ปรึกษาหน่อยครับ เบื่อกับการใช้ชีวิตอยู่กับสุขภาพที่แย่ลง

ผมจะเล่าให้ฟังดังนี้
        ผมมีปัญหาเรื่องสุขภาพได้3ปีแล้ว เกี่ยวกับกล้ามเนื้อต้นคอ คือมีอาการมึนหัว ปวดสบัก ต้นคอ และตึงที่น่องขา ปวดเบ้าตา ตาพร่ามัว เวลาเป็นหนักๆในตอนที่ทำงานจะมีอาการ คล้ายจะเป็นลม ตาพร่ามัว ขาอ่อนแรง ตอนแย่มากๆอาการเคยมาตอนที่ก้มหน้าทำคอมรู้สึกเหมือนเส้นที่ด้านข้างที่คอตึงพอจับบีบ นวดคลึงก็จะยิ่งมึนและชาที่ต้นคอหลัง ทุกครั้งที่เป็นก็จะรีบไปโรงพยาบาลอยู่หลายครั้งในเวลา3ปี ร่วม20 ครั้ง แต่พอหมอตรวจ ทุกอย่างที่เคยตรวจในระยะเวลา 3ปี
  1.เอกซเรย์กระดูกต้นคอ 2 ครั้ง  2 โรงพยาบาล หมอบอกปรกติ
  2.เอกซเรย์กระดูกสันหลัง 1 ครั้ง  หมอบอกปรกติ
  3.ตรวจเลือด ค่า ตับ ไต ยูริค โปรตัสเซี่ยม นำ้ตาล ไขมัน ปัสวะ  มีค่าไต กับยูริค เท่านั้นที่สูงหน่อยเเต่ไม่อันตราย นอกนั้นปรกติ
  ต่อมาเมื่อเดือนที่แล้ว มีอาการ แสบคอตอนเช้า อาเจียนทุกเช้าจนคออักเสบเป็นไข้สูง ต้องนอนโรงพยาบาล 3วัน หมอบอกเป็นกรดไหลย้อน
  ก็ต้องมารักษาอาการกรดไหลย้อนกันอีก ........
            คือทุกครั้งที่มีอาการอะไรใจเราจะเสียกลัวเป็นโรคร้าย มักจะอยากไปแต่โรงพยาบาลให้หมอตรวจ และเสียค่าใช้จ่ายตลอด จนภรรยาบ่นหาว่า
เราไม่แข้มแข็ง อ่อนแอ เป็นอะไรนิดหน่อยก็จะไปแต่โรงพยาบาล เพราะว่าไปทีไรหมอก็จับตรวจหลายอย่าง เสียเงินทีละหลายพันบาท ไอ้ที่ตรวจก็ปรกติหมด แต่อาการที่เป็นอยู่ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับที่หมอตรวจเลย มันก็เลยปรกติ ผมเลยอยากให้เพื่อนวิเคราะห์ตัวผมให้หน่อยดังนี้ครับ
   1. ทุกครั้ง ที่มีอาการ ผมอยากไปตรวจ ทุกครั้ง อยากไปหาหมอ ผมผิดปรกติ หรือผม ขี้กลัวเกินไปป่าวครับ (แต่ผมมีอาการจริงๆนะ)
   2.ทุกวันนี้ยังมีอาการ พวกนี้อยู่ไม่หาย ทั้งที่ผม กินยา กายภาพ  ผมควรทำยังไงต่อดีครับ มันเป็นอุปสรรคในการทำงานมากเลยครับ
   3.ผมควรพบจิตเเพทย์ด้วยใหมครับ ผมยอมรับว่าผมเครียดนะเวลามีอาการ (และผมชอบเข้าเนตหาข้อมูลเกี่ยวอาการที่ผมเป็นตลอดจนไม่เป็นทำงานทำการ)
    4.แฟนผมเขาเสียดายเงิน หรือเขา ลำคาญผมครับ เวลาผมอยากไปหาหมอเขามักจะไม่พอใจ(คือเขาบอกว่าไปตรวจอะไรก็ปรกติได้แต่ยาคลายเส้น)แต่โรงพยาบาลนี้เป็นแบบนี้จริงๆครับ
    ผมเบื่อการใช้ชีวิตที่อยู่กับโรคที่ผมเป็นอยู่มากเลยครับ การงานก็ทำท่าจะได้เลื่อนตำแหน่ง แต่สุขภาพแย่ลง  
    ขอคำปรึกษา และกำลังใจด้วยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
อาการ office syndrome นะคะ การรักษาดังต่อไปนี้
1. แก้ไขกล้ามเนื้อที่ตึงอยู่
    เนื่องจากกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งแน่นติดต่อกันมานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้ไม่ดีเหมือนกัน อาจมีของเสียคั่ง เกิดการกระตุ้นสารสื่อประสาทความเจ็บปวด เวลาที่เรากินยาคลายเส้น ยาแก้อักเสบ จะไปลดสารสื่อประสาทเหล่านี้ ทำให้อาการปวดดีขึ้น แต่ *ชั่วคราว* เท่านั้น เพราะ ตัวต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งนั้นยังไม่หายไป ต้องทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็งนั้นหายไปด้วย จึงจะทำให้หายได้ในระยะยาว

