พอดีเราไปอ่านเจอบทความของคนๆหนึ่ง เกี่ยวกับการเขียนจดหมายและโปสการ์ดค่ะ
อ่านแล้วรู้สึกชอบมากๆ เลยไปขออนุญาตเจ้าของบทความ เพื่อเอาแบ่งปันเพื่อนๆชาวพันทิปค่ะ
วันที่ 31 พ.ค. 2557
นายวงกตกับผองเพื่อนสมัยมัธยมไปเที่ยวทะเลที่หัวหินเป็นเวลา 2 วัน 1 คืนกันครับ
การไปเที่ยวทะเลในครั้งนี้ แน่นอนว่ามันสบายกว่าครั้งก่อนๆมากนัก
เนื่องด้วยอายุอานามที่มาก บวกกับต่างคนต่างมีเงินส่วนตัวให้ใช้สอยกัน
การเดินทางของพวกเราจึงไม่ใช่การนั่งรถไฟชั้นสาม และถ่ายรูปคู่กับตั๋วยาวลากจรดพื้น
หากแต่เป็นรถส่วนตัวคู่ใจของเหล่าเพื่อนๆผู้มีอันจะกิน
แฮะๆ... ส่วนนายวงกตก็เนียนๆนั่งไป
การมาเที่ยวทะเลหลังจากงานหนักๆเป็นสุดยอดความปรารถนาของผมเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะทุกข์จะสุข รองจากพ่อแม่ และเพื่อนสนิทแล้ว
ทะเลเนี่ยแหละเป็นคนที่ผมอยากจะเล่าทุกอย่างให้ฟังที่สุด
ทะเลมีพลังต่างๆซ่อนเร้นมากมาย
ที่แม้แต่คุณริว จิตสัมผัส กับ คุณเจน ญานทิพย์ อาจจะสัมผัสไม่ได้ว่าเขาอยู่ตรงไหน
นายวงกตขอสรุปเลยแล้วกันครับว่า
ทะเลเป็นของส่วนตัว... รู้สึกแทนกันไม่ได้จริงๆ : )
ผมขอพักเรื่องทะเลไว้ก่อน เพราะถ้าให้พูด นายวงกตคงอธิบายความรู้สึกที่ซับซ้อนของทะเลออกมาไม่หมด
ผมขอเริ่มต้นด้วยคำถามก่อนเลยว่า ถ้าไปเที่ยวไกลๆสักที่ สิ่งที่อยากจะทำก่อนกลับคืออะไร?
คำตอบก็คงประมาณ ถ่ายรูป เปลี่ยนโปรไฟล์ เชคอิน กินของท้องถิ่น เที่ยวกลางคืน ทำอะไรบ้าที่ปกติไม่เคยทำ
ขากลับแวะซื้อของฝากฝากที่ทำงาน ฯลฯ ใช่ไหมล่ะครับ?
แต่มีงานอดิเรกของผมอย่างหนึ่ง ซึ่งผมเองก็ยังเริ่มทำไม่ได้นาน
เรียกได้ว่ายังเป็น 'Beginner' ในสายนี้เลยก็ว่าได้
นั่นคือ
การเขียนโปสการ์ด
โปสการ์ดกลายเป็นสิ่งที่ผมจะต้องมองหาทุกครั้ง เวลาที่ไปเที่ยวที่ไหนสักที่
จากที่เมื่อก่อนไม่เคยคิดสนใจไอ้กระดาษแข็งแปะรูปที่สามารถหาได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ตนั่นเลย
(อันที่จริงคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รูปในอินเตอร์เน็ตบางทีสวยกว่าเยอะ)
ราคาก็แพง แรงจูงใจที่ว่าเป็นแสตมป์หรือตัวปั๊มประจำจังหวัดอะไรนั่น ผมก็ไม่เคยพิศมัยมันเลย
ทำไมผมถึงเปลี่ยนความคิด?
