เค้าจะประกาศผลสิ้นเดือนนี้ ก่อนงานมหกรรม TO BE NUMBER ONE ที่เมืองทองธานี 15 -17 ก.ค. ขอเป็นกำลังใจทุกๆคนนะครับ
เผื่อว่าอ่านแล้วจะมีกำลังใจและเห็นอะไรบางอย่างอยู่ในเรียงความนี้
สิ่งดีๆ TO BE NUMBER ONE
เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นเด็กประถมปลาย ชีวิตในวัยนั้นเป็นชีวิตที่เรียกว่า ไปไหนไปตามเพื่อน ไปไหน ไปด้วยกัน เพราะเป็นกลุ่มเพื่อนผู้ชายขนาดใหญ่และอยู่ในชุมชนชนบท สภาพแวดล้อมในชุมชนเต็มไปด้วยอบายมุข ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและการพนัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติภายในชุมชนที่ทุกคนเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตไปแล้ว จึงไม่มีใครห้ามปรามและหามาตรการป้องกัน มันจึงเป็นสาเหตุให้เยาวชนหลายคนต้องติดยาเสพติด คุณภาพชีวิตแย่ลง และต้องออกจากระบบการศึกษา ข้าพเจ้าเองก็เคยถูกชักชวนจากกลุ่มเพื่อนให้ลองดูดบุหรีและดื่มสุรา แต่ครอบครัวข้าพเจ้าไม่มีใครแตะต้องของเหล่านี้เลย มันจึงทำให้ข้าพเจ้าไม่ใคร่ที่จะลองและชอบของเหล่านี้นัก แต่เมื่อถูกคะยั้ยคะยอจากกลุ่มเพื่อน ในที่สุดข้าพเจ้าก็เลยตัดสินใจดูดบุหรี่ตามคำร้องขอ เพื่อลบคำสบประมาทปอดแหก เมื่อลองดูดเข้าไปแล้วข้าพเจ้าก็ไม่ได้เกิดความยินดีแต่อย่างใด หากแต่กลับรู้สึกเฉยๆ จนกระทั่งจะเลื่อนขึ้นชั้นมัธยม แม่จึงส่งข้าพเจ้าเข้าไปศึกษาต่อที่โรงเรียนประจำอำเภอ ในปี ๒๕๔๙ และ ณ ที่แห่งนั้นเอง ข้าพเจ้าได้เรียนรู้โครงการ TO BE NUMBER ONE และได้นำมาขยายในชุมชนตนเอง จนเกิดชมรม TO BE NUMBER ONE ประเภทชุมชน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ
ข้าพเจ้ารู้จักโครงการ TO BE NUMBER ONE มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เพราะเมื่อครั้งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเยี่ยมสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ในจังหวัดหนองบัวลำภู ณ โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ในวันนั้นมีการจัดกิจกรรมมากมาย ทั้งนิทรรศการ ดนตรีและการแสดง แต่ข้าพเจ้าไม่ค่อยรู้เรื่องและรายละเอียดเกี่ยวกับ TO BE NUMBER ONE เท่าที่ควร จึงไม่ค่อยสนใจ จนเมื่อได้มาเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ณ โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ข้าพเจ้าก็ได้รับการชักชวนจากอาจารย์วิลาสินี พลพวก คุณครูที่ปรึกษาชมรม TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียน ให้มาเป็นสมาขิกและเป็นแกนนำเยาวชนเพื่อดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน ในปีเดียวกันนั้นเองข้าพเจ้าได้รับการฝึกฝนการร้องหมอลำและการพูดจากอาจารย์พูลิตา ปานกลาง ให้เป็นหนึ่งในแปดผู้นำเสนอผลงานชมรมระดับประเทศ ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี ในคราวนั้นถึงแม้โรงเรียนจะไม่ได้รับรางวัล แต่ก็ถือเป็นการจุดประกายและสร้างแรงบัลดาลใจให้แก่ข้าพเจ้าที่จะมุ่งมั่นทำงานและเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE ได้เป็นอย่างดี สองปีถัดมา ด้วยความทุ่มเทการทำงานของคุณครูและนักเรียน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับและประจักษ์แก่สายตาผู้คนทั่วไปถึงแนวทางที่ถูกต้องและชัดเจน จึงทำให้ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศในปี ๒๕๕๑
