กาลครั้งหนึ่ง ในเมืองพาราณสี มีพราหมณ์ขี้โกงผู้หนึ่งแต่งตัวเป็นดาบสหลอกลวงผู้คน มีพ่อค้าคนหนึ่งหลงเชื่อ
และให้การอุปถัมภ์ เขาได้สร้างศาลาให้ดาบสและปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีต ด้วยเชื่อว่าดาบสเป็นผู้ทรงศีล
เขาจึงได้นำทองคำร้อยแท่งไปฝังไว้ใกล้ๆ ศาลาของดาบสนั้น เพื่อให้ดาบสช่วยดูแล ดาบสพูดให้เขาเกิดความสบายใจว่า
“ ขึ้นชื่อว่าความโลภในสิ่งของผู้อื่น บรรพชิตไม่มีเลย ”
เวลาผ่านไปสองสามวัน ดาบสได้แอบนำทองคำไปฝังไว้เสียที่อื่น แล้วย้อนกลับมา ในวันรุ่งขึ้นเมื่อฉันอาหารในบ้านของพ่อค้า
แล้วก็กล่าวอำลาว่า “อาตมาอาศัยท่านอยู่มานานพอควรแล้ว ความผูกพันกันย่อมมี ธรรมดาการผูกพันนั้นเป็นมลทินของบรรพชิต
เพราะฉะนั้น อาตมาจะขอลาไปปลีกวิเวกในป่า”
พ่อค้าจะอ้อนวอนอย่างไร ดาบสก็ไม่ยอม เมื่อพ่อค้าบอกว่า “ถ้าเป็นความประสงค์ของพระคุณเจ้า ก็จงไปเถิด”
สักพักหนึ่งดาบสนั้น ได้กลับมาที่บ้านพ่อค้านั้นอีกครั้ง พร้อมกับยื่นฟางเส้นหนึ่งให้แก่พ่อค้าพร้อมกล่าวว่า
“ฟางเส้นนี้ได้ติดชฎาของอาตมาไป จากชายคาเรือนของท่าน ขึ้นชื่อว่า อทินนาทานไม่สมควรแก่บรรพชิต”
พ่อค้ายิ่งเลื่อมใสมากกว่าเดิม ด้วยเข้าใจว่า “ ดาบสนี้ไม่ถือเอาสิ่งของผู้อื่น แม้เพียงฟางเส้นเดียว
พระคุณเจ้าช่างน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ”
ในขณะนั้นเอง บัณฑิตคนหนึ่ง ได้พักแรมอยู่ในบ้านพ่อค้านั้นด้วย เห็นเหตุการณ์นั้นแล้วฉุกคิดว่า
“ดาบสท่านนี้กำลังหลอกพ่อค้าให้ตายใจเพื่อฉ้อโกงอะไรสักอย่างเป็นแน่แท้” จึงถามพ่อค้าว่า “ท่านได้ฝากอะไรไว้กับดาบสหรือไม่? ”
พ่อค้าจึงเล่าเรื่องฝากให้ดาบสดูแลหลุมฝังทองคำ 100 แท่ง เขาจึงบอกให้พ่อค้ารีบไปตรวจดูว่าอยู่ครบหรือไม่
เมื่อพ่อค้าไปตรวจดูก็ปรากฏว่าทองคำทั้งหมดหายไป จึงรีบกลับมาบอกชายบัณฑิตนั้น แล้วพากันติดตามจับดาบสนั้นมารับโทษ
ชายผู้เป็นบัณฑิตจึงพูดกับพ่อค้าว่า
“ดาบสนี้ขโมยทองคำ 100 แท่ง ท่านยังไม่เฉลียวใจ กลับมายินดีในฟางเพียงเส้นเดียว”
แล้วกล่าวคาถาว่า
“ถ้อยคำของท่านช่างไพเราะอ่อนหวานเสียนี่กระไร ท่านรังเกียจกระทั่งฟางเส้นเดียว
แต่ท่านได้ขโมยทองคำไปตั้ง 100 แท่ง กลับไม่คิดรังเกียจ”
