ต่อจากกระทู้
8 กรกฎาคม 2557 - กองทัพดัมเบิลดอร์รวมพลอีกครั้ง ณ ควิดดิชเวิลด์คัพ รอบชิงชนะเลิศ
----------------------------------------------------------------
เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง
ตาม
คำแนะนำอย่างเป็นทางการของการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ ซึ่งได้รับการจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ (ICWQC) สามารถหาได้ทั่วไปตามแผงหนังสือที่มีชื่อเสียงของเหล่าพ่อมดแม่มดทั้งหลาย ซึ่งต่างรู้สึกตรงกันว่ามีราคาสูงอย่างน่าขันถึง 39 เกลเลียน ระบุไว้ว่า การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศถูกกำหนดให้จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1473 เป็นต้นมา ในฐานะที่ควิดดิชเป็นมากกว่าการแข่งขันกีฬาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกของผู้วิเศษ จึงมีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของถ้อยแถลงนี้
ในขณะที่มีเพียงทีมในทวีปยุโรปเท่านั้นที่มีการแข่งขันในระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 บรรดาผู้เคร่งครัดทั้งหลายต่างเสนอช่วงเวลาของการเริ่มต้นการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ ให้นับจากศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป เมื่อกีฬาชนิดนี้ได้เปิดตัวออกสู่ทั่วทุกทวีป นอกจากนี้ยังมีการโต้เถียงที่ดุเดือดเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของบันทึกทางประวัติศาสตร์บางส่วนของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ การวิเคราะห์หลังจบเกมการแข่งขันจำนวนมาก มีเนื้อหาสาระสำคัญไปที่การแทรกแทรงด้วยเวทมนตร์*ให้เกิดผลตามต้องการ ไม่ว่าจะทำหรือสมควรทำ ผลสรุปสุดท้ายก็ยังเป็นที่โต้เถียงอยู่
คณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ มีภาระหน้าที่ที่โชคร้ายในการควบคุมการแข่งขันที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและสับสนวุ่นวาย หนังสือกฎกติกาที่เกี่ยวข้องกับพิธีเปิดและปิดสนามแห่งเวทมนตร์ ถูกอ้างถึงเพื่อขยายความออกไปถึงเล่มที่ 19 และรวมถึงกฎมากมาย อย่าง ‘ห้ามนำมังกรเข้ามาในสนาม ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม แต่ไม่จำกัดในกรณีที่ใช้เป็นมาสคอตประจำทีม, ผู้ฝึกสอน หรือใช้เป็นตัวอุ่นถ้วย’ และ ‘การปรับปรุงแก้ไขส่วนต่างๆ ของร่างกายกรรมการ ไม่ว่าเขาหรือเธอจะร้องขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขนั้นหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ถูกห้ามเล่นไปตลอดฤดูกาลแข่งขัน และอาจถูกจำคุกร่วมด้วย’
เนื่องจากความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพของทุกๆ คนที่เข้าร่วม รวมทั้งการถูกเพ่งเล็งอยู่เสมอสำหรับสถานการณ์ความไม่สงบและการประท้วงคัดค้าน จึงทำให้การแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นทั้งการแข่งขันกีฬาที่ทำให้คนทั่วโลกมีความสุข และในขณะเดียวกันก็เป็นฝันร้ายในการบริหารจัดการของประเทศเจ้าภาพอีกด้วย
บทบัญญัติการรักษาความลับ
ช่วงเวลาสำคัญของการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ คือการทำให้บทบัญญัติการรักษาความลับนานาชาติในปี ค.ศ.1692 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกปิดการดำรงอยู่ของพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ สหพันธ์พ่อมดนานาชาติเล็งเห็นว่าการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด เนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของคนกลุ่มใหญ่ รวมทั้งการชุมนุมของสมาชิกในชุมชนผู้วิเศษนานาชาติจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณการประท้วงและการขู่คุกคามต่อสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ ทำให้มีข้อตกลงที่เห็นพ้องต้องกันว่า การแข่งขันสามารถดำเนินต่อไปได้ รวมถึงการควบคุมกลุ่มคน โดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดสถานที่นัดพบที่เหมาะสม ปกติมักจะเป็นทุ่งร้างที่อยู่ห่างไกล, ทะเลทราย และเกาะต่างๆ ที่รกร้างว่างเปล่า พร้อมทั้งจัดระเบียบการขนส่งผู้เข้าชมจำนวนมาก (โดยปกติจะมีผู้เข้าชมการแข่งขันในนัดสุดท้ายประมาณหนึ่งแสนคน) และควบคุมดูแลให้เกมอยู่ในระเบียบ อันเป็นภารกิจที่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องกระทำท่ามกลางผู้คนทั้งหมดที่ไม่สำนึกรู้คุณและเห็นถึงความยากลำบากในโลกของผู้วิเศษ
การจัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศทำกันอย่างไร
ประเทศที่ส่งทีมควิดดิชเข้าร่วมแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพในแต่ละฤดูกาลมีจำนวนไม่คงที่ ประเทศที่มีจำนวนประชากรผู้วิเศษน้อยก่อให้เกิดความยากลำบากในการสร้างทีมให้ได้ตามมาตรฐาน แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ หรือภัยพิบัติ อาจมีผลต่อสมาชิกผู้เข้าร่วมแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆ อาจจะเข้าร่วมทีมภายใน 12 เดือนให้หลังจากการแข่งขันนัดสุดท้ายก็ได้
ทีมต่างๆ จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ทั้งหมดไม่เกิน 16 กลุ่ม ซึ่งทุกๆ ทีมในกลุ่มจะเล่นแบบพบกันหมดภายในระยะเวลา 2 ปี จนกระทั่งเหลือ 16 ทีมสุดท้าย (ทีมที่เป็นผู้ชนะของแต่ละกลุ่ม) โดยระหว่างช่วงของการแข่งขันในแต่ละกลุ่ม จะกำหนดระยะเวลาของการเล่นไว้ที่ 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเหน็ดเหนื่อยของผู้เล่น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าในระหว่างเกมการแข่งขัน จะมีบางกลุ่มที่ไม่สามารถจับลูกสนิชได้ แต่จะตัดสินกันด้วยการทำแต้มเพียงอย่างเดียว ผู้ชนะของการแข่งขันในแต่ละกลุ่มจะได้รับ 2 คะแนน ผู้ชนะที่มีแต้มมากกว่า 150 คะแนน จะได้รับแต้มเพิ่มอีก 5 คะแนน, ทีมที่ได้ 100 คะแนน จะได้รับแต้มเพิ่มอีก 3 คะแนน และทีมที่ได้ 50 คะแนน จะได้รับแต้มเพิ่มอีก 1 คะแนน ในกรณีที่มีแต้มเสมอกัน ผู้ชนะก็คือทีมที่จับลูกสนิชได้บ่อยที่สุดหรือเร็วที่สุดในระหว่างการแข่งขัน
ทีมที่เหลือ 16 ทีมสุดท้ายจะถูกจัดลำดับตามคะแนนที่ชนะจากการแข่งขันในแต่ละกลุ่ม โดยทีมที่มีคะแนนสูงที่สุดจะเล่นกับทีมที่มีคะแนนต่ำที่สุด ทีมที่มีคะแนนสูงลำดับที่สองจะเล่นกับทีมที่มีคะแนนต่ำลำดับที่สอง ทำแบบนี้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเหลือทีมที่ดีที่สุด 2 ทีมมาแข่งขันกันในรอบสุดท้าย ส่วนกรรมการผู้ตัดสินจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ
-------------------------------------------------
อ่านบทความแปลไทยจาก Pottermore เรื่องอื่นๆ ได้ที่
http://www.muggle-v.com/category/pottermore/pottermore-thai/
