มาดูลูกฟุตบอลที่ใช้ในบอลโลกกัน

สิ่งที่อยู่คู่กับเกมส์ที่สนุกและน่าลุ้นในฟุตบอลโลก คือ ลูกฟุตบอลในรูปแบบต่าง ๆ (ซ้ำขออภัย)
เรามาดูประวัติลูกฟุตบอลที่ใช้ในบอลโลก กันดีกว่า
Cr.mthai.com // Guidebook ฟุตบอลโลก 2014 //

1. ฟุตบอลโลก ปี 1930 ที่อุรุกวัย

โลโก้


ลูกบอลประวัติศาสตร์ใบนี้ผ่านการใช้งานจริงในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกครั้งแรก ระหว่าง อุรุกวัย และ อาร์เจนติน่า เจ้าภาพจะให้แต่ละทีมเลือกใช้ฟุตบอลกันเอง และสลับกันทีมละครึ่งเพื่อความยุติธรรม ทีมฟ้าขาวได้เลือกก่อนในครึ่งแรก และออกนำไปก่อน 2 - 1 พอครึ่งหลังอุรุกวัยได้เลือกบอลบ้าง ก็จัดรัวไปอีก 3 คว้าชัยชนะ มาในสกอร์ 4 - 2 ในที่สุด

2. ฟุตบอลโลก ปี 1934 ที่อิตาลี

โลโก้


“Federale 102” คือชื่ออย่างเป็นทางการของฟุตบอลลูกนี้ โดยอิตาลีที่รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพในครั้งนั้นได้หยิบฟุตบอล
(ที่มีหน้าตาเปลี่ยนไปจากเดิมเยอะพอสมควร) มาใช้ มันมีผิวสัมผัสที่เกลี้ยงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด และทำให้การคอนโทรลบอลเป็นไปได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

3. ฟุตบอลโลก ปี 1938 ที่ฝรั่งเศส

โลโก้


ฝรั่งเศสลงทุนออกแบบลูกบอลใหม่ให้มีสีสันมากขึ้นพร้อมตั้งชื่อให้มันว่า “อัลแล็ง” หรือ "อัลเลน" พร้อมผิวสัมผัสที่ทำได้ดีขึ้นกว่าเดิมและโค้งมนเป็นวงกลมกว่า 95% แล้ว  

4. ฟุตบอลโลก ปี 1950 ที่บราซิล

โลโก้


สงครามโลก ทำให้ศึก World Cup หายไปถึง 12 ปี โดยบราซิลมารับบทเจ้าภาพ พวกเขาใช้ฟุตบอลสีขาวเป็นครั้งแรกโดยมีชื่อเรียกนิคเนมว่า “ซูเปอร์ ดูโปล ที” (Super Duplo T) ซึ่งบอลในยุคนั้นถือเป็นต้นแบบของพัฒนาการที่ดีเยี่ยมก่อนที่มันจะเดินทางเข้าสู่ยุคใหม่

5. ฟุตบอลโลก ปี 1954 ที่สวิตเซอร์แลนด์

โลโก้


สวิตเซอร์แลนด์ได้โอกาสเป็นเจ้าภาพ ได้ดีไซน์ลูกฟุตบอลให้เป็นสีส้มดูสว่างสดใส พร้อมกับสลักชื่อและตัวหนังสือชื่อประเทศ ลงไปในฟุตบอล สร้างสีสันที่แปลกตาอย่างน่าสนใจ

6. ฟุตบอลโลก ปี 1958 ที่สวีเดน

โลโก้


ฟุตบอลโลกยังคงวนเวียนอยู่ในยุโรป และคราวนี้เป็นสวีเดนที่อาสารับหน้าเสื่อเจ้าภาพ และลูกฟุตบอลก็ฉีกโทนออกสีเหลืองสดใส ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ยังคล้ายของเก่าอยู่บ้าง

7. ฟุตบอลโลก ปี 1962 ที่ชิลี

โลโก้


ลูกบอลประจำทัวร์นาเมนต์ครั้งนี้มีการออกแบบที่แปลกตาขึ้น ด้วยการตัดเย็บที่แหวกแนวกว่าครั้งก่อนๆ พร้อมตั้งชื่อให้มันแบบสุดเท่ว่า “แคร็ค” (Crack)

