ไฟเบอร์ออฟติคหรือใยแก้วนำแสง ยอมรับเลยว่าเสถียรจริง ความเร็วนิ่งมากไม่มีการสูญเสียในสาย
ถ้าปลายทางหมายถึงเซิฟเวอร์ของเว็บไซต์ต่างๆ ปล่อยเต็ม ความเร็วจะนิ่งที่ 30 เม็กตลอด อัพโหลดก็ 3 เม็กตลอด
แต่ทว่าในการใช้งานจริง ปัจจัยหลักไม่ได้ขึ้นอยู่กับท่อ(สายเน็ตที่เราใช้)อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับปลายทางด้วยว่าเขารองรับความเร็วได้แค่ไหน
รูปแบบการทำงานหลักๆ คือ เว็บไซต์ต่างๆ (รวมทุกคอนเทนต์แม้แต่เกม) จะตั้งอยู่บนเซิฟเวอร์ เซิฟเวอร์ต่างๆ จะตั้งอยู่ในดาต้าเซ็นเซอร์ และดาต้าเซ็นเตอร์จะมีท่อ(สายเน็ต)ระดับกิ๊กกาบิตเชื่อมต่อกับเกตเวย์(Internet Exchange) อีกที
ซึ่งเกตเวย์ก็ยังแยกเป็นเกตเวย์ของ CAT เกตเวย์ของ TOT เกตเวย์ของ TRUE เกตเวย์ของ JAS (ของ 3BB) เกตเวย์ของ AIS, DTAC และเกตเวย์อื่นๆ
แล้วแต่ละเกตเวย์ก็ยังมีท่อเชื่อมต่อกัน แต่ขนาดความใหญ่ของท่อไม่เท่ากันเพราะทุกการเชื่อมต่อจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
ยิ่งต่อท่อใหญ่ยิ่งแพง ต่อท่อเล็กๆ ก็ถูกหน่อย นี่เป็นการต่อท่อภายในประเทศ ส่วนท่อต่างประเทศ ที่เชื่อมต่อไปยังเกตเวย์ต่างประเทศเช่นสิงคโปร์หรือไกลๆ อย่างสหรัฐ ก็ต้องต่อกันเอง
ซึ่งตรรงนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละเจ้าจริงๆ ใก็สามารถต่อท่อได้เยอะและใหญ่ ทำให้การจราจรไหลลื่น ใครท่อเล็ก ท่อน้อย ลูกค้าก็อาจใช้งานติดๆ ขัดๆ บ้าง
และที่บอกมาตั้งแต่ว่าปัจจัยมันมีหลายอย่าง
(ในประเทศ) ตัวเว็บไซต์ -> เซิฟเวอร์ -> ดาต้าเซ็นเตอร์ -> เกตเวย์ (ในประเทศ)
(ต่างประเทศ) ตัวเว็บไซต์ -> เซิฟเวอร์ -> ดาต้าเซ็นเตอร์ -> เกตเวย์ (ต่างประเทศ)
และ
เกตเวย์ (ในประเทศ) <-> เกตเวย์ (ต่างประเทศ)
เว็บไซต์ในประเทศส่วนใหญ่จะเร็วหมดแล้วไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ไหน เพราะแต่ละดาต้าเซ็นเตอร์มีท่อภายในประเทศใหญ่หมดเพราะราคาถูก
แต่ท่อต่างประเทศมีไม่เท่ากันกัน ทำใหบางเว็บไทย ต่างประเทศจะเข้าช้ามาก โหลดอืด บางประเทศที่เล็กๆ เข้าเว็บในไทยไม่ได้เลย
เช่นเดียวกันเว็บในต่างประเทศ แม้แต่เซิฟเวอร์เกม ซึ่งส่วนใหญ่ที่เราเข้าๆ กันทุกวันก็อยู่ต่างประเทศหมด ยกเว้นพวกยักษ์ใหญ่เช่น Google, Youtube(Google), Facebook พวกนี้มีเซิฟเวอร์กระจายไปทั่วโลกรวมทั้งในไทยทำให้คนไทยสามารถใช้งานได้เหมือนเข้าเว็บภายในประเทศคือเร็วมาก
