ขอนำ edit 3 ขึ้นต้นก่อนนะคะ
edit 3 ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็น เพื่อสังคมที่ดีขึ้นนะคะ จากความคิดเห็นที่หลากหลาย ดิฉันมีความคิดดังนี้ค่ะ
- ตามเจตนารมณ์ของ กฎกระทรวง ต้องการให้คนทุกคนทีความเสมอภาคในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่หย่อนความสามารถในการดูแลตัวเอง ให้บุคคลเหล่านี้สามารถ อยู่ในสังคมได้ ด้วยความเสมอภาค (จึงรวมผู้พิการ คนชราภาพ และผู้ทุพลภาพ ด้วย)
- ที่จอดรถสำหรับผู้พิการมีแค่ 1% ของที่จอดรถทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก แทบไม่มีนัยสำคัญสำหรับบุคคลทั่วไปเลย (ไม่มีที่ตรงนี้ก็ขับไปจอดที่อื่นได้) แต่มีความหมายมากสำหรับผู้พิการ คนชราภาพ และผุ้ทุพลภาพ ที่ขับรถมาเอง
เมื่อก่อนดิฉันเคยคิดว่าผู้พิการจะขับรถได้อย่างไร แต่ในความจริงเเล้วผู้พิการบางอย่างสามารถขับรถได้เองค่ะ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ถ้าที่จอดรถสำหรับเขาไม่ว่าง เขาจะลำบากขนาดไหน ถึงแม้ว่าผู้ที่สามารถขับรถเองได้จะมีไม่มาก แต่ถ้าเขาขับรถมาแล้วไม่มีที่จอดรถ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของเขา แต่คนที่ไม่มีสิทธิ์ที่แท้จริงไปจอด เราว่าเขาลำบากมากจริงๆนะคะ สิทธิ์ของเขาเเต่เขาไม่ได้รับสิทธิ์ ดังนั้นพื้นที่เหล่านี้ควรสงวนไว้ให้ผู้ที่มีสิทธิ์จริงๆเถอะค่ะ
(ผู้พิการ ผู้ชราภาพ ผู้ทุพลภาพ ที่ขับรถมาเอง)
- ผู้พิการ คนชรา ผู้ทุพลภาพ ที่มีผู้ดูแลมาด้วย ควรได้รับสิทธิ์นี้ไหม ถ้าดูตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวง และจำนวนที่จอดรถที่สงวนสิทธิ์ไว้ให้ เราคิดว่ามีจำนวนน้อยมาก กว่าที่จะให้ผู้พิการ คนชรา ทุพลภาพที่มีผู้ดูแลมาด้วย มาจอดค่ะ ไม่อย่างนั้นผู้พิการที่ขับรถมาคนเดียวไม่มีที่จอดแน่ๆ
แล้วจะทำอย่างไร เพราะยังไงบุคคลเหล่านี้ก็ต้องการพื้นที่สำหรับรถเข็นเช่นกัน
เราคิดว่าต้องหาทางออกร่วมกันค่ะ ถ้าศูนย์การค้าใจดีพอ อยากรบกวนขอพื้นที่พิเศษให้คนกลุ่มนี้ด้วย จะเป็นพระคุณค่ะ อาจเป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ที่มีคนดูแลมาด้วยก็ได้ค่ะ (ประมาณที่จอดรถของเเม่เเละเด็กค่ะ)
ถ้าทางห้างไม่มีพื้นที่พอ ก็อาจรบกวน คุณ รปภ ให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ตามความสมควรก็ได้ค่ะ ถ้าคุณยามมาช่วยเรายกรถเข็นให้ยายนี่เราจะซึ้งมากเลย ไม่จำเป็นต้องให้เราจอดรถในที่จอดรถสำหรับผู้พิการเลยค่ะ สงวนสิทธิ์ไว้ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ที่แท้จริงดีกว่าค่ะ
ส่วนตัวเอง ปกติแล้วเวลาพายายไปเที่ยวจะไปอย่างน้อย 3 คนค่ะ คือคนขับรถ ผุ้ดูแล และคุณยาย แล้วก็จะจอดรถส่งคุณยายและผู้ดูแลก่อน ส่วนคนขับรถจะวนหาที่จอด แล้วมารวมตัวกันอีกทีค่ะ ก็เลยไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไหร่ ยกเว้นบางครั้งที่ไป 2 คนกับยาย รู้สึกลำบาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะดูเเลยายค่ะ
