ที่มา
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068693
ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? “ที่พันถนอมสายชาร์จ” ทำพังไวกว่าเดิม
แชร์กันสนั่นโลกโซเชียลฯ!! สำหรับคำเตือนเรื่องเครื่องประดับสายชาร์จโทรศัพท์สุดเก๋ที่ใครหลายคนมีไว้ครอบครองอย่าง “เม็ดบีตหรือลูกปัดรีดร้อน และสายเกลียวพลาสติกสีสันสดใสสำหรับถนอมสายชาร์จโทรศัพท์” ที่ไปๆ มาๆ กลับเกิดโทษเสียมากกว่า เพราะอาจทำให้คุณภาพการใช้งานเสื่อมลง หลังไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้
“เอาความรู้ดีๆ มาฝากครับ เรื่องสายพันสายชาร์จโทรศัพท์ครับ ในฐานะที่ฟ้าเรียนสาขาช่างไฟฟ้ากำลังมา แล้วบังเอิญไปเห็นแฟชั่นแบบใหม่กำลังฮิตกันเลย นั่นคือ การนำสายเกลียวพลาสติกสีสันสวยงาม มาพันกับสายชาร์จโทรศัพท์ หรือที่หูฟัง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ดูสวยงาม แต่สิ่งที่หลายๆ คนยังไม่ทราบคือ มันจะทำให้คุณภาพการใช้งานเสื่อมลงไปด้วยนะครับ
เนื่องจากทุกครั้งที่เราใช้งานทั้งการชาร์จไฟ และที่หูฟัง จะเกิดความร้อนในสายไฟ แต่สายชาร์จและหูฟังปกติฉนวนที่หุ้มสายอยู่นั้นถูกออกแบบให้สามารถระบายความร้อนได้โดยปกติ จึงสามารถใช้งานได้ตามอายุปกติ
แต่สำหรับในกรณีที่เอาอะไรไปพันไว้แบบนี้ จะทำให้ความร้อนจะไม่สามารถระบายออกมาได้ และทำให้ เสื่อมสภาพการใช้งานได้เร็วขึ้นครับ และดีไม่ดี สายจะไหม้เอาง่ายๆ หรือไฟฟ้าอาจจะลัดวงจรได้ครับ สรุปง่ายๆ คือ สวย แต่ พังเร็วขึ้น และอันตรายด้วยครับ อิอิ
ฟ้าไม่ได้มาดิสเครดิตใครนะครับ แค่เอาความรู้ที่เรียนมา มาบอกต่อกันครับ บางท่านอาจจะมองว่าช่างเถอะ ราคาไม่กี่บาท พังแล้วก็ซื้อใหม่ได้ อันนี้ไม่เถียงครับ แต่ถ้าช็อตขึ้นมา ไม่คุ้มกันนะครับ ถ้าข้อมูลของฟ้าไปกระทบใครหรือทำให้ไม่พอใจ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับผม”
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาถกเถียงกันไปต่างๆ นานาว่า ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?? โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าความร้อนที่ระบายออกมาผ่านสายไฟไม่น่าจะทำให้เกิดอันตรายรุนแรงขนาดนั้นได้ ทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ Live จึงต่อสายไปยัง รศ.ดร.ชัยวุฒิ ฉัตรอุทัย อาจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เพื่อไขข้อข้องใจดังกล่าว
“เอาจริงๆ มันก็มีส่วนนะครับ เพราะมันอาจทำให้การระบายความร้อนเกิดปัญหาได้ เพราะเวลาชาร์จ มันก็จะระบายความร้อนออกมาด้วย ถ้าเป็นตัวชนวนปกติมันก็ระบายได้ การใช้สายพลาสติกไปพันรอบๆ เนี่ย มันก็ทำให้ความร้อนสะสมอยู่ แต่จะถึงขั้นเสียหายอันนี้ก็ไม่แน่นอน แต่ตามหลักการความร้อนคงไม่อาจทำให้สายชาร์จพังได้ขนาดนั้น ส่วนเรื่องการลัดวงจรเนี่ยก็ไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นตรงนี้ มันจะมีปัญหาแค่ความร้อนสะสมเท่านั้นเองครับ
