รวยเร็ว รวยง่าย” คำนี้ดึงดูดให้ผู้ลงทุนบางคนหลงเข้าสู่ “เกมปั่นหุ้น” เพียงเพราะคิดว่าเป็นโอกาสได้กำไรง่ายและเร็ว แต่ในสายตาของเจ้ามือ นี่คือการจัดปาร์ตี้ล่อเหยื่อเพื่อรอทำกำไร ก่อนจะจากไปโดยทิ้งไว้แต่ความเสียหายให้เหยื่อและภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียของตลาดหุ้น!!!
เกมปั่นหุ้น เป็นเกมที่เจ้ามือเป็นผู้กำหนดกติกา ควบคุมเกมทุกจุด ตั้งแต่เลือกเก็บหุ้น ตั้งราคาเป้าหมาย เจาะจงจังหวะทำกำไร ที่ร้ายที่สุดคือ ตัวเองลงมาเล่นด้วย โดยผู้ร่วมเล่นอื่นหรือเหยื่อ (ทั้งที่เต็มใจและไม่รู้อิโหน่อิเหน่) ไม่มีทางรู้กติกาของเจ้ามือ (ซึ่งขณะเดียวกันก็เป็นผู้ร่วมเล่น) แค่นี้ก็เห็นแล้วว่าเอาเปรียบกันชัดๆ แล้วอย่างนี้ใครจะชนะหรือทันเจ้ามือได้
ภาพจำลองเกมปั่นหุ้น จากข้อมูลที่ ก.ล.ต. ตรวจพบและเก็บสถิติไว้ พบว่า รูปแบบของเกมปั่นหุ้นมักเป็นกราฟภูเขายอดแหลม ประกอบด้วย 4 ช่วง คือ (1) เก็บ (2) ปั่น (3) ทำกำไร แล้ว (4) ทิ้ง (ให้เจ็บ)
“
หุ้นที่ถูกเลือกมาปั่นราคา มักเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำ มีปริมาณการซื้อขายน้อยมากหรือแทบไม่มี และไม่อยู่ในความสนใจหรือพอร์ตของผู้ลงทุนสถาบัน เพราะเจ้ามือจะสามารถควบคุมราคาได้ง่าย แล้วเริ่มเปิดเกมด้วย (1) ทยอยเก็บสะสมหุ้นให้ได้จำนวนตามที่ต้องการ ซึ่งระยะนี้เจ้ามือจะทำอย่างค่อยๆ เงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตากเพื่อไม่ให้ราคาพุ่ง ต้นทุนจะได้ไม่สูง
จากนั้นเข้าสู่ช่วง (2) ปั่นราคาให้สูง โดยเจ้ามือจะอัดปริมาณซื้อขายให้มากๆ ด้วยการโยนหุ้นไปมาระหว่างสมาชิกในกลุ่มเจ้ามือ ผสมโรงกับข่าวลือเพื่อสร้างความน่าสนใจจนหลายคนแห่เข้ามาซื้อ ดันให้ราคาหุ้นขึ้น อาจชน Ceiling 30% ติดต่อกันหลายวัน กราฟราคาช่วงนี้จะชันมาก และเมื่อปั่นราคาจนถึงเป้าหมาย ก็เข้าสู่ช่วง (3) ทำกำไร เจ้ามือจะทำการปล่อยของ ซึ่งมีทั้งแบบทิ้งรอบเดียวจบ และทยอยปล่อยเป็นล็อตๆ เพื่อให้สามารถปล่อยที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ทำให้เหยื่อรู้ตัว พอเจ้ามือทิ้ง ราคาหุ้นนั้นก็ร่วง ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่กลุ่มเจ้ามือจึงพากันติดอยู่ในช่วงนี้
หลังจากเจ้ามืออิ่มหมีพีมันแล้วจึงเข้าสู่ช่วง (4) ไม่เหลือเจ้ามือในตลาดแล้ว ราคากลับสู่ปัจจัยพื้นฐาน (ต่ำเหมือนก่อนปั่น) แล้วนิ่งสนิท บางคนอาจเจ็บมากหน่อยที่ช้อนซื้อเฉลี่ยต้นทุนเข้าไปอีก จากข้อมูลมีเหมือนกันว่า เจ้ามือทำกำไรมากกว่าหนึ่งรอบในหุ้นบางตัว ช่วงการสร้างราคาหุ้นแต่ละตัวมีความไม่แน่นอน ตั้งแต่ไม่ถึงสัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ซึ่ง ไม่มีทางที่เหยื่อจะรู้จังหวะของเจ้ามือล่วงหน้าได้
ผลประโยชน์จากที่ลองคำนวณดูในแต่ละหุ้น มีตั้งแต่หลักหมื่นบาทไปจนถึงหลายสิบล้านบาท ในขณะที่เหยื่อบางรายพึงพอใจกับค่ากับข้าวเพียงไม่กี่พันบาท ส่วนเหยื่อจำนวนมากกว่าติดค้างในราคาที่สูง ขายเมื่อไรขาดทุนเมื่อนั้น ถือไปก็ช้ำใจไม่มีอนาคต
