เป็นที่รู้กันว่า nba ได้อนุญาตให้แต่ละทีมจัดการป้องกันในรูปแบบของ zone defense ได้ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูกาล 2001-2002
กติกานี้ทำให้ทั้งลีกเข้าสู่ยุคแห่งการป้องกันที่เหนียวที่สุดตลอดกาล แต้มเฉลี่ยของแต่ละทีมลดลงเหลือเพียงแค่ 95.5 แต้มในปีที่ประกาศใช้ และลดลงต่ำสุดเหลือแค่ 93.4 แต้มต่อเกมในฤดูกาลในฤดูกาล 03-04
ยอดทีมในช่วงเวลานั้นได้แก่ พลพรรค Pistons และ Spurs ของน้าทิมมี่สมัยยังท็อปฟอร์ม ซึ่งเป็นทีมที่เล่นเกมรับได้เหนียวหนึบติดฟันด้วยกันทั้งคู่...
เมื่อเกมรับเหนียว ก็นำมาซึ่งแต้มน้อย เมื่อแต้มน้อย สตาร์ก็โชว์ฟอร์มได้น้อยลง เมื่อสตาร์โชว์ได้น้อยลง ความตื่นตาตื่นใจก็น้อยลง เรตติ้งก็ลดตาม... แน่นอน NBA ไม่มีทางยอมปล่อยให้สถานการณ์แบบนั้นเกิดขึ้น...
ฤดูกาล 04-05 NBA จึงกลับมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงกฎใหม่อีกครั้ง โดยคราวนี้โฟกัสอยู่ที่เครื่องมือสำคัญของผู้เล่นฝ่ายรับ 2 อย่างคือ 1. การ Handcheck 2. การห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันยืนแช่ใน paint เกิน 3 วิ ( defensive 3 second violation )
NBA ให้เหตุผลในการเปลี่ยนกฎครั้งนี้ได้อย่างน่าฟังว่า
"เพื่อให้เกมเปิดมากขึ้น ( to open up the game )" (
ยยยยยยยยยยย... )
็Handcheck - หลายๆท่าน คงทราบดีว่าเป็นการที่ฝ่ายป้องกันใช้มือในการแตะร่างกายบางส่วนของฝ่ายบุกเมื่อครองบอลและหันหน้าเข้าหาห่วง การใช้มือแตะนี้ช่วยในการทำลายจังหวังของฝ่ายบุก ช่วยชะลอ และช่วยในการเดาทิศทางในการเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี แต่การเปลี่ยนกฎในปี 04-05 นั้น NBA แบนการเล่นโดยการใช้มือแตะตัวของฝ่ายบุกทั้งหมด นั่นหมายถึงหากมีการใช้มือแตะตัวเมื่อไหร่ จะถือเป็นการฟาวล์ทันที ตัวอย่างดังคลิปด้านล่าง...
3 second defensive violation - NBA เสริมกฎนี้ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาว่า "ห้ามผู้เล่นฝ่ายรับที่ไม่ได้ประกบคนถือบอลยื่นแช่ใน paint เกิน 3 วินาที" ถ้าฝ่าฝืนจะถือเป็นเทคนิเคิล ฟาวล์ และจะโดนลูกโทษ ผลกระทบของกฎนี้ต่อเกม ผมจะขออธิบายโดยใช้คลิปการป้องกัน Michael Jordan ของทีม Knicks มาประกอบ...
จากคลิป จะเห็นได้ว่าทีม Knicks ภายใต้ขุมกบาลของ Pat Riley นั้นก็เหมือนทุกๆทีมที่พยายามใช้การลักไก่รุม MJ 3-4 คนเวลาโพสต์เพลย์เกือบตลอด ( คล้ายๆโซน แต่จะเข้ามารุมช้ากว่าเล็กน้อย ) เนื่องจากลูก turnaround fade away ของ MJ นั้นไร้เทียมทานมาก...