เดิมทีข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ได้ชวนกันไปปรึกษากับผู้นำชุมชนและหลวงพ่อวัดป่าเพื่อจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชนหนองแกที่เป็นบ้านเกิดของพวกเรา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ แล้ว คือเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน มีการเปิดป้ายชมรมอย่างเป็นทางการ โดยได้รับความเมตตาจากท่านนายอำเภอ คือนายประยุตร รัชตะวรรณ มาเปิดชมรมและมอบทุนก่อตั้งจำนวนสองพันบาท ณ วัดป่าหนองแก โดยใช้กุฏีพระเป็นที่ทำการ ตอนนั้นสมาชิกทั้งหมด ๘๐ คน ซึ่งทำกิจกรรมและดำเนินงานควบคู่ไปกับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดป่าหนองแก จากการอุปถัมภ์ของพระอาจารย์สากล สีลสุทโธ เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแก ต่อมาเมื่อสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมีน้อย และเห็นว่าชมรมอยู่ไกลชุมชน และเป็นพื้นที่วัดป่าที่จะต้องใช้ความสงบในการทำกิจกรรมทางศาสนา จึงมีการย้ายชมรมเข้ามาตั้งภายในชุมชน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระครูวิโรจน์ธรรมรักษ์ เจ้าคณะตำบลหนองแก ได้มอบอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเดิม ของวัดศรีอัมพร ที่มีขนาดใหญ่ ด้านหน้ามีลานกว้าง เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรม ปรับปรุงและพัฒนาเป็นอาคารที่ตั้งชมรม ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา
พวกเราเยาวชนคนหนองแก ได้พร้อมใจกันทำงานเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมและนวัตกรรมเพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมอันจะเป็นหนทางที่นำไปสู่การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเต็มที่ ถึงแม้ในปีแรกๆ ของการจัดตั้งชมรมและการดำเนินกิจกรรมจะพบกับอุปสรรคและปัญหาอย่างมากมาย ทั้งการขาดงบประมาณในการทำกิจกรรม และขาดการยอมรับจากพ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชน พวกเราต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก ในการพิสูจน์ตนเอง ข้าพเจ้ายังเคยพูดกับตัวเองในวันที่เหนื่อยล้าและต้องอดทนกับความล้มเหลวในการทำงานว่า “เซาเฮ้ดซะบ้อ คือยากคือเมื่อยแท้ เฮาต้องมาอดทน ลำบากเฮ็ดงานเพื่อไผกัน ทุกคนในชุมชนคือเหมือนกับว่าบ่ต้องการ คิดว่าเฮาเล่นของเฮือนน้อยบ่ คือบ่ให้ความสำคัญเยาวชน เมื่อยแท้ๆ” อย่างใดก็ตามความคิดก็คือความคิด ต่อเมื่อหันหน้ามาเผชิญกับความจริงก็พบว่า เพื่อนๆพี่ๆน้องๆและเยาวชนที่เรารู้จักพวกเขาน่าจะเป็นคนดีได้ เขาควรจะมีโอกาสได้พบกับสิ่งดีๆที่เรียกว่า TO BE NUMBER ONE และได้มีทางเลือกมากกว่าการเข้ากลุ่มไปมั่วสุมยาเสพติด ดังนั้นมันจึงทำให้ข้าพเจ้าเลิกคิดเรื่องความเหนื่อย และนำปัญหาปรึกษากับกลุ่มเพื่อนๆ เพื่อช่วยกันคิดช่วยกันแก้ปัญหาและเป็นกำลังใจแก่กันเรื่อยมาจากกิจกรรมหล่อเหล่าต้นกล้าป่าล้อมเมือง กิจกรรมค่ายคุณธรรมน้อมนำปรัชญา บอกลาอบายมุข กิจกรรมโซ่ไม่มีปลายสายใยคนดี TO BE NUMBER ONE กิจกรรมลอยกระทง การประกวดเทพี TO BE NUMBER ONE การออกร้านขายกระทงดอกไม้สด และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กลุ่มเยาวชนได้คิดค้นและจัดทำขึ้นเอง ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ถึง ๒๕๕๑ ได้เป็นที่ยอมรับของผู้นำและคนในชุมชนโดยทั่วกัน ในปี๒๕๕๑ ชมรมได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ทั้งงบประมาณในการทำกิจกรรม และเปิดเวทีให้มีส่วนร่วมในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยอย่างยิ่งนายรักไทย ศรีคูเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก ที่ได้ให้การสนับสนุนปรับปรุงอาคาร และจัดตั้งงบประมาณให้ชมรมไว้ดำเนินกิจกรรมอีกด้วย การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และกำลังใจอย่างล้นหลาม เป็นพลังให้ข้าพเจ้าและเยาวชนสร้างสรรค์กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งกิจกรรมหนอนผีเสื้อเพื่อฝักหลอก ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชน ค่ายธรรมะ กิจกรรมปู่ย่ามาสอนหลาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกวัย ทั้งเด็กเยาวชน แม่บ้าน และคนสูงอายุ ต่อมาในปี ๒๕๕๒ ชมรมได้เข้าประกวดในระดับประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งการประเมินระดับพื้นที่ ทุกคนในชุมชนได้ร่วมด้วยช่วยกันเป็นอย่างดี วันนั้นเหมือนเป็นวันเอาบุญใหญ่ของชุมชนก็ว่าได้ สถานศึกษาในชุมชนก็มาร่วมด้วยช่วยกันจัดนิทรรศการ กลุ่มแม่บ้านตั้งโรงทาน ฝ่ายสงฆ์นำโดยท่านพระครูวิโรจน์ธรรมรักษ์ ได้นำสวดมนต์ต้อนรับกรรมการที่ทางเข้าหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชนและปราชญ์ชาวบ้านก็ร่วมกันตีกลองยาวต้อนรับและนำกรรมการเข้าสู่ชมรม ส่วนหนึ่งยืนปรบมือร้องเพลง TO BE NUMBER ONE บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและสนุกสนาน นับจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมในวันนั้น ๑ พันกว่าคน แต่เมื่อคนมามากการจัดการก็ย่อมยาก การเตรียมการที่เป็นองค์ประกอบอื่นไม่พร้อมเท่าที่ควร และการจัดนิทรรศการในระดับประเทศที่เมืองทองธานี ก็เกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้การประกวดในปีนั้นเรากลับบ้านมือเปล่า
เหนือสิ่งอื่นใด การทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งที่พวกเราคิด กลับไม่ใช่รางวัล พวกเรากลับบ้าน ก็ยังคงมีปัญหาเพื่อให้ช่วยกันแก้ไขอยู่ เยาวชนที่หลงผิดก็ยังมีอีกมากมาย ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ จึงไม่ค่อยเสียดายนักกับการประกวดในปีแรก เพราะยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ จากนั้นพวกเราก็มุ่งหน้าทำกิจกรรมและได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากชุมชนเช่นเดิม ผลจากการเข้าร่วมประกวด ทำให้การจัดการชมรมมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ทุกอย่างได้ถูกพัฒนาให้เป็นระบบ และจัดสรรหมวดหมู่ตามแนวทาง มีการประเมินกิจกรรม การทำผลลัพท์และการกลับไปแก้ไขจุดด้อย รวมถึงการระดมความคิดและหาแนวทางการทำงาน มีการประชุม การวางกรอบอนาคตอย่างมีแบบแผน ถึงแม้การประกวดจะไม่ใช่หนทางในการทำงานของข้าพเจ้าและเพื่อนๆแต่ทีแรก แต่การประกวดก็ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวัดคุณภาพงานและความสำเร็จได้อย่างดียิ่ง