อะไรคือ ??? เด็ก ม.5 ปีนี้ประเดิม "ยุบรวมรับตรง-แอดมิชชัน!! สอบรวมครั้งเดียวหลังจบ ม.6 ดีเดย์ปี 59"

สวัสดีครับเพื่อนๆ โดดยเฉพาะเพื่อนๆที่กำลังเรียนอยู่ใน ม.5 ในขณะนี้
เนื่องจากว่า ทางกระทรวงได้ปรับการรับตรงและแอดมินชั่น มาไว้ในการสอบครั้งเดียวหลังจบ ??? คือว่าปรับเพื่ออะไรครับ การปรับครั้งนี้มีทั้งข้อดีแล้วข้อเสียหลายๆเรื่อง ผมได้แยกไว้ดังนี้ครับ

ข้อดี
- จัดสอบครั้งเดียว ไม่ต้องวุ่นวาย
- สอบแค่ที่เดียว ยื่นคะแนนสอบได้ทุกที
- ไม่ต้องวิ่งรอกสอบ
- ประกาศผลสอบได้เร็วขึ้น มหาลัยจะได้มีเวลาเตรียมตัว

ข้อเสีย
- สอบครั้งเดียว คะแนนออกมา ถ้าพลาดก็คือพลาด เพราะใช้ยื่นสอบทุกมหาลัย
- GAT PAT ปรับให้มีความเข้าข้นขึ้น (ที่ผ่านมานี้ คือยังไม่เข้มข้นใช่มั้ยครับ)
- ถึงแม้ว่าปัญหาการวิ่งรอกสอบจะหายไป แต่การทำอย่างนี้ อาจเป็นการตัดโอกาสของคนที่ต้องการหาที่เรียน และคณะที่ชอบ ในมหาลัยต่างๆ แม้ว่าจะเป็นการช่วยคนที่ไม่ต้องการจะวิ่งรอกสอบ แต่ถ้าทำแบบสอบถามว่าเด็กไทย ต้องการสอบแบบไหน ผมคิดว่า เด็กไทยคงอยากสอบเหมือนเดิม

สุดท้ายนี้ผมอยากจะฝากบอกอะไรหน่อยว่า
"ถ้าทางกระทรวงอยากจะปรับแก้ไขอะไร ปรับปรุงตรงไหน ควรจะมาสอบถามผู้เรียนดีกว่าว่าต้องการได้แบบไหน ไม่ใช่ว่าอยากจะปรับปรุงอะไร แก้ไขตรงไหน ก็จัดประชุมในกระทรวงแล้วทำการแก้ไขเลย อย่างน้อยก็ควรทำการสอบถามเด็กบ้าง ถ้าเป็นการปรับปรุงที่เด็กยอมรับ ก็ทำการแก้ไขเลย แต่ถ้าไม่ ก็ควรที่จะพิจรณาใหม่  สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากย้ำ แล้วเตือนว่า ที่ว่าเด็กในวันนี้ก็คืออนาคตในวันหน้า แต่ถ้าการศึกษาของไทยเป็นอยู่อย่างนี้ ที่จะสามมารถทำอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ได้ถามความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่ต่างอะไรกับการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แล้วไหนล่ะ ที่ว่าประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตย"




ยุบรวมรับตรง-แอดมิชชัน!! สอบรวมครั้งเดียวหลังจบ ม.6 ดีเดย์ปี 59 23 Jun,2014
ทปอ.ปรับรับตรง-แอดมิชชัน เริ่มปี 59 ให้สอบร่วมกันและสอบเพียงครั้งเดียวหลังเด็กเรียนจบ ม.6 ส่วนสอบวิชาเฉพาะให้กลุ่มสาขาวิชารวมตัวจัดสอบร่วมกันและสอบครั้งเดียว แต่ไม่กำหนดเวลาตายตัวเพราะเป็นความถนัดที่เด็กมีติดตัว ขณะที่แอดมิชชันเล็งเพิ่มสอบวิชาสามัญเพิ่ม ยันเพื่อประโยชน์เด็กเพราะนำคะแนนไปใช้ได้ทุกระบบจึงไม่ทำให้เสียสิทธิ ย้ำปี 58 ใช้ระบบเดิม
      
       วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ทปอ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปีการศึกษา 2559 มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชันกลาง และระบบการรับตรง ในกลุ่มมหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.
      
