สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆทุกคน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พาพันออกมาเดินเล่นเปิดหูเปิดตาแล้วก็มาซื้อของที่จตุจักรครับผม เดินมาจนถึง MRT สวนจตุจักร พาพันก็บังเอิญไปเห็นพี่ๆกลุ่มนึงเขากำลังนั่งถักไหมพรมกันครับ นั่งถักกับพื้นเลย พาพันสงสัยจังเลยว่าทำไมเขาถึงมารวมกลุ่มกันนั่งถักไหมพรมที่นี่ พาพันยืนแอบสังเกตอยู่ซักพัก แล้วก็ลองเดินเข้าไปคุยกับพี่ๆกลุ่มนั้นครับ
นั่งถักกันกับพื้นแบบนี้เลย
พาพันเข้าไปถามและทราบมาว่าพี่ๆเขาเป็นกลุ่มเครือข่ายอาสาอิสระที่ชื่อว่า “โรงบ่มอารมณ์สุขครับ” กิจกรรมที่มาทำในวันนี้คือมาช่วยกันถักหมวกและผ้าพันคอไหมพรม ในกิจกรรมที่ชื่อ “๓๖๕ วัน ถักอุ่นให้คลายหนาว” ชื่อน่ารักมากๆเลยนะครับ พาพันเริ่มสนใจกิจกรรมของพี่ๆแล้วล่ะครับ เลยไปตามหาตัวพี่ที่เป็นคนริเริ่มโครงการน่ารักๆอย่างนี้ และในที่สุดพาพันก็เจอตัวครับ คนๆนั้นก็คือ พี่จิระพงศ์ รอดภาษา หรือพี่นุ้งนิ้ง หัวเรือใหญ่ของกลุ่ม “โรงบ่มอารมณ์สุข” ครับ พาพันไม่พลาดโอกาสดีๆแบบนี้แน่นอน ไม่รอช้ารีบเข้าไปขอสัมภาษณ์พี่นิ้งเลยครับ
พาพัน : โรงบ่มอารมณ์สุขคืออะไรเหรอครับ
พี่นิ้ง : จริงๆโรงบ่มอารมณ์สุขเป็นเพียงชื่อเรียกชื่อหนึ่ง คือการที่เราทำจิตอาสา การที่เราเดินเข้าไปทำอะไรซักอย่างหนึ่ง แล้วใช้คำแทนตัวว่า “จิตอาสา” โดยที่เราไม่ได้เจาะจงชื่อ ซึ่งคำว่า “จิตอาสา” มีคนทำมากมาย แล้วไม่ใช่ว่าทุกคนเข้าไปทำแล้วมันกลิ่นหอม คือบางกลุ่มหรือแม้แต่ตัวเราบางทีก็อาจจะเข้าไปทำให้กลิ่นมันเหม็นได้ เพราะฉะนั้นการที่เราเดินเข้าไปแล้วบอกว่าเราเป็นกลุ่ม “โรงบ่มอารมณ์สุข”นะ เราเข้าไปทำแล้วถ้าเกิดเราทำให้มันเหม็นไว้ คราวต่อไปคนเขาจะได้บอกได้ว่า ไอ้กลุ่ม “โรงบ่มฯ”นี่แหละที่เป็นคนมาทำไว้ไม่ดี คือเพื่อที่มันก็จะได้ไม่เหม็นไปถึงคนอื่นหรือจิตอาสากลุ่มอื่น มันเหม็นแค่โรงบ่ม แต่ถ้าเราทำดี ก็ดีไป แต่ถ้าทำไม่ดี เราไม่ได้แบกรับแค่ชื่อกลุ่มเรา แต่แบกจิตอาสาทุกคนด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเสียก็เสียแค่ “โรงบ่มฯ” ก็พอ ไม่ต้องทำให้คนอื่นเสีย
พี่นุ้งนิ้ง หัวเรือใหญ่ของกลุ่มโรงบ่มอารมณ์สุขครับ
พาพัน : แล้วอะไรคือแรงบันดาลใจที่ทำให้พี่นิ้งลุกขึ้นมารวบรวมเพื่อนๆมาทำจิตอาสา
พี่นิ้ง : จริงๆพี่ไม่ได้ทำเพราะมีแรงบันดาลใจ พี่ทำเพราะอยากทำ ตรงนี้พี่ขอเล่าย้อนไปช่วงสึนามิ เพราะเป็นช่วงที่เกิดโครงการจิตอาสาขึ้นมา คนก็มาร่วมทำบุญโดยไม่ต้องใช้เงิน ก็คือมาเป็นจิตอาสานี่แหละ ตอนนั้นพี่ก็ได้ไปร่วมกับโครงการจิตอาสาแล้วไปทำที่ห้องสมุดดินที่กลุ่มรักษ์เขาชะเมา เราประทับใจคนที่นั่นแล้วก็อยากกลับไปที่นั่นอีก แต่ตอนนั้นจิตอาสาถูกตัดงบ เลยไม่มีใครไปทำต่อ พี่ก็เลยรวมกลุ่มเพื่อน ช่วงนั้นมันมี MSN ก็โพสต์ชวนเพื่อนๆ ได้ประมาณ 10-20 คน แล้วก็ไปกัน ทำๆๆๆๆ พอทำเรื่อยๆก็เหมือนโดนมนต์สะกด ก็เลยทำโครงการอื่นๆอีกเยอะแยะ คือทำเพราะอยากทำ อยากไปที่นั่นก็ไป
