งามหน้าจริงๆชาติไทย.... ใคร..? ทำให้ชาติสมาชิคเหล่านี้รู้สึกและทำกับเราแบบนี้
อียู คือ สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป[
สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 28 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก: ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร [16]
ปัจจุบันมีประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิก 2 ประเทศคือ มาซิโดเนียและตุรกี ส่วนประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกเช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกรและเซอร์เบีย ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ คอซอวอเองก็ได้สถานะนี้เช่นเดียวกัน
.....................
28 ประเทศ +2ประเทศ ที่เป็นประเทศมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี หลายประเทศเราจะคุ้นชื่อในฟุตบอลโลก ดังนั้น นี่ไม่ใช่เสียงแค่คำว่า "อียู" แต่หากนี่คือเสียงของ 28+2ประเทศต่างหากที่เขาพร้อมใจกันในนาม"อียู"ที่จะปฏิเสธ"ความเชื่อถือประเทศไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้"
และถ้าผู้มีอำนาจในตอนนี้ของไทย ไม่เก่งแต่วาจา (ที่เคยพูดว่าอย่าไปเลียนแบบต่างชาติ) คุณก็ไม่ต้องสน ไม่ต้องแคร์ และถือโอกาศปฏิรูปประเทศด้วยการประกาศเลิกคบค้ากับชาติสมาชิคเหล่านี้ไปเลย ปืดประเทศตัวเอง อยู่อย่างพอเพียงไปเลยครับ...กล้าหรือเปล่า
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd016VXlNVE13TkE9PQ==&subcatid=
กลุ่มรมต.ต่างประเทศอียู แถลงระงับหมายจนท.ทั้งหมดมาไทย
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เอเอฟพีรายงานว่า คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู ออกแถลงการณ์จากที่ประชุมคณะมนตรีสหภาพยุโรป (COUNCIL OF THE EUROPEAN UNION) ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก ถึงปฏิกิริยาล่าสุดที่มีต่อไทย โดยประณามการยึดอำนาจ และให้ระงับหมายเยือนของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่จะมาประเทศไทยและจากไทยไปอียูพร้อมระงับการลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีต่างประเทศอียูยังแสดงความวิตกกังวลสูงสุดต่อความเคลื่อนไหวต่างๆในไทยและขอให้ฟื้นฟูกระบวนการทางประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญผ่านการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมโดยด่วนนอกจากนี้ควรปล่อยผู้ถูกกักกันทางการเมืองเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ในแถลงการณ์ระบุว่าด้วยว่าอียูจะทบทวนความสัมพันธ์ทางทหารต่อไปและยืนยันว่าไทยต้องจัดทำโรดแม็ปที่เชื่อถือได้ว่าจะหวนไปใช้การปกครองตามรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งที่เชื่อถือได้และครอบคลุมเท่านั้น อียูจึงจะปรับระดับความสัมพันธ์ที่เป็นปกติกับไทย อียูตัดสินใจว่าจะรักษาความสัมพันธ์กับไทยภายใต้การทบทวน และจะพิจารณามาตรการ อื่นๆ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
++++
รายละเอียดตามแถลงการณ์สภาสหภาพยุโรป
ผลสรุปสภาอียูต่อประเทศไทย
การประชุมคณะมนตรีกิจการต่างประเทศ
ลักเซมเบิร์ก วันที่ 23 มิถุนายน 2557
1 สหภาพยุโรปและไทยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นมายาวนาน ทั้งด้านการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน วัฒนธรรม การติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชน
2. ดังนั้น ด้วยความวิตกสูงสุดที่คณะมนตรีสหภาพยุโรปติดตามพัฒนาการความเคลื่อนไหวในประเทศไทยไม่นานมานี้ ขอเรียกร้องให้ผู้นำทหารฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยและธรรมนูญอันชอบด้วยกฎหมาย โดยถือเป็นกรณีเร่งด่วน ผ่านการเลือกตั้งที่เชื่อถือได้และครอบคลุม สภาอียูยังขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นในระดับสูงสุด เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและสนับสนุนเสรีภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกกักกันทางการเมืองทั้งหมด และระงับการจับกุมด้วยเหตุผลทางการเมืองเพิ่มเติม พร้อมกับยุติการเซ็นเซอร์
3. คำประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ของผู้นำทหาร ยังห่างจากโรดแม็ปที่ไว้วางใจได้ว่าเป็นการหวนคืนการปกครองตามรัฐธรรมนูญตามที่สถานการณ์ต้องการ ดังนั้น ควรต้องทำให้สถาบันทางประชาธิปไตยกลับมาทำงานได้เต็มรูปแบบเพื่อย้ำถึงการคุ้มครองและสวัสดิภาพของพลเรือนทั้งปวง
4.เพื่อต่อต้านความเป็นไปนี้ อียูจำเป็นต้องทบทวนความสัมพันธ์ หมายการเยือนของเจ้าหน้าที่ไปยังประเทศไทยและจากประเทศไทยมาอียูต้องระงับไว้ทั้งหมด อียูและชาติสมาชิกจะไม่ลงนามข้อตกลงความสัมพันธ์หุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ข้อตกลงอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม หลังจากประเทศสมาชิกของอียูเริ่มทบทวนความสัมพันธ์ทางทหารกับไทย
5. มีเพียงโรดแม็ปที่ทำโดยเร็วและเชื่อถือได้ว่าจะหวนกลับไปปกครองตามรัฐธรรมนูญ จัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมเท่านั้นที่จะทำให้อียูสนับสนุนไทยต่อไป สภาอียูตัดสินใจว่า อียูจะรักษาความสัมพันธ์กับไทยไว้ภายใต้การทบทวนและจะพิจารณามาตรการอื่นๆ ที่เป็นไปได้ต่อไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
อียูและชาติสมาชิกจะไม่ลงนามข้อตกลงความสัมพันธ์หุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง
อียู คือ สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป[
สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 28 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก: ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร [16]
ปัจจุบันมีประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิก 2 ประเทศคือ มาซิโดเนียและตุรกี ส่วนประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกเช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกรและเซอร์เบีย ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ คอซอวอเองก็ได้สถานะนี้เช่นเดียวกัน
.....................