หากลองมองไปรอบๆกาย สังคมเราในตอนนี้
มนุษย์เรานิยมชมชอบ 'ความรวดเร็ว' มากยิ่งขึ้น
สั้นๆ กระชับ จบได้ไวยิ่งดี
และได้ความนิยมนี้ก็ขยายตัวเองอย่างรวดเร็ว จนบางทีเราอาจไม่รู้สึกตัว
นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมหลังๆมา เพื่อนๆทั้งของผมและของคุณชอบไลน์หาแทนที่การโทรฯมันไวกว่า
ผมให้ทุกคนลองนึกย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน (ซึ่งผมจำไม่ได้จริงๆว่าปีไหน)
การมาถึงของโปรแกรมแชทอย่าง MSN เคยทำให้เด็กวัยรุ่นอย่างเราฮอร์โมนพลุ้งพล่าน
พอเลิกโรงเรียนปุ๊บ ต้องรีบกลับบ้านไป 'ออนเอ็ม' คุยเมาท์กับเพื่อนต่อ เนื่องจากมันไม่เสียสตางค์
หลายคนที่พิมพ์ดีดไม่ไวก็ได้สกิลเทพๆจากการตอบเพื่อนเนี่ยแหละ
เราเสพความสั้น กระชับ และรวดเร็วมาโดยไม่รู้ตัว
เพราะถ้าไม่เร็ว เดี๋ยว
จะตอบไอ้เพื่อนเวรนี่ไม่ทัน
คำบางคำที่เราสะกดถูกดีดี๊ ก็ถูกกร่อนเสียงจนไม่เหลือเค้าเดิม
สมเป็นวัยที่ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
พักเรื่อง MSN ไว้ก่อน...
หากลองมองย้อนกลับไปถึงสมัยพ่อกับแม่เรายังจีบกัน เราจะพบเจอปรัชญาอันยิ่งใหญ่กว่า
ยุคนั้นถ้าหากบ้านอยู่ไกลกัน การจะเจอกันมันจะยากลำบากแค่ไหน
อาจจะมีตรอมใจตายกันเลยก็ได้ ถ้าหากขาดการติดต่อเป็นเวลานาน
เนื่องจากความคิดถึงทำงานหนักเกินกว่าที่ควร
จะโทรศัพท์ก็แพง บางบ้านก็ไม่มี เอ๊ะ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเขาสบายดีไหม?
การเขียนจดหมายคือตัวแทนของความคิดถึงของคนในสมัยนั้น
เป็นเหตุผล(ได้ไหม?) ว่าทำไม ครูสอนภาษาไทยต้องบังคับให้เราเรียนเขียนจมหมายตั้งแต่ประถม
ทั้งๆที่ไอ้จดหมายนี่ พวกหนูก็ไม่ใช้กันแล้ว นึกเถียงครูในใจว่าอีเมลล์น่ะ รู้จักเปล่า?
แต่ถึงมีอีเมลล์จริงๆ น้อยคนที่จะชอบเขียน เพราะมันยาว MSN เร็วกว่าเยอะ
นั่นไง เราชอบเสพอะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็วจริงๆเสียด้วย
เอ้า เขียนก็เขียน...
คุณครูให้พวกเราเขียนจดหมายไปหาโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อยู่ในภาคใต้ โดยให้ส่งตามเลขที่ของตัวเอง
หลังจากเขียนที่อยู่ที่มุมบนขวา วันที่ และคำขึ้นต้น (ซึ่งไม่รู้จะเขียนไปเพื่ออะไร เขาจะอ่านไหม?) แล้ว
พวกเราก็เริ่มคิดว่าจะเขียนอะไรลงไปในจดหมายดี
น่าแปลก... แทนที่จะรำคาญ แต่มันกลับทำให้เด็กตัวน้อยๆใช้สติ พลังจินตนาการ
เลือกสรรคำที่ดี มีความหมายที่สุดใส่ลงไปในจดหมาย
ด้วยความคิดที่ว่า คนอ่านจดหมาย เขาจะต้องอ่านทุกคำ
การสรรคำให้ดีที่สุดนอกจากทำให้เราดูมีความรู้แล้ว ยังสื่อถึงความตั้งใจที่ผู้ให้อยากส่งไปหาผู้รับอีกด้วย
ตอนนั้น นายวงกตจำได้ว่า กว่าจะเขียนส่งครูได้ แทบตาย
หลังจากจดหมายของเราถูกส่ง ไม่กี่สัปดาห์เราก็ได้รับการตอบกลับมา เพื่อนๆหลายคนดีใจมาก รวมถึงผมด้วย
(ในขณะที่บางคนโอดครวญว่าทำไมเพื่อนที่มีเลขที่เดียวกับฉันในโรงเรียนนั้นถึงไม่ส่งกลับมาหาบ้าง)
