กระทู้ที่แล้วผมเปิดหัวเรื่องทางปั่นออกกำลังกายรอบสยามสแควร์ไปแล้ว
http://ppantip.com/topic/32242106
วันเดียวกันก็มีเรื่องแผนทำทางจักรยานของกทม.ทั่วกรุงเทพอีก
เลยคันไม้คันมือขออนุญาตแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยแล้วกันนะครับ
จาก link ข้างล่าง
http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/247635/เลือกแล้ว242เส้นทางจักรยานทั่วกรุง
http://hilight.kapook.com/view/104212
สรุปสั้นๆ คือกทม.ให้นโยบาย 50 เขตไป
"หา" เส้นทางที่จะมาขีดเป็นทางจักรยาน เบื้องต้นมี 242 เส้นทาง
โดยจะเป็น
"เส้นทางร่วมกันกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์"
ข้อดีที่ผมสนับสนุนของนโยบายนี้ก็คือ
การเป็น
"เส้นทางร่วมกันกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์" ครับ
ก่อนอื่นผมต้องออกตัวก่อน ว่าผมกำลังพูดถึงเส้นทางที่จะใช้งานจักรยานในชีวิตประจำวันนะครับ
ไม่ใช่เส้นทางสำหรับปั่นออกกำลังกาย
อ้าว แล้วมันต่างกันไง ไอ้ปั่นใช้ในชีวิตประจำวัน กับออกกำลังกายมันต่างกันอย่างไร
มันก็เหมือนขับรถน่ะครับ การขับรถในกทม.มันต้องอาศัยความชำนาญอยู่บ้าง
ไม่ใช่สตาร์ทรถ เข้าเกียร์ D กดคันเร่ง หมุนพวงมาลัยได้จะขับได้หมด
ทักษะการเอาตัวรอดบนถนนต้องมี
ดังนั้นจึงไม่ใช่เส้นทางที่จะให้เด็กเล็กมาปั่นเล่นชิลล์ๆ โดยไม่มีผู้ปกครองดูแล
ความเสี่ยงระดับเดียวกับการขี่มอเตอร์ไซค์นั่นแหละครับ
เพียงแค่เราเลือกเส้นทางที่การจราจรไม่เร็วเกินไป มันก็พอไหว
ถ้าจะเอาจริงจัง ก็ต้องมีการอบรมเยาวชนถึงอันตรายบนท้องถนนด้วย
จะได้ปั่นกันอย่างระวัง ไม่ใช่ปั่นฟิกซ์เกียร์ย้อนศรไม่ใส่หมวกบนถนนใหญ่
(ไม่ได้ว่าฟิกซ์เกียร์นะครับ แต่เด็กนักเรียนนิยมฟิกซ์เกียร์ และอย่างที่ทราบกัน ฟิกซ์เกียร์ต้องใช้ทักษะในการควบคุมสูงกว่าจักรยานมีเบรคปกติ)
link นี้น่าสนใจมากครับ
https://www.facebook.com/photo.php?v=665190043522588
แน่นอน ทางจักรยานที่ดีที่สุด ควรจะใช้ร่วมกับคนเดินถนน ไม่ใช่รถมอเตอร์ไซค์ ใช่มั้ยครับ
ถ้าทำได้แบบมหิดลนี่สุดยอดเลย แต่กทม.ไม่ทำให้เราหรอก เดี๋ยวจะลำบากพี่ๆ เทศกิจเค้า
ตัวอย่างทางจักรยานในฮังการี
ทางจักรยานร่วมกับทางเท้า
https://www.facebook.com/betterroad/photos/a.382183968577267.1073741829.380503395411991/450773481718315/?type=1
ทางจักรยานที่เว้นช่องให้รถจอด
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.382614851867512.1073741830.380503395411991&type=3
กลับมาสู่โลกความเป็นจริง การที่ใช้เส้นทางร่วมกับยานพาหนะอื่นดีอย่างไร
ข้อดีคือ
1. ไปในเส้นทางที่มีอยู่แล้ว เพียงแค่ทำสัญลักษณ์ หรือดัดแปลงนิดหน่อยก็ใช้งานได้
