ชนะโดยไม่มีฮีโร่ ที่มา เฟซบุ๊ก Aey Roundfinger
****************************
เยอรมันก็มาถึงยุคตกต่ำ บอลโลก 1994 ที่สหรัฐอเมริกา และ 1998 ที่ฝรั่งเศส เยอรมันทำได้ดีที่สุดเพียงเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่ที่หนักข้อที่สุดคือในปี 2000 ที่ตกรอบแรกฟุตบอลยูโรด้วยคะแนนเพียง 1 คะแนน
ไม่ชนะใครเลย
โหดร้ายกว่านั้น ในปี 2004 เมื่อฟุตบอลยูโรวนกลับมาอีกครั้ง ทีมชาติเยอรมันก็ตกรอบแรกอีกหน ด้วยคะแนนเพียง 2 แต้ม
เสมอสองครั้ง และยังคงไม่ชนะ
ในยุคนั้นผมคิดถึง “ฮีโร่” หลายคนของเยอรมันในชุด “คลาสสิก” ของผม แต่พวกเขากลายเป็นเพียงนักฟุตบอลแก่ๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรน้องๆ ในทีมได้อีกต่อไป
คุณ “ไก่ป่า” จากสยามสปอร์ตเขียนเล่าให้ฟังว่า ความล้มเหลวในปี 2000 ทำให้เยอรมันต้องมานั่งสุมหัววิเคราะห์กันเป็นการใหญ่ หลายปัญหา หลากคำถามถูกโยนมากองไว้ตรงหน้า แน่นอนว่ามันยังไม่มีคำตอบในทันที แต่อย่างน้อยได้เห็นปัญหาย่อมดีกว่านั่งโทษดวงชะตาหรือเอาแต่หันหลังกลับไปฝันใฝ่ถึงอดีตอันรุ่งเรือง
การได้เห็นว่าผู้เล่นอายุเกือบ 40 ปีอย่างโลธาร์ มัทเธอุสยังวิ่งอยู่ในสนามนั้นเป็นสัญญาณ
บางอย่างที่ส่งเสียงว่าได้เวลา “ปั้น” นักเตะขึ้นมาทดแทนแล้ว
แล้วเยอรมันก็วางแผน “แก้เกม” อย่างเป็นระบบ
พวกเขาวางงบ “แก้เกม” เอาไว้ที่ 500 ล้านยูโร โดยลงทุนให้แต่ละสโมสรมีศูนย์อะคาเดมี่เพื่อปั้นนักเตะ กำหนดกันไว้ว่าภายใน 8 ปีแรกจะต้องมีดอกผลให้เห็นเป็นรูปธรรม
นอกจากนั้นบอลลีกในประเทศอย่างบุนเดสลีก้าก็ยังมีกฏ 50+1 ที่บังคับให้ทีมในบุนเดสลีกาต้องให้แฟนตัวเองมีส่วนกับการถือหุ้น ไม่สามารถขายทอดตลาดให้เศรษฐีหรือกลุ่มทุนที่ไหนมาซื้อไปได้ทั้งหมด
นโยบายเหล่านี้ทำให้ “วัฒนธรรมฟุตบอล” ของเยอรมันเข้มแข็ง
เป็นการแก้เกมที่คิดยาว ไม่คิดสั้น ไม่มักง่าย ไม่ฉาบฉวย ไม่ตัดต่อกิ่งมาเสียบ แต่วางรากฐานกันถึงรากแก้วเลยทีเดียว
จากปี 2000 ที่ล้มเหลว ทีมชาติเยอรมันค่อยๆ สร้างผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
ไม่ว่าจะเป็นบอลโลกหรือบอลยูโรเราจะเห็น “German Standard” หรือ “มาตรฐานแบบเยอรมัน” ที่ “ไม่น้อยไปกว่านี้”
จากการตกรอบแรกบอลยูโรในปี 2004 พอถึงปี 2006 เยอรมันก็ได้เป็นที่ 3 ในฟุตบอลโลกที่ตัวเองเจ้าภาพ ปี 2008 ไปแพ้สเปนในรอบชิงชนะเลิศบอลยูโร ปี 2010 ได้เป็นที่ 3 ในฟุตบอลโลกที่แอฟริกาใต้ ปี 2012 เป็นที่ 3 ในบอลยูโรที่โปแลนด์-ยูเครน
เรียกได้ว่า ถ้าเชียร์เยอรมันก็ได้เชียร์จนวันท้ายๆ แน่นอน
เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายสม่ำเสมอ
แม้จะต้องเจอกับความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่หลังจากปี 2004 เป็นต้นมา “มาตรฐานเยอรมัน” ก็ไม่เคยตกต่ำอีกเลย นอกจากนั้นเรายังได้เห็นนักเตะหนุ่มๆ หน้าเด้งๆ โผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นตัวตายตัวแทนกันตลอดเวลา