สำหรับการดำเนินการเอาผิดกับเจ้ามือปั่นหุ้น หลังจากที่ ก.ล.ต. พิจารณาว่ามีการกระทำผิดแล้วหากผู้ต้องสงสัยไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ก.ล.ต. จะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อพิจารณารวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในฐานะพนักงานสอบสวน และเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ โดยหากพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง คดีจึงจะเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล
จะเห็นว่ากระบวนการเอาผิดไม่ได้ง่ายและเร็ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเหยื่ออาจไม่ได้รับการเยียวยาหรือชดเชย นอกจากนี้รูปแบบเกมปั่นหุ้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลยสำหรับผู้ลงทุนส่วนใหญ่ และไม่มีทางเป็นไปได้ที่เจ้ามือจะทำได้สำเร็จถ้าไม่มีรายย่อยเข้าร่วมวง ซึ่งจากข้อมูลการตรวจสอบพบว่า เคยมีผู้ลงทุนเข้าไปซื้อขายหุ้นตัวหนึ่งที่กำลังถูกดันราคามากถึง 2,000 บัญชี ทั้งๆ ที่มีแต่จะเสียหายจากการเข้าร่วมในเกม จึงมองไม่เห็นประโยชน์ว่า ผู้ลงทุนที่มีความรู้ จะต้องการเป็นเหยื่อให้เจ้ามือเอาเปรียบหุ้นแล้วหุ้นเล่าอยู่เพื่ออะไร
ทางที่จะป้องกันตัวเองได้ คือ อยู่ให้ห่างจากเกมที่คุณไม่มีวันจะชนะนี้ เมื่อไรที่เห็นหุ้นตัวไหนมีราคาและปริมาณการซื้อขายผิดปกติ ให้ระวังตัวไว้ก่อน โดยสามารถเช็คข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนได้จากระบบข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Portal) ก่อนตัดสินใจลงทุน หรือโทรแจ้งเบาะแสกับ ก.ล.ต. ที่โทร. 1207
ใครๆ ก็อยากเห็นตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นบ่อนพนัน ไม่เก็งกำไรอย่างไร้เหตุผล ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้เมื่อเราทุกคนช่วยกันค่ะ
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25 มิถุนายน 2557
เกมที่คุณไม่มีวันชนะ
เกมปั่นหุ้น เป็นเกมที่เจ้ามือเป็นผู้กำหนดกติกา ควบคุมเกมทุกจุด ตั้งแต่เลือกเก็บหุ้น ตั้งราคาเป้าหมาย เจาะจงจังหวะทำกำไร ที่ร้ายที่สุดคือ ตัวเองลงมาเล่นด้วย โดยผู้ร่วมเล่นอื่นหรือเหยื่อ (ทั้งที่เต็มใจและไม่รู้อิโหน่อิเหน่) ไม่มีทางรู้กติกาของเจ้ามือ (ซึ่งขณะเดียวกันก็เป็นผู้ร่วมเล่น) แค่นี้ก็เห็นแล้วว่าเอาเปรียบกันชัดๆ แล้วอย่างนี้ใครจะชนะหรือทันเจ้ามือได้
ภาพจำลองเกมปั่นหุ้น จากข้อมูลที่ ก.ล.ต. ตรวจพบและเก็บสถิติไว้ พบว่า รูปแบบของเกมปั่นหุ้นมักเป็นกราฟภูเขายอดแหลม ประกอบด้วย 4 ช่วง คือ (1) เก็บ (2) ปั่น (3) ทำกำไร แล้ว (4) ทิ้ง (ให้เจ็บ)
“
หุ้นที่ถูกเลือกมาปั่นราคา มักเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำ มีปริมาณการซื้อขายน้อยมากหรือแทบไม่มี และไม่อยู่ในความสนใจหรือพอร์ตของผู้ลงทุนสถาบัน เพราะเจ้ามือจะสามารถควบคุมราคาได้ง่าย แล้วเริ่มเปิดเกมด้วย (1) ทยอยเก็บสะสมหุ้นให้ได้จำนวนตามที่ต้องการ ซึ่งระยะนี้เจ้ามือจะทำอย่างค่อยๆ เงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตากเพื่อไม่ให้ราคาพุ่ง ต้นทุนจะได้ไม่สูง
