวกเธอนั้นถือได้ว่าเป็นพวกที่มี IQ สูงเลยทีเดียว เพื่อที่จะได้มาต่อกรกับตัวละครเอก ที่มักจะเป็นตัวละครที่ฉลาดเช่นกัน ตัวอย่างนางร้ายที่เข้าข่ายข้อนี้ก็คือคนนี้ค่ะ
“
Katsuragi Ryo” (รับบทโดย Kikuchi Rinko) คู่ปรับของ Akiyama จอมอัจฉริยะแห่ง “Liar Game” นอกจากเธอจะต้องการโค่น Akiyama แล้ว แต่ยังต้องการทำร้าย Nao จัง นางเอกโลกสวยอีกด้วย เพราะความดี ความใสซื่อที่ Nao จังมีมากเกินไป ทำให้ Katsuragi ไม่ถูกชะตา และอยากจะสั่งสอนให้รู้ว่าโลกจริงมันไม่ได้สวยอย่างที่คิดนะยะ !
4. จู่โจมแบบลับหลัง
บางทีนางร้ายญี่ปุ่นจะแอบลอบทำร้ายโดยไม่ให้ตัวละครเอกของเรื่องรู้ตัวค่ะ ก็จะมีทั้งใช้ให้คนอื่นทำ หรือบางทีก็ทำด้วยมือของตัวเอง แต่จะแอบซ่อนไม่ให้นางเอกรู้ ขนาดคนดูเองก็ยังไม่รู้เลยว่า สรุปแล้วใครคือนางร้าย ต้องดูต่อไปจนเกือบจบเรื่องถึงจะเฉลยออกมา ตัวอย่างก็เช่นเธอคนนี้ค่ะ
“
Kasumi Aoi” (รับบทโดย Rumi Hiragi) จากเรื่อง “Nobuta wo Produce” เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ที่แอบลอบทำร้าย Nobuta นางเอกของเรื่อง ทั้งสร้างข่าวลือให้เพื่อนเสียหาย ทำลายความสำเร็จของเพื่อน นางก็จะวางแผนและแอบทำร้ายลับหลังค่ะ นางเอกก็จะถูกทำร้ายไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าศัตรูตัวเองเป็นใคร (จริงๆ ก็คือคนใกล้ตัวนี่แหละ) น่ากลัวยิ่งกว่ามาร้ายแบบต่อหน้าอีกนะคะเนี่ย
5. มักจะไม่ลงมือด้วยตัวเอง
เรื่องไม่ดีไม่งามแบบนี้ นางร้ายบางคนก็ไม่ยอมลงมือเองหรอกค่ะ นางจะมีลูกสมุน หรือคนที่จงรักภักดีพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อเธอ ตัวอย่างของนางร้ายประเภทนี้ เช่น ท่าน
Lucia (รับบทโดย Yamada Yu) จากเรื่อง “Mei-chan no -suji”
ดูสิคะ ลูกสมุนเพียบ นี่ยังไม่รวมถึงผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนามอีกนะคะเนี่ย!
เธอคนนี้เป็นหญิงสาวที่มีความเป็นกุลสตรี มารยาทงาม อ่อนโยนที่สุดในโรงเรียน แต่ที่กล่าวมามันก็แค่เปลือกนอกเท่านั้น แต่ภายในเธอเต็มไปด้วยความอาฆาตแค้น ริษยา และชิงชัง อยากจะกำจัด Mei จัง นางเอกของเรื่องไปให้พ้นๆ เด็กผู้หญิงกะโปโล ยาจกแบบนั้น เธอไม่ยอมให้มาเสนอหน้าอยู่ในระดับเดียวกับเธอหรอก ! แต่...จะให้ทำอย่างไร ก็ในเมื่อเธอมีภาพลักษณ์ของหญิงสาวที่แสนดีอยู่ เธอจึงใช้ให้คนรับใช้สุดหล่อ “Shinobu” (รับบทโดย Mukai Osamu) รวมถึงลูกสุมนคนอื่นๆ เป็นคนจัดการทั้งหมด แต่ถ้าทุกคนล่วงรู้ความจริงเมื่อไร เธอจะเป็นฝ่ายลงมือเอง!