ผมค่อยๆใช้มือน้อยๆ ฉีกซองกระดาษลายการตูนอย่างบรรจงที่สุด แล้วค่อยๆเปิดอ่านด้วยหัวใจที่พองโต
พอเริ่มอ่าน รอยยิ้มก็ฉาบทาลงบนสีหน้าของเด็กชายตัวน้อยๆ มันเป็นความรู้สึกอิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก
การเลือกสรรคำของจดหมายนั้นทำให้เรายิ้มได้ และรู้สึกเล็กๆว่า ฝ่ายนู้นก็คงต้องใช้เวลานานเหมือนกัน กว่าจะเขียนมาได้
มันคือความตั้งใจ ที่เขาอยากให้เราได้รับรู้ผ่านตัวหนังสือ
แม้ว่าการโต้ตอบทางจดหมายของผมจะจบลงแต่นั้น ด้วยความที่ยังเด็ก และยังติดพันกับการละเล่นอื่นๆอยู่มาก
แต่ผมก็ยังเก็บจดหมายนั้นไว้อย่างดีจนถึงวันนี้ ผมยังจำเพื่อนที่ชื่อ "แวซูกรี แวมะ" ของผมคนนี้ได้แม่น
แม้ว่าจะไม่รู้ว่าเขาเป็นใครก็เถอะ (ฮา)
นั่นคือประสบการณ์เล็กๆของการเขียน 'อะไร' ยาวๆของผม ซึ่งมันก็ถูกแทนที่ด้วยโปรแกรมแชทอย่างรวดเร็ว
เรายังคงนิยมเสพ
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' อยู่ดี
การมาของ Blackberry เริ่มทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป
เราไม่จำเป็นต้องรีบกลับบ้านแล้ว แต่เราสามารถแชทได้ทุกเวลา (แม้กระทั่งเวลาเรียน)
มันเข้ามาตอนที่ผมอยู่ปี 1 ผมจำได้ โชคเป็นของผมที่ป้าเขาไม่ใช้และยกให้ฟรีๆ
ผมเลยเป็นเจ้าของแบล็คเบอร์รี่อย่างคนอืนๆ ไม่หลุดเทรนด์
แต่การมาของแบลคเบอร์รี่ ยิ่งตอกย้ำสังคมนิยมเสพ
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว'
ตามมาด้วยอาการสมาธิสั้นของคนที่ติดมาก (อาจจะมีนิ้วลอคบ้างบางที)
ไม่จำเป็นต้องโทรฯคุย เอาพินแกมา เดี๋ยวฉันทักไปเอง
ล่าสุดก็คงหนีไม่พ้นโปรแกรมแชทตัวพ่ออย่าง Line
ส่งผลให้ยอดขายของ Blackberry ต่ำลง และคนหันมาใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' ยังคงเป็นที่นิยมของกลุ่มคนที่ของเสพ
เมื่อการพูดคุยผ่านทาง instant massager เริ่มเป็นที่แพร่หลาย
โปรแกรมแชทตัวเอ้จึงตัดสินใจปิดตัวลงอย่างหน้าเศร้า
เชื่อว่าหลายๆคนคงทิ้งความทรงจำหลากหลายไว้ในโปรแกรมแชทอย่าง MSN
แต่มรดก
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' ยังคงถูกส่งต่อมาเรื่อยๆในโปรแกรมแชทรุ่นหลังๆ
รวมไปถึงโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คที่นิยม
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' อย่างเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ (ที่มีการกำหนดตัวอักษรอยู่ที่ 120 ตัว ห้ามเกินนี้นะ!) ฯลฯ
บางที... เราก็หลงลืมการเสพอะไรยาวๆ ช้าๆ ไปแล้ว
หนังสือตามท้องตลาดบางเล่ม ไอ้ประเภทที่เล่มหนาๆยังคงถูกวางค้างเติ่งหยากไย่จับอยู่บนชั้นหนังสือ
ส่วนนักเขียนหน้าใหม่ที่นิยบม
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' กลับขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
เพราะว่าคนส่วนใหญ่ก็นิยมเสพ
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' เหมือนกัน
เรื่องนี้เป็นเรื่องของการตลาด นายวงกตจะไม่ยุ่ง...