            ทำอย่างไร
            1.1 active managent คือการปฏิบัติด้วยตัวเอง *สำคัญสุด* เช่น การยืดกล้ามเนื้อ เล่นโยคะ
            1.2 passive management เช่น ประคบอุ่น นวดกดจุด การฝังเข็ม การทำ dry needle การฉีดยาชา หรือ steroid เข้าไปตำแหน่งกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งนั้น เพื่อให้ก้อนกล้ามเนื้อนั้นแตกตัวออก จากนั้นประคบอุ่นต่ออย่างต่อเนื่อง

2. ปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน การใช้ชีวิตให้เหมาะสม
    2.1 โต๊ะนั่งให้ความสูงพอดี อย่าก้มมาก อย่าเอี้ยวตัวไปมาอยู่นานๆ บางคนชอบวางคอมแบบเบี้ยวๆ แล้วต้องเอี้ยวตัวไปพิมพ์นานๆ
    2.2  หมอนอย่าสูงเกินไป และหนุนใบเดียวเท่านั้น พบมากว่า คนไข้หนุนหมอนสูงไป ทำให้ เหมือนก้มคอตลอดทั้งคืน ผลคือ กล้ามเนื้อตรงท้ายทอยจะแข็งเกร็งมาก กล้ามเนื้อบริเวณนี้อยู่ใกล้เส้นประสาทรับรู้ความรู้สึกบริเวณศีรษะ บางครั้งจึงปวดลามขึ้นบนศีรษะแบบแปล๊บๆ ด้วย โต๊ะเตี้ยไปทำให้ ก้มมาก ก้อเป็นได้เช่นกันค่ะ ตัวเองเคยเป็นเอง พอปรับระดับโต๊ะก้อดีขึ้น
       2.3 กระเป๋า การสะพายกระเป๋าน้ำหนักกดบนบ่า ก้อมีผลทำให้กล้ามเนื้อแข็งตึงได้ค่ะ ผู้ชายที่สะพายโน๊ตบุ๊ค ทั้งแบบเป้ หรือ แบบสะพายข้างอาจทำให้เกิดปัญหาได้ อาจเปลี่ยนมาใช้แบบถือแทน

3. ทำใจให้สบาย อย่าคิดอย่ากังวลมาก อย่าคิดว่าเป็นโรคร้าย เพราะคุณตรวจมาหลายอย่างแล้วมันไม่ใช่ อาการปวดกล้ามเนื้อ สัมพันธ์ อย่างมากกับอารมณ์ ถ้ามีความวิตกกังวล ซึมเศร้า อาการจะมากขึ้นเท่าทีคูณ พยายามหาอะไรอย่างอื่นทำนะคะ

4. เล่นกีฬาบ้าง จะได้สดชื่นแจ่มใส

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ บำบัดความปวดโดยตรงค่ะ อาจมีแนวทางการรักษาอื่นหรือตรวจร่างกายเพิ่มเติมทางกระดูก
จิตใจ และยืดกล้ามเนื้อเป็นเรื่องสำคัญนะคะ ให้พยายามทำด้วยตัวเอง จะดีขึ้นค่ะ กินยาอย่างเดียวมักไม่หายขาด ถ้าทำได้คุณต้องดีขึ้นแน่ค่ะ สู้ๆ นะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่