6. นางร้ายลอยนวล
นางร้ายในละครญี่ปุ่นบางเรื่องจะไม่พบจุดจบที่เป็น “หายนะ” เสมอไปค่ะ กล่าวคือ ตอนจบนางจะไม่ตาย นางจะไม่ติดคุก นางจะไม่ถูกน้ำกรดสาดให้เสียโฉม หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บางทีนางร้ายก็จะไม่ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่นางได้ก่อเอาไว้ หรือถูกปล่อยให้ลอยนวลไปนั่นเอง ก็...ถ้าให้นางได้รับผลกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ มันก็ต่อภาค2 หรือภาค Special ไม่สนุกน่ะสิคะ!
7. นางร้ายน้ำใจงาม
เอ๊ะ! “นางร้ายน้ำใจงาม” มันยังไงกันเนี่ย ดูขัดแย้งกันจริงๆ แต่ในละครญี่ปุ่นมีนางร้ายประเภทนี้จริงๆ ค่ะ และพบได้มากในละครแนวรัก นางร้ายประเภทนี้จะไม่มุ่งทำร้ายนางเอกค่ะ แต่จะสู้กันแบบแฟร์ๆ ใครดีใครได้ ผู้ชายเลือกใคร คนนั้นก็ชนะไปเลย อย่างเช่นเรื่อง “Hotaru no Hikari” ค่ะ ภาคแรกนางร้ายก็คือเธอคนนี้
“Saegusa Yuuka” (รับบทโดย Kuninaka Ryoko)
เธอกับ Hotaru (รับบทโดย Ayase Haruka) หลงรักชายหนุ่มคนเดียวกัน พอนางเอกของเราทำท่าจะยอมแพ้กับรักครั้งนี้ นางกลับเดินมาบอกว่า
“Hotaru ขี้แพ้แบบนี้ฉันไม่ชอบเลยนะ. . . อย่ายอมแพ้เลยนะ ฉันเองก็จะไม่ยอมแพ้เหมือนกัน”
เป็นไงล่ะแฟร์ๆ กันไปเลย ถ้านางเอกของเรากำลังถูกเอาเปรียบ หรือถือไพ่ที่ด้อยกว่า นางก็จะไม่ยอมเช่นกัน
ส่วนภาค 2 Hotaru ต้องมาเจอกับเธอคนนี้ค่ะ “Asada Konatsu” (รับบทโดย Kimura Tae) แม่ม่ายลูกหนึ่ง ศัตรูทางความรักของ Hotaru แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็คอยให้ความช่วยเหลือ Hotaru เป็นอย่างดี รวมถึงคอยให้คำแนะนำกับพระเอกด้วยว่าควรจะดูแล Hotaru อย่างไร สรุปแล้วจะเป็นนางร้ายหรือแม่พระกันแน่เนี่ย !
8. ไม่ใช้กำลังตบตี
ข้อสุดท้ายค่ะ รู้ไหมคะว่านางร้ายญี่ปุ่นเขาไม่ค่อยจะใช้กำลังตบตีกันอย่างถึงพริกถึงขิงค่ะ ถ้าเป็นละครแนวรักๆ ก็อย่างที่บอกไปว่า เธอจะสู้กับนางเอกแบบแฟร์ๆ ใครดีใครได้ เวลาเผชิญหน้ากันก็จะคุยกันปกติ เหมือนไม่ได้เป็นศัตรูกัน แต่พอดูก็จะรู้ค่ะว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน อย่างเช่นนางคนนี้ค่ะ
“Asahina Yoko”(รับบทโดย Aibu Saki) จากเรื่อง “Rich Man Poor Woman” ในเรื่องเธอจะไม่ทำร้ายนางเอกค่ะ แต่พยายามหาโอกาสได้ใกล้ชิด และพยายามทำตัวสนิทสนมกับพระเอก ส่วนนางเอกก็ทำคะแนนในส่วนของตัวเองไป
พอถึงจุดๆ หนึ่งที่นางรู้ว่าพระเอกไม่ได้รักตน เริ่มแรกนางก็จะร้องไห้ เสียใจ ก่อนเข้าสู่โหมดทำใจ และพร้อมเดินจากไปจากชีวิตของพระเอก และนางเอกเอง แต่บางทีถ้าเป็นนางร้ายที่ร้ายกาจมากๆ ที่ถึงขั้นชอบทำร้ายนางเอก นางจะไม่ใช้มือตบตีนางเอกเพื่อแย่งผู้ชายมาหรอกนะคะ แต่....