พาพัน : มันเหมือนกับว่าพอเราทำความดีบ่อยๆ เราเลยติดใจหรือเปล่าครับก็เลยอยากจะทำซ้ำๆ ทำอีกเรื่อยๆ
พี่นิ้ง : ก็ส่วนหนึ่งนะ แต่ส่วนสำคัญคือ เราอยากทำอะไรก็ได้ที่เราทำแล้วมีความสุข ความสุขนั้นก็คือ การชวนทุกคนมาสร้างพื้นที่ดีๆ เริ่มจากที่เราเองอยากเห็นพื้นที่ดีๆพื้นที่หนึ่ง อยากเห็นรอยยิ้ม อยากให้ทุกคนมีความสุข แต่เราเองก็เป็นคนธรรมดา มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง หงุดหงิด แต่ในขณะหนึ่งที่เรามาทำความดี มาทำอะไรซักอย่าง มาแบ่งปัน ทุกคนมีน้ำใจให้กัน ความสุขของพี่ไม่ใช่การทำนั่นทำนี่หรือไปนู่นมานี่ แต่ความสุขของพี่คือการมองดูคนอื่นมีความสุข มันรู้สึกดี รู้สึกอิ่มเอม รู้สึกสุขใจที่พี่ทำแล้วทำให้คนอื่นก็มีความสุขกับการที่เราชวนเขามาทำ
พาพัน : แล้วตอนที่ชวนเพื่อนๆก็คือชวนผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก
พี่นิ้ง : คือภาพที่เราเห็นบนโลกออนไลน์มันแบบ เฮ้ย ทำไมมันมีแต่ข่าวภาพลบเยอะมาก เราเลยอยากจะบอกว่าสิ่งดีๆมันก็มี แค่ไม่ค่อยมีใครเห็น เราก็เลยทำโดยใช้สื่อตรงนี้ให้เป็นมุมบวก แม้จะมีภาพลบเยอะ แต่เราไม่ต้องสนใจ พยายามรักษาพื้นที่ 360 องศาของเราให้มันดีที่สุด ซึ่งตอนนี้ก็มีสื่อเยอะขึ้น เราก็เห็นการรวมตัวของกลุ่มคนเยอะขึ้น
พาพัน : เป้าหมายเริ่มแรกของ “โรงบ่มอารมณ์สุข” คืออะไรครับ
พี่นิ้ง : พี่ขอให้คำนิยามละกันครับว่า “เป็นพื้นที่ที่เพาะบ่มความสุข ด้วยการลงมือทำ โดยการร่วมด้วยช่วยกัน แบ่งปัน”
พาพัน : เท่าที่ฟังมาน่าสนใจมากเลย เล่าให้พาพันฟังหน่อยได้มั้ยครับว่ากิจกรรมของโรงบ่มมีอะไรบ้าง
พี่นิ้ง : กิจกรรมมีหลากหลายมาก คือตัวเราอยากทำอะไร อยากไปที่ไหน เราก็ทำ เราก็ไป โดยไม่ต้องรอว่าเมื่อไหร่ อยากไป อยากทำ ก็ทำมันเลย ไม่ยึดติดหลักการและเหตุผล อยากทำก็ลงมือเดี๋ยวนั้น หลักการและเหตุผลไม่ได้ช่วยทำให้ 360 องศารอบตัวเรามันดีขึ้น แต่ 360 องศารอบตัวเรามันดีขึ้นเพราะเราลงมือทำมัน แค่นั้นเอง พอช่วงหลังๆเราเห็นว่า เรามีกิจกรรมทุกเดือนเลย เลยคิดเป็นอีเวนท์เล่นๆเหมือนกับ 12 ราศี โรงบ่มอารมณ์สุข=ความดี 12 ราศี พี่เป็นคนแปรรูปความเพ้อเจ้อของตัวเองให้เป็นการกระทำ คิดอะไรก็ทำ ส่วนชื่อก็คิดให้ไม่เหมือนคนอื่น คิดให้อลังการงานสร้าง
