คุณคิดอย่างไรกับประกันสังคม ปีละ 9000 บาท

ผมต้องจ่ายประกันสังคม เดือนละ 750 บาท ซึ่งตกปีละ 9,000 บาท และผมก็เลือก โรงพยาบาลเอกชน(แห่งหนึ่งในโคราช)
ซึ่งมี 2 แห่ง ถ้าใช้สิทธิประกันสังคม ต้องไป แห่งเก่า คิวยาวมาก การบริการไม่ต่างกับสิทธิบัตรทอง 30 บาท ของโรงพยาบาลรัฐเลย   
คิดว่าคุ้มต่าไหมกับเงินที่จ่ายไป  ซึ่งถ้านำเงินที่จ่ายไปซื้อประกันชีวิต ยังคุ้มกว่า
......................................เบิกเงินก็ยาก  ทำฟันก็ได้แค่ปีละไม่กี่บาท.............................................
เราจ่ายปีละ 9,000 ยังไม่พอ บริษัทที่เราทำงานยังต้องจ่ายให้ประกันสังคมอีก เท่าตัว รวมแล้ว 18,000 บาท
เงินที่เข้ารัฐ มากเป็นอันดับต้น ๆ คือ สำนักงานประกันสังคม
อยากให้ปรับปรุงการได้รับบริการบ้าง และสิทธิเท่าเทียมกัน ผมพอมีเงินจ่ายเพื่อแลกกับการบริการที่ดี
.................ถ้าคนที่รายได้น้อยกว่าผมหล่ะ........ไปตั้งแต่เช้า...กว่าจะได้รักษา ก็ต้องบ่าย....มั้ง....ทั้ง ๆ ที่ มีตั้ง 2 แห่ง

ทุกวันนี้ ผมจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเอกชนที่ผมมีสิทธิประกันสังคม แต่ต้องใช้เงินสดเพื่อเข้ารับการรักษา
...แต่ถ้าวันไหนผมใช้สิทธิประกันสังคม......น่ะ...........เชิญไป.....โรงพยาบาลแห่งเก่า...ค่ะ.....
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น...

- 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

- 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

- 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

มันมีแง่ดีอยู่บ้างครับ ส่วนการรักษาพยาบาล เราก็ซื้อเพิ่มเติมได้ตามกำลังครับ อย่าคิดมาก
ความคิดเห็นที่ 94
คุณยังไม่ป่วยก็หาเหตุเข้ามาวิจารณ์ได้

ผม ทำงาน ส่งเงินเข้าประกันสังคมตั้งแต่ปี 40 ก็ใช้ชีวิตปกติไป เพื่อนบอกให้เลือกโรงพยาบาลรัฐสิ ไหนๆ ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว ใช้ประกันสุขภาพจากบริษัท แต่ผมเลือก รพ เอกชน เพราะเราคิดว่าทำงาน 5 วัน ต้องเลือก รพ ใกล้ที่ทำงาน เผื่อป่วย ผมคิดว่าส่งเข้า ปกส ให้คนรายได้น้อยกว่าเราใช้ มันเป็นการเฉลี่ยทุกข์สุข จนปี 52 ผมก็ลิ่มเลือดอุดตันในสมองซีกซ้าย พี่สาวส่งเข้า รพ ที่ผมได้เลือกไว้ จนถึงปัจจุบัน ผมยังนึกขอบคุณที่มี ปกส ช่วยเอาไว้ เพราะผมไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว ณ ตอนนี้ผมกลายเป็นคนพิการครึ่งซีกขวา สวัสดิการที่ผมได้รับจาก ปกส คือ