นางจะใช้อาวุธ !
และนี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ “นางร้ายละครญี่ปุ่น” ที่ ChaMaNoW ได้พาพวกเธอมาทำความรู้จักกับเพื่อนๆ ให้มากยิ่งขึ้น ก็จะมีทั้งร้ายแบบสุดขั้ว กับร้ายแบบใจดีๆ ซึ่งลักษณะต่างๆ ของนางร้ายก็ขึ้นอยู่กับแนวละครด้วยค่ะ แต่ถ้าจะให้สรุปภาพลักษณ์ของนางร้ายละครญี่ปุ่นแบบรวมๆ ก็ต้องขอบอกว่า พวกเธอค่อนข้างจะร้ายแบบ “ร้ายลึก” ค่ะ จะไม่แสดงออกมาตรงๆ ว่าร้าย แต่จะเป็นความร้ายที่เก็บซ่อนไว้ภายใน ที่เรายากจะคาดเดา คาดเดาไม่ออกนี่แหละค่ะ มันก็เป็นอะไรที่น่ากลัวแบบสุดๆ เช่นกัน
Cr. ChaMaNow
http://www.marumura.com/entertainment/?id=5306
มาดู "นางร้าย" ในละครญี่ปุ่นกัน ^_^
หนึ่งในทอปปิคที่พูดกันคือ'ไอโกะ'ตะละแม่แปดหลอด จากเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อนางออกมาที ก็จะกรี๊ดที
ประหนึ่งนางร้ายหลงยุคมาจากยุคดาวพระศุกร์เวอร์ชั่น สุวนันท์ จนเป็นที่บอกกังขาว่า
นางร้ายญี่ปุ่นมันเป็นแบบนี้หรือ??? หญิงไปเจอบทความน่าสนใจค่ะ เลยเอามาแชร์กันว่า
นางร้ายในซีรีส์ญี่ปุ่น จริงๆมันเป็นแบบไหนกันแน่!
=========================================
เมื่อหลายเดือนที่แล้ว "สายน้ำผึ้ง" นางร้ายในละคร "สามีตีตรา" มาแรงแบบสุดๆ เรียกได้ว่าคนดูอิน
ติดกันทั่วบ้าทั่วเมื่อง แถมยังน่าหมั่นไส้ น่าตบอีกต่างหาก
จากกระแสดังกล่าวทำให้ดิฉันนึกถึง “นางร้ายละครญี่ปุ่น” ค่ะ ถ้าพูดถึงนางร้ายละครไทยเราก็พอจะนึกภาพกันออก
แต่ว่าถ้าเป็นนางร้ายละครญี่ปุ่นล่ะจะเป็นยังไงกันนะ!