แต่การใช้งานในชีวิตจริงยังมีเว็บขนาดกลาง ขนาดเล็กอีกมากที่เขาวางเซิฟเวอร์ไว้ตามเมืองต่างในสหรัฐ หรือในยุโรป แม้แต่ในเอเชีย ซึ่งบางจุดมีท่อเชื่อมมาถึงไทยน้อยหรือเล็ก
หรืออาจต้องวิ่งผ่านท่ออื่นๆ อีกหลายทอดกว่าจะมาถึงไทย (ไม่มีท่อตรง)
ทำให้หลายครั้งเราเข้าเว็บไซต์พวกนี้ หรือดาวน์โหลด หรือใช้งานในด้านต่างที่ต้องเชื่อมต่อผ่านบริการที่ตั้งอยู่บนเซิฟเวอร์เหล่านี้แล้วรู้สึกช้าทั้งที่เน็ตของเราเร็วแล้ว
หลายคนอาจโทษว่าเน็ตไม่ดี แต่ความจริงไม่ใช่ จากบ้านคุณวิ่งไปยังเกตเวย์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต วิ่งเต็มสปีดที่คุณมี แต่มันไปติดคอขวดตรงท่อที่เชื่อมระหว่างเกตเวย์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกับเกตเวย์ในต่างประเทศ
นี่แหละคือต้นเหตุที่แท้จริงๆ ดังนั้นให้คุณใช้ ใยแก้ว 3BB FTTx ความเร็ว 30Mbps แต่ถ้าเกตเวย์ของ 3BB มีคอขวดกับปลายทางที่ท่านต้องการเชื่อต่อ
ความที่แท้จริงที่จะได้ก็คือความเร็วของคอขวดนั้น ซึ่งการใช้งานจริงผู้ใช้งานอาจไม่มานั่งดูอยู่หรอกว่าเว็บที่เรากำลังเปิด ไฟล์ที่กำลังโหลด หรือเกมที่กำลังเล่น
มันตั้งอยู่ในเซิฟเวอร์ที่ไหน สถานที่ไหน ผ่านเกตเวย์ไหน เราเพียงแต่รู้สึกว่าทำไมช้าจัง ทำไมเปิดเว็บไม่มา ทำไมอืด
หลายคนพูดว่า True Docsis (ทรูเคเบิลอินเตอร์เน็ต) แล็กบ้าง ping เยอะบ้าง หลุดบ้าง ค้างบ้าง เทคโนโลยีสู้ FTTX ของ 3BB ไม่ได้ อันนี้คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว
แต่พอลองมาใช้งานจริงการที่ผู้ให้บริการมีท่อที่ใหญ่กว่า ท่อมากกว่า ต่อออกต่างประเทศหลายทางกว่า กลับกลายเป็นจุดเด่นและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างไม่ติดขัด
สายคุณเทพจริงเป็นไฟเบอร์ออฟติคแท้ สายวิ่งได้ 30 Mbps แต่เกตเวย์มีการเชื่อมต่อน้อย ทำให้ใช้งานจริงได้ความเร็วที่ติดคอขวดแล้วเหลือแค่ 8-10 Mbps ในบางเส้นทาง
เทียบกับ Cable Internet คุณภาพสายไม่ดี สัญญาณแกว่ง ปล่อยมา 30-40 Mbps เผื่อชดเชย แต่ใช้งานจริงกลับวิ่งได้ 25-35 Mbps เพราะเกตเวย์มีการเชื่อมต่อมากกว่าและท่อใหญ่กว่า แบบนี้จะเลือกอะไรดี