1. ผมได้สิทธิเป็นผู้ป่วย ปกส ทุพพลภาพ หาหมอในโรงพยาบาลรัฐฟรี รพ เอกชน ผู้ป่วยนอก ค่ารักษาไม่เกิน 2 พันบาท ผู้ป่วยใน ไม่เกิน 4 พันบาท (ออกเงินไปก่อน ค่อยเอาใบเสร็จไปขึ้นเงิน) ค่าเดินทางเหมาจ่าย 5 ร้อยบาทต่อเดือน
2. เค้าให้ค่าใช้จ่ายรายเดือน เดือนละ 7,500 บาท (รวมค่าเดินทางในข้อ 1 เป็น 8,000 บาท) สำหรับคนทั่วไปอาจจะเป็นเงินเล็กน้อย แต่สำหรับผม มันเยอะมากขอบอก เพราะตอนนี้ไม่มีบริษัทไหนมาจ้างคนพิการหรอกครับ
3. แก่ตัวไปมีค่ามีเงินให้อีก ตอนตาย มีค่าทำศพอีก

ผมถึงบอกไงครับ ว่าตอนนี้คุณยังไม่ป่วยไข้ ไม่ชรา ยังไม่คิด อย่างคนพิการครึ่งซีกอย่างผม ไปหาหมอ รพ รัฐ ตั้งแต่ 6 โมงครึ่ง ตรวจเสร็จเกือบเที่ยง รับยา ไปเอาเงินกับ ปกส เสร็จบ่าย 2 ครึ่ง ถึงได้กินข้าวเที่ยง คนอย่างคุณคงอดทนไม่ได้หรอกครับ เพราะมันช้า ลองมองคนรอบๆ ตัวคุณที่มาหาหมอ เค้าต่างอยากหาย แต่ด้วยความไม่พร้อมด้านทุนทรัพย์ ทำให้ต้องมารอคิว (รวมคนป่วยใน สปสช 30 บาท นะครับ) ตอนปี 52 ผมรายได้เกือบ 40,000 บาท ยังคิดว่าจ่ายค่า ปกส ให้คนที่มีน้อยกว่าเรา เพราะเรามีประกันสุขภาพจากบริษัทอยู่แล้ว ช่วยๆ กันไป ตอนนี้ สิ่งที่ผมได้รับจาก ปกส มันดีมากครับ
ความคิดเห็นที่ 17
ประกันสุขภาพของเอกชน รักษาไม่เกินวงเงินที่เอาประกัน
แถมปีต่อไป บ.ประกันมีสิทธิ์ไม่ต่อประกันได้
เพราะประเมินแล้ัวว่าลูกค้ารายนี้ไม่คุ้มที่จะรับทำประกัน

แต่ประกันสังคม รักษาจนถึงที่สุด คือถ้าไม่ตาย ก็ต้องรักษาจนหาย
โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่
ความคิดเห็นที่ 20
เล่าให้ฟังครับ

แฟนผมทำประกันสังคมกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งแถวพระราม2 เนื่องจากแฟนผมตั้งครรภ์ ปัสสาวะ ไม่ออกมาเป็นเวลา 7-8 ชัวโมงทำให้ทรมาณมาก
ผมเลยตัดสินใจพาเธอไปโรงพยาบาลที่ทำประกันสังคมไว้ (ช่วงเวลาประมาณ 5 ทุ่ม) พบการต้อนรับที่แย่มากเนื่องจากบอกว่ามาเพราะทำประกันสังคมไว้ นั่งรอประมาณชั่วโมง หมา เอ้ย หมอก็มา กดท้องนิดนึง แล้วบอกว่าไม่เห็นเป็นไรเลย คิดไปเองรึเปล่า (อ่อ ฉี่ไม่ออก คิดไปเอง)
ผมปรี๊ดแตกเลย ลากแฟนออกมาจากห้องตรวจ ขับรถพาไปโรงพยาบาลอีกแห่งยอมเสียเงินเอง ผลหมอบอกว่าทนได้ยังไง ทำการสวนท่อให้
ปัสสาวะออกมาเยอะจนหมอตกใจ เข็ดเลยครับ ไม่กล้วใช้ประกันสังคมหาหมอเลย

ขออภัยที่ดราม่าครับ แค่อยากเล่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่