ขอคำปรึกษาเรื่องซื้อ LTF เกินค่ะ

กระทู้คำถาม
ขอคำปรึกษาเนื่องจากตอนนี้ เรารู้ตัวว่าทำผิดพลาดไปโดยการซื้อ LTF เกินอัตราที่หักภาษีได้ จึงอยากรู้ว่าทำอย่างไรได้บ้าง
เราเพิ่งเริ่มซื้อไปที่แล้ว  และหักภาษีเต็ม 15 % ปีนี้ยังไม่ได้ซื้อค่ะ
ซื้อ 2 กอง คือ BLTF และ BLTF75/25 ในจำนวนเท่าๆกัน และแบ่งซื้อเรื่อยๆค่ะ
ตัวอย่าง  มีค ซื้อ 10000 บาท แบ่งเป็น BLTF 5000 BLTF75/25  5000
            พค      20000 บาท แบ่งเป็น BLTF10000 BLTF75/25  10000
            กย      20000 บาท แบ่งเป็น BLTF10000 BLTF75/25  10000
            พย      20000 บาท แบ่งเป็น BLTF10000 BLTF75/25  10000    รวม 70000

สมมติสิ้นปีเราหักภาษีได้เต็มจำนวน 60000  ซึ่งมันเกินมา 10000 บาท
เรารู้มาว่าถ้าขายส่วนที่เกินไปแล้วได้กำไร จะต้องนำกำไรไปคิดเป็นเงินได้
***แต่ที่เราสงสัยคือ
1 เราจะนับยังไงว่าหุ้นที่ซื้อตอนไหนมันคือส่วนเกิน?
2 เราซื้อทั้ง BLTF และ BLTF75/25  แล้วตัวไหนมันคือส่วนเกินคะ?
3แล้วเราควรขายตอนไหน ถือให้ครบ 5 ปี ขายทีเดียว หรือว่าขายตอนนี้ไปเลย ก่อนซื้อของปีนี้
4แล้วถ้าขายตอนนี้คือ เราต้องโยกหุ้นไปไหนก่อนรึป่าวคะ เพื่อที่จะไม่มีปัญหาด่นภาษี
5ถ้าเราตัดสินใจขายตอนครบ 5 ปี สำหรับปีนี้ที่เราจะซื้อใหม่กองเดิม หุ้นส่วนที่เกิน มันมีผลกระทบอะไรรึป่าวคะ

คำถามมากมาย เพราะรู้แล้วว่าตัวเองพลาดไป T_T  เพราะรายได้เราไม่ชัดเจนตอนซื้อเราก็ประมาณเอา
รบกวนผู้รู้ช่วยเหลือด้วยค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ไม่ทราบว่าคุณ คห 6 ได้ไปดู คห 5 ในกระทู้ 32255432 ซื้อ LTF เกิน หรือยัง
ถาม 1 เราจะนับยังไงว่าหุ้นที่ซื้อตอนไหนมันคือส่วนเกิน? + 2 เราซื้อทั้ง BLTF และ BLTF75/25  แล้วตัวไหนมันคือส่วนเกินคะ?