การประกวดทำให้เยาวชนมีเวทีมากยิ่งขึ้น ได้ฝึกฝนประสบการณ์และการทำงาน ปีต่อมาพวกเรากลับเข้าไปประกวดในระดับประเทศอีกครั้ง พร้อมกับผลงานที่เยาวชนทำเพื่อเยาวชน และการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นผลในเชิงประจักษ์ว่าเยาวชนทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ทำให้ปี ๒๕๕๓ ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนหนองแก ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ นำความยินดีและความปลาบปลื้ม มาสู่เยาวชนและคนในชุมชน นับจากวันนั้นถึงวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนๆยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดเช่นเดิม การประกวดทำให้เราเข้มแข็งและเข้มข้นขึ้นทุกปี จนบัดนี้ ในปี ๒๕๕๗ พวกเรายังคงเข้ารับการประกวดเพื่อรักษาต้นแบบจากระดับเงินสู่ระดับทองและจะขึ้นไปสู่ระดับเพชรในปีต่อๆไป
จากเด็กชนบทตัวดำ ไม่กล้าแสดงออกที่ได้รับการปลูกฝังในทางดี และเห็นคุณค่าในชีวิตของตนเอง นำมาซึ่งภาระกิจอันยิ่งใหญ่ในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่บ้านเกิด และประดับไว้ซึ่งรางวัลเกียรติยศผู้เปรียบเสมือนตัวแทนของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ณ ชุมชนหนองแก ในปี ๒๕๕๕ ข้าพเจ้าได้ถูกเสนอชื่อให้เข้ารับพระราชทานรางวัลเกียรติยศ ผู้มีผลงานดีเยี่ยมในการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ประเภทชุมชน ในวาระครบรอบ ๑๐ ปี TO BE NUMBER ONE วินาทีที่ขานชื่อข้าพเจ้านายรัตนะ ธนวัชรสันติ ให้ออกไปนั่งลงเบื้องหน้าของทูลกระหม่อม เพื่อรับพระราชทานรางวัล พลันก็ทำให้หัวใจเอิบอิ่ม เสียงปรบมือและเสียงโห่ร้องดีใจของผู้คนกึกก้องทั่วฮอล ๓ ภาพของวันวานตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ก็บังเกิดขึ้นในความคิดและจิตใจ ใบหน้าของเยาวชนและผู้คนที่ได้ร่วมกันทำงานเคียงข้างกันมาตลอด ก็ลอยมาในมโนจินตภาพ ตอนนั้นใบหน้าข้าพเจ้าเต็มไปด้วยรอยยิ้มและมีความสุขเหลือเกิน ข้าพเจ้านึกถึงเพื่อนๆ เยาวชนและคนในชุมชนตลอดเวลา นั้บตั้งแต่ข้าพเจ้าลุกและไปนั่งคุกเข่าลงเบื้องหน้าของทูลกระหม่อมรอยยิ้มที่ใบหน้าข้าพเจ้าก็ยังไม่หายไป ทันใดที่ยื่นมือออกรับพระราชทานรางวัล ข้าพเจ้าก็น้ำตาซึมและเปล่งเสียงอย่างกึกก้องในหัวใจว่า “รางวัลนี้ข้าพพุทธเจ้าขออุทิศให้กับเยาวชนและคนในชุมชนหนองแกทุกคน”
“ในวันที่ ไม่มีฝัน ฉันนอนหลับ ท้องฟ้าดับ เมฆหม่น จนมัวหมอง
อนาคต คืออะไร ไม่หมายปอง เพลงทำนอง ชีวิต ก็ผิดคีย์
จนวันที่ TO BE NUMBER ONE มาสร้างสรรค์ วันใหม่ ให้สุขี
มอบคำว่า ภูมิคุ้มกัน จึงฝันมี เป็นแสงชี้ วิถีทาง กลางดวงใจ
ด้วยรางวัล เยาวชน เกียรติยศ ที่ปรากฏ บทมาลย์ ผ่านสมัย
พร้อมรางวัล ชนะเลิศ กำเนิดชัย จึงนำฝัน มาไกล กว่าที่มอง
น้อมสำนึก พระเมตตา และการุญ ธ ทรงบุญ ณ หัวใจ ไทยทั้งผอง
ทูลกระหม่อม ฟ้าหญิง มิ่งโพธิ์ทอง ทรงคุ้มครอง เยาวชน พ้นภัยเอย”
นายรัตนะ ธนวัชรสันติ
ประธานชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนหนองแก พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔
เยาวชนผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเกียรติยศผู้นำในชุมชน พ.ศ.๒๕๕๕