ในวันนั้น นักเตะอย่างมานูเอล นอยเออร์, ฟิลลิป ลาห์ม, เจอโรม บัวเต็ง, บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์, เมซุส โอซิล, ลูคัส โพโดสกี้ ยังเป็นเด็กเอ๊าะๆ กันอยู่เลย โทมัส มุลเลอร์ลงสนามไปยังตื่นๆ สนามอยู่ด้วยซ้ำ เพราะตอนนั้นเขาอายุแค่ 20 ปีเท่านั้น
ความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่าถูกปลอบประโลมจากเสียงผู้บรรยายว่า “เยอรมันในวันนี้จะเป็นทีมที่แข็งแกร่งมากในอนาคต เพราะพวกเขายังอายุแค่ 20-25 ปีเท่านั้น ยังเด็ก ยังหนุ่มอยู่มาก รอประสบการณ์มากกว่านี้ กระดูกหนากว่านี้ เก๋ากว่านี้อีกสักหน่อย พวกเขาจะเป็นทีมที่น่ากลัวมาก”
อีกสองปี อีกสองปี อีกสองปี อีกสองปี นับตามช่วงเวลาที่สลับกันของบอลโลกและบอลยูโร ผมได้ยินคำปลอบใจและฝากความหวังไว้ในอนาคตเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
และแล้ววันนี้ก็มาถึง “อินทรีเด็ก” ในวันนั้นกลายมาเป็น “อินทรีเหล็ก” ในวันนี้
แฟนบอลอินทรีเหล็กรุ่นน้องบอกกับผมอย่างนั้น
บอลโลก 2014 เป็นทัวร์นาเมนต์ที่ทีมชาติเยอรมันเล่นได้อย่างคงเส้นคงวาที่สุด แม้บางแมตช์อาจจะเร่าร้อน บางแมตช์อาจจะจืดไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วมี “ความเป็นทีม” และ “ความเป็นระบบ” สูงมาก
ราวกับเครื่องจักรประสิทธิภาพสูง
จึงน่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อต้องมาชิงชนะเลิศกับทีมที่มีนักเตะระดับเทพเจ้าอย่างลิโอเนล เมสซี่แห่งอาร์เจนติน่า
ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น ผมนั่งดูไฮไลท์สรุปการแข่งขันจากรอบแรกถึงรอบชิงชนะเลิศ ไฮไลท์ของทีมชาติอาร์เจนติน่านั้นขีดเส้นใต้เรืองแสงไปที่เมสซี่จนกระทั่งทำให้เพื่อนร่วมทีมราวกับเป็นตัวประกอบ ขณะที่ไฮไลท์ของทีมชาติเยอรมันนั้นเราแทบไม่เห็น “ใคร” โดดเด่นขึ้นเป็น “ฮีโร่” อย่างชัดเจนเลยแม้แต่คนเดียว ลูกยิงส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการต่อเกมขึ้นไปเป็น “ทีม” ทั้งสิ้น
เยอรมันผ่านทีมที่มี “สตาร์” อย่างคริสเตียโน่ โรนัลโดของโปรตุเกส รวมถึงเนย์มาร์ของบราซิลมาแล้ว ในนัดแรกที่เจอกับโปรตุเกส เมื่อโรนัลโดเล่นไม่ได้ตามมาตรฐานก็ทำให้โปรตุเกสลดความฉูดฉาดไปมาก ในรอบรองชนะเลิศ เป็นโชคร้ายของบราซิลที่เนย์มาร์เจ็บหนักไม่สามารถลงเล่นได้ ทำให้เกมรุกจังหวะแซมบ้าของบราซิลกลายเป็นจังหวะสโลว์แดนซ์ไปแทน และผลลัพธ์ก็เป็นอย่างที่เห็น
แม้ในนัดชิงชนะเลิศอาร์เจนติน่าจะไม่ได้เล่นแบบพึ่งพาเมสซี่จนเกินไป รวมทั้งสามารถฟอร์มเกมได้เป็นระบบตามแผน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่หวือหวาที่สุดยังคงเป็นลูกที่เกิดจากความสามารถเฉพาะตัวของเทพเจ้าเมสซี่อยู่ดี ขณะที่เยอรมันนั้นแม้จะเจาะอาร์เจนฯ ไม่เข้าสักที แต่โดยรูปเกมเราก็ได้เห็น “ระบบ” ตาม “มาตรฐานเยอรมัน” ที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เวลาเราดู “เยอรมัน” เราดู “ทีม”
ขณะที่เวลาดู “อาร์เจน” เรารอดูความหัศจรรย์ของ “คน”
...