แต่ถ้ามีแค่รุมๆๆ นั่นก็คงไม่ใช่ผลงานของโค้ชระดับตำนานอย่าง Pat Riley แน่นอน สิ่งที่พิเศษของ Pat Riley คือเขาจำกัดพื้นที่ในการไดร์ฟเข้าในของ MJ โดยการให้ผู้เล่นเข้าไปรุมในพื้นที่ paint ทันทีที่ MJ หรือ Pip ทำท่าจะลุยใน โดยมี Ewing เป็นเสาหลักของเกมรับ นั่นหมายถึง Ewing จะยืนแช่ใต้แป้นเกือบตลอด ใครจะเข้าหาห่วงต้องผ่านยอดเซนเตอร์ผู้นี้ก่อน ( และนี่ก็คงเป็นที่มาของลูกไฮไลท์ในตำนานที่ MJ ดังก์ใส่หน้า Ewing เต็มๆ แต่นั่นมันคงเป็นคนละเรื่องกันกับกระทู้นี้ )
มาดูตำแหน่งการยืนของ Ewing และผู้เล่นของ Knicks ในเกมนี้ครับ...
การที่ผู้เล่นยืนแช่ใน paint ได้ ส่งผลต่อการป้องกันการไดร์ฟอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการบล็อค หรือการสไลด์เพื่อดักเอา charging foul เพราะสามารถเข้าไปรอล่วงหน้าได้เลย ไม่จำเป็นต้องกะเวลาเข้ามาทีหลัง หรือไล่บล็อคจากด้านหลัง ซึ่งมักจะไม่ทัน ( คงไม่แปลกที่ปัจจุบันเราเห็นการเก็บ charging foul สวยๆได้น้อยลง )
แต่ในปัจจุบันผู้เล่นยืนแช่แบบนี้ไม่ได้ เพราะจะทำให้โดนเทคนิเคิลฟาวล์ทันที ตามคลิปตัวอย่างด้านล่าง...
แผนของ Pat Riley ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งครับ พลพรรคของ Knicks ป้องกัน MJ ในการไดร์ฟเข้าหาห่วงได้เป็นอย่างดี 2 เกมแรกที่เจอกัน MJ ไม่ได้ดังก์เลย แถมยังได้เลย์อัพแค่ 3 ครั้ง ( บ้า... ผู้เล่นอย่าง MJ เนี่ยนะ ได้เลย์อัพแค่ 3 ครั้งใน 2 เกม !!! )
แต่แน่นอน MJ เป็นคนที่ยิงระยะกลาง-ไกลได้ดีมาก Knicks ของบรมกุนซือ Riley ก็เลยไส้แตกไปตามระเบียบ...
สรุป... การเปลี่ยนกฎเพื่ออนุญาตให้ตั้งโซนได้ใน nba ส่งผลต่อรูปแบบการป้องกันของแต่ละทีม และนำลีกไปสู่ยุคสมัยที่ป้องกันเหนียวที่สุดตลอดกาล...
หากแต่การเปลี่ยนแปลงกฎอีกครั้งในปี 2004 นั้นทำให้ การป้องกันโซนใน NBA ไม่ใช่โซนที่แท้จริงอีกต่อไป... มันไม่มีโซนที่ไหนที่จะบังคับให้ผู้เล่นวงในยืนเกาะเส้น paint อยู่ตลอดเวลา หรือห้ามผู้เล่นเกมรับแตะตัวฝ่ายบุกโดยเด็ดขาด ให้สไลด์ขาตามอย่างเดียวแน่ๆ
ถ้าเอายอดผู้เล่นจากยุค 90s ( จริงๆก็ปลายยุคแล้วน่ะนะ ) อย่าง MJ มาเล่นในปัจจุบัน ด้วยการป้องกันแบบโซน MJ คงไม่สามารถโพสต์ใส่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกินแต้มง่ายๆแน่นอน เพราะจะโดนรุมได้ง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ paint ที่เปิดโล่งมากขึ้น ก็เป็นโอกาสที่ทำให้ผู้เล่นที่ว่องไวสูงอย่างเขาสามารถใช้ประโยชน์จากการไดร์ฟเข้าหาห่วงได้มากเช่นกัน...