(แต่ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ได้ ผมว่าคุณคงเป็นพวกชอบเสพ
'เสพอะไรยาวๆ ช้าๆ' แบบผมแน่ๆ)
ลองคิดดูครับ... ถ้าเราเขียนจดหมาย
กว่าที่ความคิดถึงจะเดินทางไปหาคนที่เราอยากส่งไปหา
หนึ่งคือมันต้องผ่านขั้นตอนความคิดในสมอง
สองคือมันจะต้องมีการสรรคำ และเรียงร้อยประโยคที่สวยงาม
และสิ่งที่ได้ตามมาเองเป็นอันดับสามคือ ความรู้สึกที่ดีของคนที่ได้รับ
ผมเคยลองพยายามจะไม่รู้สึกดีแล้ว เวลาที่ได้รับจดหมาย แต่มันอดไม่ได้จริงๆ
พอนึกถึงตอนเขานั่งเขียน มันทำให้ผมหลงรักในความเป็นคน 'ช่างฝัน' ของเขา
แม้ว่าการเขียนโปสการ์ดเป็นเพียงแค่ความนิยมชมชอบของคนบางกลุ่มเท่านั้น
แต่มันมีความหมายที่แฝงอยู่ภายใต้ไอ้เจ้ากระดาษแข็งแปะรูปราคามหาโหดเหล่านั้น
ผมว่ามันคือ
ความตั้งใจ จากคนให้ ถึงคนรับ
ตอนแรกที่ผมหัดเขียน ผมเกร็งมาก
เพราะผมไม่รู้จริงๆว่า โปสการ์ดเขาจะต้องเขียนอะไรบ้าง
บางคนก็เขียนวันที่ที่เขียน แล้วบอกว่ามาทำอะไร กับใคร ที่ไหน รู้สึกยังไง
บางคนก็เขียนคำคม กลอนซึ้งๆ
บางคนก็วาดรูป ฯลฯ
ผมไม่สามารถหาคำตอบที่ตายตัวได้ สุดท้ายการเขียนโปรการ์ดของผมจึงจบลงด้วยการเขียนแบบคล้ายจดหมาย
และแน่นอนว่า
เพื่อนๆหลายๆคนที่ไปรอผมเขียนโปสการ์ดในคืนวันที่ 31 พ.ค. ที่ถนนคนเดินหัวหินคงหงุดหงิดไม่น้อย
ผมบรรจงเขียนโปสการ์ด 3 ใบ ให้เพื่อนสนิทผมสองคน
และ 'เขา' อีกหนึ่งใบ
เสน่ห์ของโปสการ์ดอีกอย่างคือ เราจะต้องเลือกรูปให้เหมาะสมกับคนที่จะส่ง และข้อความที่จะเขียนด้วย (ในบางที)
ผมก็เริ่มเขียนร่ายยาวเป็นภาษาเยอรมันที่ร่ำเรียนมา จบด้วยการแปะสแตมป์ และตัวปั๊มน่ารักๆก่อนหย่อนลงกล่อง
เหลือเพียงโปสการ์ดของ 'เขา' อีกหนึ่งใบ ที่ผมยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี
สุดท้าย ผมก็ปล่อยให้ความคิดถึงของผมนำทางปลายปากกา
ค่อยๆลากยาวตามจังหวะ ท่วงทำนองของหัวใจที่พอจะนึกออก
แม้จะเลอะน้ำหมึกไปบ้าง สุดท้ายผมก็เขียนมันจนเสร็จ
ผมหวังเหลือเกินว่า ลายมือผมจะไม่อ่านยากเกินไปนะ : )
โปสการ์ด มันดีตรงที่ ต่อให้ความคิดถึงเราใหญ่แค่ไหน
คิดถึงมากน้อยเพียงไร เราก็ใส่ได้แค่พื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ
นั่นหมายความว่า เราจำเป็นที่จะต้องเลือกสรรคำที่ดีที่สุด
และมีความหมายมากที่สุดลงไปในนั้น
ประทับตัวปั๊ม ตราแสตมป์
และความตั้งใจลงไปก่อนส่ง
เชื่อเถอะครับว่า คนรอรับ เขารู้แน่นอนว่าคุณตั้งใจ
ยิ่งถ้าเขาเป็นพวกชอบเสพ
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' ด้วยแล้วหละก็
เขาจะรู้สึกพิเศษในตัวคุณมากๆ
โปสการ์จากคนไกลของผม..
