ยุกติ มุกดาวิจิตร: วัฒนธรรมทาสฝรั่ง
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 10:40:00 น.
ที่มาเพจเฟซบุ๊ก ชาติพันธุ์นิพนธ์
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่าทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรงทั้งๆที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ผมได้คำตอบว่า อาการโกรธนี้เป็นอาการเหมือนคนอกหักอกหักจากการที่ถูกฝรั่งที่พวกเขาเฝ้าทะนุถนอม บูชาและอยากเลียนแบบให้เหมือนมาตลอดชีวิต กลับมาหักหลังพวกเขาพวกเขาโกรธเพราะพวกเขาจงรักภักดีต่อพ่ออเมริกัน พ่อยุโรปพ่อฝรั่งหัวแดงเหล่านี้มาตลอดชีวิต พวกเขาไม่เข้าใจว่า ถึงขนาดนี้แล้วเหตุใดพวกเขาจึงยังถูกหักหลัง ถูกทิ้งขว้างจากพ่อฝรั่งเหล่านี้
แต่ลึกลงไปกว่านั้นคือผมคิดว่าพวกเขาโกรธฝรั่งก็เพราะค่านิยมที่ฝรั่งสนใจเรียกร้องในขณะนี้ขัดแย้งกับการพยายามรักษาตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาในเวทีอำนาจขณะนี้
ถ้าไปถามพวกเขาเขาจะไม่ยอมรับหรอกว่าโกรธเพราะเหตุนี้ แต่ลองค่อยๆ พิจารณาดูว่าเป็นจริงอย่างที่ผมเข้าใจหรือไม่ ลองนึกดูว่าแต่ละคนที่ออกมาแสดงอาการรังเกียจฝรั่ง แท้จริงแล้วพวกเขานั่นแหละที่เป็นผู้นำของการนำเข้าวัฒนธรรมฝรั่งพวกเขานั่นแหละที่บูชาฝรั่งจะตายไป
นับตั้งแต่นักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกากลุ่มหนึ่งคนกลุ่มนี้เป็นลูกหลานของพวกทาสนโยบายสงครามเย็นของอเมริกันชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าร่ำเรียนมาจากสหรัฐอเมริกาแต่กลับมาประณามว่าอเมริกันแทรกแซงไทยพวกเขาไม่รู้หรอกหรือว่าอเมริกันแทรกแซงไทยมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่พวกเขา และก็แทรกแซงให้พวกเขาไปร่ำไปเรียนกลับมาแล้วทำไมจึงเพิ่งจะมาว่าอเมริกันแทรกแซงตอนนี้ตอนนั้นที่พวกนักศึกษาเดินขบวนประท้วงการแทรกแซงของอเมริกันน่ะ พวกคุณไปอยู่ไหนล่ะถ้าไม่ใช่กำลังมัวเมากับอเมริกันอยู่นั่นแหละ
ลองดูอีกคนที่ออกมาประณามฝรั่งรายนี้เป็นนักแต่งเพลง จะแต่งเพลงแต่ละทีก็ต้องดูเทรนด์ในยุโรปในอเมริกา หากจะไม่ถึงกับลอกมาทั้งดุ้นเพลงไทยกลายเป็นเพลงแบบที่เราได้ฟังกันในยุคนี้ได้อย่างไรก็ด้วยการฉีกตัวเองออกมาจากเพลง "ไทยเดิม"ด้วยการเดินตามแนวเพลงต่างประเทศจากยุโรปจากอเมริกาแบบแนวของนักแต่งเพลงผู้นี้นั่นแหละ
เมื่อเทียบกับเพลงยุคก่อนหน้าเพลงวัยรุ่นปัจจุบันอย่างเพลงสุนทราภรณ์ เพลงลูกกรุงสมัยนั้นเขายังนำเพลงไทยเดิมมาดัดแปลงให้เข้ากับเพลงสากลแต่เพลงวัยรุ่นปัจจุบันเป็นอย่างไร ยังเหลือกลิ่นอายของเพลงไทยเดิมแค่ไหนไม่มีเอาเสียเลย แม้แต่เนื้อเพลงก็ยังเลิกใช้สัมผัสแบบกลอน กันไปแล้วแถมยังมีการใช้สัมผัสแบบฝรั่งเสียอีก