แล้วสายชาร์จ หรือสายไฟอะไรก็แล้วแต่เนี่ย ผมว่าเราไม่ควรเอาอะไรไปห่อหุ้มมัน เพราะตามปกติแล้วมันก็จะมีการออกแบบมาอย่างถูกต้องแล้ว พอเอาอะไรมาพันก็เหมือนเป็นการไปบล็อกความร้อนนั่นแหละครับ”
ส่วนในแง่ของคุณประโยชน์ที่เชื่อกันไปว่า “การพันสายชาร์จโทรศัพท์จะช่วยถนอมสายชาร์จนั้น” อาจจะไม่ถูกต้องนัก เพราะสาเหตุที่สายชาร์จเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร สาเหตุหลักเกิดมาจากการดึงกระชากทำให้สายไฟภายในขาด ถึงจะใช้ที่พันสายชาร์จพันแน่นหนาขนาดไหน แต่หากดึงอย่างรุนแรงก็พังได้เหมือนกัน
“การที่ข้อต่อของสายชาร์จมันหัก มันงอ ผมก็ว่ามันก็ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้คอยเปลี่ยนสายล่ะครับ จากที่สังเกตเห็นพวกสายชาร์จไอโฟนเนี่ยจะมีปัญหามาก ตรงข้อต่อมันจะขาดง่าย แล้วส่วนใหญ่บางทีผู้ใช้ก็ชอบดึงกระตุกออกมาจากเต้าเสียบ เพราะฉะนั้น มันก็ต้องขาดแน่นอนอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับการพันสายอะไรเลย ซึ่งบางคนจะใช้วิธีทำข้อต่อให้มันนิ่ง ก็จะเอาสก๊อตเทปมาพันล็อกไว้กับสายเพื่อไม่ให้มันขยับ แต่มันก็คงไม่สวย เลยมีแฟชั่นแบบนี้ออกมา
แนะนำเลยคือวิธีการดึงของผู้ใช้เอง ต้องจับให้หมดแล้วดึง ไม่ใช่กระชากออกมา แต่มันก็เป็นธรรมชาติของคนอ่ะนะครับ อย่างปลั๊กไฟธรรมดาเองก็ดึงกระชากเหมือนกันแหละ ที่พันสายชาร์จมันก็แค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและอาจจะแก้อะไรไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คือเราไม่ควรไปดัดแปลง ไปห่อไปหุ้มสายชาร์จทั้งสิ้น ยิ่งถ้าพังเสียขึ้นมา บริษัทเค้าก็ไม่รับผิดชอบด้วยครับ” รศ.ดร.ชัยวุฒิกล่าวทิ้งท้าย
สุดท้าย คงอยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคน ใครอยากสร้างสีสันสวยๆ ให้ที่ชาร์จของตัวเองก็ทำได้ เพราะทั้งเม็ดบีทและเกลียวพลาสติกสีอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโทษรุนแรงขนาดนั้น เพียงแต่เวลาจะใช้งานก็โปรดถนอมมันสักนิดเพื่อยืดอายุการใช้งานแบบง่ายๆ เท่านั้นเอง
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live
ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? “ที่พันถนอมสายชาร์จ” ทำพังไวกว่าเดิม
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068693
ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? “ที่พันถนอมสายชาร์จ” ทำพังไวกว่าเดิม
แชร์กันสนั่นโลกโซเชียลฯ!! สำหรับคำเตือนเรื่องเครื่องประดับสายชาร์จโทรศัพท์สุดเก๋ที่ใครหลายคนมีไว้ครอบครองอย่าง “เม็ดบีตหรือลูกปัดรีดร้อน และสายเกลียวพลาสติกสีสันสดใสสำหรับถนอมสายชาร์จโทรศัพท์” ที่ไปๆ มาๆ กลับเกิดโทษเสียมากกว่า เพราะอาจทำให้คุณภาพการใช้งานเสื่อมลง หลังไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้
“เอาความรู้ดีๆ มาฝากครับ เรื่องสายพันสายชาร์จโทรศัพท์ครับ ในฐานะที่ฟ้าเรียนสาขาช่างไฟฟ้ากำลังมา แล้วบังเอิญไปเห็นแฟชั่นแบบใหม่กำลังฮิตกันเลย นั่นคือ การนำสายเกลียวพลาสติกสีสันสวยงาม มาพันกับสายชาร์จโทรศัพท์ หรือที่หูฟัง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ดูสวยงาม แต่สิ่งที่หลายๆ คนยังไม่ทราบคือ มันจะทำให้คุณภาพการใช้งานเสื่อมลงไปด้วยนะครับ