เรียงความ สิ่งดีๆ TO BE NUMBER ONE ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนนะครับ
เผื่อว่าอ่านแล้วจะมีกำลังใจและเห็นอะไรบางอย่างอยู่ในเรียงความนี้
สิ่งดีๆ TO BE NUMBER ONE
เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นเด็กประถมปลาย ชีวิตในวัยนั้นเป็นชีวิตที่เรียกว่า ไปไหนไปตามเพื่อน ไปไหน ไปด้วยกัน เพราะเป็นกลุ่มเพื่อนผู้ชายขนาดใหญ่และอยู่ในชุมชนชนบท สภาพแวดล้อมในชุมชนเต็มไปด้วยอบายมุข ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและการพนัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติภายในชุมชนที่ทุกคนเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตไปแล้ว จึงไม่มีใครห้ามปรามและหามาตรการป้องกัน มันจึงเป็นสาเหตุให้เยาวชนหลายคนต้องติดยาเสพติด คุณภาพชีวิตแย่ลง และต้องออกจากระบบการศึกษา ข้าพเจ้าเองก็เคยถูกชักชวนจากกลุ่มเพื่อนให้ลองดูดบุหรีและดื่มสุรา แต่ครอบครัวข้าพเจ้าไม่มีใครแตะต้องของเหล่านี้เลย มันจึงทำให้ข้าพเจ้าไม่ใคร่ที่จะลองและชอบของเหล่านี้นัก แต่เมื่อถูกคะยั้ยคะยอจากกลุ่มเพื่อน ในที่สุดข้าพเจ้าก็เลยตัดสินใจดูดบุหรี่ตามคำร้องขอ เพื่อลบคำสบประมาทปอดแหก เมื่อลองดูดเข้าไปแล้วข้าพเจ้าก็ไม่ได้เกิดความยินดีแต่อย่างใด หากแต่กลับรู้สึกเฉยๆ จนกระทั่งจะเลื่อนขึ้นชั้นมัธยม แม่จึงส่งข้าพเจ้าเข้าไปศึกษาต่อที่โรงเรียนประจำอำเภอ ในปี ๒๕๔๙ และ ณ ที่แห่งนั้นเอง ข้าพเจ้าได้เรียนรู้โครงการ TO BE NUMBER ONE และได้นำมาขยายในชุมชนตนเอง จนเกิดชมรม TO BE NUMBER ONE ประเภทชุมชน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ
ข้าพเจ้ารู้จักโครงการ TO BE NUMBER ONE มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เพราะเมื่อครั้งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเยี่ยมสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ในจังหวัดหนองบัวลำภู ณ โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ในวันนั้นมีการจัดกิจกรรมมากมาย ทั้งนิทรรศการ ดนตรีและการแสดง แต่ข้าพเจ้าไม่ค่อยรู้เรื่องและรายละเอียดเกี่ยวกับ TO BE NUMBER ONE เท่าที่ควร จึงไม่ค่อยสนใจ จนเมื่อได้มาเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ณ โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ข้าพเจ้าก็ได้รับการชักชวนจากอาจารย์วิลาสินี พลพวก คุณครูที่ปรึกษาชมรม TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียน ให้มาเป็นสมาขิกและเป็นแกนนำเยาวชนเพื่อดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน ในปีเดียวกันนั้นเองข้าพเจ้าได้รับการฝึกฝนการร้องหมอลำและการพูดจากอาจารย์พูลิตา ปานกลาง ให้เป็นหนึ่งในแปดผู้นำเสนอผลงานชมรมระดับประเทศ ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี ในคราวนั้นถึงแม้โรงเรียนจะไม่ได้รับรางวัล แต่ก็ถือเป็นการจุดประกายและสร้างแรงบัลดาลใจให้แก่ข้าพเจ้าที่จะมุ่งมั่นทำงานและเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE ได้เป็นอย่างดี สองปีถัดมา ด้วยความทุ่มเทการทำงานของคุณครูและนักเรียน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับและประจักษ์แก่สายตาผู้คนทั่วไปถึงแนวทางที่ถูกต้องและชัดเจน จึงทำให้ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศในปี ๒๕๕๑