2. ไม่เสียพื้นที่ กรณีไม่มีจักรยานมาใช้ แวะไปดูสภาพทางจักรยานถนนพระอาทิตย์ได้ นี่คือตัวอย่างของการฝืนธรรมชาติ
ภาพในปัจจุบันตาม link ข้างล่าง
https://www.facebook.com/628871140512444/photos/a.629313993801492.1073741827.628871140512444/689389694460588/?type=1
3. เชื่อมต่อเส้นทางปกติได้เลย
แต่ปัญหาของข้อมูลข้างต้นคือให้แต่ละเขตไปหาเส้นทางมา
สรุปว่ากทม.จะทำเส้นทางจักรยานเป็นหย่อมๆ
เอาไว้ปั่นไปซื้อกับข้าว กับซื้อของ 7-eleven ปากซอยเท่านั้นเหรอครับ
คนที่คิดจะปั่นไปทำงาน หรือใช้แทนรถยนต์ยาวๆ 15-20 กิโล จะทำไงอ่ะ
เพราะเส้นทางมันไม่เชื่อมถึงกัน
รถไฟฟ้าเดี๋ยวนี้วิ่งยาวๆ มี 40-50 บาทต่อเที่ยวนะครับ
ต่อให้ใช้ตั๋วเดือนก็ต้องมี 25-35
ถ้าใช้จักรยานทดแทน ก็จะประหยัดได้ 60-100 บาท
ยิ่งต้องต่อมอไซค์รับจ้างออกมาจากซอยอีก ก็ประหยัดไปอีก 20-40 บาทต่อวัน
คิดเป็นเดือนละ 2,000 - 4,000 บาทเลยนะครับ
ถ้าเอาเงินที่ประหยัดได้มาถอยจักรยานดีๆ ราคา 15,000 - 20,000 บาท ซึ่งผมคิดว่าเกินพอ สำหรับปั่นใช้งานแล้ว
หมายถึงว่าปั่นจักรยานไม่ถึงปีก็ได้จักรยานฟรีแล้ว
ไม่นับสุขภาพที่ดีขึ้น เวลาที่ได้กลับคืนมา
ขอแค่เลือกเส้นทางให้ดี และมีสติขณะปั่น
เพราะการเลือกเส้นทางจักรยาน ไม่เหมือนกับรถยนต์
และถนนกทม.มันห่วยมาก สามารถทำให้คุณล้มได้ตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้ากทม.มีนโยบายที่จะให้เป็นเมืองจักรยานจริงๆ
การดำเนินการก็ควรจะเป็นการตั้งเป้าที่หมายที่จะเชื่อมโยงเส้นทาง
เพื่อทดแทนการใช้รถยนต์ได้อย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะเป็นปั่นจากบ้านไปถึงทีทำงาน
ปั่นจากบ้านต่อรถไฟฟ้าแล้วปั่นต่อ
หรือปั่นจากบ้านมาต่อรถสาธารณะ (โอเค กรณีนี้ที่จอดจะเป็นประเด็นอีก ไว้ขยายต่อกระทู้หน้า)
ซึ่งแต่ละอย่างที่ว่าก็จะมีแนวทางที่แตกต่างกัน
ถ้าเป็นอย่างแรก เราต้องการผลักดันให้กทม.เป็นเมืองที่ใช้จักรยานเป็นปกติ ทดแทนการใช้รถได้จริง
กทม.ต้องขีดเส้นเลยครับ ว่าจะเชื่อมโยงเส้นทางจากชุมชนแต่ละพื้นที่เข้าใจกลางเมือง หรือระหว่างกันได้อย่างไร
ใช้เส้นทางที่มีอยู่ได้เลย ต้องปรับปรุง หรือต้องสร้างเพิ่มเติม
คนจากกทม.ทางเหนือจะเข้าเมืองอย่างไร
ใช้เส้นใดเป็นหลัก ประชาชื่นมั้ย หรือกั้นพื้นที่ local road ให้
จากตะวันออกเอาไง เลียบคลองแสนแสบมั้ย ตรงไหนทางเลียบคลองขาด ก็ทำซะให้เสร็จ
เส้นทางที่ต้องยกรถบ่อยๆ ก็ทำทางลาดให้
ตรงไหนเปลียวก็ติดไฟซะ ติดกล้องวงจรปิด อ้อ ต่อสายด้วยนะครับ อย่าลืม อิอิ
ทางเลียบคลองแสนแสบขนานถนนสุขาภิบาล 3 (วัดศรีบุญเรือง)
ฝั่งธนบุรีจะข้ามมายังไง สะพานไหนชันไป มีอะไรช่วยได้บ้าง
