สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ขออนุญาตยกประวัติศาสตร์มาตอบในเรื่องนี้นะครับ
แบบเย็นๆ สบายใจกัน
จขกท.บอกว่า
ด้วยบทเพลงที่ไพเราะ
ภาษาคัมภีร์ที่สื่อความหมายได้ง่ายกว่าศาสนาอื่นๆ ความอบอุ่นในโบสถ์
และความเรียบง่ายจากพิธีรีตรอง แต่คงไว้ซึ่งความเรียบร้อย
การเข้าถึงพระเจ้าได้ทุกแห่งหน และคำพยานมากมาย
แต่คนไทยก็ยังปฏิเสธพระเจ้า หรือ ไม่ได้รับเชื่อ ไม่ได้ทิ้งความเชื่อเดิมๆ
คำตอบที่ชัดเจน แบบโลกไม่สวย มีแต่ความจริงล้วนๆ
ต้องย้อนประวัติศาสตร์ไป เมื่อตอนที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในสยามใหม่ๆ
ฟอลคอน อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
เพื่อชักชวนพระนารายณ์เข้ารีต สมเด็จพระนารายณ์ตรัสตอบอมตะวาจาไว้ว่า
"การที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีความแตกต่างหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนานั้น
นั่นย่อมแสดงว่าพระองค์ไม่ต้องการให้โลกมีเพียงศาสนาเดียว!"
แต่นั้นมา การเผยแผ่คริสต์ศาสนาในสยามในอดีตและในประไทยไทยในปัจจุบัน
ไม่ค่อยจะได้ผล แม้ไม่มีการกีดกัน แต่ประชาชนสยามก็ยังไม่สมัครใจจะเปลี่ยนศาสนาอยู่นั่นเอง
บาทหลวงตาร์ชาร์ดถึงกับบันทึกยอมรับความล้มเหลวในการเผยแผ่อย่างตรงๆว่า
" ความจริงนั้นก็มิได้รับความร่วมมือจากประชาชนพลเมืองมากมายนักดอก
เพราะว่าคนสยามนั้นยังมิได้เข้ารีตคริสตัง
มีแต่ชาวฝรั่งเศสกับชาวปอร์ตุเกสที่อยู่ในเมืองละโว้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น"
ทั้งนี้เพราะวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
ที่จขกท.บอกว่า
ในขณะที่งานแพร่ธรรมของพุทธศาสนา
เน้นแต่การซื้อขายวัตถุมงคล บูชารูปเคารพ งมงายในสิ่งต่างๆ แบบไร้ปัญญาและหลักธรรม
มีส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับพุทธทั้งหมด ที่จะเข้าถึงการเจริญสมถะที่แท้จริง และน้อยกว่านั้นคือ ที่จะเข้าถึงการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง
.......ที่จริงก็แค่ยกมือไหว้แสดงความเคารพ อีกขั้นก็ใส่บาตรทำบุญ มาตันแค่จุดนี้จริงๆ
แต่ความจริง ส่วนใหญ่ของชาวพุทธ
โดยเฉพาะพระภิกษุ ที่ยังคงมีจริยาวัตรที่งดงาม ยังมีอยู่
ในอดีต ดังบันทึกของบาทหลวงฟอร์บัง (น.24-56) ที่ว่า
"จรรยาวัตรของพระภิกษุสงฆ์" ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น สองหัวข้อดังนี้
1. จรรยาวัตรเกี่ยวกับการบริโภค กล่าวคือ "ไม่เสพสุราเมรัยฉันแต่ของที่คนใจบุญถวายไปวัน ๆ ของที่ได้มากเกินกว่าความจำเป็น ก็มอบให้คนจนไม่เก็บไว้สำหรับวันรุ่งขึ้นเลย" และสำหรับอาการที่ภิกขาจารก็สำรวม "เพียงแต่ถือบาตรไปยืนนิ่งๆ " (ฟอร์บัง, 2513:24 5-6) ยิ่งกว่านั้นยัง "ทรมานอดอาหาร" อีกด้วย