ตอบ  ตามความคิดเห็นที่ 10  LTF นับแบบ FIFO ค่ะ   ก็นับยอดที่ลงทุนมาถึง 15% หลังจากนั้นก็ เป็นส่วนเกิน (ครั้งที่ 3 ก็เลือกกองใด กองหนึ่งเป็นส่วนเกิน เพราะจขกท ซื้อพร้อมกันจำนวนเงินเท่ากัน)
ขอเสริม ครั้งที่ 3 ก็เลือกกองใด กองหนึ่งเป็นส่วนเกิน เพราะจขกท ซื้อพร้อมกันจำนวนเงินเท่ากัน ถูกต้องถ้าเดือน พย. ซื้อทั้งสองกองพร้อมกันเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ถ้าซื้อหลายครั้ง เช่น 10 พย. ซื้อ BLTF และ BLTF75 กองละ 5,000  20 พย. ซื้ออีกกองละ 5,000 ส่วนที่ซื้อ 10 พย. ทั้ง BLTF และ BLTF75 เป็นส่วนที่อยู่ในสิทธิ์ แต่ที่ซื้อ 20 พย. ทั้ง BLTF และ BLTF75 เป็นส่วนที่เกินสิทธิ์ แต่ถ้า 10 พย. คุณซื้อเพียง 1 กอง 10,000  แล้ว 20 พย. ซื้ออีกกอง 10,000 กองที่ซื้อ 20 พย. เป็นส่วนที่เกินสิทธิ์
ถาม 3 แล้วเราควรขายตอนไหน ถือให้ครบ 5 ปี ขายทีเดียว หรือว่าขายตอนนี้ไปเลย ก่อนซื้อของปีนี้
คห 10 ถ้านำไปใช้สิทธิลดหย่อนทั้งหมดที่ซื้อมา ก็ถือต่อให้ครบ5 ปี ค่อยขายคะ
เสริม ใบรับรองการซื้อที่ทางธนาคารออกให้เพื่อยื่นกับสรรพากร จะรับรองเพียงว่าในปี พศ. นั้น ซื้อกองทุนแต่ละกองรวมเป็นเงินเท่าใด ไม่มีรายละเอียดว่าซื้อวันที่เท่าไร เป็นเงินเท่าใด แม้คุณจะซื้อเดือน พย. หลายครั้ง คุณก็ไม่สามารถยื่นเฉพาะหลักฐานส่วนที่อยู่ในสิทธิ์ได้ คิดว่าเจ้าของกระทู้คงยื่นหลักฐานที่ทางธนาคารออกให้เพื่อยื่นกับสรรพากร ว่าคุณซื้อ BLTF และ BLTF75 อย่างละ 35,000 บาท แต่กรอกในแบบยื่นภาษีของปี 2556 ช่องหักลดหย่อนซื้อ LTF เพียง 60,000
การถือต่อให้ครบ 5 ปี ค่อยขาย น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะถ้าคุณขายก่อน จะกลายเป็นขายส่วนที่ซื้อเดือนมีค. ตามหลัก FIFO ของกองทุนทุกกอง ที่จะขายยอดที่ซื้อไว้แรกสุดก่อน เรียงมาคามลำดับการซื้อ อาจมีปัญหาว่าผู้ประเมินของสรรพากรถือว่าการขายยอดที่ซื้อเดือนมีค. เป็นการชายส่วนที่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนไปแล้ว เป็นการผิดเงื่อนไข จะเรียกเก็บภาษีของปี 2556 เพิ่ม + ค่าปรับ หลังจากที่ขณะขายคืนก่อนกำหนด โดนธนาคารหัก ณ ที่จ่ายส่วนกำไร และโดนค่าธรรมเนียมถือไม่ครบ 1 ปีด้วย (ตาม คห 5) ที่คุณ คห 5 เขียน พอดีเป็น "กองใหม่" ก็เลยรีบขายทิ้งไปเฉพาะส่วนเกิน  ขายคืนในปีเดียวกับที่ซื้อ ก่อนยื่นแบบเสียภาษีตอนต้นปีต่อมา ใช่หรือไม่ ถึงไม่โดนสรรพากรปรับ และเป็นการชายกองนั้นทั้งกอง ใช่หรือไม่
4 แล้วถ้าขายตอนนี้คือ เราต้องโยกหุ้นไปไหนก่อนรึป่าวคะ เพื่อที่จะไม่มีปัญหาด่นภาษี
ตอบ ถ้าขายตอนนี้ ต้องโยกบางส่วนของกองใดกองหนึ่งไปอีกกอง ก็เลือกว่าจะขายกองไหนทิ้ง เช่นขายกอง BLTF75 (ขณะหุ้นขึ้นกองที่ลงทุนในหุ้น 100% น่าจะไห้ผลตอบแทนมากกว่า) ก็โยกหน่วยที่ได้ทั้งหมดจากการซื้อถึงปลายเดือน กย. ไป BLTF = โยกเงินลงทุนไป 25,000 บาท แล้วขาย BLTF75 ที่เหลือทั้งหมด