และในทางกลับกัน หากเอายอดผู้เล่นในยุคนี้อย่าง LBJ ไปเล่นในยุค 90s เขาก็จะไม่สามารถใช้การไดร์ฟหาห่วงอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนในเวลานี้อีกแล้ว เพราะกฎ handcheck จะชะลอความเร็วในการไดร์ฟของเขาลงไปได้เยอะ และเนื่องด้วยการที่ไม่มี 3 second violation พื้นที่ใน paint จึงแน่นขึ้นมาก การไดร์ฟต้องผ่านเซนเตอร์ระดับ 7 ฟุตที่ไปยืนรอล่วงหน้า ลำบากทั้งการวางบอลให้ข้ามบล็อค หรืออาจเสีย offensive foul ได้ง่ายๆ หากโดนสไลด์มาปิดทางก่อน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้า LBJ พัฒนาเกมโพสต์เพลย์ของตัวเองขึ้นมา เขาก็สามารถใช้ประโยชน์จากขนาดร่างกายตัวเองที่เหนือกว่าตัวประกบได้ไม่ยากเลย ยกเว้นฝั่งตรงข้ามจะมีผู้เล่นพิเศษอย่าง Dennis Rodman หรือ Anthony Mason ซึ่งเร็วและแกร่งพอจะประกบ LBJ แบบ 1-1 ได้...
NBA ในปัจจุบันนั้นไม่ใช่ยุคที่มีการป้องกันเหนือกว่ายุค 90s หรือยุคอื่นๆแต่อย่างใด... ยุคของ NBA ที่ป้องกันได้เหนียวแน่นจนขยับกันไม่ได้นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันเป็นเพียง "ความแตกต่าง" ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะใช้ประโยชน์ที่มีการเอื้อให้ผู้เล่นแตกต่างกันเท่านั้น...
ก็ขอจบเพียงเท่านี้นะครับ...
Handcheck + 3 sec violation ความแตกต่างในการป้องกันของบาสเกตบอล NBA ยุคปัจจุบันกับยุค 90s
กติกานี้ทำให้ทั้งลีกเข้าสู่ยุคแห่งการป้องกันที่เหนียวที่สุดตลอดกาล แต้มเฉลี่ยของแต่ละทีมลดลงเหลือเพียงแค่ 95.5 แต้มในปีที่ประกาศใช้ และลดลงต่ำสุดเหลือแค่ 93.4 แต้มต่อเกมในฤดูกาลในฤดูกาล 03-04
ยอดทีมในช่วงเวลานั้นได้แก่ พลพรรค Pistons และ Spurs ของน้าทิมมี่สมัยยังท็อปฟอร์ม ซึ่งเป็นทีมที่เล่นเกมรับได้เหนียวหนึบติดฟันด้วยกันทั้งคู่...
เมื่อเกมรับเหนียว ก็นำมาซึ่งแต้มน้อย เมื่อแต้มน้อย สตาร์ก็โชว์ฟอร์มได้น้อยลง เมื่อสตาร์โชว์ได้น้อยลง ความตื่นตาตื่นใจก็น้อยลง เรตติ้งก็ลดตาม... แน่นอน NBA ไม่มีทางยอมปล่อยให้สถานการณ์แบบนั้นเกิดขึ้น...