ข้อความเดิม
สืบเนื่องจากจากกระทู้แนะนำ
http://ppantip.com/topic/32318803
ดิฉันมองว่าปัญหาอีกอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องจาก เข้าใจคำนิยามว่าคนพิการแตกต่างกัน
สำหรับตัวดิฉันเอง ประสบปัญหานี้เช่นกัน เมื่อดิฉันขับรถไปกับ ผู้สูงอายุ อายุเกือบ 100 ปี เพียงแค่ 2 คน ท่านนั่ง wheel chair แต่ยามไม่ให้ดิฉันจอดรถในที่จอดที่จอดรถผู้พิการ เพราะดิฉันไม่ได้พิการ และคุณยายของดิฉันก็ไม่ได้พิการ เพียงแค่นั่ง wheel chair ดิฉันยอมรับสิ่งที่ยามบอกได้ค่ะ ก็ขับรถวนหาที่จอดต่อไป ซึ่งที่จอดรถปกติไม่มี ก็ต้องจอดขวาง สิ่งที่ดิฉันไม่ค่อยสะดวกก็คือการเข็นรถคุณยาย เนื่องจากต้องเข็นรถในเลนที่คนขับรถยนต์ใช้ เพื่อเข้าศูนย์การค้า จะเข็นรถคุณยายในทางเดินคนก็ไม่ได้ เพราะว่าท่างเดินแคบเกินกว่า wheel chair ผ่านได้
ดิฉันสงสัยว่า จะมีคนพิการจริงๆสักกี่คนที่ขับรถมาคนเดียว เพราะความเป็นจริงเเล้ว รถยนต์ในเมืองไทยแทบไม่เอื้ออำนวยต่อผู้พิการทางขาเลย แล้วถ้าเปรียบเที่ยบระหว่างผู้พิการที่ยังแข็งเเรง กับผู้สูงอายุที่ต้องนั่ง wheel chair ดิฉันมองว่าผู้สูงอายุค่อนข้างลำบากในการช่วยเหลือตัวเองมากกว่า การที่จอดรถส่งผู้สูงอายุปล่อยให้อยู่คนเดียว แล้ววนรถหาที่จอดรถแล้วกลับมาหาผู้สูงอายุ บางทีท่านก็กลัวที่จะอยู่คนเดียว
ก็ต้องจอดรถในที่จอดรถ แล้วเข็นท่านไปด้วยกัน บางทีที่จอดรถปกติก็ไม่ค่อยสะดวกในการนำ wheel chair ลงจากรถเลย
เพื่อความเท่าเทียมกัน ผู้สูงอายุก็มีสิทธิ์ที่จะไปทำธุระที่ศูนย์การค้าไม่ใช่หรือคะ
ถ้าไปกัน 3 คน ดิฉันจะจอดรถส่งผู้สูงอายุ กับผู้ดูแลก่อน แล้วขับรถวนหาที่จอดเองเสมอค่ะ เพราะเข้าใจถึงความลำบากของผู้พิการดี (คุณยายดิฉันไม่ได้พิการ แต่การช่วยเหลือตัวเองไม่แตกต่างจากผู้พิการเลย บางทีด้อยกว่าด้วยซ้ำ)
ถ้าคำว่าผู้พิการหมายถึงผู้พิการจริงๆ ไม่รวมถึงคนชราที่นั่ง wheel chair ดิฉันก็น้อมรับกับกติกาสากลนี้ค่ะ แต่ถ้าหมายถึงคนชราที่นั่ง wheel chair ด้วย แล้วทำไมคุณยามท่านนั้น (ที่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง) บอกดิฉันว่าที่จอดรถสำหรับคนพิการ ยายดิฉันก็ไม่พิการ ถ้าดิฉันใจพิการดิฉันก็จอดเถอะ
ตั้งแต่วันนั้น ดิฉันไปไหนกับคุณยาย 2 คน ดิฉันไม่เคยใช้ที่จอดรถคนพิการเลย แม้ว่าจะลำบากในการเข็นรถพอสมควร
คำว่าดิฉันใจพิการก้องอยู่ในหูดิฉันเสมอ
edit 1 ตามเจตนารมณ์ของ กฎกระทรวงนี้ (ตาม คห.9) สรุปได้ว่า ผู้พิการรวมถึงผู้ชราภาพที่มีปัญหาในการช่วยเหลือตัวเองด้วย กฎกระทรวงนี้มีเพื่อความเสมอภาคของบุคคล เป็นที่ชัดเจนว่าผู้ชราภาพได้รับสิทธิ์เทียบเท่าผู้พิการตามกฎกระทรวงนี้
ปัญหาต่อมาคือ ผู้ชราภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่น่าจะขับรถมาเองได้อยู่เเล้ว
ส่วนผู้พิการอาจขับรถมาเองได้ ดังนั้นที่จิดรถสำหรับผู้พิการน่าจะสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับผู้พิการที่ขับรถมาคนเดียว