หรือจะใช้ท่าเรือเชื่อมโยง
เส้นทางลัดเลาะในส่วนที่เป็นชุมชนที่ใช้ได้ในช่วงกลางวัน
ถ้าเกิดกลับดึกแล้วเปลี่ยวเกิน จะมีเส้นไหนสำรองได้บ้าง
ทางเลียบคลองแสนแสบขนานถนนพระรามที่ 1
บางนาเข้าเมือง มีเส้นเลาะเจ้าพระยามั้ย ข้ามมาราษฎร์บูรณะก่อนแล้วค่อยกลับมาเจริญกรุง หรือยิงยาวพระราม 4 ยิงยาวสุขุมวิท
กรณีนี้จะให้วิ่งบนฟุตบาท หรือบนถนนเพราะซอยเชื่อมกันได้ไม่สุด แถมรถก็ขับกันเร็วเหลือเกิน
แล้วก็ปัญหาโลกแตกของการปั่นจักรยานในเมือง
นั่นก็คือ ถึงแยกไฟแดง จะเลี้ยวขวายังไง จะกลับรถ หรือข้ามไปฝั่งตรงข้ามยังไง
ตัวอย่างการ design ทางจักรยานที่ช่วยให้เลี้ยวขวา (ซ้ายสำหรับการจราจรชิดขวา) ได้อย่างปลอดภัย
http://wrd.cm/UfOUbH
นโยบายเหล่านี้ต่างหาก ที่ผมเชื่อว่านักปั่นที่ใช้จักรยานปั่นมาทำงาน ปั่นมาทำธุระ อยากได้ยินจากกทม.
ประเด็นเหล่านี้ต่างหาก ที่เราอยากมาถกเถียง เสนอแนะ และหาข้อสรุป
ไม่ใช่จะทาสีตรงไหนดี ให้เรียกได้ว่ามีทางจักรยาน แต่ท่อ หลุม บ่อ ยังอยู่ครบ
ถ้ากทม.จะทำแค่นี้
ผมว่าระดมอาสาสมัครกันอีกซักรอบ
สำรวจเส้นทางทำทางลัดจักรยานกันเอง
update จาก Bangkok Bike Map ของมูลนิธิโลกสีเขียว
แล้วยัดลง app Nostra แบบเมื่อ 2 ปีก่อนก็ได้
www.greenworld.or.th/bikemap/2171
อย่าไปรอภาครัฐเลยครับ
เอ๊ะ งั้นเราจะมีกทม.ไว้ทำไมหว่า
ข้อเสนอทางจักรยานจากผู้ใช้งานในชีวิตประจำวัน
http://ppantip.com/topic/32242106
วันเดียวกันก็มีเรื่องแผนทำทางจักรยานของกทม.ทั่วกรุงเทพอีก
เลยคันไม้คันมือขออนุญาตแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยแล้วกันนะครับ
จาก link ข้างล่าง
http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/247635/เลือกแล้ว242เส้นทางจักรยานทั่วกรุง
http://hilight.kapook.com/view/104212
สรุปสั้นๆ คือกทม.ให้นโยบาย 50 เขตไป "หา" เส้นทางที่จะมาขีดเป็นทางจักรยาน เบื้องต้นมี 242 เส้นทาง
โดยจะเป็น "เส้นทางร่วมกันกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์"
ข้อดีที่ผมสนับสนุนของนโยบายนี้ก็คือ
การเป็น "เส้นทางร่วมกันกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์" ครับ
ก่อนอื่นผมต้องออกตัวก่อน ว่าผมกำลังพูดถึงเส้นทางที่จะใช้งานจักรยานในชีวิตประจำวันนะครับ
ไม่ใช่เส้นทางสำหรับปั่นออกกำลังกาย
อ้าว แล้วมันต่างกันไง ไอ้ปั่นใช้ในชีวิตประจำวัน กับออกกำลังกายมันต่างกันอย่างไร
มันก็เหมือนขับรถน่ะครับ การขับรถในกทม.มันต้องอาศัยความชำนาญอยู่บ้าง
ไม่ใช่สตาร์ทรถ เข้าเกียร์ D กดคันเร่ง หมุนพวงมาลัยได้จะขับได้หมด
ทักษะการเอาตัวรอดบนถนนต้องมี
ดังนั้นจึงไม่ใช่เส้นทางที่จะให้เด็กเล็กมาปั่นเล่นชิลล์ๆ โดยไม่มีผู้ปกครองดูแล