อย่างเช่นกิจกรรมเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็คือกิจกรรม ฌ เฌอ เติมโลกให้ยิ้มสวยด้วยคนใจดีๆ หน้า ฃอ ฃวด เป็นกิจกรรมเพาะกล้า ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี วันเสาร์ที่ 7 – วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ก็เป็นการรวมกลุ่มกันออกค่าใช้จ่ายกันเอง เหมือนชวนกันไปเที่ยวแล้วก็ยังได้ไปช่วยงานของพี่ๆเจ้าหน้าที่อีกด้วย จากงานที่พี่เจ้าหน้าที่ทำกันไม่กี่คนต้องใช้เวลาหลายวัน ก็กลายเป็นคนหลายคนมาช่วยงานกันโดยใช้เวลาไม่นาน เป็นการทำความดีที่ไม่ต้องเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ก็สร้างความสุขใจและรอยยิ้มให้คนหลายๆคนได้
อย่างที่มาในวันนี้เป็นโครงการ 365 วัน ซึ่งแต่ละคนที่มา เขาไม่ได้มาแค่ถักไหมพรมนะ แต่เขาได้มาแบ่งปันอะไรดีๆซึ่งกันและกัน โครงการนี้ที่เกิดขึ้นเราไม่ได้ต้องการแค่ชิ้นงาน แต่เราต้องการสร้างพื้นที่ให้คนมาทำความดี มาแบ่งปัน ถ้าเราต้องการแค่ชิ้นงาน เราแค่จัดอีเวนท์นึงแล้วบอกว่าขอรับบริจาคหมวกไหมพรม แค่นี้ก็ได้แล้ว แต่ที่เราจัดแบบนี้ในแต่ละเดือน 1 คนที่เขาถักเป็นแล้ว เขาอาจมาถ่ายทอดความรู้ให้คนอีก 2 คน เราก็จะได้ไหมพรมเพิ่มอีก 2 ชิ้นงาน พอ 2 คนนี้เขาถักเป็น เขาก็จะถ่ายทอดให้คนอื่นต่อไปอีกเรื่อยๆ เหมือนเป็น “direct sale” แต่เราเป็น “direct บุญ”
อย่างที่พี่นิ้งบอกเลยครับ โครงการของ “โรงบ่มอารมณ์สุข” มีหลายหลายมากๆเลยครับ อย่างที่มาช่วยกันในวันนี้คือโครงการถักหมวกและผ้าพันคอไหมพรมที่ชื่อ “๓๖๕ วัน ถักอุ่นคลายหนาว” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “การเดินทางที่แสนพิเศษ หัวใจแบ่งปัน” เป็นการไปช่วยกันทำฝายและทำโป่งครับ และยังมีโครงการ “หาบ้านให้ปูเสฉวน โลกสวยด้วยน้ำใจ” ไม่หมดเท่านี้ครับ กิจกรรมของโรงบ่มฯยังมีอีกเยอะเลย
พาพัน : แล้วแต่ละโครงการ พี่นิ้งเริ่มจากความอยากทำ หรือมองเห็นปัญหาแล้วค่อยคิดจะทำครับ
พี่นิ้ง : ไม่ได้เห็นปัญหาจึงทำ แต่ทำเพราะเราอยากจะทำ ทำเพราะอยากสร้างพื้นที่ความสุข เราไม่ต้องไปแก้ปัญหาโลก เพราะโลกมันก็เป็นอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว ลำพังตัวเราเองไม่สามารถแก้ปัญหาโลกได้ ไม่ต้องไปแก้ แต่สร้างพื้นที่ของเรา สร้างวงกลมรอบตัวเราให้มีความสุข
พาพัน : โครงการแต่ละโครงการเป็นโครงการ “จิตอาสา” แต่ก็มีไปเที่ยวด้วย เรียกได้ว่าเป็น “การท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา” พี่นิ้งคิดอย่างไรกับคำนี้ครับ
พี่นิ้ง : หนึ่งคือเราชัดเจนว่าเราไม่ได้ขอทุนใคร เพราะฉะนั้นนอกจากพื้นที่ที่เราไปจะได้ประโยชน์แล้ว คนที่ไปก็เกิดการเรียนรู้และได้พบอะไรใหม่ๆด้วย อย่างโครงการ “การเดินทางที่แสนวิเศษ” เราก็ไปแบ่งปันด้วย ไม่ใช่ไปเที่ยวอย่างเดียว มันเกิดประโยชน์ในการไปเที่ยวของเราด้วย และเพราะว่ามันคือเงินของเรา เราจะทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องมีหลักการและเหตุผล แต่มั่นใจว่าไปแล้วได้ประโยชน์แน่นอน ถ้าคุณลงมือทำ