ผมหวังเหลือเกินว่าคนไกลของผมคงจะได้รับมันสักวันที่เขากลับมา
และถ้าไม่ถูกส่งตีกลับมา หรือหายไปก่อน
ผมก็หวังเล็กๆว่าเขาก็คงจะแอบยิ้มให้กับลายมือแย่ๆของผมบ้าง
แค่นั้นก็พอ : )
นายวงกต
25/06/14
PS,,,***
บางที... ความคิดถึง อาจจะไม่ใช่
'บูมเมอแรง'
แต่หากเป็น
โปสการ์ดหรือจดหมาย
ที่เมื่อไหร่เราส่งไป เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะคิดถึงเราไหม
แต่มันอุ่นใจ ที่เขาได้รับรู้ความห่วงใยจากเรา
แม้เราจะต้องรู้สึกมัน
'ข้างเดียว' ก็ตาม
ฝันดีครับผม - -\
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://etwas-labyrinth.exteen.com/20140624/entry
ก็แค่ 'โปสการ์ด' ของคนที่อยู่ไกล
อ่านแล้วรู้สึกชอบมากๆ เลยไปขออนุญาตเจ้าของบทความ เพื่อเอาแบ่งปันเพื่อนๆชาวพันทิปค่ะ
วันที่ 31 พ.ค. 2557
นายวงกตกับผองเพื่อนสมัยมัธยมไปเที่ยวทะเลที่หัวหินเป็นเวลา 2 วัน 1 คืนกันครับ
การไปเที่ยวทะเลในครั้งนี้ แน่นอนว่ามันสบายกว่าครั้งก่อนๆมากนัก
เนื่องด้วยอายุอานามที่มาก บวกกับต่างคนต่างมีเงินส่วนตัวให้ใช้สอยกัน
การเดินทางของพวกเราจึงไม่ใช่การนั่งรถไฟชั้นสาม และถ่ายรูปคู่กับตั๋วยาวลากจรดพื้น
หากแต่เป็นรถส่วนตัวคู่ใจของเหล่าเพื่อนๆผู้มีอันจะกิน
แฮะๆ... ส่วนนายวงกตก็เนียนๆนั่งไป
การมาเที่ยวทะเลหลังจากงานหนักๆเป็นสุดยอดความปรารถนาของผมเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะทุกข์จะสุข รองจากพ่อแม่ และเพื่อนสนิทแล้ว
ทะเลเนี่ยแหละเป็นคนที่ผมอยากจะเล่าทุกอย่างให้ฟังที่สุด
ทะเลมีพลังต่างๆซ่อนเร้นมากมาย
ที่แม้แต่คุณริว จิตสัมผัส กับ คุณเจน ญานทิพย์ อาจจะสัมผัสไม่ได้ว่าเขาอยู่ตรงไหน
นายวงกตขอสรุปเลยแล้วกันครับว่า ทะเลเป็นของส่วนตัว... รู้สึกแทนกันไม่ได้จริงๆ : )
ผมขอพักเรื่องทะเลไว้ก่อน เพราะถ้าให้พูด นายวงกตคงอธิบายความรู้สึกที่ซับซ้อนของทะเลออกมาไม่หมด
ผมขอเริ่มต้นด้วยคำถามก่อนเลยว่า ถ้าไปเที่ยวไกลๆสักที่ สิ่งที่อยากจะทำก่อนกลับคืออะไร?
คำตอบก็คงประมาณ ถ่ายรูป เปลี่ยนโปรไฟล์ เชคอิน กินของท้องถิ่น เที่ยวกลางคืน ทำอะไรบ้าที่ปกติไม่เคยทำ
ขากลับแวะซื้อของฝากฝากที่ทำงาน ฯลฯ ใช่ไหมล่ะครับ?
แต่มีงานอดิเรกของผมอย่างหนึ่ง ซึ่งผมเองก็ยังเริ่มทำไม่ได้นาน
เรียกได้ว่ายังเป็น 'Beginner' ในสายนี้เลยก็ว่าได้
นั่นคือ การเขียนโปสการ์ด
โปสการ์ดกลายเป็นสิ่งที่ผมจะต้องมองหาทุกครั้ง เวลาที่ไปเที่ยวที่ไหนสักที่
จากที่เมื่อก่อนไม่เคยคิดสนใจไอ้กระดาษแข็งแปะรูปที่สามารถหาได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ตนั่นเลย
(อันที่จริงคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รูปในอินเตอร์เน็ตบางทีสวยกว่าเยอะ)
ราคาก็แพง แรงจูงใจที่ว่าเป็นแสตมป์หรือตัวปั๊มประจำจังหวัดอะไรนั่น ผมก็ไม่เคยพิศมัยมันเลย
ทำไมผมถึงเปลี่ยนความคิด?