edit 2 ดิฉันคิดว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ควร discuss เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทีเดียวค่ะ
บางคนเข้าใจว่าผู้พิการมาคนเดียวเท่านั้น บางคนเข้าใจว่าผู้พิการนั่งมาในรถ บางคนเข้าใจว่ารวมผู้ชราภาพด้วย
ในกฎกระทรวงชัดเจนอยู่เเล้วว่าเพื่อผู้ชราภาพด้วย
ประเด็นที่ควรนำมา discuss ต่อมาคือ ขับรถมาคนเดียว หรือมีผู้ดูแลมาด้วย เจตนารมณ์ของ กฎกระทรวงนี้คืออะไร เพื่อที่ผู้ปฏิบัติ
จะได้ปฏิบัติถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจมีคลิปต่อว่าผู้ชราภาพที่มีผู้ดูแลมาด้วยก็ได้
หรือไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่อาจโดนผู้ดูแลผู้ชราภาพต่อว่าก็ได้ว่าทำงานโดยไม่ใช้ common sense
ต่างคนต่างความคิดค่ะ บางทีคนทำงาน หรือผู้รับบริการเทาๆอย่างเราก็ลำบากใจ
ส่วนตัวเอง ปกติแล้วเวลาพายายไปเที่ยวจะไปอย่างน้อย 3 คนค่ะ คือคนขับรถ ผุ้ดูแล และคุณยาย แล้วก็จะจอดรถส่งคุณยายและผู้ดูแลก่อน ส่วนคนขับรถจะวนหาที่จอด แล้วมารวมตัวกันอีกทีค่ะ ก็เลยไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไหร่ ยกเว้นบางครั้งที่ไป 2 คนกับยาย รู้สึกลำบาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะดูเเลยายค่ะ
ที่เคยรู้สึกว่าแย่ก็ตอนที่โดนยามว่าใจพิการน่ะค่ะ คือเราไม่รู้จริงๆนี่นาว่าเราไม่มีสิทธิ์ เราแค่ถาม ทำไมต้องว่าเราด้วย พูดกับเราดีๆก็ได้
ขอนิยาม คำว่า ที่จอดรถสำหรับคนพิการ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันค่ะ
edit 3 ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็น เพื่อสังคมที่ดีขึ้นนะคะ จากความคิดเห็นที่หลากหลาย ดิฉันมีความคิดดังนี้ค่ะ
- ตามเจตนารมณ์ของ กฎกระทรวง ต้องการให้คนทุกคนทีความเสมอภาคในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่หย่อนความสามารถในการดูแลตัวเอง ให้บุคคลเหล่านี้สามารถ อยู่ในสังคมได้ ด้วยความเสมอภาค (จึงรวมผู้พิการ คนชราภาพ และผู้ทุพลภาพ ด้วย)
- ที่จอดรถสำหรับผู้พิการมีแค่ 1% ของที่จอดรถทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก แทบไม่มีนัยสำคัญสำหรับบุคคลทั่วไปเลย (ไม่มีที่ตรงนี้ก็ขับไปจอดที่อื่นได้) แต่มีความหมายมากสำหรับผู้พิการ คนชราภาพ และผุ้ทุพลภาพ ที่ขับรถมาเอง
เมื่อก่อนดิฉันเคยคิดว่าผู้พิการจะขับรถได้อย่างไร แต่ในความจริงเเล้วผู้พิการบางอย่างสามารถขับรถได้เองค่ะ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ถ้าที่จอดรถสำหรับเขาไม่ว่าง เขาจะลำบากขนาดไหน ถึงแม้ว่าผู้ที่สามารถขับรถเองได้จะมีไม่มาก แต่ถ้าเขาขับรถมาแล้วไม่มีที่จอดรถ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของเขา แต่คนที่ไม่มีสิทธิ์ที่แท้จริงไปจอด เราว่าเขาลำบากมากจริงๆนะคะ สิทธิ์ของเขาเเต่เขาไม่ได้รับสิทธิ์ ดังนั้นพื้นที่เหล่านี้ควรสงวนไว้ให้ผู้ที่มีสิทธิ์จริงๆเถอะค่ะ (ผู้พิการ ผู้ชราภาพ ผู้ทุพลภาพ ที่ขับรถมาเอง)