น้ำตาของเด็กน้อยชาวอาร์เจนติน่าทำให้ผมคิดถึงตัวเองเมื่อปี ค.ศ. 1992
คืนวันนั้นผมนั่งดูทีมฟุตบอลทีมโปรดลงสนามในนัดชิงชนะเลิศในศึกชิงถ้วยฟุตบอลยุโรป “ยูโร 1992”
จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 22 ปีมาแล้ว
จากวันที่เยอรมันมี “ฮีโร่” เต็มทีม มาสู่การเป็นทีมที่ไม่มี “ฮีโร่”
ในวันที่เยอรมันพ่ายแพ้ให้กับอิตาลีในรอบสี่ทีมสุดท้ายเมื่อ 8 ปีก่อน ตอนนั้นโยอาคิม เลิฟ เป็นผู้ช่วยให้กับเจอร์เก้น คลินส์มันน์ ความล้มเหลวและผิดหวังเกิดขึ้นกับคนเยอรมันและกองเชียร์เยอรมันครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทุกคนยังเชื่อมั่นใน “ระบบ” ว่าสักวันต้องเป็นวันของพวกเขา ด้วยคำสามคำ
“ต้องกล้า ต้องอดทน ต้องจริงจัง”
“ระบบ” สำหรับทีมชาติเยอรมันจึงมิใช่แค่เพียงรูปเกมในสนามเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “ระบบ” ในการสร้างทีมซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน ต้องกล้า ต้องอดทน ต้องจริงจัง
และที่สำคัญ...ต้องมีความหวัง
เหมือนต้นไม้ที่ต้องรอเวลาให้เติบใหญ่ แต่เมื่อรากแก้วแข็งแรงแล้ว ต้นไม้จะสมบูรณ์แข็งแรงและเติบโตต่อไปโดยไม่ต้องขุดออกแล้วปลูกใหม่อยู่เรื่อยๆ
เยอรมันไม่ได้สร้าง “ฮีโร่” และไม่ได้คาดหวังว่าจะมี “ฮีโร่” มากอบกู้สถานการณ์ หากแต่พวกเขาทุกคนรวมใจเป็น “ทีม” เดียวกัน ไม่ใช่แค่ในสนาม แต่ยังหมายถึงคนเยอรมันที่ช่วยกันสร้าง “ระบบ” และเชื่อมั่นใน “ระบบ” นั้น รวมทั้งให้เวลาเรียนรู้ แก้ไข พัฒนา ปรับปรุงจากความล้มเหลวเพื่ออนาคตที่ “ระบบ” จะได้เข้มแข็ง
ความสำเร็จของทีมชาติเยอรมันในวันนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการจุติของเทพเจ้าหรือ “ฮีโร่” คนใด หากเกิดจาก “ระบบ” ที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ อธิบายได้ เป็นเหตุเป็นผล
ในสังคมไทย เรามักเฮเสียงดังเมื่อมีคนที่เราคิดว่าเขาเป็น “ฮีโร่” เข้ามาจัดการ “ล้างระบบ” แต่เมื่อหมดช่วงเวลาของ “ฮีโร่” แล้ว “ระบบ” ที่อ่อนแอเพราะคนในระบบไม่มีความอดทน ไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีความจริงจังที่จะร่วมกันสร้าง “ระบบ” ที่ดีขึ้นมาด้วยมือตัวเองก็จะค่อยๆ สำแดงฤทธิ์อีกครั้ง แสดงให้เห็นความฟอนเฟะและเหลวแหลกอีกหน แล้วเราก็เรียกร้องหา “ฮีโร่” มาแก้ปัญหากันอีก