หากลองมองไปรอบๆกาย สังคมเราในตอนนี้
มนุษย์เรานิยมชมชอบ 'ความรวดเร็ว' มากยิ่งขึ้น
สั้นๆ กระชับ จบได้ไวยิ่งดี
และได้ความนิยมนี้ก็ขยายตัวเองอย่างรวดเร็ว จนบางทีเราอาจไม่รู้สึกตัว
นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมหลังๆมา เพื่อนๆทั้งของผมและของคุณชอบไลน์หาแทนที่การโทรฯมันไวกว่า
ผมให้ทุกคนลองนึกย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน (ซึ่งผมจำไม่ได้จริงๆว่าปีไหน)
การมาถึงของโปรแกรมแชทอย่าง MSN เคยทำให้เด็กวัยรุ่นอย่างเราฮอร์โมนพลุ้งพล่าน
พอเลิกโรงเรียนปุ๊บ ต้องรีบกลับบ้านไป 'ออนเอ็ม' คุยเมาท์กับเพื่อนต่อ เนื่องจากมันไม่เสียสตางค์
หลายคนที่พิมพ์ดีดไม่ไวก็ได้สกิลเทพๆจากการตอบเพื่อนเนี่ยแหละ
เราเสพความสั้น กระชับ และรวดเร็วมาโดยไม่รู้ตัว
เพราะถ้าไม่เร็ว เดี๋ยวจะตอบไอ้เพื่อนเวรนี่ไม่ทัน
คำบางคำที่เราสะกดถูกดีดี๊ ก็ถูกกร่อนเสียงจนไม่เหลือเค้าเดิม
สมเป็นวัยที่ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
พักเรื่อง MSN ไว้ก่อน...
หากลองมองย้อนกลับไปถึงสมัยพ่อกับแม่เรายังจีบกัน เราจะพบเจอปรัชญาอันยิ่งใหญ่กว่า
ยุคนั้นถ้าหากบ้านอยู่ไกลกัน การจะเจอกันมันจะยากลำบากแค่ไหน
อาจจะมีตรอมใจตายกันเลยก็ได้ ถ้าหากขาดการติดต่อเป็นเวลานาน
เนื่องจากความคิดถึงทำงานหนักเกินกว่าที่ควร
จะโทรศัพท์ก็แพง บางบ้านก็ไม่มี เอ๊ะ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเขาสบายดีไหม?
การเขียนจดหมายคือตัวแทนของความคิดถึงของคนในสมัยนั้น
เป็นเหตุผล(ได้ไหม?) ว่าทำไม ครูสอนภาษาไทยต้องบังคับให้เราเรียนเขียนจมหมายตั้งแต่ประถม
ทั้งๆที่ไอ้จดหมายนี่ พวกหนูก็ไม่ใช้กันแล้ว นึกเถียงครูในใจว่าอีเมลล์น่ะ รู้จักเปล่า?
แต่ถึงมีอีเมลล์จริงๆ น้อยคนที่จะชอบเขียน เพราะมันยาว MSN เร็วกว่าเยอะ
นั่นไง เราชอบเสพอะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็วจริงๆเสียด้วย
เอ้า เขียนก็เขียน...
คุณครูให้พวกเราเขียนจดหมายไปหาโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อยู่ในภาคใต้ โดยให้ส่งตามเลขที่ของตัวเอง
หลังจากเขียนที่อยู่ที่มุมบนขวา วันที่ และคำขึ้นต้น (ซึ่งไม่รู้จะเขียนไปเพื่ออะไร เขาจะอ่านไหม?) แล้ว
พวกเราก็เริ่มคิดว่าจะเขียนอะไรลงไปในจดหมายดี
น่าแปลก... แทนที่จะรำคาญ แต่มันกลับทำให้เด็กตัวน้อยๆใช้สติ พลังจินตนาการ
เลือกสรรคำที่ดี มีความหมายที่สุดใส่ลงไปในจดหมาย
ด้วยความคิดที่ว่า คนอ่านจดหมาย เขาจะต้องอ่านทุกคำ
การสรรคำให้ดีที่สุดนอกจากทำให้เราดูมีความรู้แล้ว ยังสื่อถึงความตั้งใจที่ผู้ให้อยากส่งไปหาผู้รับอีกด้วย
ตอนนั้น นายวงกตจำได้ว่า กว่าจะเขียนส่งครูได้ แทบตาย
หลังจากจดหมายของเราถูกส่ง ไม่กี่สัปดาห์เราก็ได้รับการตอบกลับมา เพื่อนๆหลายคนดีใจมาก รวมถึงผมด้วย
(ในขณะที่บางคนโอดครวญว่าทำไมเพื่อนที่มีเลขที่เดียวกับฉันในโรงเรียนนั้นถึงไม่ส่งกลับมาหาบ้าง)
ผมค่อยๆใช้มือน้อยๆ ฉีกซองกระดาษลายการตูนอย่างบรรจงที่สุด แล้วค่อยๆเปิดอ่านด้วยหัวใจที่พองโต