2. จรรยาวัตรเกี่ยวกับการสังคม คือพระภิกษุไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ข้องในอิสตรี จริงเป็นผู้ "สงบกามารมณ์" ทั้งยังคำนึงถึงที่อันควรโคจรด้วย จึงไม่ปรากฏว่าพระภิกษุเดินท่องเที่ยวไปไหน จะเห็นก็แต่เวลาออกบิณฑบาตทั้งฟอร์บังและบาทหลวงตาชาร์ดเอง ยอมรับว่า
ความเคร่งครัดน่าเลื่อมใส่ยิ่งกว่า ผู้ที่ถือว่าเคร่งในคริสตศาสนาเสียอีก " พระภิกษุสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว สังเกตดูภายนอกก็เห็นจะประพฤติดีกว่าผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าของเรามาก (ฟอร์บัง, 2513:24 )
หรืออีกบันทึกหนึ่ง คือบันทึกของบาทหลงตาชาร์ดเมื่อคราวเรือแตกที่จันทบุรี
ได้ไปอาศัยค้างคืนอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ได้เห็พระภิกษุ 3 รูปเข้าไปสวดมนต์ทำวัตรเช้าเข้าโบสถ์
ใจหนึ่งก็มีอคติรังเกียจว่าเป็นเรื่องนอกศาสนาของตน อีกใจหนึ่งกลับรู้สึกประทับใจ
"ข้าพเจ้ายอมรับสารภาพว่า ตัวอย่างของบุคคลที่น่าสงสารเหล่านี้ ก่อให้เกิดความประทับใจเสียยิ่งกว่าธรรมเทศนาและหนังสือธรรมะใด ๆ ซึ่งเราต้องใช้ความอ่อนน้อมในการประพฤติปฏิบัติต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าประเสริฐ ไม่ว่าเราจะอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระองค์ในโบสถ์หรือกล่าวขวัญถึงพระองค์ในขณะสวดอ้อนวอนอยู่ก็ตาม เราได้เห็นชาวยุโรปน้อยคนนักที่แสดงอาการสงบเสงี่ยมถึงขนาดนี้และอยู่ในอิริยาบถเดียวเป็นเวลาช้านานในการสวดมนต์"ตาชาร์ด เล่ม 2 , 2519:93-4)
ท่านอัครราชทูตลาลูแบร์ ก็เขียนบันทึกเล่านิสัยคนไทย ว่า
"ชาวสยามผู้ใดมั่งมีพอแล้วก็ไม่เว้นที่จะสร้างพระอุโบสถและฝังทรัพย์สมบัติอันมีค่าบรรดาที่เหลือใช้เหลือสอยไว้" (ลาบูแบร์ เล่ม 1,2510:553) ความจริงคนไทยก็มิใช่คนร่ำรวยเท่าใดนัก เพราะทำกสิกรรม และถึงจะค้าขายก็พอประมาณ แต่ไม่ว่าจะมีเงินทองของมีค่าอย่างไรขึ้น ก็ภูมิใจอุทิศถวายต่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น เรียกว่า เห็นพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งระลึกอย่างเดียว ไม่ได้สุรุ่ยสุร่ายจ่ายแจกไปในเรื่องไร้สาระ
บาทหลวงตาชาร์ด อดแสดงความทึ่งไม่ได้ เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปทองคำที่มีราคาสูงยิ่ง
" เราไม่เข้าใจเลยว่าประชาชนพลเมืองที่ค่อนข้างยากจนเหล่านี้ไปได้ทองคำมาจากไหนมากมายถึงขนาดนี้ และก็ไม่สามารถหักห้ามมิให้รู้สึกประทับใจได้เลยเมื่อได้เห็นพระพุทธรูป ซึ่งเพียงองค์เดียวเท่านั้นก็มีมูลค่ากว่าตู้ศักดิ์สิทธิ์ ( Tabernacie ) ทุกแห่งในโบสถ์ฝรั่งทั้งหลายของทวีบยุโรปรวมกัน พระพุทธรูปล้วนเป็นทองคำและประดับอัญมณี" (ตาชาร์ด เล่ม 1, 2517:61)