       ทั้งนี้ ระบบรับตรงที่ใช้ผลการสอบ ให้ใช้ข้อสอบวิชาสามัญร่วมกัน และจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบภายหลังนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ในส่วนสาขาวิชาที่ต้องสอบวิชาเฉพาะ เช่น กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะ ฯลฯ ให้แต่ละกลุ่มสาขาวิชาจัดสอบร่วมกัน และให้สอบเพียงครั้งเดียว ขณะที่ การสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการสอบวิชาความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ให้จัดสอบพร้อมกันปีละ 2 ครั้งเพื่อให้เด็กเลือกคะแนนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับเวลาการสอบวิชาเฉพาะ และการสอบ GAT/PAT นั้นจะจัดสอบเมื่อไรก็ได้เนื่องจากเป็นการวัดความถนัดและวัดศักยภาพที่ติด ตัวมาของเด็ก
      
       ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า ส่วนระบบแอดมิชชันกลางซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือคะแนนผลการเรียนซึ่งติดตัวเด็ก ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GPAX และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่สอง คือ องค์ประกอบที่ได้มาจากคะแนนสอบ ซึ่งเดิมจะมีGAT/PAT ก็อยู่ระหว่างการหารือว่าอาจจะเพิ่มคะแนนสอบวิชาสามัญเข้าไปด้วย โดยแอดมิชัชชันปีการศึกษา 2559 นั้นจะปรับข้อสอบ GAT/PAT ให้มีความเข้มข้นขึ้น เพื่อให้สามารถวัดความสามารถของเด็กได้ตรงตามสาขาวิชาจริงๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับระบบการคัดเลือกทั้งรับตรงและแอดมิชชันกลาง ปีการศึกษา 2558 ยังเหมือนเดิม
      
       “การปรับระบบครั้งนี้เพื่อประโยชน์ ของเด็ก เพราะเด็กจะสอบเพียงครั้งเดียวแต่สามารถนำคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้า มหาวิทยาลัยได้ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบรับตรง และระบบแอดมิชชัน ทั้งเป็นการลดปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะฉะนั้นเด็กจะไม่เสียสิทธิ์เดิมที่เคยมี โดยการปรับครั้งนี้จะทำให้การดำเนินการเสร็จเร็วขึ้นทำให้สามาถประกาศผลแอด มิชชันได้ภายในกลางเดือนมิถุนายนหรือไม่เกินปลายเดือนมิถุนายน จากกเดิมที่เวลานี้จะประกาศผลประมาณกลางเดือนกรกฎคม เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีเวลาในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเปิดเทอมเดือน สิงหาคม” ศ.นพ.รัชตะกล่าว และว่าครั้งนี้ถือเป็นการปรับเล็ก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี
      
       ด้าน นางศศิธร อหิงสโก ผู้จัดการสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ตามที่ สอท.กำหนดวันรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2557 ตั้งแต่วันที่ 15-22 มิถุนายนผ่านเว็บไซต์ของ สอท. www.cuas.or.th ซึ่งในวันนี้เป็นวันสุดท้าย สอท.จะปิดระบบในเวลา 00.000 น.ของวันที่ 22 มิถุนายน โดยข้อมูลผู้สมัครล่าสุดพบว่านักเรียนเข้ามาสมัครแอดมิชชันจำนวน 99,259 คน ชำระค่าสมัครแล้ว จำนวน 53,540 คน ยังเหลือนักเรียนที่ยังไม่ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง และจำนวนหนึ่งต้องรอข้อมูลจากทางไปรษณีย์ และธนาคารพาณิชย์ 8 แห่งแจ้งเข้ามาเมื่อเปิดทำการในวันที่ 23 มิถุนายน ดังนั้นตนจึงอยากเร่งให้นักเรียนที่ยังไม่ได้จ่ายค่าสมัคร รีบจ่ายก่อนครบกำหนดในวันที่ 24 มิถุนายนนี้


"เพื่อนๆเห็นด้วยหรือไม่ กับการ "ยุบรวมรับตรง-แอดมิชชัน!! สอบรวมครั้งเดียวหลังจบ"

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่