(คัดลอกจาก หนังสือนิทานชาดก)
ฟางเส้นเดียว แลกศรัทธา
และให้การอุปถัมภ์ เขาได้สร้างศาลาให้ดาบสและปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีต ด้วยเชื่อว่าดาบสเป็นผู้ทรงศีล
เขาจึงได้นำทองคำร้อยแท่งไปฝังไว้ใกล้ๆ ศาลาของดาบสนั้น เพื่อให้ดาบสช่วยดูแล ดาบสพูดให้เขาเกิดความสบายใจว่า
“ ขึ้นชื่อว่าความโลภในสิ่งของผู้อื่น บรรพชิตไม่มีเลย ”
เวลาผ่านไปสองสามวัน ดาบสได้แอบนำทองคำไปฝังไว้เสียที่อื่น แล้วย้อนกลับมา ในวันรุ่งขึ้นเมื่อฉันอาหารในบ้านของพ่อค้า
แล้วก็กล่าวอำลาว่า “อาตมาอาศัยท่านอยู่มานานพอควรแล้ว ความผูกพันกันย่อมมี ธรรมดาการผูกพันนั้นเป็นมลทินของบรรพชิต
เพราะฉะนั้น อาตมาจะขอลาไปปลีกวิเวกในป่า”
พ่อค้าจะอ้อนวอนอย่างไร ดาบสก็ไม่ยอม เมื่อพ่อค้าบอกว่า “ถ้าเป็นความประสงค์ของพระคุณเจ้า ก็จงไปเถิด”
สักพักหนึ่งดาบสนั้น ได้กลับมาที่บ้านพ่อค้านั้นอีกครั้ง พร้อมกับยื่นฟางเส้นหนึ่งให้แก่พ่อค้าพร้อมกล่าวว่า
“ฟางเส้นนี้ได้ติดชฎาของอาตมาไป จากชายคาเรือนของท่าน ขึ้นชื่อว่า อทินนาทานไม่สมควรแก่บรรพชิต”
พ่อค้ายิ่งเลื่อมใสมากกว่าเดิม ด้วยเข้าใจว่า “ ดาบสนี้ไม่ถือเอาสิ่งของผู้อื่น แม้เพียงฟางเส้นเดียว
พระคุณเจ้าช่างน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ”
ในขณะนั้นเอง บัณฑิตคนหนึ่ง ได้พักแรมอยู่ในบ้านพ่อค้านั้นด้วย เห็นเหตุการณ์นั้นแล้วฉุกคิดว่า
“ดาบสท่านนี้กำลังหลอกพ่อค้าให้ตายใจเพื่อฉ้อโกงอะไรสักอย่างเป็นแน่แท้” จึงถามพ่อค้าว่า “ท่านได้ฝากอะไรไว้กับดาบสหรือไม่? ”
พ่อค้าจึงเล่าเรื่องฝากให้ดาบสดูแลหลุมฝังทองคำ 100 แท่ง เขาจึงบอกให้พ่อค้ารีบไปตรวจดูว่าอยู่ครบหรือไม่
เมื่อพ่อค้าไปตรวจดูก็ปรากฏว่าทองคำทั้งหมดหายไป จึงรีบกลับมาบอกชายบัณฑิตนั้น แล้วพากันติดตามจับดาบสนั้นมารับโทษ
ชายผู้เป็นบัณฑิตจึงพูดกับพ่อค้าว่า
“ดาบสนี้ขโมยทองคำ 100 แท่ง ท่านยังไม่เฉลียวใจ กลับมายินดีในฟางเพียงเส้นเดียว”
แล้วกล่าวคาถาว่า
“ถ้อยคำของท่านช่างไพเราะอ่อนหวานเสียนี่กระไร ท่านรังเกียจกระทั่งฟางเส้นเดียว
แต่ท่านได้ขโมยทองคำไปตั้ง 100 แท่ง กลับไม่คิดรังเกียจ”
(คัดลอกจาก หนังสือนิทานชาดก)