พาพัน : หลังจากที่พี่นิ้งทำโครงการจิตอาสาแล้วรู้สึกอย่างไร และได้อะไรกลับมาบ้างครับ
พี่นิ้ง : หนึ่งเลยคือได้เพื่อน และการที่เรานั่งมองความสุขของคนอื่นอ่ะ เราได้มากกว่านั้น มันได้ความสุขใจ ซึ่งมันอยู่ข้างใน ไม่เป็นรูปธรรม
พาพัน : แล้วผลตอบรับจากคนที่มาร่วมกิจกรรมล่ะครับ เป็นอย่างไรบ้าง
พี่นิ้ง : ก็มีทั้งแง่บวกแง่ลบแหละ เพราะบางคนมาแล้วก็รู้สึกถูกจริต บางคนมาแล้วเขาก็อาจจะไม่ถูกจริต คือเราไม่สามารถการรันตีได้ว่า สิ่งที่เราทำมันจะไปตอบสนองความต้องการของทุกคนได้ทั้งหมด เพียงแต่ให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราทำมันไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับใครก็พอ คนเรามันหลากหลาย เราเองบางทีก็ยังไม่พอใจกับการกระทำของเราเลย ต่อให้ดีขนาดไหน มันก็ต้องมีจุดสีดำ อยู่ที่คนมอง ว่าจะเลือกมองอะไร จะมองพื้นที่ที่เป็นสีขาว หรือจะมองจุดสีดำ เราบังคับให้คนมองไม่ได้ แต่เราพยายามทำสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดก็แล้วกัน
พาพัน : พี่นิ้งคาดหวังอะไรจากโครงการโรงบ่มอารมณ์สุขครับ
พี่นิ้ง : ทุกคนชอบมองว่า เวลาเราทำอะไร เราต้องคาดหวัง ซึ่งพี่ไม่เคยคาดหวัง แต่พี่คิดว่าพี่ได้ทำอะไรกับมันมากกว่า ในการกระทำของตัวเราเอง เราไม่คาดหวัง แค่ไม่เดือดร้อนใคร และได้ใช้ลมหายใจที่ยังมีอยู่ให้เกิดประโยชน์เท่านั้นเอง เวลาทำอะไรไม่คาดหวังหรอก แต่แค่ทำแล้วมีความสุขก็ทำไปเถอะ
พาพัน : อยากให้พี่นิ้งแนะนำคนที่อยากทำจิตอาสาครับ ว่าจะเริ่มอย่างไรดี
พี่นิ้ง : จริงๆ “จิตอาสา” เราไม่ต้องมองเป็นเรื่องไกลตัว ทุกคนมักจะมองว่า จะต้องเป็นอีเวนท์ใหญ่ๆ ต้องยิ่งใหญ่ ต้องเสียสละ แต่จริงๆแค่ทำดีกับคนใกล้ตัวก็ได้ แค่นั้นมันก็จิตอาสาแล้ว ไม่ต้องเป็นงานใหญ่ หรือบอกใครๆว่าเราไปช่วยโลก แต่เราแค่ยิ้มให้กัน ขอบคุณกัน มีน้ำใจไมตรีให้กัน แค่ทำให้อีกคนนึงรู้สึกดี ไม่ต้องเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ต้องอลังการงานสร้าง จิตอาสาเป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้คนได้มารวมตัวกัน ทำสิ่งดีๆร่วมกัน แบ่งปันกัน แค่นั้นเอง
พาพัน : กิจกรรมในอนาคตของ “โรงบ่มอารมณ์สุข” จะมีทิศทางอย่างไรครับ
พี่นิ้ง : ก็จะยังคงทำสิ่งที่เราอยากทำไปเรื่อยๆ อยากทำอะไร อยากไปที่ไหน ก็จะทำ ส่วนเมื่อไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ทำอะไรก็ดูว่าเราจะทำอะไรให้ได้บ้าง เมื่อไหร่ ก็อยู่ที่โอกาสและกาลเทศะ