ส่วนอีกคน จะหาซื้อข้าวของอะไรให้ลูกหลานที ก็ต้องซื้อของยุโรป รถยนต์เอเชียดีๆมีตั้งมากมายทำไมไม่ซื้อให้หลาน ที่จริงตัวอย่างแบบนี้มีมากมาย เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าบรรดาไฮโซไทยนั้น ลุ่มหลงสินค้าฝรั่งแค่ไหน กระทั่งบินไปซื้อหากันถึงที่พวกที่ไม่มีปัญญา ไม่มีเงินพอก็กระ
กระสนหาซื้อของมือสอง ไม่ก็หาของปลอมมาหิ้วไปหิ้วมาให้หายปมด้อย
แล้วการต่อต้านก็แสดงนิสัยการบริโภคของพวกเขาเองนั่นแหละที่เป็นทาสฝรั่งอยู่ก่อนแล้วบ้างก็ว่าจะเลิกกินไวน์ กินเหล้าจากยุโรป อเมริกาแล้วจะไม่เข้าร้านนั้นร้านนี้แล้ว โถ่ก็มีแต่พวกเขาเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็นทาสสินค้าฝรั่งคนทั่วไปเขาไม่ได้เป็นทาสฝรั่งมากเท่าพวกคุณจนต้องลุกมาต่อต้านฝรั่งกันตอนนี้หรอก
หันไปดูพวกคลั่งมาตรฐานการพูดภาษาอังกฤษตอนนั้นก็ว่ากันเสียๆ หายๆว่าผู้นำประเทศพูดภาษาอังกฤษไม่เป็น พูดไม่ชัด พูดไม่ถูกไวยากรณ์สู้ผู้นำการเคลื่อนไหวมวลชนต่อต้านรัฐบาลก็ไม่ได้สู้หัวหน้ารัฐบาลก่อนหน้าก็ไม่ได้อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่าเป็นทาสฝรั่งแล้วจะเรียกอะไร
ภาษาที่ใช้สื่อสารได้รู้เรื่องกับภาษาตามหลักไวยากรณ์นั่นเรื่องหนึ่งสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษากับสำเนียงต่างถิ่นนั่นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ใช้ภาษาอังกฤษในโลกนี้ส่วนใหญ่เขาไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนักการเหยียดหยามกันด้วยความคิดเรื่อง"ความเป็นมาตรฐาน" ของภาษาเป็นอุดมการณ์ภาษาอย่างหนึ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่คลั่งภาษามาตรฐานเป็นประเทศที่ใช้ภาษามาตรฐานกดขี่ ย่ำยี ทำลายภาษาถิ่นล้างผลาญภาษาที่หลากหลายมาตลอด ต่างกับหลายๆ ประเทศในโลกนี้
วิธีคิดเกี่ยวกับภาษามาตรฐานของคนไทยจึงระบาดไปถึงการตัดสินความเป็นมาตรฐานของภาษาต่างประเทศไปด้วยทั้งๆที่คนยุโรป คนอเมริกัน และคนใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ ในโลกเขาไม่ได้จำเป็นต้องเข้าใจแบบเดียวกันนี้ดูอย่างคนสิงคโปร์ คนอินเดีย คนมาเลเชียที่อัตราการรู้ภาษาอังกฤษสูงกว่าคนไทยลิบลิ่วเขายังไม่มาตัดจริตพูดสำเนียงอังกฤษมาตรฐานแบบที่คนไทยบางกลุ่มเรียกร้องคนไทยด้วยกันเองเลยเขาไม่เห็นจะต้องมาบูชาการพูดภาษาอังกฤษให้เหมือนฝรั่งแบบที่คนไทยบางกลุ่มบูชาฝรั่งเลย
นักประวัติศาสตร์อย่างธงชัย วินิจจะกูลเคยสรุปเอาไว้ว่า ชนชั้นนำสยามในศตวรรษที่19 จัดลำดับวิวัฒนาการทางสังคมให้ชาวป่าอยู่ต่ำสุด สูงขึ้นมาคือชาวบ้านสูงกว่านั้นคือชาวเมือง แต่สูงที่สุดคือชาวตะวันตก ชนชั้นนำไทยบูชาฝรั่งมาตลอดตามก้นฝรั่งมาตลอด มาวันนี้กลับจะมาต่อต้านฝรั่งน่ะ เป็นไปได้ไม่ตลอดหรอก