ถ้าการใช้งานเน้นเล่นเกมหรือทำงานที่ต้องใช้ค่าปิงต่ำในประเทศเป็นหลัก แน่นอนต้องเลือกเทคโนโลยี FTTx ไม่ว่าเจ้าไหนได้หมด เพราะในประเทศเร็วเต็มสปีดทุกเจ้า
แต่ถ้าใช้งานเปิดเว็บทั่วไป ดูยูทูบว์ โหลดไฟล์ ค่าปิงหรือความสเถียรในสายไม่มีผลมาก ให้น้ำหนักไปที่ความเร็วจะดีกว่า
ส่วนถ้าเน้นใช้งานต่างประเทศ เปิดเว็บต่างประเทศบ่อย โหลดไฟล์อัพไฟล์ ต้องดูเกตเวย์ของผู้ให้บริการเป็นหลัก
การดูยูทูบว์บางคนคิดว่าเซิฟเวอร์ตั้งอยู่ต่างประเทศ หรือตั้งอยู่ในประเทศหมดแล้ว ความจริงแต่ละคลิปที่ดูตั้งอยู่ในเซิฟเวอร์ต่างๆ กัน
นอกจากนี้ยังมีระบบแคชจากไอเอสพีเองคือแคชคลิปที่คนดูมากๆ เพื่อเซฟแบนวิดธ์ ทำให้เรารู้สึกว่าโหลดเร็ว บางคลิปไม่ดัง หรือเป็นคลิปที่คนต่างประเทศอัพโหลด เราอาจรู้สึกว่าโหลดนาน เพราะบางทีคลิปนี้อาจไม่มีแคชและไม่ได้ตั้งอยู่ในเซิฟเวอร์ใกล้บ้านเรา
สรุปคือปัจจัยในการเลือกว่าจะใช้บริการอินเทอร์เน็ตเจ้าไหนในปัจจุบัน จะไปดูที่โปรหรือแพ็คเกจความเร็วอย่างเดียวไม่ได้ หรือดูที่เทคโนโลยีสายอย่างเดียวก็ไม่ได้
ต้องไปดูเกตเวย์เลย ของใครใหญ่กว่า เชื่อมต่อทั้งในและต่างประเทศดีกว่า ท่อใหญ่กว่า มีท่อมากกว่า ตัวเกตเวย์นี่แหละที่จะทำให้เราใช้งานได้ไหลลื่น คล่องตัวในทุกๆ เว็บที่เราใช้งานได้ขนาดไหน
อย่าลืมว่าการใช้งานจริงในแต่ละวันเราเข้าเว็บไม่เหมือนกัน และไม่ได้เข้าแต่เว็บใหญ่ๆ ดังๆ อย่างเดียว บางทีเราเข้าเว็บเล็กๆ เว็บอะไรก็ไม่รู้ มันต้องลื่นหมดหรือลื่นให้ได้มากที่สุดตลอดการใช้งานจริง
ใช้ 3BB FTTx มาขอบอกว่าเทพจริง อะไรจริง นิ่งเสถียร ในประเทศนี่หายห่วงเต็มสปีดตลอด แต่พอเปิดเว็บต่างประเทศซึ่งเราเปิดปล่อย ก็ต้องหงุดหงิดอยู่เรื่อยๆ
คือโหลดช้าบ้าง อะไรบ้าง เหมือนใช้เน็ตความเร็ว 3-5 Mbps คิดว่าปัญหานี้จะนี้หมดไปถ้าเปลี่ยนไปใช้บริการจาก True Broadband
บางทีได้ยินคนพูดว่าเน้นใช้เน็ตในประเทศใช้อันนี้ ถ้าต่างประเทศใช้อันนี้ แต่เอาเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่ก็ใช้งานผสมกันต่างประเทศยังไงก็ต้องใช้
ต่อให้คิดว่าวันๆ จะเข้าแต่ Facebook, Sanook, เว็บต่างประเทศไม่เคยเข้า แต่ใช้งานจริงยังไงมันก็ต้องมี บางทีตามลิงก์ไปดู อ้าวออกต่างประเทศแล้ว อืดอีกแล้ว หงุดหงิดเลย เปิดเร็วๆ อยู่ๆ มาช้าซะงั้น