คล้ายๆ อาร์เจนติน่าที่หมดยุคมาราโดน่าก็ต้องรอให้ถึงยุคเมสซี่
จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถร่วมกันสร้าง “ระบบ” ที่พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เรียนรู้ไปพร้อมกันทั้งระบบ จนเกิด “มาตรฐาน” ที่ยึดถือได้ เชื่อใจได้
เพราะ “ฮีโร่” ใช่ว่าจะไว้ใจได้เสมอไป
ทีมชาติเยอรมันใช้เวลานับสิบปี อดทนเพื่อก่อร่างสร้าง “ระบบ” ขึ้นมา คนไทยจะใช้เวลากี่ปีกว่าเราจะสร้าง “ระบบ” ที่ดีขึ้นมาได้ด้วยมือของพวกเราเอง
หรือเราจะต้องร้องไห้เมื่อ “ฮีโร่” ที่เราคาดหวังเล่นไม่ได้ดั่งใจกันอีกหลายรอบ?
“ฮีโร่” เป็นสิ่งที่คนใจร้อนชื่นชอบ
“ระบบที่ดี” เป็นสิ่งที่คนที่มีความอดทนรอได้
และทีมชาติเยอรมันได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า
ชัยชนะจาก “ระบบที่ดี” นั้นหอมหวานและยั่งยืน
**********************
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1405355697
จะใช้ระบบที่ดี ไม่มีฮีโร่ หรือจะใช้ ฮีโร่....
****************************
เยอรมันก็มาถึงยุคตกต่ำ บอลโลก 1994 ที่สหรัฐอเมริกา และ 1998 ที่ฝรั่งเศส เยอรมันทำได้ดีที่สุดเพียงเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่ที่หนักข้อที่สุดคือในปี 2000 ที่ตกรอบแรกฟุตบอลยูโรด้วยคะแนนเพียง 1 คะแนน
ไม่ชนะใครเลย
โหดร้ายกว่านั้น ในปี 2004 เมื่อฟุตบอลยูโรวนกลับมาอีกครั้ง ทีมชาติเยอรมันก็ตกรอบแรกอีกหน ด้วยคะแนนเพียง 2 แต้ม
เสมอสองครั้ง และยังคงไม่ชนะ
ในยุคนั้นผมคิดถึง “ฮีโร่” หลายคนของเยอรมันในชุด “คลาสสิก” ของผม แต่พวกเขากลายเป็นเพียงนักฟุตบอลแก่ๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรน้องๆ ในทีมได้อีกต่อไป
คุณ “ไก่ป่า” จากสยามสปอร์ตเขียนเล่าให้ฟังว่า ความล้มเหลวในปี 2000 ทำให้เยอรมันต้องมานั่งสุมหัววิเคราะห์กันเป็นการใหญ่ หลายปัญหา หลากคำถามถูกโยนมากองไว้ตรงหน้า แน่นอนว่ามันยังไม่มีคำตอบในทันที แต่อย่างน้อยได้เห็นปัญหาย่อมดีกว่านั่งโทษดวงชะตาหรือเอาแต่หันหลังกลับไปฝันใฝ่ถึงอดีตอันรุ่งเรือง
การได้เห็นว่าผู้เล่นอายุเกือบ 40 ปีอย่างโลธาร์ มัทเธอุสยังวิ่งอยู่ในสนามนั้นเป็นสัญญาณ
บางอย่างที่ส่งเสียงว่าได้เวลา “ปั้น” นักเตะขึ้นมาทดแทนแล้ว
แล้วเยอรมันก็วางแผน “แก้เกม” อย่างเป็นระบบ