จากนั้นเข้าสู่ช่วง (2) ปั่นราคาให้สูง โดยเจ้ามือจะอัดปริมาณซื้อขายให้มากๆ ด้วยการโยนหุ้นไปมาระหว่างสมาชิกในกลุ่มเจ้ามือ ผสมโรงกับข่าวลือเพื่อสร้างความน่าสนใจจนหลายคนแห่เข้ามาซื้อ ดันให้ราคาหุ้นขึ้น อาจชน Ceiling 30% ติดต่อกันหลายวัน กราฟราคาช่วงนี้จะชันมาก และเมื่อปั่นราคาจนถึงเป้าหมาย ก็เข้าสู่ช่วง (3) ทำกำไร เจ้ามือจะทำการปล่อยของ ซึ่งมีทั้งแบบทิ้งรอบเดียวจบ และทยอยปล่อยเป็นล็อตๆ เพื่อให้สามารถปล่อยที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ทำให้เหยื่อรู้ตัว พอเจ้ามือทิ้ง ราคาหุ้นนั้นก็ร่วง ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่กลุ่มเจ้ามือจึงพากันติดอยู่ในช่วงนี้
หลังจากเจ้ามืออิ่มหมีพีมันแล้วจึงเข้าสู่ช่วง (4) ไม่เหลือเจ้ามือในตลาดแล้ว ราคากลับสู่ปัจจัยพื้นฐาน (ต่ำเหมือนก่อนปั่น) แล้วนิ่งสนิท บางคนอาจเจ็บมากหน่อยที่ช้อนซื้อเฉลี่ยต้นทุนเข้าไปอีก จากข้อมูลมีเหมือนกันว่า เจ้ามือทำกำไรมากกว่าหนึ่งรอบในหุ้นบางตัว ช่วงการสร้างราคาหุ้นแต่ละตัวมีความไม่แน่นอน ตั้งแต่ไม่ถึงสัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ซึ่ง ไม่มีทางที่เหยื่อจะรู้จังหวะของเจ้ามือล่วงหน้าได้
ผลประโยชน์จากที่ลองคำนวณดูในแต่ละหุ้น มีตั้งแต่หลักหมื่นบาทไปจนถึงหลายสิบล้านบาท ในขณะที่เหยื่อบางรายพึงพอใจกับค่ากับข้าวเพียงไม่กี่พันบาท ส่วนเหยื่อจำนวนมากกว่าติดค้างในราคาที่สูง ขายเมื่อไรขาดทุนเมื่อนั้น ถือไปก็ช้ำใจไม่มีอนาคต
สำหรับการดำเนินการเอาผิดกับเจ้ามือปั่นหุ้น หลังจากที่ ก.ล.ต. พิจารณาว่ามีการกระทำผิดแล้วหากผู้ต้องสงสัยไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ก.ล.ต. จะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อพิจารณารวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในฐานะพนักงานสอบสวน และเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ โดยหากพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง คดีจึงจะเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล
จะเห็นว่ากระบวนการเอาผิดไม่ได้ง่ายและเร็ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเหยื่ออาจไม่ได้รับการเยียวยาหรือชดเชย นอกจากนี้รูปแบบเกมปั่นหุ้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลยสำหรับผู้ลงทุนส่วนใหญ่ และไม่มีทางเป็นไปได้ที่เจ้ามือจะทำได้สำเร็จถ้าไม่มีรายย่อยเข้าร่วมวง ซึ่งจากข้อมูลการตรวจสอบพบว่า เคยมีผู้ลงทุนเข้าไปซื้อขายหุ้นตัวหนึ่งที่กำลังถูกดันราคามากถึง 2,000 บัญชี ทั้งๆ ที่มีแต่จะเสียหายจากการเข้าร่วมในเกม จึงมองไม่เห็นประโยชน์ว่า ผู้ลงทุนที่มีความรู้ จะต้องการเป็นเหยื่อให้เจ้ามือเอาเปรียบหุ้นแล้วหุ้นเล่าอยู่เพื่ออะไร
ทางที่จะป้องกันตัวเองได้ คือ อยู่ให้ห่างจากเกมที่คุณไม่มีวันจะชนะนี้ เมื่อไรที่เห็นหุ้นตัวไหนมีราคาและปริมาณการซื้อขายผิดปกติ ให้ระวังตัวไว้ก่อน โดยสามารถเช็คข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนได้จากระบบข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Portal) ก่อนตัดสินใจลงทุน หรือโทรแจ้งเบาะแสกับ ก.ล.ต. ที่โทร. 1207
ใครๆ ก็อยากเห็นตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นบ่อนพนัน ไม่เก็งกำไรอย่างไร้เหตุผล ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้เมื่อเราทุกคนช่วยกันค่ะ
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25 มิถุนายน 2557