บันทึกของพาพัน ตอน โรงบ่มอารมณ์สุข พื้นที่เพาะบ่มความสุขให้ฉ่ำหัวใจ
สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆทุกคน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พาพันออกมาเดินเล่นเปิดหูเปิดตาแล้วก็มาซื้อของที่จตุจักรครับผม เดินมาจนถึง MRT สวนจตุจักร พาพันก็บังเอิญไปเห็นพี่ๆกลุ่มนึงเขากำลังนั่งถักไหมพรมกันครับ นั่งถักกับพื้นเลย พาพันสงสัยจังเลยว่าทำไมเขาถึงมารวมกลุ่มกันนั่งถักไหมพรมที่นี่ พาพันยืนแอบสังเกตอยู่ซักพัก แล้วก็ลองเดินเข้าไปคุยกับพี่ๆกลุ่มนั้นครับ
พาพันเข้าไปถามและทราบมาว่าพี่ๆเขาเป็นกลุ่มเครือข่ายอาสาอิสระที่ชื่อว่า “โรงบ่มอารมณ์สุขครับ” กิจกรรมที่มาทำในวันนี้คือมาช่วยกันถักหมวกและผ้าพันคอไหมพรม ในกิจกรรมที่ชื่อ “๓๖๕ วัน ถักอุ่นให้คลายหนาว” ชื่อน่ารักมากๆเลยนะครับ พาพันเริ่มสนใจกิจกรรมของพี่ๆแล้วล่ะครับ เลยไปตามหาตัวพี่ที่เป็นคนริเริ่มโครงการน่ารักๆอย่างนี้ และในที่สุดพาพันก็เจอตัวครับ คนๆนั้นก็คือ พี่จิระพงศ์ รอดภาษา หรือพี่นุ้งนิ้ง หัวเรือใหญ่ของกลุ่ม “โรงบ่มอารมณ์สุข” ครับ พาพันไม่พลาดโอกาสดีๆแบบนี้แน่นอน ไม่รอช้ารีบเข้าไปขอสัมภาษณ์พี่นิ้งเลยครับ
พาพัน : โรงบ่มอารมณ์สุขคืออะไรเหรอครับ
พี่นิ้ง : จริงๆโรงบ่มอารมณ์สุขเป็นเพียงชื่อเรียกชื่อหนึ่ง คือการที่เราทำจิตอาสา การที่เราเดินเข้าไปทำอะไรซักอย่างหนึ่ง แล้วใช้คำแทนตัวว่า “จิตอาสา” โดยที่เราไม่ได้เจาะจงชื่อ ซึ่งคำว่า “จิตอาสา” มีคนทำมากมาย แล้วไม่ใช่ว่าทุกคนเข้าไปทำแล้วมันกลิ่นหอม คือบางกลุ่มหรือแม้แต่ตัวเราบางทีก็อาจจะเข้าไปทำให้กลิ่นมันเหม็นได้ เพราะฉะนั้นการที่เราเดินเข้าไปแล้วบอกว่าเราเป็นกลุ่ม “โรงบ่มอารมณ์สุข”นะ เราเข้าไปทำแล้วถ้าเกิดเราทำให้มันเหม็นไว้ คราวต่อไปคนเขาจะได้บอกได้ว่า ไอ้กลุ่ม “โรงบ่มฯ”นี่แหละที่เป็นคนมาทำไว้ไม่ดี คือเพื่อที่มันก็จะได้ไม่เหม็นไปถึงคนอื่นหรือจิตอาสากลุ่มอื่น มันเหม็นแค่โรงบ่ม แต่ถ้าเราทำดี ก็ดีไป แต่ถ้าทำไม่ดี เราไม่ได้แบกรับแค่ชื่อกลุ่มเรา แต่แบกจิตอาสาทุกคนด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเสียก็เสียแค่ “โรงบ่มฯ” ก็พอ ไม่ต้องทำให้คนอื่นเสีย
พาพัน : แล้วอะไรคือแรงบันดาลใจที่ทำให้พี่นิ้งลุกขึ้นมารวบรวมเพื่อนๆมาทำจิตอาสา
พี่นิ้ง : จริงๆพี่ไม่ได้ทำเพราะมีแรงบันดาลใจ พี่ทำเพราะอยากทำ ตรงนี้พี่ขอเล่าย้อนไปช่วงสึนามิ เพราะเป็นช่วงที่เกิดโครงการจิตอาสาขึ้นมา คนก็มาร่วมทำบุญโดยไม่ต้องใช้เงิน ก็คือมาเป็นจิตอาสานี่แหละ ตอนนั้นพี่ก็ได้ไปร่วมกับโครงการจิตอาสาแล้วไปทำที่ห้องสมุดดินที่กลุ่มรักษ์เขาชะเมา เราประทับใจคนที่นั่นแล้วก็อยากกลับไปที่นั่นอีก แต่ตอนนั้นจิตอาสาถูกตัดงบ เลยไม่มีใครไปทำต่อ พี่ก็เลยรวมกลุ่มเพื่อน ช่วงนั้นมันมี MSN ก็โพสต์ชวนเพื่อนๆ ได้ประมาณ 10-20 คน แล้วก็ไปกัน ทำๆๆๆๆ พอทำเรื่อยๆก็เหมือนโดนมนต์สะกด ก็เลยทำโครงการอื่นๆอีกเยอะแยะ คือทำเพราะอยากทำ อยากไปที่นั่นก็ไป