8. ฟุตบอลโลก ปี 1966 ที่อังกฤษ

โลโก้


ความเบาที่มากขึ้นพร้อมน้ำหนักที่สมส่วนคือจุดเด่นของปีนี้ และที่ต้องจารึกไว้อย่างดีคือมันเป็นลูกฟุตบอล ชุดแชมป์โลกของอังกฤษ ด้วยหน้าตาที่ทมึนกว่าเดิมด้วยสีน้ำตาลอมส้ม และตั้งชื่อเจ้าบอลลูกนี้ว่า “สลาเซนเจอร์” (Slazenger)

หลังจากนั้น ก็กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ขาดไปไม่ได้ซะแล้ว กับศึกฟุตบอลโลกทุกสมัย ที่จะต้องมีการเปิดตัวลูกฟุตบอลอย่างเป็นทางการ
นับตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ “Adidas” ค่ายผลิตอุปกรณ์กีฬายักษ์ใหญ่จากเมืองเบียร์ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ผลิตลูกหนังกลมๆ ลูกนี้อย่างเป็นทางการ และผูกขาดสัมปทานมายาวนานจนถึงปัจจุบัน มาดูกันต่อกับลูกบอลสุดล้ำ ของ Adidas

9. ฟุตบอลโลก ปี 1970 ที่เม็กซิโก

โลโก้


Adidas Telstar
เป็นครั้งแรกที่ “Adidas” บริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาค่ายยักษ์ใหญ่ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ผลิตลูกบอลอย่างเป็นทางการของฟุตบอลโลก
และเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่เปิดศักราชใหม่เกี่ยวกับโฉมหน้าลูกบอล
โดยใช้วัตถุดิบแบบใหม่ ไม่ใช่ลูกยางแบบเก่า แต่เป็นหนังเย็บติดกัน 32 ชิ้น แบ่งเป็นสีดำที่เป็นห้าเหลี่ยม 12 ชิ้น และ สีขาวหกเหลี่ยมอีก 20 ชิ้น
สำหรับสาเหตุที่ใช้แต่หนังสีขาว-ดำนั้น เป็นเพราะว่าศึก “เวิลด์ คัพ 1970” ที่เม็กซิโก เป็นปีที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกไปทั่วโลกเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ก็มีการถ่าย เก็บไว้ แต่ไม่ได้ถ่ายทอดสด อย่างที่ทราบกันว่า โทรทัศน์สมัยนั้นมีแต่สีขาว-ดำ การที่จะให้เห็นลูกบอลได้ง่าย
ก็ต้องทำให้มันเป็นลายขาว-ดำซะเลย เวลาบอลกลิ้งจะเห็นชัดเจนดี เป็นการโฆษณาแบรนด์ “Adidas” ไปในตัวด้วย
จึงกลายเป็นที่มาของการเย็บหนังให้เป็นลูกบอลทรงกลม และชื่อ “Telstar” ก็ผันมาจาก “Star of Television”

10.ฟุตบอลโลก ปี 1974 ที่เยอรมัน

โลโก้


Adidas Telstar
ตัวลูกฟุตบอลคล้ายกับเมื่อสี่ปีที่แล้ว แต่ออกแบบลวดลายให้สวยเด่นยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว เยอรมนี ชาติเจ้าภาพ ยังได้ปั๊มตัวหนังสือติดไว้เป็นเอกลักษณ์ด้วยการระบุว่านี่คือลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้โดยเฉพาะ

11. ฟุตบอลโลก ปี 1978 ที่อาร์เจนตินา

โลโก้


Adidas Tango Durlast
ถูกออกแบบให้เข้ากับแนวคิดของการเต้นในจังหวะแทงโก้ ท่าเต้นพื้นเมืองของอาร์เจนตินา ยังคงใช้หนังห้าเหลี่ยมและหกเหลี่ยมเช่นเดิม เพียงแต่ใช้สีขาวทั้งหมด แล้วค่อยพิมพ์ลายลงใหม่เป็นลักษณะวงกลม นี่คือการเข้าสู่ยุคใหม่ของฟุตบอลแนวลวดลายโค้งสวยงาม นี่คือ “แทงโก เดอลาสต์”
อาดิดาสได้ออกแบบลูกฟุตบอลนี้เพื่อให้เป็นมาตรฐานสำหรับลูกฟุตบอลไปอีก 20 ปีข้างหน้า และมันก็ยังเป็นลูกฟุตบอล ที่แพงที่สุดในโลก ในสมัยน้ันด้วยราคาลูกละ 50 ปอนด์