ความเสี่ยงระดับเดียวกับการขี่มอเตอร์ไซค์นั่นแหละครับ
เพียงแค่เราเลือกเส้นทางที่การจราจรไม่เร็วเกินไป มันก็พอไหว
ถ้าจะเอาจริงจัง ก็ต้องมีการอบรมเยาวชนถึงอันตรายบนท้องถนนด้วย
จะได้ปั่นกันอย่างระวัง ไม่ใช่ปั่นฟิกซ์เกียร์ย้อนศรไม่ใส่หมวกบนถนนใหญ่
(ไม่ได้ว่าฟิกซ์เกียร์นะครับ แต่เด็กนักเรียนนิยมฟิกซ์เกียร์ และอย่างที่ทราบกัน ฟิกซ์เกียร์ต้องใช้ทักษะในการควบคุมสูงกว่าจักรยานมีเบรคปกติ)
link นี้น่าสนใจมากครับ
https://www.facebook.com/photo.php?v=665190043522588
แน่นอน ทางจักรยานที่ดีที่สุด ควรจะใช้ร่วมกับคนเดินถนน ไม่ใช่รถมอเตอร์ไซค์ ใช่มั้ยครับ
ถ้าทำได้แบบมหิดลนี่สุดยอดเลย แต่กทม.ไม่ทำให้เราหรอก เดี๋ยวจะลำบากพี่ๆ เทศกิจเค้า
ตัวอย่างทางจักรยานในฮังการี
ทางจักรยานร่วมกับทางเท้า
https://www.facebook.com/betterroad/photos/a.382183968577267.1073741829.380503395411991/450773481718315/?type=1
ทางจักรยานที่เว้นช่องให้รถจอด
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.382614851867512.1073741830.380503395411991&type=3
กลับมาสู่โลกความเป็นจริง การที่ใช้เส้นทางร่วมกับยานพาหนะอื่นดีอย่างไร
ข้อดีคือ
1. ไปในเส้นทางที่มีอยู่แล้ว เพียงแค่ทำสัญลักษณ์ หรือดัดแปลงนิดหน่อยก็ใช้งานได้
2. ไม่เสียพื้นที่ กรณีไม่มีจักรยานมาใช้ แวะไปดูสภาพทางจักรยานถนนพระอาทิตย์ได้ นี่คือตัวอย่างของการฝืนธรรมชาติ
ภาพในปัจจุบันตาม link ข้างล่าง
https://www.facebook.com/628871140512444/photos/a.629313993801492.1073741827.628871140512444/689389694460588/?type=1
3. เชื่อมต่อเส้นทางปกติได้เลย
แต่ปัญหาของข้อมูลข้างต้นคือให้แต่ละเขตไปหาเส้นทางมา
สรุปว่ากทม.จะทำเส้นทางจักรยานเป็นหย่อมๆ
เอาไว้ปั่นไปซื้อกับข้าว กับซื้อของ 7-eleven ปากซอยเท่านั้นเหรอครับ
คนที่คิดจะปั่นไปทำงาน หรือใช้แทนรถยนต์ยาวๆ 15-20 กิโล จะทำไงอ่ะ
เพราะเส้นทางมันไม่เชื่อมถึงกัน
รถไฟฟ้าเดี๋ยวนี้วิ่งยาวๆ มี 40-50 บาทต่อเที่ยวนะครับ
ต่อให้ใช้ตั๋วเดือนก็ต้องมี 25-35
ถ้าใช้จักรยานทดแทน ก็จะประหยัดได้ 60-100 บาท
ยิ่งต้องต่อมอไซค์รับจ้างออกมาจากซอยอีก ก็ประหยัดไปอีก 20-40 บาทต่อวัน
คิดเป็นเดือนละ 2,000 - 4,000 บาทเลยนะครับ
ถ้าเอาเงินที่ประหยัดได้มาถอยจักรยานดีๆ ราคา 15,000 - 20,000 บาท ซึ่งผมคิดว่าเกินพอ สำหรับปั่นใช้งานแล้ว
หมายถึงว่าปั่นจักรยานไม่ถึงปีก็ได้จักรยานฟรีแล้ว
ไม่นับสุขภาพที่ดีขึ้น เวลาที่ได้กลับคืนมา
ขอแค่เลือกเส้นทางให้ดี และมีสติขณะปั่น
เพราะการเลือกเส้นทางจักรยาน ไม่เหมือนกับรถยนต์