อย่าลืมว่าการขายต้องขายเป็นหน่วยเสมอ เพราะราคาที่ซื้อแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ทำให้ได้หน่วยกองทุนไม่เท่ากัน แม้ใช้เงินซื้อเท่ากัน
(อย่าสั่งขายเป็นบาท จำนวนหน่วยที่ขาย จะไม่เท่าจำนวนหน่วยที่ซื้อในวันซื้อด้วยเงินหนึ่งหมื่นบาท ถ้าวันที่ขายได้ราคาต่ำกว่าวันที่ซื้อ กลายเป็นขายหน่วยลงทุนส่วนที่อยู่ในสิทธิ์ทิ้งด้วย กลายเป็นขายส่วนที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก่อนกำหนด)
5ถ้าเราตัดสินใจขายตอนครบ 5 ปี สำหรับปีนี้ที่เราจะซื้อใหม่กองเดิม หุ้นส่วนที่เกิน มันมีผลกระทบอะไรรึป่าวคะ
ตอบ ไม่กระทบ
6 ความคิดเห็นที่ 5-1สงสัยค่ะว่าแค่ไหนเป็นกำไรที่ลดหย่อน แค่ไหนไม่ใช่ เพราะเราซื้อในปีเดียวกันทั้งหมด ราคาตอนซื้อมันก็ไม่เท่ากัน กำไรก็ต่างกัน + คห 6-1 งงมากค่ะว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าส่วนไหนเป็นกำไรที่ต้องไปรวมเป็นเงินได้
ตอบ ใบรับรองการขายที่กองทุนจะออกให้ตอนต้นปีต่อไปของปีภาษีที่ต้องยื่นต่อสรรพากร (เช่นซื้อปี 2556 ครบ 5 ปีปฏิทิน ขายได้ต้นปี 2560 ธนาคารออกใบรัยรองการขายตอนต้นปี 2561) จะระบุรายละเอียดของ แต่ละกอง แต่ละยอดที่ซื้อแต่ละวัน ว่าต้นทุนเท่าใด ขายได้กี่บาท กำไรกี่บาท ดังนั้นกำไรที่ได้จากยอดที่ซื้อเดือน มีค  พค กย จึงเป็นกำไรที่จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วยยอดของเดือน พย ส่วนใดจะได้รับการยกเว้นภาษี ขึ้นกับเดือน พย ซื้อครั้งเดียวหรีอหลายครั้ง ตามที่อธิบายใน ถาม 1 + 2
7 เราสามารถเลือกได้รึป่าว ว่ากำไรส่วนไหนที่จะได้รับการยกเว้นภาษี
ตอบ ถ้าไม่ขายก่อนครบ 5 ปีปฏิทิน เราสามารถเลือกได้ว่า กำไรส่วนไหนที่จะได้รับการยกเว้นภาษี โดยใช้เทคนิคการขายหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2556 ของกองที่ได้กำไรมากในปีที่ครบสิทธิ ให้หมด (ถ้าขณะขาย BLTF75 ได้กำไรมากกว่า ก็ขายหน่วยลงทุน BLTF75 ซื้อในปี 2556 ทั้งหมด) และขายหน่วยลงทุน BLTF ที่ซื้อในปี 2556 เฉพาะส่วนที่ซื้อด้วยเงิน 25,000 บาทแรก (คือเหลือหน่วยลงทุน ที่ซื้อ BLTF เดือน พย 10,000 บาท ไว้ขายปีหน้า) แม้ยอดหน่วยลงทุน BLTF75 ยอดที่ซื้อสุดท้าย 20 พย. จะซื้อหลัง BLTF ที่ซื้อ 10 พย.  BLTF ที่ซื้อ 10 พย. 10,000 บาท ก็จะ กลายเป็นส่วนที่ซื้อเกินสิทธิ์ ไปขายต้นปี 2561 เป็นการเสียภาษีกำไรในส่วนที่ได้กำไรน้อยกว่า
ที่แนะนำให้ชายส่วนที่อยู่นอกสิทธิ์ในปีถัดไป เพราะถ้าขายพร้อมกัน สรรพากรผู้ประเมินจะประเมินว่ายอดที่ซื้อครั้งสุดท้ายด้วยเงิน 10,000 เป็นยอดที่ต้องเสียภาษี กรณีช่วงที่ขายหุ้นตก BLTF75 อาจได้กำไรมากกว่า ถ้าซื้อเดือน พย หลายครั้ง โดยซื้อ BLTF 10 พย. 10,000 บาท  BLTF75 20 พย. 10,000 บาท ก็จะกลายเป็นต้องเสียภาษีกำไรของ BLTF75 ที่ได้กำไรมากกว่า ทำให้ต้องเสียภาษีมากกว่า
แนะนำให้ดู คห 5 ในกระทู้หมายเลข 32255432 เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่