28 ประเทศ +2ประเทศ ที่เป็นประเทศมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี หลายประเทศเราจะคุ้นชื่อในฟุตบอลโลก ดังนั้น นี่ไม่ใช่เสียงแค่คำว่า "อียู" แต่หากนี่คือเสียงของ 28+2ประเทศต่างหากที่เขาพร้อมใจกันในนาม"อียู"ที่จะปฏิเสธ"ความเชื่อถือประเทศไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้"
และถ้าผู้มีอำนาจในตอนนี้ของไทย ไม่เก่งแต่วาจา (ที่เคยพูดว่าอย่าไปเลียนแบบต่างชาติ) คุณก็ไม่ต้องสน ไม่ต้องแคร์ และถือโอกาศปฏิรูปประเทศด้วยการประกาศเลิกคบค้ากับชาติสมาชิคเหล่านี้ไปเลย ปืดประเทศตัวเอง อยู่อย่างพอเพียงไปเลยครับ...กล้าหรือเปล่า
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd016VXlNVE13TkE9PQ==&subcatid=
กลุ่มรมต.ต่างประเทศอียู แถลงระงับหมายจนท.ทั้งหมดมาไทย
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เอเอฟพีรายงานว่า คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู ออกแถลงการณ์จากที่ประชุมคณะมนตรีสหภาพยุโรป (COUNCIL OF THE EUROPEAN UNION) ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก ถึงปฏิกิริยาล่าสุดที่มีต่อไทย โดยประณามการยึดอำนาจ และให้ระงับหมายเยือนของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่จะมาประเทศไทยและจากไทยไปอียูพร้อมระงับการลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีต่างประเทศอียูยังแสดงความวิตกกังวลสูงสุดต่อความเคลื่อนไหวต่างๆในไทยและขอให้ฟื้นฟูกระบวนการทางประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญผ่านการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมโดยด่วนนอกจากนี้ควรปล่อยผู้ถูกกักกันทางการเมืองเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ในแถลงการณ์ระบุว่าด้วยว่าอียูจะทบทวนความสัมพันธ์ทางทหารต่อไปและยืนยันว่าไทยต้องจัดทำโรดแม็ปที่เชื่อถือได้ว่าจะหวนไปใช้การปกครองตามรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งที่เชื่อถือได้และครอบคลุมเท่านั้น อียูจึงจะปรับระดับความสัมพันธ์ที่เป็นปกติกับไทย อียูตัดสินใจว่าจะรักษาความสัมพันธ์กับไทยภายใต้การทบทวน และจะพิจารณามาตรการ อื่นๆ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
++++
รายละเอียดตามแถลงการณ์สภาสหภาพยุโรป
ผลสรุปสภาอียูต่อประเทศไทย
การประชุมคณะมนตรีกิจการต่างประเทศ
ลักเซมเบิร์ก วันที่ 23 มิถุนายน 2557
1 สหภาพยุโรปและไทยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นมายาวนาน ทั้งด้านการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน วัฒนธรรม การติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชน
2. ดังนั้น ด้วยความวิตกสูงสุดที่คณะมนตรีสหภาพยุโรปติดตามพัฒนาการความเคลื่อนไหวในประเทศไทยไม่นานมานี้ ขอเรียกร้องให้ผู้นำทหารฟื้นฟูกระบวนการประชาธิปไตยและธรรมนูญอันชอบด้วยกฎหมาย โดยถือเป็นกรณีเร่งด่วน ผ่านการเลือกตั้งที่เชื่อถือได้และครอบคลุม สภาอียูยังขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นในระดับสูงสุด เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและสนับสนุนเสรีภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกกักกันทางการเมืองทั้งหมด และระงับการจับกุมด้วยเหตุผลทางการเมืองเพิ่มเติม พร้อมกับยุติการเซ็นเซอร์
3. คำประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ของผู้นำทหาร ยังห่างจากโรดแม็ปที่ไว้วางใจได้ว่าเป็นการหวนคืนการปกครองตามรัฐธรรมนูญตามที่สถานการณ์ต้องการ ดังนั้น ควรต้องทำให้สถาบันทางประชาธิปไตยกลับมาทำงานได้เต็มรูปแบบเพื่อย้ำถึงการคุ้มครองและสวัสดิภาพของพลเรือนทั้งปวง
4.เพื่อต่อต้านความเป็นไปนี้ อียูจำเป็นต้องทบทวนความสัมพันธ์ หมายการเยือนของเจ้าหน้าที่ไปยังประเทศไทยและจากประเทศไทยมาอียูต้องระงับไว้ทั้งหมด อียูและชาติสมาชิกจะไม่ลงนามข้อตกลงความสัมพันธ์หุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ข้อตกลงอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม หลังจากประเทศสมาชิกของอียูเริ่มทบทวนความสัมพันธ์ทางทหารกับไทย
5. มีเพียงโรดแม็ปที่ทำโดยเร็วและเชื่อถือได้ว่าจะหวนกลับไปปกครองตามรัฐธรรมนูญ จัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมเท่านั้นที่จะทำให้อียูสนับสนุนไทยต่อไป สภาอียูตัดสินใจว่า อียูจะรักษาความสัมพันธ์กับไทยไว้ภายใต้การทบทวนและจะพิจารณามาตรการอื่นๆ ที่เป็นไปได้ต่อไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์