1. สายแบ๊วแต่ร้ายลึก
ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าดูนางร้ายญี่ปุ่นจากภายนอกจะดูไม่ค่อยออกค่ะ นางจะดูเป็นคนที่ธรรมดาๆ บางทีก็ออกแนวสายแบ๊ว น่ารักๆ บอบบางเสียด้วยซ้ำ (ส่วนมากนางร้ายญี่ปุ่นจะสวยเทียบเท่ากับนางเอกเลยค่ะ นางร้ายบางเรื่องก็เคยรับบทเป็นนางเอกในเรื่องอื่นๆ ด้วย) เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นก็จะทำเป็นดีแสนดี ดูไม่มีพิษไม่มีภัยอะไร แต่ใจจริงนั้นคนละขั้วเลยค่ะ ขอยกตัวอย่างนางคนนี้
Anzai Minami” (รับบทโดย Fukuda Saki) จากเรื่อง “Life” เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นก็จะเป็นคนดี ทำตัวเป็นผู้หญิงที่อ่อนแอ แบ๊วๆ ใสๆ แต่เอาเข้าจริง แหม! อย่าให้เล่าถึงวีรกรรม นางคนนี้เกลียดนางเอกเข้าไส้ ถึงขนาดที่ว่ายุให้เพื่อนในห้องรุมแกล้ง ใช้ให้กิ๊กตัวเองฉุดนางเอกมาขังไว้ในตึกร้างและเผาให้ตายคาตึกนั้นโหดมาก แต่โชคดีว่านางเอกของเรารอดชีวิตมาได้ค่ะ
2. มีแรงจูงใจที่หลากหลาย
นางร้ายญี่ปุ่นจะมีแรงจูงใจในการก่อความผิด ด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไปค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแนวละครด้วย ถ้าเป็นละครรัก เหตุผลหลักๆ เลยก็คือ “รักพระเอก” แต่ถ้าเป็นแนวสืบสวนก็ออกแนวอยากจะเป็นผู้ครองโลก เป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง แรงจูงใจอื่นๆ ที่พบเห็นอีกก็เช่น ไม่ชอบขี้หน้านางเอก เพราะอิจฉาที่ได้ดิบได้ดีกว่าตน เป็นต้นค่ะ
นอกจากนี้บางทีนางร้ายญี่ปุ่นก็จะไม่ได้เป็นศัตรูกับนางเอกเท่านั้นค่ะ เนื่องจากละครญี่ปุ่นจะมีเรื่องรักๆ ไม่เยอะเหมือนบ้านเรา แต่เขาจะมีแนวอื่นๆ มาผสมด้วย เช่น แนวชีวิต แนวอาชีพ แนวสืบสวนสอบสวน (แนวนี้จะเยอะหน่อย) ทำให้บางครั้ง “นางร้าย” ก็จะไม่ได้เป็นศัตรูกับนางเอกเสมอไป แต่จะเป็นศัตรูกับพระเอกด้วย
อย่างเช่นสาวสวยปริศนาจากเรื่อง “Ando Lloyd” คนนี้ (รับบทโดย Kiritani Mirei) แรงจูงใจในความร้ายของเธอก็คือ... “ต้องการจะครองโลก และควบคุมมนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกใบนี้” ศัตรูหมายเลข 1 ของเธอก็คือศาสตราจารย์ Reji กับหุ่นยนต์ Ando Lloyd พระเอกของเรื่องนี้นั่นเอง
3. ฉลาด IQ สูง
ลักษณะเด่นของนางร้ายละครญี่ปุ่นอีกอย่างก็คือ “ความฉลาด” ค่ะ เธอสามารถคิดแผนที่จะทำร้ายนางเอกหรือพระเอกได้ในรูปแบบที่หลากหลาย พวกเธอนั้นถือได้ว่าเป็นพวกที่มี IQ สูงเลยทีเดียว เพื่อที่จะได้มาต่อกรกับตัวละครเอก ที่มักจะเป็นตัวละครที่ฉลาดเช่นกัน ตัวอย่างนางร้ายที่เข้าข่ายข้อนี้ก็คือคนนี้ค่ะ
“Katsuragi Ryo” (รับบทโดย Kikuchi Rinko) คู่ปรับของ Akiyama จอมอัจฉริยะแห่ง “Liar Game” นอกจากเธอจะต้องการโค่น Akiyama แล้ว แต่ยังต้องการทำร้าย Nao จัง นางเอกโลกสวยอีกด้วย เพราะความดี ความใสซื่อที่ Nao จังมีมากเกินไป ทำให้ Katsuragi ไม่ถูกชะตา และอยากจะสั่งสอนให้รู้ว่าโลกจริงมันไม่ได้สวยอย่างที่คิดนะยะ !