ฟอร์บังตั้งข้อสังเกตว่า " คนไทยเป็นคนว่านอนสอนง่ายเพราะฉะนั้นจะสั่งให้ทำอะไรก็ทำตามความต้องการ" ยกตัวอย่างเช่นว่า เมื่อ บาทหลวงมาแสดงธรรมคนไทยก็ไม่ขัด และดูจะให้ความสนใจดีโดยตลอด " เมื่อผู้สั่งสอนศาสนาเราแสดงคริสต์ธรรม คนไทยซึ่งเป็นคนว่านอนสอนง่ายนั่งฟังธรรมปริยายนั้นเหมือนฟังคนเล่านิทานให้เด็กฟัง ความพอใจฟังของเขานั้นไม่ว่าจะสอนศาสนาใดก็ชอบฟังเท่านั้น" นิสัยโอนอ่อนผ่อนปรนทำนองนี้ ยังมีปรากฏในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กาลลัวซ์ เมื่อเขียนถึงคนไทยช่วงที่บาทหลวง ปาลเลอกัวส์ มาเผยแพร่ศาสนา ก็ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นกันว่า คนไทยนั้น " ไม่รังเกียจต่อการปฏิบัติในศาสนาของชาติต่างด้าว แต่ก็มีศรัทธาในศาสนา ประจำชาติของตนอยู่เหนือสิ่งอื่นใด"
สรุป
ผมว่า เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์แล้ว
ย่อมพบเห็นคำตอบที่ยังไม่ชัดในปัจจุบัน ชัดขึ้น
แม้ปัจจุบันนี้ พฤติกรรมบางอย่างอาจจะเปลี่ยนไปบ้างตามสถานการณ์
แต่หัวใจและข้อเท็จจริง ยังคงมีอยู่ในร่องรอยของอดีตนั่นเอง
มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ตอบบาทหลวงคนหนึ่งที่มาเผยแผ่ศาสนา
ท่านตอบไว้สั้นๆ แต่ลึกและกินใจว่า
" เมื่ออาตมภาพเห็นว่าศาสนาของท่านเป็นศาสนาที่ดี
เหตุไรท่านจึงไม่เห็นว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดีบ้างเล่า"
ความจริงคำตอบนี้ น่าจะเป็นคำตอบที่คลาสสิค
และประกอบด้วยเมตตาธรรมต่อกันของทุกศาสนา
แต่ทำไม กลับยังมีเรื่องยกตนข่มท่าน
อวดดีอวดเก่งอยู่เฉพาะศาสนาตน ฝ่ายเดียว...
แบบเย็นๆ สบายใจกัน
จขกท.บอกว่า
ด้วยบทเพลงที่ไพเราะ
ภาษาคัมภีร์ที่สื่อความหมายได้ง่ายกว่าศาสนาอื่นๆ ความอบอุ่นในโบสถ์
และความเรียบง่ายจากพิธีรีตรอง แต่คงไว้ซึ่งความเรียบร้อย
การเข้าถึงพระเจ้าได้ทุกแห่งหน และคำพยานมากมาย
แต่คนไทยก็ยังปฏิเสธพระเจ้า หรือ ไม่ได้รับเชื่อ ไม่ได้ทิ้งความเชื่อเดิมๆ
คำตอบที่ชัดเจน แบบโลกไม่สวย มีแต่ความจริงล้วนๆ
ต้องย้อนประวัติศาสตร์ไป เมื่อตอนที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในสยามใหม่ๆ
ฟอลคอน อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
เพื่อชักชวนพระนารายณ์เข้ารีต สมเด็จพระนารายณ์ตรัสตอบอมตะวาจาไว้ว่า
"การที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีความแตกต่างหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนานั้น
นั่นย่อมแสดงว่าพระองค์ไม่ต้องการให้โลกมีเพียงศาสนาเดียว!"