- ผู้พิการ คนชรา ผู้ทุพลภาพ ที่มีผู้ดูแลมาด้วย ควรได้รับสิทธิ์นี้ไหม ถ้าดูตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวง และจำนวนที่จอดรถที่สงวนสิทธิ์ไว้ให้ เราคิดว่ามีจำนวนน้อยมาก กว่าที่จะให้ผู้พิการ คนชรา ทุพลภาพที่มีผู้ดูแลมาด้วย มาจอดค่ะ ไม่อย่างนั้นผู้พิการที่ขับรถมาคนเดียวไม่มีที่จอดแน่ๆ
แล้วจะทำอย่างไร เพราะยังไงบุคคลเหล่านี้ก็ต้องการพื้นที่สำหรับรถเข็นเช่นกัน
เราคิดว่าต้องหาทางออกร่วมกันค่ะ ถ้าศูนย์การค้าใจดีพอ อยากรบกวนขอพื้นที่พิเศษให้คนกลุ่มนี้ด้วย จะเป็นพระคุณค่ะ อาจเป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ที่มีคนดูแลมาด้วยก็ได้ค่ะ (ประมาณที่จอดรถของเเม่เเละเด็กค่ะ)
ถ้าทางห้างไม่มีพื้นที่พอ ก็อาจรบกวน คุณ รปภ ให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ตามความสมควรก็ได้ค่ะ ถ้าคุณยามมาช่วยเรายกรถเข็นให้ยายนี่เราจะซึ้งมากเลย ไม่จำเป็นต้องให้เราจอดรถในที่จอดรถสำหรับผู้พิการเลยค่ะ สงวนสิทธิ์ไว้ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ที่แท้จริงดีกว่าค่ะ
ส่วนตัวเอง ปกติแล้วเวลาพายายไปเที่ยวจะไปอย่างน้อย 3 คนค่ะ คือคนขับรถ ผุ้ดูแล และคุณยาย แล้วก็จะจอดรถส่งคุณยายและผู้ดูแลก่อน ส่วนคนขับรถจะวนหาที่จอด แล้วมารวมตัวกันอีกทีค่ะ ก็เลยไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไหร่ ยกเว้นบางครั้งที่ไป 2 คนกับยาย รู้สึกลำบาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะดูเเลยายค่ะ
ข้อความเดิม
สืบเนื่องจากจากกระทู้แนะนำ http://ppantip.com/topic/32318803
ดิฉันมองว่าปัญหาอีกอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องจาก เข้าใจคำนิยามว่าคนพิการแตกต่างกัน
สำหรับตัวดิฉันเอง ประสบปัญหานี้เช่นกัน เมื่อดิฉันขับรถไปกับ ผู้สูงอายุ อายุเกือบ 100 ปี เพียงแค่ 2 คน ท่านนั่ง wheel chair แต่ยามไม่ให้ดิฉันจอดรถในที่จอดที่จอดรถผู้พิการ เพราะดิฉันไม่ได้พิการ และคุณยายของดิฉันก็ไม่ได้พิการ เพียงแค่นั่ง wheel chair ดิฉันยอมรับสิ่งที่ยามบอกได้ค่ะ ก็ขับรถวนหาที่จอดต่อไป ซึ่งที่จอดรถปกติไม่มี ก็ต้องจอดขวาง สิ่งที่ดิฉันไม่ค่อยสะดวกก็คือการเข็นรถคุณยาย เนื่องจากต้องเข็นรถในเลนที่คนขับรถยนต์ใช้ เพื่อเข้าศูนย์การค้า จะเข็นรถคุณยายในทางเดินคนก็ไม่ได้ เพราะว่าท่างเดินแคบเกินกว่า wheel chair ผ่านได้
ดิฉันสงสัยว่า จะมีคนพิการจริงๆสักกี่คนที่ขับรถมาคนเดียว เพราะความเป็นจริงเเล้ว รถยนต์ในเมืองไทยแทบไม่เอื้ออำนวยต่อผู้พิการทางขาเลย แล้วถ้าเปรียบเที่ยบระหว่างผู้พิการที่ยังแข็งเเรง กับผู้สูงอายุที่ต้องนั่ง wheel chair ดิฉันมองว่าผู้สูงอายุค่อนข้างลำบากในการช่วยเหลือตัวเองมากกว่า การที่จอดรถส่งผู้สูงอายุปล่อยให้อยู่คนเดียว แล้ววนรถหาที่จอดรถแล้วกลับมาหาผู้สูงอายุ บางทีท่านก็กลัวที่จะอยู่คนเดียว
ก็ต้องจอดรถในที่จอดรถ แล้วเข็นท่านไปด้วยกัน บางทีที่จอดรถปกติก็ไม่ค่อยสะดวกในการนำ wheel chair ลงจากรถเลย