เว็บเอย ดาวโหลดเอย ข้อมูลอะไรเลย ส่วนใหญ่มันอยู่เว็บที่มีเซิฟเวอร์อยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น แม้แต่เว็บไทยขนาดกลางๆ ขนาดเล็ก หลายเว็บก็มีเซิฟเวอร์ในต่างประเทศ
วันนี้ถ้าให้เลือกจะเลือก ทรูเคเบิ้ลอินเทอร์เน็ต แพ็คเกจ 30/3 Mbps ราคา 799 บาทต่อเดือน ไม่ใช้หรอก 3BB FTTx แพ็คเกจ 30/3 Mbps ราคา 1,200 บาทต่อเดือน
เคเบิลของทรู ถูกกว่าแถมความเร็วที่ใช้งานจริงก็ได้มากกว่า 30Mbps อีกคือ 30-40Mbps ของ 3BB ได้แค่ 30Mbps แถมออกนอกบางเส้นทางความเร็วเหลือแค่ 3-10Mbps ใกล้เคยงหรือเท่าเน็ต ADSL 590 บาทต่อเดือนนั่นแหละ
แบบนี้ใช้ True Cable Internet ดีกว่ามั๊ย อย่างน้อยก็สบายใจใน Gateway ต่างประเทศของทรู ใช้งานได้เร็วจริง ลื่นจริง ทั้งในและประเทศ
ลองมาดูแผนที่อินเทอร์เน็ต
Thailand Domestic Internet Exchange
Thailand International Internet Exchange
หาดูได้ที่
http://internet.nectec.or.th/webstats/internetmap.current.iir?Sec=internetmap_current
ใช้ไฟเบอร์ใยแก้ว 3BB FTTx มาเดือนกว่าอยากเปลี่ยนไปใช้ True Docsis (ทรูเคเบิลอินเตอร์เน็ต) แทน
ถ้าปลายทางหมายถึงเซิฟเวอร์ของเว็บไซต์ต่างๆ ปล่อยเต็ม ความเร็วจะนิ่งที่ 30 เม็กตลอด อัพโหลดก็ 3 เม็กตลอด
แต่ทว่าในการใช้งานจริง ปัจจัยหลักไม่ได้ขึ้นอยู่กับท่อ(สายเน็ตที่เราใช้)อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับปลายทางด้วยว่าเขารองรับความเร็วได้แค่ไหน
รูปแบบการทำงานหลักๆ คือ เว็บไซต์ต่างๆ (รวมทุกคอนเทนต์แม้แต่เกม) จะตั้งอยู่บนเซิฟเวอร์ เซิฟเวอร์ต่างๆ จะตั้งอยู่ในดาต้าเซ็นเซอร์ และดาต้าเซ็นเตอร์จะมีท่อ(สายเน็ต)ระดับกิ๊กกาบิตเชื่อมต่อกับเกตเวย์(Internet Exchange) อีกที
ซึ่งเกตเวย์ก็ยังแยกเป็นเกตเวย์ของ CAT เกตเวย์ของ TOT เกตเวย์ของ TRUE เกตเวย์ของ JAS (ของ 3BB) เกตเวย์ของ AIS, DTAC และเกตเวย์อื่นๆ
แล้วแต่ละเกตเวย์ก็ยังมีท่อเชื่อมต่อกัน แต่ขนาดความใหญ่ของท่อไม่เท่ากันเพราะทุกการเชื่อมต่อจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