12. ฟุตบอลโลก ปี 1982 ที่สเปน

โลโก้


Adidas Tango Espana
สเปน ชาติเจ้าภาพ ถือโอกาสเรียกมันว่า “Adidas Tango Espana” เพื่อประกาศศักดาตัวเอง
ทั้งที่ลวดลายไม่ได้ผิดแผกไปจากแทงโก้ตัวเดิมเมื่อ 4 ปีก่อนมากมายนัก
อย่างไรก็ตาม คุณภาพของหนังที่ใช้ผลิตนั้นถือว่าเยี่ยมกว่ามาก ใช้เทคโนโลยีช่วยให้หนังมีการดูดซับน้ำน้อยลงกว่าเดิม
หมายความว่า ถ้าเทียบกับรุ่นเก่าเวลาเปียกน้ำ ลูกบอลรุ่นนี้จะยังคงมีน้ำหนักเบา แต่รุ่นก่อนหน้าจะหนัก ถ้าเตะแรงๆ อาจถึงขั้นขาหักได้เลยทีเดียว!!!

13. ฟุตบอลโลก ปี 1986 ที่เม็กซิโก

โลโก้


Adidas Azteca
“อาดิดาส แอซเทก้า” ปีนั้น เม็กซิโก ได้เป็นเจ้าภาพหนสองแบบฉุกละหุกพอสมควร ภายหลังจาก โคลอมเบีย ที่ถูกเลือกในตอนแรก มีปัญหาทางด้านการเงินจนต้องถอนตัวออกไป เพราะฉะนั้น ลูกฟุตบอลเลยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก นอกจากการารพิมพ์ลวดลายแบบ “แอซเทค” ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ยิ่งใหญ่ในอดีตและเป็นบรรพบุรุษขอฃชาวเม็กซิกัน มาแต่งแต้มลงบนลูกบอลสะท้อนถึงความเป็นพื้นเมืองของเม็กซิโกได้อย่างชัดเจน คุณภาพยังคงเหมือนกับแทงโก้ เพียงแต่เปลี่ยนวัตถุผลิตจากหนังแท้มาเป็นหนังสังเคราะห์

14. ฟุตบอลโลก ปี 1990 ที่อิตาลี

โลโก้


Adidas Etrusco Unico
ลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1990 ที่ประเทศอิตาลี ลูกฟุตบอลทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ลวดลายเป็นลวดลายที่อิงประวัติศาสตร์ของ อิตาลีในยุค Etruscan ซึ่งจะเห็นว่ามีหัวสิงโต 3 หัว อยู่ในลายนั้นด้วย การปฏิวัติครั้งสำคัญในครั้งนี้ คือการผสมโพลียูริเทนเข้าไปในการผลิตเพื่อกันน้ำ 100% และนี่คือ “อาดิดาส เอทรุซโก ยูนิโก”

15. ฟุตบอลโลก ปี 1994 ที่สหรัฐอเมริกา

โลโก้


Adidas Questra
สหรัฐอเมริกา ชาติที่ถูกค่อนขอดว่าไม่ค่อยประสีประสาเรื่องลูกหนังในเวลานั้น ได้รับเลือกให้จัดมหกรรมลูกหนังโลกเป็นครั้งแรก
พร้อมกับเปิดตัวลูกบอลนวัตกรรมใหม่ “Adidas Questra” ที่มาจาก “Quest for the star” เพราะมันถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีทางด้านอวกาศ
นั่นคือมีการเพิ่มชั้นของโพลียูริเทนที่ด้านนอก ทำให้น้ำหนักเบาขึ้น กลายเป็นต้นแบบลูกบอลรุ่นใหม่นับแต่นั้นเป็นต้นมาด้วย
ส่งผลให้กองหน้าสามารถควบคุมบอลได้ง่ายกว่าเดิม ที่สำคัญเวลายิงก็ทรงพลังมากขึ้นด้วย
แต่สำหรับบรรดาผู้รักษาประตูกลับบ่นอุบว่า มันคือตัวหายนะทำลายเกมชัดๆ!!!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่