หากแต่เรื่องสำคัญกว่านั้นคือชนชั้นนำไทยไม่เพียงสนใจแต่เปลือกนอกของวัฒนธรรมฝรั่งสนใจแต่สิ่งฉาบฉวยสนใจแต่ความเป็นฝรั่งที่ให้ความสะดวกสบายแต่ชนชั้นนำไทยยังสนใจแต่ความเป็นฝรั่งที่เสริมต่อความเป็นชนชั้นสูงของพวกตนยามที่ฝรั่งหยิบยื่นอำนาจวาสนาหยิบยื่นกำลัง พลานุภาพให้ พร้อมๆกับความสะดวกสบายและหน้าตาของข้าวของเครื่องใช้ลีลาของการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ยกพวกตนให้สูงเหนือคนสามัญชนชั้นนำย่อมยินดี
แต่เมื่อใดที่ฝรั่งเปลี่ยนไป เมื่อฝรั่งสอนอะไรที่ทำลายฐานะของตนเองเมื่อฝรั่งส่งเสริมการทำลายสถานภาพพิเศษของตนเอง พวกเขาก็ไม่อยากรับไม่เอาด้วยกับสาระของคำสอนฝรั่งเหล่านั้น พอฝรั่งเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชนเรื่องประชาธิปไตย เรื่องเสรีภาพ เรื่องความเสมอภาคเรื่องเหล่านี้มันรบกวนสถานภาพของชนชั้นนำ พวกเขาจึงหงุดหงิด ต่อต้านและแสดงอาการอกหักกับความภักดีที่ตนเคยมีให้อย่างสุดจิตสุดใจต่อฝรั่ง
นักศึกษาทางวัฒนธรรมที่ไม่หยุดความคิดตนเองไว้ด้วยแนวคิดวัฒนธรรมแบบเมื่อร้อยปีก่อนย่อมรู้ดีว่าวัฒนธรรมนั้นไหลเวียนติดต่อ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และวัฒนธรรมไม่ได้ตัดขาดจากกระบวนการต่อสู้ขัดแย้งกันของอำนาจ ยิ่งกว่านั้น วัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมสากลผสมผสานปรับปรุงกันไปมาเสมอ เมื่อโลกหันทิศทางไปสู่การส่งเสริมวัฒนธรรมเสรีนิยมวัฒนธรรมเสมอภาคนิยม และวัฒนธรรมประชาธิปไตยวัฒนธรรมอำนาจนิยมก็จะต้องถูกท้าทายตลอดไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1404064067
ยุกติ มุกดาวิจิตร: วัฒนธรรมทาสฝรั่ง ................. วิจารณ์ได้ชัดเจนจัง
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 10:40:00 น.
ที่มาเพจเฟซบุ๊ก ชาติพันธุ์นิพนธ์
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่าทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรงทั้งๆที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ผมได้คำตอบว่า อาการโกรธนี้เป็นอาการเหมือนคนอกหักอกหักจากการที่ถูกฝรั่งที่พวกเขาเฝ้าทะนุถนอม บูชาและอยากเลียนแบบให้เหมือนมาตลอดชีวิต กลับมาหักหลังพวกเขาพวกเขาโกรธเพราะพวกเขาจงรักภักดีต่อพ่ออเมริกัน พ่อยุโรปพ่อฝรั่งหัวแดงเหล่านี้มาตลอดชีวิต พวกเขาไม่เข้าใจว่า ถึงขนาดนี้แล้วเหตุใดพวกเขาจึงยังถูกหักหลัง ถูกทิ้งขว้างจากพ่อฝรั่งเหล่านี้
แต่ลึกลงไปกว่านั้นคือผมคิดว่าพวกเขาโกรธฝรั่งก็เพราะค่านิยมที่ฝรั่งสนใจเรียกร้องในขณะนี้ขัดแย้งกับการพยายามรักษาตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาในเวทีอำนาจขณะนี้
ถ้าไปถามพวกเขาเขาจะไม่ยอมรับหรอกว่าโกรธเพราะเหตุนี้ แต่ลองค่อยๆ พิจารณาดูว่าเป็นจริงอย่างที่ผมเข้าใจหรือไม่ ลองนึกดูว่าแต่ละคนที่ออกมาแสดงอาการรังเกียจฝรั่ง แท้จริงแล้วพวกเขานั่นแหละที่เป็นผู้นำของการนำเข้าวัฒนธรรมฝรั่งพวกเขานั่นแหละที่บูชาฝรั่งจะตายไป