ยิ่งต่อท่อใหญ่ยิ่งแพง ต่อท่อเล็กๆ ก็ถูกหน่อย นี่เป็นการต่อท่อภายในประเทศ ส่วนท่อต่างประเทศ ที่เชื่อมต่อไปยังเกตเวย์ต่างประเทศเช่นสิงคโปร์หรือไกลๆ อย่างสหรัฐ ก็ต้องต่อกันเอง
ซึ่งตรรงนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละเจ้าจริงๆ ใก็สามารถต่อท่อได้เยอะและใหญ่ ทำให้การจราจรไหลลื่น ใครท่อเล็ก ท่อน้อย ลูกค้าก็อาจใช้งานติดๆ ขัดๆ บ้าง
และที่บอกมาตั้งแต่ว่าปัจจัยมันมีหลายอย่าง
(ในประเทศ) ตัวเว็บไซต์ -> เซิฟเวอร์ -> ดาต้าเซ็นเตอร์ -> เกตเวย์ (ในประเทศ)
(ต่างประเทศ) ตัวเว็บไซต์ -> เซิฟเวอร์ -> ดาต้าเซ็นเตอร์ -> เกตเวย์ (ต่างประเทศ)
และ
เกตเวย์ (ในประเทศ) <-> เกตเวย์ (ต่างประเทศ)
เว็บไซต์ในประเทศส่วนใหญ่จะเร็วหมดแล้วไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ไหน เพราะแต่ละดาต้าเซ็นเตอร์มีท่อภายในประเทศใหญ่หมดเพราะราคาถูก
แต่ท่อต่างประเทศมีไม่เท่ากันกัน ทำใหบางเว็บไทย ต่างประเทศจะเข้าช้ามาก โหลดอืด บางประเทศที่เล็กๆ เข้าเว็บในไทยไม่ได้เลย
เช่นเดียวกันเว็บในต่างประเทศ แม้แต่เซิฟเวอร์เกม ซึ่งส่วนใหญ่ที่เราเข้าๆ กันทุกวันก็อยู่ต่างประเทศหมด ยกเว้นพวกยักษ์ใหญ่เช่น Google, Youtube(Google), Facebook พวกนี้มีเซิฟเวอร์กระจายไปทั่วโลกรวมทั้งในไทยทำให้คนไทยสามารถใช้งานได้เหมือนเข้าเว็บภายในประเทศคือเร็วมาก
แต่การใช้งานในชีวิตจริงยังมีเว็บขนาดกลาง ขนาดเล็กอีกมากที่เขาวางเซิฟเวอร์ไว้ตามเมืองต่างในสหรัฐ หรือในยุโรป แม้แต่ในเอเชีย ซึ่งบางจุดมีท่อเชื่อมมาถึงไทยน้อยหรือเล็ก
หรืออาจต้องวิ่งผ่านท่ออื่นๆ อีกหลายทอดกว่าจะมาถึงไทย (ไม่มีท่อตรง)
ทำให้หลายครั้งเราเข้าเว็บไซต์พวกนี้ หรือดาวน์โหลด หรือใช้งานในด้านต่างที่ต้องเชื่อมต่อผ่านบริการที่ตั้งอยู่บนเซิฟเวอร์เหล่านี้แล้วรู้สึกช้าทั้งที่เน็ตของเราเร็วแล้ว
หลายคนอาจโทษว่าเน็ตไม่ดี แต่ความจริงไม่ใช่ จากบ้านคุณวิ่งไปยังเกตเวย์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต วิ่งเต็มสปีดที่คุณมี แต่มันไปติดคอขวดตรงท่อที่เชื่อมระหว่างเกตเวย์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกับเกตเวย์ในต่างประเทศ
นี่แหละคือต้นเหตุที่แท้จริงๆ ดังนั้นให้คุณใช้ ใยแก้ว 3BB FTTx ความเร็ว 30Mbps แต่ถ้าเกตเวย์ของ 3BB มีคอขวดกับปลายทางที่ท่านต้องการเชื่อต่อ