พาพัน : มันเหมือนกับว่าพอเราทำความดีบ่อยๆ เราเลยติดใจหรือเปล่าครับก็เลยอยากจะทำซ้ำๆ ทำอีกเรื่อยๆ
พี่นิ้ง : ก็ส่วนหนึ่งนะ แต่ส่วนสำคัญคือ เราอยากทำอะไรก็ได้ที่เราทำแล้วมีความสุข ความสุขนั้นก็คือ การชวนทุกคนมาสร้างพื้นที่ดีๆ เริ่มจากที่เราเองอยากเห็นพื้นที่ดีๆพื้นที่หนึ่ง อยากเห็นรอยยิ้ม อยากให้ทุกคนมีความสุข แต่เราเองก็เป็นคนธรรมดา มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง หงุดหงิด แต่ในขณะหนึ่งที่เรามาทำความดี มาทำอะไรซักอย่าง มาแบ่งปัน ทุกคนมีน้ำใจให้กัน ความสุขของพี่ไม่ใช่การทำนั่นทำนี่หรือไปนู่นมานี่ แต่ความสุขของพี่คือการมองดูคนอื่นมีความสุข มันรู้สึกดี รู้สึกอิ่มเอม รู้สึกสุขใจที่พี่ทำแล้วทำให้คนอื่นก็มีความสุขกับการที่เราชวนเขามาทำ
พาพัน : แล้วตอนที่ชวนเพื่อนๆก็คือชวนผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก
พี่นิ้ง : คือภาพที่เราเห็นบนโลกออนไลน์มันแบบ เฮ้ย ทำไมมันมีแต่ข่าวภาพลบเยอะมาก เราเลยอยากจะบอกว่าสิ่งดีๆมันก็มี แค่ไม่ค่อยมีใครเห็น เราก็เลยทำโดยใช้สื่อตรงนี้ให้เป็นมุมบวก แม้จะมีภาพลบเยอะ แต่เราไม่ต้องสนใจ พยายามรักษาพื้นที่ 360 องศาของเราให้มันดีที่สุด ซึ่งตอนนี้ก็มีสื่อเยอะขึ้น เราก็เห็นการรวมตัวของกลุ่มคนเยอะขึ้น
พาพัน : เป้าหมายเริ่มแรกของ “โรงบ่มอารมณ์สุข” คืออะไรครับ
พี่นิ้ง : พี่ขอให้คำนิยามละกันครับว่า “เป็นพื้นที่ที่เพาะบ่มความสุข ด้วยการลงมือทำ โดยการร่วมด้วยช่วยกัน แบ่งปัน”
พาพัน : เท่าที่ฟังมาน่าสนใจมากเลย เล่าให้พาพันฟังหน่อยได้มั้ยครับว่ากิจกรรมของโรงบ่มมีอะไรบ้าง
พี่นิ้ง : กิจกรรมมีหลากหลายมาก คือตัวเราอยากทำอะไร อยากไปที่ไหน เราก็ทำ เราก็ไป โดยไม่ต้องรอว่าเมื่อไหร่ อยากไป อยากทำ ก็ทำมันเลย ไม่ยึดติดหลักการและเหตุผล อยากทำก็ลงมือเดี๋ยวนั้น หลักการและเหตุผลไม่ได้ช่วยทำให้ 360 องศารอบตัวเรามันดีขึ้น แต่ 360 องศารอบตัวเรามันดีขึ้นเพราะเราลงมือทำมัน แค่นั้นเอง พอช่วงหลังๆเราเห็นว่า เรามีกิจกรรมทุกเดือนเลย เลยคิดเป็นอีเวนท์เล่นๆเหมือนกับ 12 ราศี โรงบ่มอารมณ์สุข=ความดี 12 ราศี พี่เป็นคนแปรรูปความเพ้อเจ้อของตัวเองให้เป็นการกระทำ คิดอะไรก็ทำ ส่วนชื่อก็คิดให้ไม่เหมือนคนอื่น คิดให้อลังการงานสร้าง