ฤดูกาล 04-05 NBA จึงกลับมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงกฎใหม่อีกครั้ง โดยคราวนี้โฟกัสอยู่ที่เครื่องมือสำคัญของผู้เล่นฝ่ายรับ 2 อย่างคือ 1. การ Handcheck 2. การห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันยืนแช่ใน paint เกิน 3 วิ ( defensive 3 second violation )
NBA ให้เหตุผลในการเปลี่ยนกฎครั้งนี้ได้อย่างน่าฟังว่า "เพื่อให้เกมเปิดมากขึ้น ( to open up the game )" ( ยยยยยยยยยยย... )
็Handcheck - หลายๆท่าน คงทราบดีว่าเป็นการที่ฝ่ายป้องกันใช้มือในการแตะร่างกายบางส่วนของฝ่ายบุกเมื่อครองบอลและหันหน้าเข้าหาห่วง การใช้มือแตะนี้ช่วยในการทำลายจังหวังของฝ่ายบุก ช่วยชะลอ และช่วยในการเดาทิศทางในการเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี แต่การเปลี่ยนกฎในปี 04-05 นั้น NBA แบนการเล่นโดยการใช้มือแตะตัวของฝ่ายบุกทั้งหมด นั่นหมายถึงหากมีการใช้มือแตะตัวเมื่อไหร่ จะถือเป็นการฟาวล์ทันที ตัวอย่างดังคลิปด้านล่าง...
3 second defensive violation - NBA เสริมกฎนี้ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาว่า "ห้ามผู้เล่นฝ่ายรับที่ไม่ได้ประกบคนถือบอลยื่นแช่ใน paint เกิน 3 วินาที" ถ้าฝ่าฝืนจะถือเป็นเทคนิเคิล ฟาวล์ และจะโดนลูกโทษ ผลกระทบของกฎนี้ต่อเกม ผมจะขออธิบายโดยใช้คลิปการป้องกัน Michael Jordan ของทีม Knicks มาประกอบ...
จากคลิป จะเห็นได้ว่าทีม Knicks ภายใต้ขุมกบาลของ Pat Riley นั้นก็เหมือนทุกๆทีมที่พยายามใช้การลักไก่รุม MJ 3-4 คนเวลาโพสต์เพลย์เกือบตลอด ( คล้ายๆโซน แต่จะเข้ามารุมช้ากว่าเล็กน้อย ) เนื่องจากลูก turnaround fade away ของ MJ นั้นไร้เทียมทานมาก...
แต่ถ้ามีแค่รุมๆๆ นั่นก็คงไม่ใช่ผลงานของโค้ชระดับตำนานอย่าง Pat Riley แน่นอน สิ่งที่พิเศษของ Pat Riley คือเขาจำกัดพื้นที่ในการไดร์ฟเข้าในของ MJ โดยการให้ผู้เล่นเข้าไปรุมในพื้นที่ paint ทันทีที่ MJ หรือ Pip ทำท่าจะลุยใน โดยมี Ewing เป็นเสาหลักของเกมรับ นั่นหมายถึง Ewing จะยืนแช่ใต้แป้นเกือบตลอด ใครจะเข้าหาห่วงต้องผ่านยอดเซนเตอร์ผู้นี้ก่อน ( และนี่ก็คงเป็นที่มาของลูกไฮไลท์ในตำนานที่ MJ ดังก์ใส่หน้า Ewing เต็มๆ แต่นั่นมันคงเป็นคนละเรื่องกันกับกระทู้นี้ )
มาดูตำแหน่งการยืนของ Ewing และผู้เล่นของ Knicks ในเกมนี้ครับ...
การที่ผู้เล่นยืนแช่ใน paint ได้ ส่งผลต่อการป้องกันการไดร์ฟอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการบล็อค หรือการสไลด์เพื่อดักเอา charging foul เพราะสามารถเข้าไปรอล่วงหน้าได้เลย ไม่จำเป็นต้องกะเวลาเข้ามาทีหลัง หรือไล่บล็อคจากด้านหลัง ซึ่งมักจะไม่ทัน ( คงไม่แปลกที่ปัจจุบันเราเห็นการเก็บ charging foul สวยๆได้น้อยลง )
แต่ในปัจจุบันผู้เล่นยืนแช่แบบนี้ไม่ได้ เพราะจะทำให้โดนเทคนิเคิลฟาวล์ทันที ตามคลิปตัวอย่างด้านล่าง...