พอเริ่มอ่าน รอยยิ้มก็ฉาบทาลงบนสีหน้าของเด็กชายตัวน้อยๆ มันเป็นความรู้สึกอิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก
การเลือกสรรคำของจดหมายนั้นทำให้เรายิ้มได้ และรู้สึกเล็กๆว่า ฝ่ายนู้นก็คงต้องใช้เวลานานเหมือนกัน กว่าจะเขียนมาได้
มันคือความตั้งใจ ที่เขาอยากให้เราได้รับรู้ผ่านตัวหนังสือ
แม้ว่าการโต้ตอบทางจดหมายของผมจะจบลงแต่นั้น ด้วยความที่ยังเด็ก และยังติดพันกับการละเล่นอื่นๆอยู่มาก
แต่ผมก็ยังเก็บจดหมายนั้นไว้อย่างดีจนถึงวันนี้ ผมยังจำเพื่อนที่ชื่อ "แวซูกรี แวมะ" ของผมคนนี้ได้แม่น
แม้ว่าจะไม่รู้ว่าเขาเป็นใครก็เถอะ (ฮา)
นั่นคือประสบการณ์เล็กๆของการเขียน 'อะไร' ยาวๆของผม ซึ่งมันก็ถูกแทนที่ด้วยโปรแกรมแชทอย่างรวดเร็ว
เรายังคงนิยมเสพ 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' อยู่ดี
การมาของ Blackberry เริ่มทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป
เราไม่จำเป็นต้องรีบกลับบ้านแล้ว แต่เราสามารถแชทได้ทุกเวลา (แม้กระทั่งเวลาเรียน)
มันเข้ามาตอนที่ผมอยู่ปี 1 ผมจำได้ โชคเป็นของผมที่ป้าเขาไม่ใช้และยกให้ฟรีๆ
ผมเลยเป็นเจ้าของแบล็คเบอร์รี่อย่างคนอืนๆ ไม่หลุดเทรนด์
แต่การมาของแบลคเบอร์รี่ ยิ่งตอกย้ำสังคมนิยมเสพ 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว'
ตามมาด้วยอาการสมาธิสั้นของคนที่ติดมาก (อาจจะมีนิ้วลอคบ้างบางที)
ไม่จำเป็นต้องโทรฯคุย เอาพินแกมา เดี๋ยวฉันทักไปเอง
ล่าสุดก็คงหนีไม่พ้นโปรแกรมแชทตัวพ่ออย่าง Line
ส่งผลให้ยอดขายของ Blackberry ต่ำลง และคนหันมาใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น
'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' ยังคงเป็นที่นิยมของกลุ่มคนที่ของเสพ
เมื่อการพูดคุยผ่านทาง instant massager เริ่มเป็นที่แพร่หลาย
โปรแกรมแชทตัวเอ้จึงตัดสินใจปิดตัวลงอย่างหน้าเศร้า
เชื่อว่าหลายๆคนคงทิ้งความทรงจำหลากหลายไว้ในโปรแกรมแชทอย่าง MSN
แต่มรดก 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' ยังคงถูกส่งต่อมาเรื่อยๆในโปรแกรมแชทรุ่นหลังๆ
รวมไปถึงโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คที่นิยม 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' อย่างเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ (ที่มีการกำหนดตัวอักษรอยู่ที่ 120 ตัว ห้ามเกินนี้นะ!) ฯลฯ
บางที... เราก็หลงลืมการเสพอะไรยาวๆ ช้าๆ ไปแล้ว
หนังสือตามท้องตลาดบางเล่ม ไอ้ประเภทที่เล่มหนาๆยังคงถูกวางค้างเติ่งหยากไย่จับอยู่บนชั้นหนังสือ
ส่วนนักเขียนหน้าใหม่ที่นิยบม 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' กลับขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
เพราะว่าคนส่วนใหญ่ก็นิยมเสพ 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' เหมือนกัน
เรื่องนี้เป็นเรื่องของการตลาด นายวงกตจะไม่ยุ่ง...