นับตั้งแต่นักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกากลุ่มหนึ่งคนกลุ่มนี้เป็นลูกหลานของพวกทาสนโยบายสงครามเย็นของอเมริกันชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าร่ำเรียนมาจากสหรัฐอเมริกาแต่กลับมาประณามว่าอเมริกันแทรกแซงไทยพวกเขาไม่รู้หรอกหรือว่าอเมริกันแทรกแซงไทยมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่พวกเขา และก็แทรกแซงให้พวกเขาไปร่ำไปเรียนกลับมาแล้วทำไมจึงเพิ่งจะมาว่าอเมริกันแทรกแซงตอนนี้ตอนนั้นที่พวกนักศึกษาเดินขบวนประท้วงการแทรกแซงของอเมริกันน่ะ พวกคุณไปอยู่ไหนล่ะถ้าไม่ใช่กำลังมัวเมากับอเมริกันอยู่นั่นแหละ
ลองดูอีกคนที่ออกมาประณามฝรั่งรายนี้เป็นนักแต่งเพลง จะแต่งเพลงแต่ละทีก็ต้องดูเทรนด์ในยุโรปในอเมริกา หากจะไม่ถึงกับลอกมาทั้งดุ้นเพลงไทยกลายเป็นเพลงแบบที่เราได้ฟังกันในยุคนี้ได้อย่างไรก็ด้วยการฉีกตัวเองออกมาจากเพลง "ไทยเดิม"ด้วยการเดินตามแนวเพลงต่างประเทศจากยุโรปจากอเมริกาแบบแนวของนักแต่งเพลงผู้นี้นั่นแหละ
เมื่อเทียบกับเพลงยุคก่อนหน้าเพลงวัยรุ่นปัจจุบันอย่างเพลงสุนทราภรณ์ เพลงลูกกรุงสมัยนั้นเขายังนำเพลงไทยเดิมมาดัดแปลงให้เข้ากับเพลงสากลแต่เพลงวัยรุ่นปัจจุบันเป็นอย่างไร ยังเหลือกลิ่นอายของเพลงไทยเดิมแค่ไหนไม่มีเอาเสียเลย แม้แต่เนื้อเพลงก็ยังเลิกใช้สัมผัสแบบกลอน กันไปแล้วแถมยังมีการใช้สัมผัสแบบฝรั่งเสียอีก
ส่วนอีกคน จะหาซื้อข้าวของอะไรให้ลูกหลานที ก็ต้องซื้อของยุโรป รถยนต์เอเชียดีๆมีตั้งมากมายทำไมไม่ซื้อให้หลาน ที่จริงตัวอย่างแบบนี้มีมากมาย เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าบรรดาไฮโซไทยนั้น ลุ่มหลงสินค้าฝรั่งแค่ไหน กระทั่งบินไปซื้อหากันถึงที่พวกที่ไม่มีปัญญา ไม่มีเงินพอก็กระกระสนหาซื้อของมือสอง ไม่ก็หาของปลอมมาหิ้วไปหิ้วมาให้หายปมด้อย
แล้วการต่อต้านก็แสดงนิสัยการบริโภคของพวกเขาเองนั่นแหละที่เป็นทาสฝรั่งอยู่ก่อนแล้วบ้างก็ว่าจะเลิกกินไวน์ กินเหล้าจากยุโรป อเมริกาแล้วจะไม่เข้าร้านนั้นร้านนี้แล้ว โถ่ก็มีแต่พวกเขาเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็นทาสสินค้าฝรั่งคนทั่วไปเขาไม่ได้เป็นทาสฝรั่งมากเท่าพวกคุณจนต้องลุกมาต่อต้านฝรั่งกันตอนนี้หรอก
หันไปดูพวกคลั่งมาตรฐานการพูดภาษาอังกฤษตอนนั้นก็ว่ากันเสียๆ หายๆว่าผู้นำประเทศพูดภาษาอังกฤษไม่เป็น พูดไม่ชัด พูดไม่ถูกไวยากรณ์สู้ผู้นำการเคลื่อนไหวมวลชนต่อต้านรัฐบาลก็ไม่ได้สู้หัวหน้ารัฐบาลก่อนหน้าก็ไม่ได้อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่าเป็นทาสฝรั่งแล้วจะเรียกอะไร
ภาษาที่ใช้สื่อสารได้รู้เรื่องกับภาษาตามหลักไวยากรณ์นั่นเรื่องหนึ่งสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษากับสำเนียงต่างถิ่นนั่นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ใช้ภาษาอังกฤษในโลกนี้ส่วนใหญ่เขาไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนักการเหยียดหยามกันด้วยความคิดเรื่อง"ความเป็นมาตรฐาน" ของภาษาเป็นอุดมการณ์ภาษาอย่างหนึ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่คลั่งภาษามาตรฐานเป็นประเทศที่ใช้ภาษามาตรฐานกดขี่ ย่ำยี ทำลายภาษาถิ่นล้างผลาญภาษาที่หลากหลายมาตลอด ต่างกับหลายๆ ประเทศในโลกนี้
