http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1403086564
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวถึงกรณีมีข่าวเกี่ยวกับการโฆษณาขาย ยาเม็ดสลายมโนทางโซเชียลมีเดีย ที่มีการโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่า ช่วยบรรเทาอาการเพ้อเจ้อ หรือเพ้อฝันในผู้ป่วยที่มีการสร้างมโนภาพคิดเข้าข้างตัวเอง มีจินตนาการถึงการมีหน้าอกที่สวยงาม เต่งตึง กระชับ ได้รูป เมื่อรับประทานยานี้ มโน ที่คิดจะเป็นจริง โดยฉลากระบุเลขสารบบอาหาร อย. 12-2-00129-1-0032 ราคากระปุกละ 590 – 700 บาท
จากการตรวจสอบเลขสารบบอาหารดังกล่าวพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนำเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มาใช้ ซึ่งเป็นการสวมทะเบียน ดังนั้น อย. มีความห่วงใยประชาชน เป็นอย่างมาก จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาและซื้อยาเม็ดสลายมโนดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีการลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนได้
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น อ้างว่าทำให้หน้าอกโตได้ อ้างว่าช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารใด ๆ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน โดยต้องแสดงฉลากภาษาไทย ชื่อที่อยู่ผู้ผลิต/นำเข้า เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนที่ สายด่วน อย. โทร. 1556
มติชน วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
5555555555555555555555555555555555555555555555
อย.เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณา′ยาเม็ดสลายมโน′
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวถึงกรณีมีข่าวเกี่ยวกับการโฆษณาขาย ยาเม็ดสลายมโนทางโซเชียลมีเดีย ที่มีการโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่า ช่วยบรรเทาอาการเพ้อเจ้อ หรือเพ้อฝันในผู้ป่วยที่มีการสร้างมโนภาพคิดเข้าข้างตัวเอง มีจินตนาการถึงการมีหน้าอกที่สวยงาม เต่งตึง กระชับ ได้รูป เมื่อรับประทานยานี้ มโน ที่คิดจะเป็นจริง โดยฉลากระบุเลขสารบบอาหาร อย. 12-2-00129-1-0032 ราคากระปุกละ 590 – 700 บาท
จากการตรวจสอบเลขสารบบอาหารดังกล่าวพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนำเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มาใช้ ซึ่งเป็นการสวมทะเบียน ดังนั้น อย. มีความห่วงใยประชาชน เป็นอย่างมาก จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาและซื้อยาเม็ดสลายมโนดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีการลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนได้
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น อ้างว่าทำให้หน้าอกโตได้ อ้างว่าช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารใด ๆ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน โดยต้องแสดงฉลากภาษาไทย ชื่อที่อยู่ผู้ผลิต/นำเข้า เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนที่ สายด่วน อย. โทร. 1556
มติชน วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
5555555555555555555555555555555555555555555555