แต่นั้นมา การเผยแผ่คริสต์ศาสนาในสยามในอดีตและในประไทยไทยในปัจจุบัน
ไม่ค่อยจะได้ผล แม้ไม่มีการกีดกัน แต่ประชาชนสยามก็ยังไม่สมัครใจจะเปลี่ยนศาสนาอยู่นั่นเอง
บาทหลวงตาร์ชาร์ดถึงกับบันทึกยอมรับความล้มเหลวในการเผยแผ่อย่างตรงๆว่า
" ความจริงนั้นก็มิได้รับความร่วมมือจากประชาชนพลเมืองมากมายนักดอก
เพราะว่าคนสยามนั้นยังมิได้เข้ารีตคริสตัง
มีแต่ชาวฝรั่งเศสกับชาวปอร์ตุเกสที่อยู่ในเมืองละโว้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น"
ทั้งนี้เพราะวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
ที่จขกท.บอกว่า
ในขณะที่งานแพร่ธรรมของพุทธศาสนา
เน้นแต่การซื้อขายวัตถุมงคล บูชารูปเคารพ งมงายในสิ่งต่างๆ แบบไร้ปัญญาและหลักธรรม
มีส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับพุทธทั้งหมด ที่จะเข้าถึงการเจริญสมถะที่แท้จริง และน้อยกว่านั้นคือ ที่จะเข้าถึงการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง
.......ที่จริงก็แค่ยกมือไหว้แสดงความเคารพ อีกขั้นก็ใส่บาตรทำบุญ มาตันแค่จุดนี้จริงๆ
แต่ความจริง ส่วนใหญ่ของชาวพุทธ
โดยเฉพาะพระภิกษุ ที่ยังคงมีจริยาวัตรที่งดงาม ยังมีอยู่
ในอดีต ดังบันทึกของบาทหลวงฟอร์บัง (น.24-56) ที่ว่า
"จรรยาวัตรของพระภิกษุสงฆ์" ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น สองหัวข้อดังนี้
1. จรรยาวัตรเกี่ยวกับการบริโภค กล่าวคือ "ไม่เสพสุราเมรัยฉันแต่ของที่คนใจบุญถวายไปวัน ๆ ของที่ได้มากเกินกว่าความจำเป็น ก็มอบให้คนจนไม่เก็บไว้สำหรับวันรุ่งขึ้นเลย" และสำหรับอาการที่ภิกขาจารก็สำรวม "เพียงแต่ถือบาตรไปยืนนิ่งๆ " (ฟอร์บัง, 2513:24 5-6) ยิ่งกว่านั้นยัง "ทรมานอดอาหาร" อีกด้วย
2. จรรยาวัตรเกี่ยวกับการสังคม คือพระภิกษุไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ข้องในอิสตรี จริงเป็นผู้ "สงบกามารมณ์" ทั้งยังคำนึงถึงที่อันควรโคจรด้วย จึงไม่ปรากฏว่าพระภิกษุเดินท่องเที่ยวไปไหน จะเห็นก็แต่เวลาออกบิณฑบาตทั้งฟอร์บังและบาทหลวงตาชาร์ดเอง ยอมรับว่า
ความเคร่งครัดน่าเลื่อมใส่ยิ่งกว่า ผู้ที่ถือว่าเคร่งในคริสตศาสนาเสียอีก " พระภิกษุสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว สังเกตดูภายนอกก็เห็นจะประพฤติดีกว่าผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าของเรามาก (ฟอร์บัง, 2513:24 )
หรืออีกบันทึกหนึ่ง คือบันทึกของบาทหลงตาชาร์ดเมื่อคราวเรือแตกที่จันทบุรี