เดิมทีข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ได้ชวนกันไปปรึกษากับผู้นำชุมชนและหลวงพ่อวัดป่าเพื่อจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชนหนองแกที่เป็นบ้านเกิดของพวกเรา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ แล้ว คือเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน มีการเปิดป้ายชมรมอย่างเป็นทางการ โดยได้รับความเมตตาจากท่านนายอำเภอ คือนายประยุตร รัชตะวรรณ มาเปิดชมรมและมอบทุนก่อตั้งจำนวนสองพันบาท ณ วัดป่าหนองแก โดยใช้กุฏีพระเป็นที่ทำการ ตอนนั้นสมาชิกทั้งหมด ๘๐ คน ซึ่งทำกิจกรรมและดำเนินงานควบคู่ไปกับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดป่าหนองแก จากการอุปถัมภ์ของพระอาจารย์สากล สีลสุทโธ เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแก ต่อมาเมื่อสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมีน้อย และเห็นว่าชมรมอยู่ไกลชุมชน และเป็นพื้นที่วัดป่าที่จะต้องใช้ความสงบในการทำกิจกรรมทางศาสนา จึงมีการย้ายชมรมเข้ามาตั้งภายในชุมชน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระครูวิโรจน์ธรรมรักษ์ เจ้าคณะตำบลหนองแก ได้มอบอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเดิม ของวัดศรีอัมพร ที่มีขนาดใหญ่ ด้านหน้ามีลานกว้าง เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรม ปรับปรุงและพัฒนาเป็นอาคารที่ตั้งชมรม ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา
พวกเราเยาวชนคนหนองแก ได้พร้อมใจกันทำงานเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมและนวัตกรรมเพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมอันจะเป็นหนทางที่นำไปสู่การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเต็มที่ ถึงแม้ในปีแรกๆ ของการจัดตั้งชมรมและการดำเนินกิจกรรมจะพบกับอุปสรรคและปัญหาอย่างมากมาย ทั้งการขาดงบประมาณในการทำกิจกรรม และขาดการยอมรับจากพ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชน พวกเราต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก ในการพิสูจน์ตนเอง ข้าพเจ้ายังเคยพูดกับตัวเองในวันที่เหนื่อยล้าและต้องอดทนกับความล้มเหลวในการทำงานว่า “เซาเฮ้ดซะบ้อ คือยากคือเมื่อยแท้ เฮาต้องมาอดทน ลำบากเฮ็ดงานเพื่อไผกัน ทุกคนในชุมชนคือเหมือนกับว่าบ่ต้องการ คิดว่าเฮาเล่นของเฮือนน้อยบ่ คือบ่ให้ความสำคัญเยาวชน เมื่อยแท้ๆ” อย่างใดก็ตามความคิดก็คือความคิด ต่อเมื่อหันหน้ามาเผชิญกับความจริงก็พบว่า เพื่อนๆพี่ๆน้องๆและเยาวชนที่เรารู้จักพวกเขาน่าจะเป็นคนดีได้ เขาควรจะมีโอกาสได้พบกับสิ่งดีๆที่เรียกว่า TO BE NUMBER ONE และได้มีทางเลือกมากกว่าการเข้ากลุ่มไปมั่วสุมยาเสพติด ดังนั้นมันจึงทำให้ข้าพเจ้าเลิกคิดเรื่องความเหนื่อย และนำปัญหาปรึกษากับกลุ่มเพื่อนๆ เพื่อช่วยกันคิดช่วยกันแก้ปัญหาและเป็นกำลังใจแก่กันเรื่อยมาจากกิจกรรมหล่อเหล่าต้นกล้าป่าล้อมเมือง กิจกรรมค่ายคุณธรรมน้อมนำปรัชญา บอกลาอบายมุข กิจกรรมโซ่ไม่มีปลายสายใยคนดี TO BE NUMBER ONE กิจกรรมลอยกระทง การประกวดเทพี TO BE NUMBER ONE การออกร้านขายกระทงดอกไม้สด และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กลุ่มเยาวชนได้คิดค้นและจัดทำขึ้นเอง ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ถึง ๒๕๕๑ ได้เป็นที่ยอมรับของผู้นำและคนในชุมชนโดยทั่วกัน ในปี๒๕๕๑ ชมรมได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ทั้งงบประมาณในการทำกิจกรรม และเปิดเวทีให้มีส่วนร่วมในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยอย่างยิ่งนายรักไทย ศรีคูเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก ที่ได้ให้การสนับสนุนปรับปรุงอาคาร และจัดตั้งงบประมาณให้ชมรมไว้ดำเนินกิจกรรมอีกด้วย การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และกำลังใจอย่างล้นหลาม เป็นพลังให้ข้าพเจ้าและเยาวชนสร้างสรรค์กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งกิจกรรมหนอนผีเสื้อเพื่อฝักหลอก ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชน ค่ายธรรมะ กิจกรรมปู่ย่ามาสอนหลาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกวัย ทั้งเด็กเยาวชน แม่บ้าน และคนสูงอายุ ต่อมาในปี ๒๕๕๒ ชมรมได้เข้าประกวดในระดับประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งการประเมินระดับพื้นที่ ทุกคนในชุมชนได้ร่วมด้วยช่วยกันเป็นอย่างดี วันนั้นเหมือนเป็นวันเอาบุญใหญ่ของชุมชนก็ว่าได้ สถานศึกษาในชุมชนก็มาร่วมด้วยช่วยกันจัดนิทรรศการ กลุ่มแม่บ้านตั้งโรงทาน ฝ่ายสงฆ์นำโดยท่านพระครูวิโรจน์ธรรมรักษ์ ได้นำสวดมนต์ต้อนรับกรรมการที่ทางเข้าหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชนและปราชญ์ชาวบ้านก็ร่วมกันตีกลองยาวต้อนรับและนำกรรมการเข้าสู่ชมรม ส่วนหนึ่งยืนปรบมือร้องเพลง TO BE NUMBER ONE บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและสนุกสนาน นับจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมในวันนั้น ๑ พันกว่าคน แต่เมื่อคนมามากการจัดการก็ย่อมยาก การเตรียมการที่เป็นองค์ประกอบอื่นไม่พร้อมเท่าที่ควร และการจัดนิทรรศการในระดับประเทศที่เมืองทองธานี ก็เกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้การประกวดในปีนั้นเรากลับบ้านมือเปล่า
เหนือสิ่งอื่นใด การทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งที่พวกเราคิด กลับไม่ใช่รางวัล พวกเรากลับบ้าน ก็ยังคงมีปัญหาเพื่อให้ช่วยกันแก้ไขอยู่ เยาวชนที่หลงผิดก็ยังมีอีกมากมาย ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ จึงไม่ค่อยเสียดายนักกับการประกวดในปีแรก เพราะยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ จากนั้นพวกเราก็มุ่งหน้าทำกิจกรรมและได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากชุมชนเช่นเดิม ผลจากการเข้าร่วมประกวด ทำให้การจัดการชมรมมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ทุกอย่างได้ถูกพัฒนาให้เป็นระบบ และจัดสรรหมวดหมู่ตามแนวทาง มีการประเมินกิจกรรม การทำผลลัพท์และการกลับไปแก้ไขจุดด้อย รวมถึงการระดมความคิดและหาแนวทางการทำงาน มีการประชุม การวางกรอบอนาคตอย่างมีแบบแผน ถึงแม้การประกวดจะไม่ใช่หนทางในการทำงานของข้าพเจ้าและเพื่อนๆแต่ทีแรก แต่การประกวดก็ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวัดคุณภาพงานและความสำเร็จได้อย่างดียิ่ง