พวกเขาวางงบ “แก้เกม” เอาไว้ที่ 500 ล้านยูโร โดยลงทุนให้แต่ละสโมสรมีศูนย์อะคาเดมี่เพื่อปั้นนักเตะ กำหนดกันไว้ว่าภายใน 8 ปีแรกจะต้องมีดอกผลให้เห็นเป็นรูปธรรม
นอกจากนั้นบอลลีกในประเทศอย่างบุนเดสลีก้าก็ยังมีกฏ 50+1 ที่บังคับให้ทีมในบุนเดสลีกาต้องให้แฟนตัวเองมีส่วนกับการถือหุ้น ไม่สามารถขายทอดตลาดให้เศรษฐีหรือกลุ่มทุนที่ไหนมาซื้อไปได้ทั้งหมด
นโยบายเหล่านี้ทำให้ “วัฒนธรรมฟุตบอล” ของเยอรมันเข้มแข็ง
เป็นการแก้เกมที่คิดยาว ไม่คิดสั้น ไม่มักง่าย ไม่ฉาบฉวย ไม่ตัดต่อกิ่งมาเสียบ แต่วางรากฐานกันถึงรากแก้วเลยทีเดียว
จากปี 2000 ที่ล้มเหลว ทีมชาติเยอรมันค่อยๆ สร้างผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
ไม่ว่าจะเป็นบอลโลกหรือบอลยูโรเราจะเห็น “German Standard” หรือ “มาตรฐานแบบเยอรมัน” ที่ “ไม่น้อยไปกว่านี้”
จากการตกรอบแรกบอลยูโรในปี 2004 พอถึงปี 2006 เยอรมันก็ได้เป็นที่ 3 ในฟุตบอลโลกที่ตัวเองเจ้าภาพ ปี 2008 ไปแพ้สเปนในรอบชิงชนะเลิศบอลยูโร ปี 2010 ได้เป็นที่ 3 ในฟุตบอลโลกที่แอฟริกาใต้ ปี 2012 เป็นที่ 3 ในบอลยูโรที่โปแลนด์-ยูเครน
เรียกได้ว่า ถ้าเชียร์เยอรมันก็ได้เชียร์จนวันท้ายๆ แน่นอน
เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายสม่ำเสมอ
แม้จะต้องเจอกับความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่หลังจากปี 2004 เป็นต้นมา “มาตรฐานเยอรมัน” ก็ไม่เคยตกต่ำอีกเลย นอกจากนั้นเรายังได้เห็นนักเตะหนุ่มๆ หน้าเด้งๆ โผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นตัวตายตัวแทนกันตลอดเวลา
ในวันนั้น นักเตะอย่างมานูเอล นอยเออร์, ฟิลลิป ลาห์ม, เจอโรม บัวเต็ง, บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์, เมซุส โอซิล, ลูคัส โพโดสกี้ ยังเป็นเด็กเอ๊าะๆ กันอยู่เลย โทมัส มุลเลอร์ลงสนามไปยังตื่นๆ สนามอยู่ด้วยซ้ำ เพราะตอนนั้นเขาอายุแค่ 20 ปีเท่านั้น
ความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่าถูกปลอบประโลมจากเสียงผู้บรรยายว่า “เยอรมันในวันนี้จะเป็นทีมที่แข็งแกร่งมากในอนาคต เพราะพวกเขายังอายุแค่ 20-25 ปีเท่านั้น ยังเด็ก ยังหนุ่มอยู่มาก รอประสบการณ์มากกว่านี้ กระดูกหนากว่านี้ เก๋ากว่านี้อีกสักหน่อย พวกเขาจะเป็นทีมที่น่ากลัวมาก”