ได้ไปอาศัยค้างคืนอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ได้เห็พระภิกษุ 3 รูปเข้าไปสวดมนต์ทำวัตรเช้าเข้าโบสถ์
ใจหนึ่งก็มีอคติรังเกียจว่าเป็นเรื่องนอกศาสนาของตน อีกใจหนึ่งกลับรู้สึกประทับใจ
"ข้าพเจ้ายอมรับสารภาพว่า ตัวอย่างของบุคคลที่น่าสงสารเหล่านี้ ก่อให้เกิดความประทับใจเสียยิ่งกว่าธรรมเทศนาและหนังสือธรรมะใด ๆ ซึ่งเราต้องใช้ความอ่อนน้อมในการประพฤติปฏิบัติต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าประเสริฐ ไม่ว่าเราจะอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระองค์ในโบสถ์หรือกล่าวขวัญถึงพระองค์ในขณะสวดอ้อนวอนอยู่ก็ตาม เราได้เห็นชาวยุโรปน้อยคนนักที่แสดงอาการสงบเสงี่ยมถึงขนาดนี้และอยู่ในอิริยาบถเดียวเป็นเวลาช้านานในการสวดมนต์"ตาชาร์ด เล่ม 2 , 2519:93-4)
ท่านอัครราชทูตลาลูแบร์ ก็เขียนบันทึกเล่านิสัยคนไทย ว่า
"ชาวสยามผู้ใดมั่งมีพอแล้วก็ไม่เว้นที่จะสร้างพระอุโบสถและฝังทรัพย์สมบัติอันมีค่าบรรดาที่เหลือใช้เหลือสอยไว้" (ลาบูแบร์ เล่ม 1,2510:553) ความจริงคนไทยก็มิใช่คนร่ำรวยเท่าใดนัก เพราะทำกสิกรรม และถึงจะค้าขายก็พอประมาณ แต่ไม่ว่าจะมีเงินทองของมีค่าอย่างไรขึ้น ก็ภูมิใจอุทิศถวายต่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น เรียกว่า เห็นพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งระลึกอย่างเดียว ไม่ได้สุรุ่ยสุร่ายจ่ายแจกไปในเรื่องไร้สาระ
บาทหลวงตาชาร์ด อดแสดงความทึ่งไม่ได้ เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปทองคำที่มีราคาสูงยิ่ง
" เราไม่เข้าใจเลยว่าประชาชนพลเมืองที่ค่อนข้างยากจนเหล่านี้ไปได้ทองคำมาจากไหนมากมายถึงขนาดนี้ และก็ไม่สามารถหักห้ามมิให้รู้สึกประทับใจได้เลยเมื่อได้เห็นพระพุทธรูป ซึ่งเพียงองค์เดียวเท่านั้นก็มีมูลค่ากว่าตู้ศักดิ์สิทธิ์ ( Tabernacie ) ทุกแห่งในโบสถ์ฝรั่งทั้งหลายของทวีบยุโรปรวมกัน พระพุทธรูปล้วนเป็นทองคำและประดับอัญมณี" (ตาชาร์ด เล่ม 1, 2517:61)
ฟอร์บังตั้งข้อสังเกตว่า " คนไทยเป็นคนว่านอนสอนง่ายเพราะฉะนั้นจะสั่งให้ทำอะไรก็ทำตามความต้องการ" ยกตัวอย่างเช่นว่า เมื่อ บาทหลวงมาแสดงธรรมคนไทยก็ไม่ขัด และดูจะให้ความสนใจดีโดยตลอด " เมื่อผู้สั่งสอนศาสนาเราแสดงคริสต์ธรรม คนไทยซึ่งเป็นคนว่านอนสอนง่ายนั่งฟังธรรมปริยายนั้นเหมือนฟังคนเล่านิทานให้เด็กฟัง ความพอใจฟังของเขานั้นไม่ว่าจะสอนศาสนาใดก็ชอบฟังเท่านั้น" นิสัยโอนอ่อนผ่อนปรนทำนองนี้ ยังมีปรากฏในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กาลลัวซ์ เมื่อเขียนถึงคนไทยช่วงที่บาทหลวง ปาลเลอกัวส์ มาเผยแพร่ศาสนา ก็ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นกันว่า คนไทยนั้น " ไม่รังเกียจต่อการปฏิบัติในศาสนาของชาติต่างด้าว แต่ก็มีศรัทธาในศาสนา ประจำชาติของตนอยู่เหนือสิ่งอื่นใด"