วิธีคิดเกี่ยวกับภาษามาตรฐานของคนไทยจึงระบาดไปถึงการตัดสินความเป็นมาตรฐานของภาษาต่างประเทศไปด้วยทั้งๆที่คนยุโรป คนอเมริกัน และคนใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ ในโลกเขาไม่ได้จำเป็นต้องเข้าใจแบบเดียวกันนี้ดูอย่างคนสิงคโปร์ คนอินเดีย คนมาเลเชียที่อัตราการรู้ภาษาอังกฤษสูงกว่าคนไทยลิบลิ่วเขายังไม่มาตัดจริตพูดสำเนียงอังกฤษมาตรฐานแบบที่คนไทยบางกลุ่มเรียกร้องคนไทยด้วยกันเองเลยเขาไม่เห็นจะต้องมาบูชาการพูดภาษาอังกฤษให้เหมือนฝรั่งแบบที่คนไทยบางกลุ่มบูชาฝรั่งเลย
นักประวัติศาสตร์อย่างธงชัย วินิจจะกูลเคยสรุปเอาไว้ว่า ชนชั้นนำสยามในศตวรรษที่19 จัดลำดับวิวัฒนาการทางสังคมให้ชาวป่าอยู่ต่ำสุด สูงขึ้นมาคือชาวบ้านสูงกว่านั้นคือชาวเมือง แต่สูงที่สุดคือชาวตะวันตก ชนชั้นนำไทยบูชาฝรั่งมาตลอดตามก้นฝรั่งมาตลอด มาวันนี้กลับจะมาต่อต้านฝรั่งน่ะ เป็นไปได้ไม่ตลอดหรอก
หากแต่เรื่องสำคัญกว่านั้นคือชนชั้นนำไทยไม่เพียงสนใจแต่เปลือกนอกของวัฒนธรรมฝรั่งสนใจแต่สิ่งฉาบฉวยสนใจแต่ความเป็นฝรั่งที่ให้ความสะดวกสบายแต่ชนชั้นนำไทยยังสนใจแต่ความเป็นฝรั่งที่เสริมต่อความเป็นชนชั้นสูงของพวกตนยามที่ฝรั่งหยิบยื่นอำนาจวาสนาหยิบยื่นกำลัง พลานุภาพให้ พร้อมๆกับความสะดวกสบายและหน้าตาของข้าวของเครื่องใช้ลีลาของการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ยกพวกตนให้สูงเหนือคนสามัญชนชั้นนำย่อมยินดี
แต่เมื่อใดที่ฝรั่งเปลี่ยนไป เมื่อฝรั่งสอนอะไรที่ทำลายฐานะของตนเองเมื่อฝรั่งส่งเสริมการทำลายสถานภาพพิเศษของตนเอง พวกเขาก็ไม่อยากรับไม่เอาด้วยกับสาระของคำสอนฝรั่งเหล่านั้น พอฝรั่งเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชนเรื่องประชาธิปไตย เรื่องเสรีภาพ เรื่องความเสมอภาคเรื่องเหล่านี้มันรบกวนสถานภาพของชนชั้นนำ พวกเขาจึงหงุดหงิด ต่อต้านและแสดงอาการอกหักกับความภักดีที่ตนเคยมีให้อย่างสุดจิตสุดใจต่อฝรั่ง
นักศึกษาทางวัฒนธรรมที่ไม่หยุดความคิดตนเองไว้ด้วยแนวคิดวัฒนธรรมแบบเมื่อร้อยปีก่อนย่อมรู้ดีว่าวัฒนธรรมนั้นไหลเวียนติดต่อ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และวัฒนธรรมไม่ได้ตัดขาดจากกระบวนการต่อสู้ขัดแย้งกันของอำนาจ ยิ่งกว่านั้น วัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมสากลผสมผสานปรับปรุงกันไปมาเสมอ เมื่อโลกหันทิศทางไปสู่การส่งเสริมวัฒนธรรมเสรีนิยมวัฒนธรรมเสมอภาคนิยม และวัฒนธรรมประชาธิปไตยวัฒนธรรมอำนาจนิยมก็จะต้องถูกท้าทายตลอดไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1404064067