อีกสองปี อีกสองปี อีกสองปี อีกสองปี นับตามช่วงเวลาที่สลับกันของบอลโลกและบอลยูโร ผมได้ยินคำปลอบใจและฝากความหวังไว้ในอนาคตเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
และแล้ววันนี้ก็มาถึง “อินทรีเด็ก” ในวันนั้นกลายมาเป็น “อินทรีเหล็ก” ในวันนี้
แฟนบอลอินทรีเหล็กรุ่นน้องบอกกับผมอย่างนั้น
บอลโลก 2014 เป็นทัวร์นาเมนต์ที่ทีมชาติเยอรมันเล่นได้อย่างคงเส้นคงวาที่สุด แม้บางแมตช์อาจจะเร่าร้อน บางแมตช์อาจจะจืดไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วมี “ความเป็นทีม” และ “ความเป็นระบบ” สูงมาก
ราวกับเครื่องจักรประสิทธิภาพสูง
จึงน่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อต้องมาชิงชนะเลิศกับทีมที่มีนักเตะระดับเทพเจ้าอย่างลิโอเนล เมสซี่แห่งอาร์เจนติน่า
ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น ผมนั่งดูไฮไลท์สรุปการแข่งขันจากรอบแรกถึงรอบชิงชนะเลิศ ไฮไลท์ของทีมชาติอาร์เจนติน่านั้นขีดเส้นใต้เรืองแสงไปที่เมสซี่จนกระทั่งทำให้เพื่อนร่วมทีมราวกับเป็นตัวประกอบ ขณะที่ไฮไลท์ของทีมชาติเยอรมันนั้นเราแทบไม่เห็น “ใคร” โดดเด่นขึ้นเป็น “ฮีโร่” อย่างชัดเจนเลยแม้แต่คนเดียว ลูกยิงส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการต่อเกมขึ้นไปเป็น “ทีม” ทั้งสิ้น
เยอรมันผ่านทีมที่มี “สตาร์” อย่างคริสเตียโน่ โรนัลโดของโปรตุเกส รวมถึงเนย์มาร์ของบราซิลมาแล้ว ในนัดแรกที่เจอกับโปรตุเกส เมื่อโรนัลโดเล่นไม่ได้ตามมาตรฐานก็ทำให้โปรตุเกสลดความฉูดฉาดไปมาก ในรอบรองชนะเลิศ เป็นโชคร้ายของบราซิลที่เนย์มาร์เจ็บหนักไม่สามารถลงเล่นได้ ทำให้เกมรุกจังหวะแซมบ้าของบราซิลกลายเป็นจังหวะสโลว์แดนซ์ไปแทน และผลลัพธ์ก็เป็นอย่างที่เห็น
แม้ในนัดชิงชนะเลิศอาร์เจนติน่าจะไม่ได้เล่นแบบพึ่งพาเมสซี่จนเกินไป รวมทั้งสามารถฟอร์มเกมได้เป็นระบบตามแผน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่หวือหวาที่สุดยังคงเป็นลูกที่เกิดจากความสามารถเฉพาะตัวของเทพเจ้าเมสซี่อยู่ดี ขณะที่เยอรมันนั้นแม้จะเจาะอาร์เจนฯ ไม่เข้าสักที แต่โดยรูปเกมเราก็ได้เห็น “ระบบ” ตาม “มาตรฐานเยอรมัน” ที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เวลาเราดู “เยอรมัน” เราดู “ทีม”
ขณะที่เวลาดู “อาร์เจน” เรารอดูความหัศจรรย์ของ “คน”
...
