(บางส่วน)
[๑๗๓] ดูกรภัททาลิ
ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม แก่เธอทั้งหลาย
ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลาย ได้มีอยู่น้อย เธอยังระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ?
ข้าพระองค์ระลึกถึงธรรมปริยายข้อนั้นไม่ได้ พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ
ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยอะไรเป็นเหตุเล่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เพราะข้าพระองค์นั้นมิได้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา เป็นเวลานานเป็นแน่ พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ
ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย หามิได้
แต่เรากำหนดใจด้วยใจ รู้เธอมานานแล้วว่า
โมฆบุรุษนี้ เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม
.....แต่เราก็จักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านพระภัททาลิทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภัททาลิ
เปรียบเหมือนนายสารถีฝึกม้าคนขยันได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว
ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเ
ยน.
เมื่อนายสารถีฝึกให้มัน
ยน" rel="nofollow" >รู้เหตุในการใส่บังเยน ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น.
มันจะสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ.
นายสารถีฝึกม้าจึงฝึกให้มัน
รู้เหตุยิ่งขึ้นไปในการเทียมแอก
เมื่อนายสารถีฝึกให้มัน
รู้เหตุในการเทียมแอก ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น.
มันจะสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ.
นายสารถีผู้ฝึกม้า
จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการก้าวย่าง ๑- ในการวิ่งเป็นวงกลม ๒- ในการจรดกีบ ๓-
ในการวิ่ง ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ เพราะเสียงกึกก้องต่างๆ
ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้ ในวงศ์พญาม้า ในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม
เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม
ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น.
มันย่อมสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ.
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
สารถีผู้ฝึกม้าย่อมเพิ่มให้ซึ่งเหตุเป็นที่ตั้งแห่งคุณและเหตุเป็นที่ตั้งแห่งพละยิ่งขึ้นไป.
ดูกรภัททาลิ
ม้าอาชาไนยตัวงาม ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพาหนะควรแก่พระราชา เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชาฉันใด
ดูกรภัททาลิ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ประการ ก็ฉันนั้น
ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า
ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน
ดูกรภัททาลิ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภัททาลิ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับเป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว. ท่านพระภัททาลิชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
------------------
ภัททาลิสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๙๖๒ - ๓๒๕๒. หน้าที่ ๑๒๙ - ๑๔๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2962&Z=3252&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160
.....แต่เราก็จักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
[๑๗๓] ดูกรภัททาลิ
ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม แก่เธอทั้งหลาย
ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลาย ได้มีอยู่น้อย เธอยังระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ?
ข้าพระองค์ระลึกถึงธรรมปริยายข้อนั้นไม่ได้ พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ
ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยอะไรเป็นเหตุเล่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เพราะข้าพระองค์นั้นมิได้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา เป็นเวลานานเป็นแน่ พระเจ้าข้า.
ดูกรภัททาลิ
ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย หามิได้ แต่เรากำหนดใจด้วยใจ รู้เธอมานานแล้วว่า
โมฆบุรุษนี้ เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม
.....แต่เราก็จักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านพระภัททาลิทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภัททาลิ
เปรียบเหมือนนายสารถีฝึกม้าคนขยันได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว
ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเยน.
เมื่อนายสารถีฝึกให้มันยน" rel="nofollow" >รู้เหตุในการใส่บังเยน ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น.
มันจะสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ.
นายสารถีฝึกม้าจึงฝึกให้มัน รู้เหตุยิ่งขึ้นไปในการเทียมแอก
เมื่อนายสารถีฝึกให้มัน รู้เหตุในการเทียมแอก ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น.
มันจะสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ.
นายสารถีผู้ฝึกม้าจึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการก้าวย่าง ๑- ในการวิ่งเป็นวงกลม ๒- ในการจรดกีบ ๓-
ในการวิ่ง ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ เพราะเสียงกึกก้องต่างๆ
ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้ ในวงศ์พญาม้า ในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม
เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม
ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น.
มันย่อมสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ.
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
สารถีผู้ฝึกม้าย่อมเพิ่มให้ซึ่งเหตุเป็นที่ตั้งแห่งคุณและเหตุเป็นที่ตั้งแห่งพละยิ่งขึ้นไป.
ดูกรภัททาลิ
ม้าอาชาไนยตัวงาม ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพาหนะควรแก่พระราชา เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชาฉันใด
ดูกรภัททาลิ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ประการ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า
ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน
ดูกรภัททาลิ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูกรภัททาลิ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับเป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว. ท่านพระภัททาลิชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
------------------
ภัททาลิสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๙๖๒ - ๓๒๕๒. หน้าที่ ๑๒๙ - ๑๔๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2962&Z=3252&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160