4. จู่โจมแบบลับหลัง
บางทีนางร้ายญี่ปุ่นจะแอบลอบทำร้ายโดยไม่ให้ตัวละครเอกของเรื่องรู้ตัวค่ะ ก็จะมีทั้งใช้ให้คนอื่นทำ หรือบางทีก็ทำด้วยมือของตัวเอง แต่จะแอบซ่อนไม่ให้นางเอกรู้ ขนาดคนดูเองก็ยังไม่รู้เลยว่า สรุปแล้วใครคือนางร้าย ต้องดูต่อไปจนเกือบจบเรื่องถึงจะเฉลยออกมา ตัวอย่างก็เช่นเธอคนนี้ค่ะ
“Kasumi Aoi” (รับบทโดย Rumi Hiragi) จากเรื่อง “Nobuta wo Produce” เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ที่แอบลอบทำร้าย Nobuta นางเอกของเรื่อง ทั้งสร้างข่าวลือให้เพื่อนเสียหาย ทำลายความสำเร็จของเพื่อน นางก็จะวางแผนและแอบทำร้ายลับหลังค่ะ นางเอกก็จะถูกทำร้ายไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าศัตรูตัวเองเป็นใคร (จริงๆ ก็คือคนใกล้ตัวนี่แหละ) น่ากลัวยิ่งกว่ามาร้ายแบบต่อหน้าอีกนะคะเนี่ย
5. มักจะไม่ลงมือด้วยตัวเอง
เรื่องไม่ดีไม่งามแบบนี้ นางร้ายบางคนก็ไม่ยอมลงมือเองหรอกค่ะ นางจะมีลูกสมุน หรือคนที่จงรักภักดีพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อเธอ ตัวอย่างของนางร้ายประเภทนี้ เช่น ท่าน Lucia (รับบทโดย Yamada Yu) จากเรื่อง “Mei-chan no -suji”
ดูสิคะ ลูกสมุนเพียบ นี่ยังไม่รวมถึงผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนามอีกนะคะเนี่ย!
เธอคนนี้เป็นหญิงสาวที่มีความเป็นกุลสตรี มารยาทงาม อ่อนโยนที่สุดในโรงเรียน แต่ที่กล่าวมามันก็แค่เปลือกนอกเท่านั้น แต่ภายในเธอเต็มไปด้วยความอาฆาตแค้น ริษยา และชิงชัง อยากจะกำจัด Mei จัง นางเอกของเรื่องไปให้พ้นๆ เด็กผู้หญิงกะโปโล ยาจกแบบนั้น เธอไม่ยอมให้มาเสนอหน้าอยู่ในระดับเดียวกับเธอหรอก ! แต่...จะให้ทำอย่างไร ก็ในเมื่อเธอมีภาพลักษณ์ของหญิงสาวที่แสนดีอยู่ เธอจึงใช้ให้คนรับใช้สุดหล่อ “Shinobu” (รับบทโดย Mukai Osamu) รวมถึงลูกสุมนคนอื่นๆ เป็นคนจัดการทั้งหมด แต่ถ้าทุกคนล่วงรู้ความจริงเมื่อไร เธอจะเป็นฝ่ายลงมือเอง!
6. นางร้ายลอยนวล
นางร้ายในละครญี่ปุ่นบางเรื่องจะไม่พบจุดจบที่เป็น “หายนะ” เสมอไปค่ะ กล่าวคือ ตอนจบนางจะไม่ตาย นางจะไม่ติดคุก นางจะไม่ถูกน้ำกรดสาดให้เสียโฉม หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บางทีนางร้ายก็จะไม่ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่นางได้ก่อเอาไว้ หรือถูกปล่อยให้ลอยนวลไปนั่นเอง ก็...ถ้าให้นางได้รับผลกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ มันก็ต่อภาค2 หรือภาค Special ไม่สนุกน่ะสิคะ!