สรุป
ผมว่า เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์แล้ว
ย่อมพบเห็นคำตอบที่ยังไม่ชัดในปัจจุบัน ชัดขึ้น
แม้ปัจจุบันนี้ พฤติกรรมบางอย่างอาจจะเปลี่ยนไปบ้างตามสถานการณ์
แต่หัวใจและข้อเท็จจริง ยังคงมีอยู่ในร่องรอยของอดีตนั่นเอง
มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ตอบบาทหลวงคนหนึ่งที่มาเผยแผ่ศาสนา
ท่านตอบไว้สั้นๆ แต่ลึกและกินใจว่า
" เมื่ออาตมภาพเห็นว่าศาสนาของท่านเป็นศาสนาที่ดี
เหตุไรท่านจึงไม่เห็นว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดีบ้างเล่า"
ความจริงคำตอบนี้ น่าจะเป็นคำตอบที่คลาสสิค
และประกอบด้วยเมตตาธรรมต่อกันของทุกศาสนา
แต่ทำไม กลับยังมีเรื่องยกตนข่มท่าน
อวดดีอวดเก่งอยู่เฉพาะศาสนาตน ฝ่ายเดียว...
แสดงความคิดเห็น
ทำไม ศาสนาคริสต์ เน้นว่า คริสเตียน ที่ขยันในการเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทย ถึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ภาษาคัมภีร์ที่สื่อความหมายได้ง่ายกว่าศาสนาอื่นๆ
ความอบอุ่นในโบสถ์
และความเรียบง่ายจากพิธีรีตรอง แต่คงไว้ซึ่งความเรียบร้อย
การเข้าถึงพระเจ้าได้ทุกแห่งหน และคำพยานมากมาย
แต่คนไทยก็ยังปฏิเสธพระเจ้า หรือ ไม่ได้รับเชื่อ ไม่ได้ทิ้งความเชื่อเดิมๆ
ในขณะที่งานแพร่ธรรมของพุทธศาสนา เน้นแต่การซื้อขายวัตถุมงคล บูชารูปเคารพ งมงายในสิ่งต่างๆ แบบไร้ปัญญาและหลักธรรม
มีส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับพุทธทั้งหมด ที่จะเข้าถึงการเจริญสมถะที่แท้จริง และน้อยกว่านั้นคือ ที่จะเข้าถึงการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง
แท้จริงแล้ว คนในชาติเรา กำลังเกิดปัญหาอะไรกันแน่
ใครมาลบหลู่ เราไม่ยอม
แต่ศาสนาที่แท้จริง จะหมายถึงพุทธโดยตรงก็ได้ ส่วนมากล้วนปฏิเสธ ที่จริงก็แค่ยกมือไหว้แสดงความเคารพ อีกขั้นก็ใส่บาตรทำบุญ มาตันแค่จุดนี้จริงๆ
เกี่ยวไหมว่า นี่คือ หลังกึ่งพุทธกาล
หรือในความเชื่อของคริสเตียน นี่คือเรื่องปกติ ของยุคสุดท้าย ที่พระคริสต์ตรัสไว้
แลกเปลี่ยนกันได้ ไม่ต้องด่าหรือเถียงกันนะครับ แชร์มุมมอง เป็นกระทู้เย็นๆ อ่านแล้ว สบายใจกัน