ความที่แท้จริงที่จะได้ก็คือความเร็วของคอขวดนั้น ซึ่งการใช้งานจริงผู้ใช้งานอาจไม่มานั่งดูอยู่หรอกว่าเว็บที่เรากำลังเปิด ไฟล์ที่กำลังโหลด หรือเกมที่กำลังเล่น
มันตั้งอยู่ในเซิฟเวอร์ที่ไหน สถานที่ไหน ผ่านเกตเวย์ไหน เราเพียงแต่รู้สึกว่าทำไมช้าจัง ทำไมเปิดเว็บไม่มา ทำไมอืด
หลายคนพูดว่า True Docsis (ทรูเคเบิลอินเตอร์เน็ต) แล็กบ้าง ping เยอะบ้าง หลุดบ้าง ค้างบ้าง เทคโนโลยีสู้ FTTX ของ 3BB ไม่ได้ อันนี้คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว
แต่พอลองมาใช้งานจริงการที่ผู้ให้บริการมีท่อที่ใหญ่กว่า ท่อมากกว่า ต่อออกต่างประเทศหลายทางกว่า กลับกลายเป็นจุดเด่นและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างไม่ติดขัด
สายคุณเทพจริงเป็นไฟเบอร์ออฟติคแท้ สายวิ่งได้ 30 Mbps แต่เกตเวย์มีการเชื่อมต่อน้อย ทำให้ใช้งานจริงได้ความเร็วที่ติดคอขวดแล้วเหลือแค่ 8-10 Mbps ในบางเส้นทาง
เทียบกับ Cable Internet คุณภาพสายไม่ดี สัญญาณแกว่ง ปล่อยมา 30-40 Mbps เผื่อชดเชย แต่ใช้งานจริงกลับวิ่งได้ 25-35 Mbps เพราะเกตเวย์มีการเชื่อมต่อมากกว่าและท่อใหญ่กว่า แบบนี้จะเลือกอะไรดี
ถ้าการใช้งานเน้นเล่นเกมหรือทำงานที่ต้องใช้ค่าปิงต่ำในประเทศเป็นหลัก แน่นอนต้องเลือกเทคโนโลยี FTTx ไม่ว่าเจ้าไหนได้หมด เพราะในประเทศเร็วเต็มสปีดทุกเจ้า
แต่ถ้าใช้งานเปิดเว็บทั่วไป ดูยูทูบว์ โหลดไฟล์ ค่าปิงหรือความสเถียรในสายไม่มีผลมาก ให้น้ำหนักไปที่ความเร็วจะดีกว่า
ส่วนถ้าเน้นใช้งานต่างประเทศ เปิดเว็บต่างประเทศบ่อย โหลดไฟล์อัพไฟล์ ต้องดูเกตเวย์ของผู้ให้บริการเป็นหลัก
การดูยูทูบว์บางคนคิดว่าเซิฟเวอร์ตั้งอยู่ต่างประเทศ หรือตั้งอยู่ในประเทศหมดแล้ว ความจริงแต่ละคลิปที่ดูตั้งอยู่ในเซิฟเวอร์ต่างๆ กัน
นอกจากนี้ยังมีระบบแคชจากไอเอสพีเองคือแคชคลิปที่คนดูมากๆ เพื่อเซฟแบนวิดธ์ ทำให้เรารู้สึกว่าโหลดเร็ว บางคลิปไม่ดัง หรือเป็นคลิปที่คนต่างประเทศอัพโหลด เราอาจรู้สึกว่าโหลดนาน เพราะบางทีคลิปนี้อาจไม่มีแคชและไม่ได้ตั้งอยู่ในเซิฟเวอร์ใกล้บ้านเรา
สรุปคือปัจจัยในการเลือกว่าจะใช้บริการอินเทอร์เน็ตเจ้าไหนในปัจจุบัน จะไปดูที่โปรหรือแพ็คเกจความเร็วอย่างเดียวไม่ได้ หรือดูที่เทคโนโลยีสายอย่างเดียวก็ไม่ได้