และถนนกทม.มันห่วยมาก สามารถทำให้คุณล้มได้ตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้ากทม.มีนโยบายที่จะให้เป็นเมืองจักรยานจริงๆ
การดำเนินการก็ควรจะเป็นการตั้งเป้าที่หมายที่จะเชื่อมโยงเส้นทาง
เพื่อทดแทนการใช้รถยนต์ได้อย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะเป็นปั่นจากบ้านไปถึงทีทำงาน
ปั่นจากบ้านต่อรถไฟฟ้าแล้วปั่นต่อ
หรือปั่นจากบ้านมาต่อรถสาธารณะ (โอเค กรณีนี้ที่จอดจะเป็นประเด็นอีก ไว้ขยายต่อกระทู้หน้า)
ซึ่งแต่ละอย่างที่ว่าก็จะมีแนวทางที่แตกต่างกัน
ถ้าเป็นอย่างแรก เราต้องการผลักดันให้กทม.เป็นเมืองที่ใช้จักรยานเป็นปกติ ทดแทนการใช้รถได้จริง
กทม.ต้องขีดเส้นเลยครับ ว่าจะเชื่อมโยงเส้นทางจากชุมชนแต่ละพื้นที่เข้าใจกลางเมือง หรือระหว่างกันได้อย่างไร
ใช้เส้นทางที่มีอยู่ได้เลย ต้องปรับปรุง หรือต้องสร้างเพิ่มเติม
คนจากกทม.ทางเหนือจะเข้าเมืองอย่างไร
ใช้เส้นใดเป็นหลัก ประชาชื่นมั้ย หรือกั้นพื้นที่ local road ให้
จากตะวันออกเอาไง เลียบคลองแสนแสบมั้ย ตรงไหนทางเลียบคลองขาด ก็ทำซะให้เสร็จ
เส้นทางที่ต้องยกรถบ่อยๆ ก็ทำทางลาดให้
ตรงไหนเปลียวก็ติดไฟซะ ติดกล้องวงจรปิด อ้อ ต่อสายด้วยนะครับ อย่าลืม อิอิ
ทางเลียบคลองแสนแสบขนานถนนสุขาภิบาล 3 (วัดศรีบุญเรือง)
ฝั่งธนบุรีจะข้ามมายังไง สะพานไหนชันไป มีอะไรช่วยได้บ้าง
หรือจะใช้ท่าเรือเชื่อมโยง
เส้นทางลัดเลาะในส่วนที่เป็นชุมชนที่ใช้ได้ในช่วงกลางวัน
ถ้าเกิดกลับดึกแล้วเปลี่ยวเกิน จะมีเส้นไหนสำรองได้บ้าง
ทางเลียบคลองแสนแสบขนานถนนพระรามที่ 1
บางนาเข้าเมือง มีเส้นเลาะเจ้าพระยามั้ย ข้ามมาราษฎร์บูรณะก่อนแล้วค่อยกลับมาเจริญกรุง หรือยิงยาวพระราม 4 ยิงยาวสุขุมวิท
กรณีนี้จะให้วิ่งบนฟุตบาท หรือบนถนนเพราะซอยเชื่อมกันได้ไม่สุด แถมรถก็ขับกันเร็วเหลือเกิน
แล้วก็ปัญหาโลกแตกของการปั่นจักรยานในเมือง
นั่นก็คือ ถึงแยกไฟแดง จะเลี้ยวขวายังไง จะกลับรถ หรือข้ามไปฝั่งตรงข้ามยังไง
ตัวอย่างการ design ทางจักรยานที่ช่วยให้เลี้ยวขวา (ซ้ายสำหรับการจราจรชิดขวา) ได้อย่างปลอดภัย
http://wrd.cm/UfOUbH
นโยบายเหล่านี้ต่างหาก ที่ผมเชื่อว่านักปั่นที่ใช้จักรยานปั่นมาทำงาน ปั่นมาทำธุระ อยากได้ยินจากกทม.
ประเด็นเหล่านี้ต่างหาก ที่เราอยากมาถกเถียง เสนอแนะ และหาข้อสรุป
ไม่ใช่จะทาสีตรงไหนดี ให้เรียกได้ว่ามีทางจักรยาน แต่ท่อ หลุม บ่อ ยังอยู่ครบ
ถ้ากทม.จะทำแค่นี้
ผมว่าระดมอาสาสมัครกันอีกซักรอบ
สำรวจเส้นทางทำทางลัดจักรยานกันเอง
update จาก Bangkok Bike Map ของมูลนิธิโลกสีเขียว
แล้วยัดลง app Nostra แบบเมื่อ 2 ปีก่อนก็ได้
www.greenworld.or.th/bikemap/2171
อย่าไปรอภาครัฐเลยครับ
เอ๊ะ งั้นเราจะมีกทม.ไว้ทำไมหว่า