เพื่อความเท่าเทียมกัน ผู้สูงอายุก็มีสิทธิ์ที่จะไปทำธุระที่ศูนย์การค้าไม่ใช่หรือคะ
ถ้าไปกัน 3 คน ดิฉันจะจอดรถส่งผู้สูงอายุ กับผู้ดูแลก่อน แล้วขับรถวนหาที่จอดเองเสมอค่ะ เพราะเข้าใจถึงความลำบากของผู้พิการดี (คุณยายดิฉันไม่ได้พิการ แต่การช่วยเหลือตัวเองไม่แตกต่างจากผู้พิการเลย บางทีด้อยกว่าด้วยซ้ำ)
ถ้าคำว่าผู้พิการหมายถึงผู้พิการจริงๆ ไม่รวมถึงคนชราที่นั่ง wheel chair ดิฉันก็น้อมรับกับกติกาสากลนี้ค่ะ แต่ถ้าหมายถึงคนชราที่นั่ง wheel chair ด้วย แล้วทำไมคุณยามท่านนั้น (ที่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง) บอกดิฉันว่าที่จอดรถสำหรับคนพิการ ยายดิฉันก็ไม่พิการ ถ้าดิฉันใจพิการดิฉันก็จอดเถอะ
ตั้งแต่วันนั้น ดิฉันไปไหนกับคุณยาย 2 คน ดิฉันไม่เคยใช้ที่จอดรถคนพิการเลย แม้ว่าจะลำบากในการเข็นรถพอสมควร
edit 1 ตามเจตนารมณ์ของ กฎกระทรวงนี้ (ตาม คห.9) สรุปได้ว่า ผู้พิการรวมถึงผู้ชราภาพที่มีปัญหาในการช่วยเหลือตัวเองด้วย กฎกระทรวงนี้มีเพื่อความเสมอภาคของบุคคล เป็นที่ชัดเจนว่าผู้ชราภาพได้รับสิทธิ์เทียบเท่าผู้พิการตามกฎกระทรวงนี้
ปัญหาต่อมาคือ ผู้ชราภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่น่าจะขับรถมาเองได้อยู่เเล้ว
ส่วนผู้พิการอาจขับรถมาเองได้ ดังนั้นที่จิดรถสำหรับผู้พิการน่าจะสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับผู้พิการที่ขับรถมาคนเดียว
edit 2 ดิฉันคิดว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ควร discuss เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทีเดียวค่ะ
บางคนเข้าใจว่าผู้พิการมาคนเดียวเท่านั้น บางคนเข้าใจว่าผู้พิการนั่งมาในรถ บางคนเข้าใจว่ารวมผู้ชราภาพด้วย
ในกฎกระทรวงชัดเจนอยู่เเล้วว่าเพื่อผู้ชราภาพด้วย
ประเด็นที่ควรนำมา discuss ต่อมาคือ ขับรถมาคนเดียว หรือมีผู้ดูแลมาด้วย เจตนารมณ์ของ กฎกระทรวงนี้คืออะไร เพื่อที่ผู้ปฏิบัติ
จะได้ปฏิบัติถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจมีคลิปต่อว่าผู้ชราภาพที่มีผู้ดูแลมาด้วยก็ได้
หรือไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่อาจโดนผู้ดูแลผู้ชราภาพต่อว่าก็ได้ว่าทำงานโดยไม่ใช้ common sense
ต่างคนต่างความคิดค่ะ บางทีคนทำงาน หรือผู้รับบริการเทาๆอย่างเราก็ลำบากใจ
ส่วนตัวเอง ปกติแล้วเวลาพายายไปเที่ยวจะไปอย่างน้อย 3 คนค่ะ คือคนขับรถ ผุ้ดูแล และคุณยาย แล้วก็จะจอดรถส่งคุณยายและผู้ดูแลก่อน ส่วนคนขับรถจะวนหาที่จอด แล้วมารวมตัวกันอีกทีค่ะ ก็เลยไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไหร่ ยกเว้นบางครั้งที่ไป 2 คนกับยาย รู้สึกลำบาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถที่จะดูเเลยายค่ะ
ที่เคยรู้สึกว่าแย่ก็ตอนที่โดนยามว่าใจพิการน่ะค่ะ คือเราไม่รู้จริงๆนี่นาว่าเราไม่มีสิทธิ์ เราแค่ถาม ทำไมต้องว่าเราด้วย พูดกับเราดีๆก็ได้