การประกวดทำให้เยาวชนมีเวทีมากยิ่งขึ้น ได้ฝึกฝนประสบการณ์และการทำงาน ปีต่อมาพวกเรากลับเข้าไปประกวดในระดับประเทศอีกครั้ง พร้อมกับผลงานที่เยาวชนทำเพื่อเยาวชน และการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นผลในเชิงประจักษ์ว่าเยาวชนทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ทำให้ปี ๒๕๕๓ ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนหนองแก ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ นำความยินดีและความปลาบปลื้ม มาสู่เยาวชนและคนในชุมชน นับจากวันนั้นถึงวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนๆยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดเช่นเดิม การประกวดทำให้เราเข้มแข็งและเข้มข้นขึ้นทุกปี จนบัดนี้ ในปี ๒๕๕๗ พวกเรายังคงเข้ารับการประกวดเพื่อรักษาต้นแบบจากระดับเงินสู่ระดับทองและจะขึ้นไปสู่ระดับเพชรในปีต่อๆไป
จากเด็กชนบทตัวดำ ไม่กล้าแสดงออกที่ได้รับการปลูกฝังในทางดี และเห็นคุณค่าในชีวิตของตนเอง นำมาซึ่งภาระกิจอันยิ่งใหญ่ในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่บ้านเกิด และประดับไว้ซึ่งรางวัลเกียรติยศผู้เปรียบเสมือนตัวแทนของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ณ ชุมชนหนองแก ในปี ๒๕๕๕ ข้าพเจ้าได้ถูกเสนอชื่อให้เข้ารับพระราชทานรางวัลเกียรติยศ ผู้มีผลงานดีเยี่ยมในการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ประเภทชุมชน ในวาระครบรอบ ๑๐ ปี TO BE NUMBER ONE วินาทีที่ขานชื่อข้าพเจ้านายรัตนะ ธนวัชรสันติ ให้ออกไปนั่งลงเบื้องหน้าของทูลกระหม่อม เพื่อรับพระราชทานรางวัล พลันก็ทำให้หัวใจเอิบอิ่ม เสียงปรบมือและเสียงโห่ร้องดีใจของผู้คนกึกก้องทั่วฮอล ๓ ภาพของวันวานตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ก็บังเกิดขึ้นในความคิดและจิตใจ ใบหน้าของเยาวชนและผู้คนที่ได้ร่วมกันทำงานเคียงข้างกันมาตลอด ก็ลอยมาในมโนจินตภาพ ตอนนั้นใบหน้าข้าพเจ้าเต็มไปด้วยรอยยิ้มและมีความสุขเหลือเกิน ข้าพเจ้านึกถึงเพื่อนๆ เยาวชนและคนในชุมชนตลอดเวลา นั้บตั้งแต่ข้าพเจ้าลุกและไปนั่งคุกเข่าลงเบื้องหน้าของทูลกระหม่อมรอยยิ้มที่ใบหน้าข้าพเจ้าก็ยังไม่หายไป ทันใดที่ยื่นมือออกรับพระราชทานรางวัล ข้าพเจ้าก็น้ำตาซึมและเปล่งเสียงอย่างกึกก้องในหัวใจว่า “รางวัลนี้ข้าพพุทธเจ้าขออุทิศให้กับเยาวชนและคนในชุมชนหนองแกทุกคน”
“ในวันที่ ไม่มีฝัน ฉันนอนหลับ ท้องฟ้าดับ เมฆหม่น จนมัวหมอง
อนาคต คืออะไร ไม่หมายปอง เพลงทำนอง ชีวิต ก็ผิดคีย์
จนวันที่ TO BE NUMBER ONE มาสร้างสรรค์ วันใหม่ ให้สุขี
มอบคำว่า ภูมิคุ้มกัน จึงฝันมี เป็นแสงชี้ วิถีทาง กลางดวงใจ
ด้วยรางวัล เยาวชน เกียรติยศ ที่ปรากฏ บทมาลย์ ผ่านสมัย
พร้อมรางวัล ชนะเลิศ กำเนิดชัย จึงนำฝัน มาไกล กว่าที่มอง
น้อมสำนึก พระเมตตา และการุญ ธ ทรงบุญ ณ หัวใจ ไทยทั้งผอง
ทูลกระหม่อม ฟ้าหญิง มิ่งโพธิ์ทอง ทรงคุ้มครอง เยาวชน พ้นภัยเอย”
นายรัตนะ ธนวัชรสันติ
ประธานชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนหนองแก พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔
เยาวชนผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเกียรติยศผู้นำในชุมชน พ.ศ.๒๕๕๕