แผนของ Pat Riley ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งครับ พลพรรคของ Knicks ป้องกัน MJ ในการไดร์ฟเข้าหาห่วงได้เป็นอย่างดี 2 เกมแรกที่เจอกัน MJ ไม่ได้ดังก์เลย แถมยังได้เลย์อัพแค่ 3 ครั้ง ( บ้า... ผู้เล่นอย่าง MJ เนี่ยนะ ได้เลย์อัพแค่ 3 ครั้งใน 2 เกม !!! )
แต่แน่นอน MJ เป็นคนที่ยิงระยะกลาง-ไกลได้ดีมาก Knicks ของบรมกุนซือ Riley ก็เลยไส้แตกไปตามระเบียบ...
สรุป... การเปลี่ยนกฎเพื่ออนุญาตให้ตั้งโซนได้ใน nba ส่งผลต่อรูปแบบการป้องกันของแต่ละทีม และนำลีกไปสู่ยุคสมัยที่ป้องกันเหนียวที่สุดตลอดกาล...
หากแต่การเปลี่ยนแปลงกฎอีกครั้งในปี 2004 นั้นทำให้ การป้องกันโซนใน NBA ไม่ใช่โซนที่แท้จริงอีกต่อไป... มันไม่มีโซนที่ไหนที่จะบังคับให้ผู้เล่นวงในยืนเกาะเส้น paint อยู่ตลอดเวลา หรือห้ามผู้เล่นเกมรับแตะตัวฝ่ายบุกโดยเด็ดขาด ให้สไลด์ขาตามอย่างเดียวแน่ๆ
ถ้าเอายอดผู้เล่นจากยุค 90s ( จริงๆก็ปลายยุคแล้วน่ะนะ ) อย่าง MJ มาเล่นในปัจจุบัน ด้วยการป้องกันแบบโซน MJ คงไม่สามารถโพสต์ใส่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกินแต้มง่ายๆแน่นอน เพราะจะโดนรุมได้ง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ paint ที่เปิดโล่งมากขึ้น ก็เป็นโอกาสที่ทำให้ผู้เล่นที่ว่องไวสูงอย่างเขาสามารถใช้ประโยชน์จากการไดร์ฟเข้าหาห่วงได้มากเช่นกัน...
และในทางกลับกัน หากเอายอดผู้เล่นในยุคนี้อย่าง LBJ ไปเล่นในยุค 90s เขาก็จะไม่สามารถใช้การไดร์ฟหาห่วงอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนในเวลานี้อีกแล้ว เพราะกฎ handcheck จะชะลอความเร็วในการไดร์ฟของเขาลงไปได้เยอะ และเนื่องด้วยการที่ไม่มี 3 second violation พื้นที่ใน paint จึงแน่นขึ้นมาก การไดร์ฟต้องผ่านเซนเตอร์ระดับ 7 ฟุตที่ไปยืนรอล่วงหน้า ลำบากทั้งการวางบอลให้ข้ามบล็อค หรืออาจเสีย offensive foul ได้ง่ายๆ หากโดนสไลด์มาปิดทางก่อน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้า LBJ พัฒนาเกมโพสต์เพลย์ของตัวเองขึ้นมา เขาก็สามารถใช้ประโยชน์จากขนาดร่างกายตัวเองที่เหนือกว่าตัวประกบได้ไม่ยากเลย ยกเว้นฝั่งตรงข้ามจะมีผู้เล่นพิเศษอย่าง Dennis Rodman หรือ Anthony Mason ซึ่งเร็วและแกร่งพอจะประกบ LBJ แบบ 1-1 ได้...
NBA ในปัจจุบันนั้นไม่ใช่ยุคที่มีการป้องกันเหนือกว่ายุค 90s หรือยุคอื่นๆแต่อย่างใด... ยุคของ NBA ที่ป้องกันได้เหนียวแน่นจนขยับกันไม่ได้นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันเป็นเพียง "ความแตกต่าง" ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะใช้ประโยชน์ที่มีการเอื้อให้ผู้เล่นแตกต่างกันเท่านั้น...
ก็ขอจบเพียงเท่านี้นะครับ...