ต้องไปดูเกตเวย์เลย ของใครใหญ่กว่า เชื่อมต่อทั้งในและต่างประเทศดีกว่า ท่อใหญ่กว่า มีท่อมากกว่า ตัวเกตเวย์นี่แหละที่จะทำให้เราใช้งานได้ไหลลื่น คล่องตัวในทุกๆ เว็บที่เราใช้งานได้ขนาดไหน
อย่าลืมว่าการใช้งานจริงในแต่ละวันเราเข้าเว็บไม่เหมือนกัน และไม่ได้เข้าแต่เว็บใหญ่ๆ ดังๆ อย่างเดียว บางทีเราเข้าเว็บเล็กๆ เว็บอะไรก็ไม่รู้ มันต้องลื่นหมดหรือลื่นให้ได้มากที่สุดตลอดการใช้งานจริง
ใช้ 3BB FTTx มาขอบอกว่าเทพจริง อะไรจริง นิ่งเสถียร ในประเทศนี่หายห่วงเต็มสปีดตลอด แต่พอเปิดเว็บต่างประเทศซึ่งเราเปิดปล่อย ก็ต้องหงุดหงิดอยู่เรื่อยๆ
คือโหลดช้าบ้าง อะไรบ้าง เหมือนใช้เน็ตความเร็ว 3-5 Mbps คิดว่าปัญหานี้จะนี้หมดไปถ้าเปลี่ยนไปใช้บริการจาก True Broadband
บางทีได้ยินคนพูดว่าเน้นใช้เน็ตในประเทศใช้อันนี้ ถ้าต่างประเทศใช้อันนี้ แต่เอาเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่ก็ใช้งานผสมกันต่างประเทศยังไงก็ต้องใช้
ต่อให้คิดว่าวันๆ จะเข้าแต่ Facebook, Sanook, เว็บต่างประเทศไม่เคยเข้า แต่ใช้งานจริงยังไงมันก็ต้องมี บางทีตามลิงก์ไปดู อ้าวออกต่างประเทศแล้ว อืดอีกแล้ว หงุดหงิดเลย เปิดเร็วๆ อยู่ๆ มาช้าซะงั้น
เว็บเอย ดาวโหลดเอย ข้อมูลอะไรเลย ส่วนใหญ่มันอยู่เว็บที่มีเซิฟเวอร์อยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น แม้แต่เว็บไทยขนาดกลางๆ ขนาดเล็ก หลายเว็บก็มีเซิฟเวอร์ในต่างประเทศ
วันนี้ถ้าให้เลือกจะเลือก ทรูเคเบิ้ลอินเทอร์เน็ต แพ็คเกจ 30/3 Mbps ราคา 799 บาทต่อเดือน ไม่ใช้หรอก 3BB FTTx แพ็คเกจ 30/3 Mbps ราคา 1,200 บาทต่อเดือน
เคเบิลของทรู ถูกกว่าแถมความเร็วที่ใช้งานจริงก็ได้มากกว่า 30Mbps อีกคือ 30-40Mbps ของ 3BB ได้แค่ 30Mbps แถมออกนอกบางเส้นทางความเร็วเหลือแค่ 3-10Mbps ใกล้เคยงหรือเท่าเน็ต ADSL 590 บาทต่อเดือนนั่นแหละ
แบบนี้ใช้ True Cable Internet ดีกว่ามั๊ย อย่างน้อยก็สบายใจใน Gateway ต่างประเทศของทรู ใช้งานได้เร็วจริง ลื่นจริง ทั้งในและประเทศ
ลองมาดูแผนที่อินเทอร์เน็ต
Thailand Domestic Internet Exchange
Thailand International Internet Exchange
หาดูได้ที่ http://internet.nectec.or.th/webstats/internetmap.current.iir?Sec=internetmap_current