อย่างเช่นกิจกรรมเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็คือกิจกรรม ฌ เฌอ เติมโลกให้ยิ้มสวยด้วยคนใจดีๆ หน้า ฃอ ฃวด เป็นกิจกรรมเพาะกล้า ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี วันเสาร์ที่ 7 – วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ก็เป็นการรวมกลุ่มกันออกค่าใช้จ่ายกันเอง เหมือนชวนกันไปเที่ยวแล้วก็ยังได้ไปช่วยงานของพี่ๆเจ้าหน้าที่อีกด้วย จากงานที่พี่เจ้าหน้าที่ทำกันไม่กี่คนต้องใช้เวลาหลายวัน ก็กลายเป็นคนหลายคนมาช่วยงานกันโดยใช้เวลาไม่นาน เป็นการทำความดีที่ไม่ต้องเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ก็สร้างความสุขใจและรอยยิ้มให้คนหลายๆคนได้
อย่างที่มาในวันนี้เป็นโครงการ 365 วัน ซึ่งแต่ละคนที่มา เขาไม่ได้มาแค่ถักไหมพรมนะ แต่เขาได้มาแบ่งปันอะไรดีๆซึ่งกันและกัน โครงการนี้ที่เกิดขึ้นเราไม่ได้ต้องการแค่ชิ้นงาน แต่เราต้องการสร้างพื้นที่ให้คนมาทำความดี มาแบ่งปัน ถ้าเราต้องการแค่ชิ้นงาน เราแค่จัดอีเวนท์นึงแล้วบอกว่าขอรับบริจาคหมวกไหมพรม แค่นี้ก็ได้แล้ว แต่ที่เราจัดแบบนี้ในแต่ละเดือน 1 คนที่เขาถักเป็นแล้ว เขาอาจมาถ่ายทอดความรู้ให้คนอีก 2 คน เราก็จะได้ไหมพรมเพิ่มอีก 2 ชิ้นงาน พอ 2 คนนี้เขาถักเป็น เขาก็จะถ่ายทอดให้คนอื่นต่อไปอีกเรื่อยๆ เหมือนเป็น “direct sale” แต่เราเป็น “direct บุญ”
อย่างที่พี่นิ้งบอกเลยครับ โครงการของ “โรงบ่มอารมณ์สุข” มีหลายหลายมากๆเลยครับ อย่างที่มาช่วยกันในวันนี้คือโครงการถักหมวกและผ้าพันคอไหมพรมที่ชื่อ “๓๖๕ วัน ถักอุ่นคลายหนาว” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “การเดินทางที่แสนพิเศษ หัวใจแบ่งปัน” เป็นการไปช่วยกันทำฝายและทำโป่งครับ และยังมีโครงการ “หาบ้านให้ปูเสฉวน โลกสวยด้วยน้ำใจ” ไม่หมดเท่านี้ครับ กิจกรรมของโรงบ่มฯยังมีอีกเยอะเลย
พาพัน : แล้วแต่ละโครงการ พี่นิ้งเริ่มจากความอยากทำ หรือมองเห็นปัญหาแล้วค่อยคิดจะทำครับ
พี่นิ้ง : ไม่ได้เห็นปัญหาจึงทำ แต่ทำเพราะเราอยากจะทำ ทำเพราะอยากสร้างพื้นที่ความสุข เราไม่ต้องไปแก้ปัญหาโลก เพราะโลกมันก็เป็นอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว ลำพังตัวเราเองไม่สามารถแก้ปัญหาโลกได้ ไม่ต้องไปแก้ แต่สร้างพื้นที่ของเรา สร้างวงกลมรอบตัวเราให้มีความสุข
พาพัน : โครงการแต่ละโครงการเป็นโครงการ “จิตอาสา” แต่ก็มีไปเที่ยวด้วย เรียกได้ว่าเป็น “การท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา” พี่นิ้งคิดอย่างไรกับคำนี้ครับ
พี่นิ้ง : หนึ่งคือเราชัดเจนว่าเราไม่ได้ขอทุนใคร เพราะฉะนั้นนอกจากพื้นที่ที่เราไปจะได้ประโยชน์แล้ว คนที่ไปก็เกิดการเรียนรู้และได้พบอะไรใหม่ๆด้วย อย่างโครงการ “การเดินทางที่แสนวิเศษ” เราก็ไปแบ่งปันด้วย ไม่ใช่ไปเที่ยวอย่างเดียว มันเกิดประโยชน์ในการไปเที่ยวของเราด้วย และเพราะว่ามันคือเงินของเรา เราจะทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องมีหลักการและเหตุผล แต่มั่นใจว่าไปแล้วได้ประโยชน์แน่นอน ถ้าคุณลงมือทำ