(แต่ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ได้ ผมว่าคุณคงเป็นพวกชอบเสพ 'เสพอะไรยาวๆ ช้าๆ' แบบผมแน่ๆ)
ลองคิดดูครับ... ถ้าเราเขียนจดหมาย
กว่าที่ความคิดถึงจะเดินทางไปหาคนที่เราอยากส่งไปหา
หนึ่งคือมันต้องผ่านขั้นตอนความคิดในสมอง
สองคือมันจะต้องมีการสรรคำ และเรียงร้อยประโยคที่สวยงาม
และสิ่งที่ได้ตามมาเองเป็นอันดับสามคือ ความรู้สึกที่ดีของคนที่ได้รับ
ผมเคยลองพยายามจะไม่รู้สึกดีแล้ว เวลาที่ได้รับจดหมาย แต่มันอดไม่ได้จริงๆ
พอนึกถึงตอนเขานั่งเขียน มันทำให้ผมหลงรักในความเป็นคน 'ช่างฝัน' ของเขา
แม้ว่าการเขียนโปสการ์ดเป็นเพียงแค่ความนิยมชมชอบของคนบางกลุ่มเท่านั้น
แต่มันมีความหมายที่แฝงอยู่ภายใต้ไอ้เจ้ากระดาษแข็งแปะรูปราคามหาโหดเหล่านั้น
ผมว่ามันคือ ความตั้งใจ จากคนให้ ถึงคนรับ
ตอนแรกที่ผมหัดเขียน ผมเกร็งมาก
เพราะผมไม่รู้จริงๆว่า โปสการ์ดเขาจะต้องเขียนอะไรบ้าง
บางคนก็เขียนวันที่ที่เขียน แล้วบอกว่ามาทำอะไร กับใคร ที่ไหน รู้สึกยังไง
บางคนก็เขียนคำคม กลอนซึ้งๆ
บางคนก็วาดรูป ฯลฯ
ผมไม่สามารถหาคำตอบที่ตายตัวได้ สุดท้ายการเขียนโปรการ์ดของผมจึงจบลงด้วยการเขียนแบบคล้ายจดหมาย
และแน่นอนว่า
เพื่อนๆหลายๆคนที่ไปรอผมเขียนโปสการ์ดในคืนวันที่ 31 พ.ค. ที่ถนนคนเดินหัวหินคงหงุดหงิดไม่น้อย
ผมบรรจงเขียนโปสการ์ด 3 ใบ ให้เพื่อนสนิทผมสองคน
และ 'เขา' อีกหนึ่งใบ
เสน่ห์ของโปสการ์ดอีกอย่างคือ เราจะต้องเลือกรูปให้เหมาะสมกับคนที่จะส่ง และข้อความที่จะเขียนด้วย (ในบางที)
ผมก็เริ่มเขียนร่ายยาวเป็นภาษาเยอรมันที่ร่ำเรียนมา จบด้วยการแปะสแตมป์ และตัวปั๊มน่ารักๆก่อนหย่อนลงกล่อง
เหลือเพียงโปสการ์ดของ 'เขา' อีกหนึ่งใบ ที่ผมยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี
สุดท้าย ผมก็ปล่อยให้ความคิดถึงของผมนำทางปลายปากกา
ค่อยๆลากยาวตามจังหวะ ท่วงทำนองของหัวใจที่พอจะนึกออก
แม้จะเลอะน้ำหมึกไปบ้าง สุดท้ายผมก็เขียนมันจนเสร็จ
ผมหวังเหลือเกินว่า ลายมือผมจะไม่อ่านยากเกินไปนะ : )
โปสการ์ด มันดีตรงที่ ต่อให้ความคิดถึงเราใหญ่แค่ไหน
คิดถึงมากน้อยเพียงไร เราก็ใส่ได้แค่พื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ
และมีความหมายมากที่สุดลงไปในนั้น
ประทับตัวปั๊ม ตราแสตมป์
และความตั้งใจลงไปก่อนส่ง
เชื่อเถอะครับว่า คนรอรับ เขารู้แน่นอนว่าคุณตั้งใจ
ยิ่งถ้าเขาเป็นพวกชอบเสพ 'อะไรสั้นๆ กระชับ และรวดเร็ว' ด้วยแล้วหละก็
เขาจะรู้สึกพิเศษในตัวคุณมากๆ
ผมหวังเหลือเกินว่าคนไกลของผมคงจะได้รับมันสักวันที่เขากลับมา
และถ้าไม่ถูกส่งตีกลับมา หรือหายไปก่อน
ผมก็หวังเล็กๆว่าเขาก็คงจะแอบยิ้มให้กับลายมือแย่ๆของผมบ้าง
แค่นั้นก็พอ : )
นายวงกต
25/06/14
PS,,,***
บางที... ความคิดถึง อาจจะไม่ใช่ 'บูมเมอแรง'
แต่หากเป็นโปสการ์ดหรือจดหมาย
ที่เมื่อไหร่เราส่งไป เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะคิดถึงเราไหม
แต่มันอุ่นใจ ที่เขาได้รับรู้ความห่วงใยจากเรา
แม้เราจะต้องรู้สึกมัน 'ข้างเดียว' ก็ตาม
ฝันดีครับผม - -\
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้