น้ำตาของเด็กน้อยชาวอาร์เจนติน่าทำให้ผมคิดถึงตัวเองเมื่อปี ค.ศ. 1992
คืนวันนั้นผมนั่งดูทีมฟุตบอลทีมโปรดลงสนามในนัดชิงชนะเลิศในศึกชิงถ้วยฟุตบอลยุโรป “ยูโร 1992”
จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 22 ปีมาแล้ว
จากวันที่เยอรมันมี “ฮีโร่” เต็มทีม มาสู่การเป็นทีมที่ไม่มี “ฮีโร่”
ในวันที่เยอรมันพ่ายแพ้ให้กับอิตาลีในรอบสี่ทีมสุดท้ายเมื่อ 8 ปีก่อน ตอนนั้นโยอาคิม เลิฟ เป็นผู้ช่วยให้กับเจอร์เก้น คลินส์มันน์ ความล้มเหลวและผิดหวังเกิดขึ้นกับคนเยอรมันและกองเชียร์เยอรมันครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทุกคนยังเชื่อมั่นใน “ระบบ” ว่าสักวันต้องเป็นวันของพวกเขา ด้วยคำสามคำ
“ต้องกล้า ต้องอดทน ต้องจริงจัง”
“ระบบ” สำหรับทีมชาติเยอรมันจึงมิใช่แค่เพียงรูปเกมในสนามเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “ระบบ” ในการสร้างทีมซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน ต้องกล้า ต้องอดทน ต้องจริงจัง
และที่สำคัญ...ต้องมีความหวัง
เหมือนต้นไม้ที่ต้องรอเวลาให้เติบใหญ่ แต่เมื่อรากแก้วแข็งแรงแล้ว ต้นไม้จะสมบูรณ์แข็งแรงและเติบโตต่อไปโดยไม่ต้องขุดออกแล้วปลูกใหม่อยู่เรื่อยๆ
เยอรมันไม่ได้สร้าง “ฮีโร่” และไม่ได้คาดหวังว่าจะมี “ฮีโร่” มากอบกู้สถานการณ์ หากแต่พวกเขาทุกคนรวมใจเป็น “ทีม” เดียวกัน ไม่ใช่แค่ในสนาม แต่ยังหมายถึงคนเยอรมันที่ช่วยกันสร้าง “ระบบ” และเชื่อมั่นใน “ระบบ” นั้น รวมทั้งให้เวลาเรียนรู้ แก้ไข พัฒนา ปรับปรุงจากความล้มเหลวเพื่ออนาคตที่ “ระบบ” จะได้เข้มแข็ง
ความสำเร็จของทีมชาติเยอรมันในวันนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการจุติของเทพเจ้าหรือ “ฮีโร่” คนใด หากเกิดจาก “ระบบ” ที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ อธิบายได้ เป็นเหตุเป็นผล
ในสังคมไทย เรามักเฮเสียงดังเมื่อมีคนที่เราคิดว่าเขาเป็น “ฮีโร่” เข้ามาจัดการ “ล้างระบบ” แต่เมื่อหมดช่วงเวลาของ “ฮีโร่” แล้ว “ระบบ” ที่อ่อนแอเพราะคนในระบบไม่มีความอดทน ไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีความจริงจังที่จะร่วมกันสร้าง “ระบบ” ที่ดีขึ้นมาด้วยมือตัวเองก็จะค่อยๆ สำแดงฤทธิ์อีกครั้ง แสดงให้เห็นความฟอนเฟะและเหลวแหลกอีกหน แล้วเราก็เรียกร้องหา “ฮีโร่” มาแก้ปัญหากันอีก
คล้ายๆ อาร์เจนติน่าที่หมดยุคมาราโดน่าก็ต้องรอให้ถึงยุคเมสซี่
จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถร่วมกันสร้าง “ระบบ” ที่พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เรียนรู้ไปพร้อมกันทั้งระบบ จนเกิด “มาตรฐาน” ที่ยึดถือได้ เชื่อใจได้
เพราะ “ฮีโร่” ใช่ว่าจะไว้ใจได้เสมอไป
ทีมชาติเยอรมันใช้เวลานับสิบปี อดทนเพื่อก่อร่างสร้าง “ระบบ” ขึ้นมา คนไทยจะใช้เวลากี่ปีกว่าเราจะสร้าง “ระบบ” ที่ดีขึ้นมาได้ด้วยมือของพวกเราเอง
หรือเราจะต้องร้องไห้เมื่อ “ฮีโร่” ที่เราคาดหวังเล่นไม่ได้ดั่งใจกันอีกหลายรอบ?
“ฮีโร่” เป็นสิ่งที่คนใจร้อนชื่นชอบ
“ระบบที่ดี” เป็นสิ่งที่คนที่มีความอดทนรอได้
และทีมชาติเยอรมันได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า
ชัยชนะจาก “ระบบที่ดี” นั้นหอมหวานและยั่งยืน
**********************
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1405355697