พาพัน : หลังจากที่พี่นิ้งทำโครงการจิตอาสาแล้วรู้สึกอย่างไร และได้อะไรกลับมาบ้างครับ
พี่นิ้ง : หนึ่งเลยคือได้เพื่อน และการที่เรานั่งมองความสุขของคนอื่นอ่ะ เราได้มากกว่านั้น มันได้ความสุขใจ ซึ่งมันอยู่ข้างใน ไม่เป็นรูปธรรม
พาพัน : แล้วผลตอบรับจากคนที่มาร่วมกิจกรรมล่ะครับ เป็นอย่างไรบ้าง
พี่นิ้ง : ก็มีทั้งแง่บวกแง่ลบแหละ เพราะบางคนมาแล้วก็รู้สึกถูกจริต บางคนมาแล้วเขาก็อาจจะไม่ถูกจริต คือเราไม่สามารถการรันตีได้ว่า สิ่งที่เราทำมันจะไปตอบสนองความต้องการของทุกคนได้ทั้งหมด เพียงแต่ให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราทำมันไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับใครก็พอ คนเรามันหลากหลาย เราเองบางทีก็ยังไม่พอใจกับการกระทำของเราเลย ต่อให้ดีขนาดไหน มันก็ต้องมีจุดสีดำ อยู่ที่คนมอง ว่าจะเลือกมองอะไร จะมองพื้นที่ที่เป็นสีขาว หรือจะมองจุดสีดำ เราบังคับให้คนมองไม่ได้ แต่เราพยายามทำสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดก็แล้วกัน
พาพัน : พี่นิ้งคาดหวังอะไรจากโครงการโรงบ่มอารมณ์สุขครับ
พี่นิ้ง : ทุกคนชอบมองว่า เวลาเราทำอะไร เราต้องคาดหวัง ซึ่งพี่ไม่เคยคาดหวัง แต่พี่คิดว่าพี่ได้ทำอะไรกับมันมากกว่า ในการกระทำของตัวเราเอง เราไม่คาดหวัง แค่ไม่เดือดร้อนใคร และได้ใช้ลมหายใจที่ยังมีอยู่ให้เกิดประโยชน์เท่านั้นเอง เวลาทำอะไรไม่คาดหวังหรอก แต่แค่ทำแล้วมีความสุขก็ทำไปเถอะ
พาพัน : อยากให้พี่นิ้งแนะนำคนที่อยากทำจิตอาสาครับ ว่าจะเริ่มอย่างไรดี
พี่นิ้ง : จริงๆ “จิตอาสา” เราไม่ต้องมองเป็นเรื่องไกลตัว ทุกคนมักจะมองว่า จะต้องเป็นอีเวนท์ใหญ่ๆ ต้องยิ่งใหญ่ ต้องเสียสละ แต่จริงๆแค่ทำดีกับคนใกล้ตัวก็ได้ แค่นั้นมันก็จิตอาสาแล้ว ไม่ต้องเป็นงานใหญ่ หรือบอกใครๆว่าเราไปช่วยโลก แต่เราแค่ยิ้มให้กัน ขอบคุณกัน มีน้ำใจไมตรีให้กัน แค่ทำให้อีกคนนึงรู้สึกดี ไม่ต้องเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ต้องอลังการงานสร้าง จิตอาสาเป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้คนได้มารวมตัวกัน ทำสิ่งดีๆร่วมกัน แบ่งปันกัน แค่นั้นเอง
พาพัน : กิจกรรมในอนาคตของ “โรงบ่มอารมณ์สุข” จะมีทิศทางอย่างไรครับ
พี่นิ้ง : ก็จะยังคงทำสิ่งที่เราอยากทำไปเรื่อยๆ อยากทำอะไร อยากไปที่ไหน ก็จะทำ ส่วนเมื่อไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ทำอะไรก็ดูว่าเราจะทำอะไรให้ได้บ้าง เมื่อไหร่ ก็อยู่ที่โอกาสและกาลเทศะ