7. นางร้ายน้ำใจงาม
เอ๊ะ! “นางร้ายน้ำใจงาม” มันยังไงกันเนี่ย ดูขัดแย้งกันจริงๆ แต่ในละครญี่ปุ่นมีนางร้ายประเภทนี้จริงๆ ค่ะ และพบได้มากในละครแนวรัก นางร้ายประเภทนี้จะไม่มุ่งทำร้ายนางเอกค่ะ แต่จะสู้กันแบบแฟร์ๆ ใครดีใครได้ ผู้ชายเลือกใคร คนนั้นก็ชนะไปเลย อย่างเช่นเรื่อง “Hotaru no Hikari” ค่ะ ภาคแรกนางร้ายก็คือเธอคนนี้ “Saegusa Yuuka” (รับบทโดย Kuninaka Ryoko)
เธอกับ Hotaru (รับบทโดย Ayase Haruka) หลงรักชายหนุ่มคนเดียวกัน พอนางเอกของเราทำท่าจะยอมแพ้กับรักครั้งนี้ นางกลับเดินมาบอกว่า
“Hotaru ขี้แพ้แบบนี้ฉันไม่ชอบเลยนะ. . . อย่ายอมแพ้เลยนะ ฉันเองก็จะไม่ยอมแพ้เหมือนกัน”
เป็นไงล่ะแฟร์ๆ กันไปเลย ถ้านางเอกของเรากำลังถูกเอาเปรียบ หรือถือไพ่ที่ด้อยกว่า นางก็จะไม่ยอมเช่นกัน
ส่วนภาค 2 Hotaru ต้องมาเจอกับเธอคนนี้ค่ะ “Asada Konatsu” (รับบทโดย Kimura Tae) แม่ม่ายลูกหนึ่ง ศัตรูทางความรักของ Hotaru แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็คอยให้ความช่วยเหลือ Hotaru เป็นอย่างดี รวมถึงคอยให้คำแนะนำกับพระเอกด้วยว่าควรจะดูแล Hotaru อย่างไร สรุปแล้วจะเป็นนางร้ายหรือแม่พระกันแน่เนี่ย !
8. ไม่ใช้กำลังตบตี
ข้อสุดท้ายค่ะ รู้ไหมคะว่านางร้ายญี่ปุ่นเขาไม่ค่อยจะใช้กำลังตบตีกันอย่างถึงพริกถึงขิงค่ะ ถ้าเป็นละครแนวรักๆ ก็อย่างที่บอกไปว่า เธอจะสู้กับนางเอกแบบแฟร์ๆ ใครดีใครได้ เวลาเผชิญหน้ากันก็จะคุยกันปกติ เหมือนไม่ได้เป็นศัตรูกัน แต่พอดูก็จะรู้ค่ะว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน อย่างเช่นนางคนนี้ค่ะ “Asahina Yoko”(รับบทโดย Aibu Saki) จากเรื่อง “Rich Man Poor Woman” ในเรื่องเธอจะไม่ทำร้ายนางเอกค่ะ แต่พยายามหาโอกาสได้ใกล้ชิด และพยายามทำตัวสนิทสนมกับพระเอก ส่วนนางเอกก็ทำคะแนนในส่วนของตัวเองไป
พอถึงจุดๆ หนึ่งที่นางรู้ว่าพระเอกไม่ได้รักตน เริ่มแรกนางก็จะร้องไห้ เสียใจ ก่อนเข้าสู่โหมดทำใจ และพร้อมเดินจากไปจากชีวิตของพระเอก และนางเอกเอง แต่บางทีถ้าเป็นนางร้ายที่ร้ายกาจมากๆ ที่ถึงขั้นชอบทำร้ายนางเอก นางจะไม่ใช้มือตบตีนางเอกเพื่อแย่งผู้ชายมาหรอกนะคะ แต่....
นางจะใช้อาวุธ !
และนี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ “นางร้ายละครญี่ปุ่น” ที่ ChaMaNoW ได้พาพวกเธอมาทำความรู้จักกับเพื่อนๆ ให้มากยิ่งขึ้น ก็จะมีทั้งร้ายแบบสุดขั้ว กับร้ายแบบใจดีๆ ซึ่งลักษณะต่างๆ ของนางร้ายก็ขึ้นอยู่กับแนวละครด้วยค่ะ แต่ถ้าจะให้สรุปภาพลักษณ์ของนางร้ายละครญี่ปุ่นแบบรวมๆ ก็ต้องขอบอกว่า พวกเธอค่อนข้างจะร้ายแบบ “ร้ายลึก” ค่ะ จะไม่แสดงออกมาตรงๆ ว่าร้าย แต่จะเป็นความร้ายที่เก็บซ่อนไว้ภายใน ที่เรายากจะคาดเดา คาดเดาไม่ออกนี่แหละค่ะ มันก็เป็นอะไรที่น่ากลัวแบบสุดๆ เช่นกัน
Cr. ChaMaNow
http://www.marumura.com/entertainment/?id=5306