ประวัติศาสตร์ของควิดดิชเวิลด์คัพ (History of the Quidditch World Cup)
----------------------------------------------------------------
เนื้อหาใหม่จาก เจ.เค.โรว์ลิ่ง
ตามคำแนะนำอย่างเป็นทางการของการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ ซึ่งได้รับการจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ (ICWQC) สามารถหาได้ทั่วไปตามแผงหนังสือที่มีชื่อเสียงของเหล่าพ่อมดแม่มดทั้งหลาย ซึ่งต่างรู้สึกตรงกันว่ามีราคาสูงอย่างน่าขันถึง 39 เกลเลียน ระบุไว้ว่า การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศถูกกำหนดให้จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1473 เป็นต้นมา ในฐานะที่ควิดดิชเป็นมากกว่าการแข่งขันกีฬาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกของผู้วิเศษ จึงมีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของถ้อยแถลงนี้
ในขณะที่มีเพียงทีมในทวีปยุโรปเท่านั้นที่มีการแข่งขันในระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 บรรดาผู้เคร่งครัดทั้งหลายต่างเสนอช่วงเวลาของการเริ่มต้นการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ ให้นับจากศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป เมื่อกีฬาชนิดนี้ได้เปิดตัวออกสู่ทั่วทุกทวีป นอกจากนี้ยังมีการโต้เถียงที่ดุเดือดเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของบันทึกทางประวัติศาสตร์บางส่วนของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ การวิเคราะห์หลังจบเกมการแข่งขันจำนวนมาก มีเนื้อหาสาระสำคัญไปที่การแทรกแทรงด้วยเวทมนตร์*ให้เกิดผลตามต้องการ ไม่ว่าจะทำหรือสมควรทำ ผลสรุปสุดท้ายก็ยังเป็นที่โต้เถียงอยู่
คณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ มีภาระหน้าที่ที่โชคร้ายในการควบคุมการแข่งขันที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและสับสนวุ่นวาย หนังสือกฎกติกาที่เกี่ยวข้องกับพิธีเปิดและปิดสนามแห่งเวทมนตร์ ถูกอ้างถึงเพื่อขยายความออกไปถึงเล่มที่ 19 และรวมถึงกฎมากมาย อย่าง ‘ห้ามนำมังกรเข้ามาในสนาม ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม แต่ไม่จำกัดในกรณีที่ใช้เป็นมาสคอตประจำทีม, ผู้ฝึกสอน หรือใช้เป็นตัวอุ่นถ้วย’ และ ‘การปรับปรุงแก้ไขส่วนต่างๆ ของร่างกายกรรมการ ไม่ว่าเขาหรือเธอจะร้องขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขนั้นหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ถูกห้ามเล่นไปตลอดฤดูกาลแข่งขัน และอาจถูกจำคุกร่วมด้วย’
เนื่องจากความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพของทุกๆ คนที่เข้าร่วม รวมทั้งการถูกเพ่งเล็งอยู่เสมอสำหรับสถานการณ์ความไม่สงบและการประท้วงคัดค้าน จึงทำให้การแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นทั้งการแข่งขันกีฬาที่ทำให้คนทั่วโลกมีความสุข และในขณะเดียวกันก็เป็นฝันร้ายในการบริหารจัดการของประเทศเจ้าภาพอีกด้วย
บทบัญญัติการรักษาความลับ
ช่วงเวลาสำคัญของการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพ คือการทำให้บทบัญญัติการรักษาความลับนานาชาติในปี ค.ศ.1692 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกปิดการดำรงอยู่ของพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ สหพันธ์พ่อมดนานาชาติเล็งเห็นว่าการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด เนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของคนกลุ่มใหญ่ รวมทั้งการชุมนุมของสมาชิกในชุมชนผู้วิเศษนานาชาติจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณการประท้วงและการขู่คุกคามต่อสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ ทำให้มีข้อตกลงที่เห็นพ้องต้องกันว่า การแข่งขันสามารถดำเนินต่อไปได้ รวมถึงการควบคุมกลุ่มคน โดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดสถานที่นัดพบที่เหมาะสม ปกติมักจะเป็นทุ่งร้างที่อยู่ห่างไกล, ทะเลทราย และเกาะต่างๆ ที่รกร้างว่างเปล่า พร้อมทั้งจัดระเบียบการขนส่งผู้เข้าชมจำนวนมาก (โดยปกติจะมีผู้เข้าชมการแข่งขันในนัดสุดท้ายประมาณหนึ่งแสนคน) และควบคุมดูแลให้เกมอยู่ในระเบียบ อันเป็นภารกิจที่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องกระทำท่ามกลางผู้คนทั้งหมดที่ไม่สำนึกรู้คุณและเห็นถึงความยากลำบากในโลกของผู้วิเศษ
การจัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศทำกันอย่างไร
ประเทศที่ส่งทีมควิดดิชเข้าร่วมแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพในแต่ละฤดูกาลมีจำนวนไม่คงที่ ประเทศที่มีจำนวนประชากรผู้วิเศษน้อยก่อให้เกิดความยากลำบากในการสร้างทีมให้ได้ตามมาตรฐาน แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ หรือภัยพิบัติ อาจมีผลต่อสมาชิกผู้เข้าร่วมแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆ อาจจะเข้าร่วมทีมภายใน 12 เดือนให้หลังจากการแข่งขันนัดสุดท้ายก็ได้
ทีมต่างๆ จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ทั้งหมดไม่เกิน 16 กลุ่ม ซึ่งทุกๆ ทีมในกลุ่มจะเล่นแบบพบกันหมดภายในระยะเวลา 2 ปี จนกระทั่งเหลือ 16 ทีมสุดท้าย (ทีมที่เป็นผู้ชนะของแต่ละกลุ่ม) โดยระหว่างช่วงของการแข่งขันในแต่ละกลุ่ม จะกำหนดระยะเวลาของการเล่นไว้ที่ 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเหน็ดเหนื่อยของผู้เล่น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าในระหว่างเกมการแข่งขัน จะมีบางกลุ่มที่ไม่สามารถจับลูกสนิชได้ แต่จะตัดสินกันด้วยการทำแต้มเพียงอย่างเดียว ผู้ชนะของการแข่งขันในแต่ละกลุ่มจะได้รับ 2 คะแนน ผู้ชนะที่มีแต้มมากกว่า 150 คะแนน จะได้รับแต้มเพิ่มอีก 5 คะแนน, ทีมที่ได้ 100 คะแนน จะได้รับแต้มเพิ่มอีก 3 คะแนน และทีมที่ได้ 50 คะแนน จะได้รับแต้มเพิ่มอีก 1 คะแนน ในกรณีที่มีแต้มเสมอกัน ผู้ชนะก็คือทีมที่จับลูกสนิชได้บ่อยที่สุดหรือเร็วที่สุดในระหว่างการแข่งขัน
ทีมที่เหลือ 16 ทีมสุดท้ายจะถูกจัดลำดับตามคะแนนที่ชนะจากการแข่งขันในแต่ละกลุ่ม โดยทีมที่มีคะแนนสูงที่สุดจะเล่นกับทีมที่มีคะแนนต่ำที่สุด ทีมที่มีคะแนนสูงลำดับที่สองจะเล่นกับทีมที่มีคะแนนต่ำลำดับที่สอง ทำแบบนี้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเหลือทีมที่ดีที่สุด 2 ทีมมาแข่งขันกันในรอบสุดท้าย ส่วนกรรมการผู้ตัดสินจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการกีฬาควิดดิชแห่งสหพันธ์พ่อมดนานาชาติ
-------------------------------------------------
อ่านบทความแปลไทยจาก Pottermore เรื่องอื่นๆ ได้ที่ http://www.muggle-v.com/category/pottermore/pottermore-thai/