เนื่องจากทุกครั้งที่เราใช้งานทั้งการชาร์จไฟ และที่หูฟัง จะเกิดความร้อนในสายไฟ แต่สายชาร์จและหูฟังปกติฉนวนที่หุ้มสายอยู่นั้นถูกออกแบบให้สามารถระบายความร้อนได้โดยปกติ จึงสามารถใช้งานได้ตามอายุปกติ
แต่สำหรับในกรณีที่เอาอะไรไปพันไว้แบบนี้ จะทำให้ความร้อนจะไม่สามารถระบายออกมาได้ และทำให้ เสื่อมสภาพการใช้งานได้เร็วขึ้นครับ และดีไม่ดี สายจะไหม้เอาง่ายๆ หรือไฟฟ้าอาจจะลัดวงจรได้ครับ สรุปง่ายๆ คือ สวย แต่ พังเร็วขึ้น และอันตรายด้วยครับ อิอิ
ฟ้าไม่ได้มาดิสเครดิตใครนะครับ แค่เอาความรู้ที่เรียนมา มาบอกต่อกันครับ บางท่านอาจจะมองว่าช่างเถอะ ราคาไม่กี่บาท พังแล้วก็ซื้อใหม่ได้ อันนี้ไม่เถียงครับ แต่ถ้าช็อตขึ้นมา ไม่คุ้มกันนะครับ ถ้าข้อมูลของฟ้าไปกระทบใครหรือทำให้ไม่พอใจ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับผม”
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาถกเถียงกันไปต่างๆ นานาว่า ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?? โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าความร้อนที่ระบายออกมาผ่านสายไฟไม่น่าจะทำให้เกิดอันตรายรุนแรงขนาดนั้นได้ ทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ Live จึงต่อสายไปยัง รศ.ดร.ชัยวุฒิ ฉัตรอุทัย อาจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เพื่อไขข้อข้องใจดังกล่าว
“เอาจริงๆ มันก็มีส่วนนะครับ เพราะมันอาจทำให้การระบายความร้อนเกิดปัญหาได้ เพราะเวลาชาร์จ มันก็จะระบายความร้อนออกมาด้วย ถ้าเป็นตัวชนวนปกติมันก็ระบายได้ การใช้สายพลาสติกไปพันรอบๆ เนี่ย มันก็ทำให้ความร้อนสะสมอยู่ แต่จะถึงขั้นเสียหายอันนี้ก็ไม่แน่นอน แต่ตามหลักการความร้อนคงไม่อาจทำให้สายชาร์จพังได้ขนาดนั้น ส่วนเรื่องการลัดวงจรเนี่ยก็ไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นตรงนี้ มันจะมีปัญหาแค่ความร้อนสะสมเท่านั้นเองครับ
แล้วสายชาร์จ หรือสายไฟอะไรก็แล้วแต่เนี่ย ผมว่าเราไม่ควรเอาอะไรไปห่อหุ้มมัน เพราะตามปกติแล้วมันก็จะมีการออกแบบมาอย่างถูกต้องแล้ว พอเอาอะไรมาพันก็เหมือนเป็นการไปบล็อกความร้อนนั่นแหละครับ”
ส่วนในแง่ของคุณประโยชน์ที่เชื่อกันไปว่า “การพันสายชาร์จโทรศัพท์จะช่วยถนอมสายชาร์จนั้น” อาจจะไม่ถูกต้องนัก เพราะสาเหตุที่สายชาร์จเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร สาเหตุหลักเกิดมาจากการดึงกระชากทำให้สายไฟภายในขาด ถึงจะใช้ที่พันสายชาร์จพันแน่นหนาขนาดไหน แต่หากดึงอย่างรุนแรงก็พังได้เหมือนกัน
“การที่ข้อต่อของสายชาร์จมันหัก มันงอ ผมก็ว่ามันก็ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้คอยเปลี่ยนสายล่ะครับ จากที่สังเกตเห็นพวกสายชาร์จไอโฟนเนี่ยจะมีปัญหามาก ตรงข้อต่อมันจะขาดง่าย แล้วส่วนใหญ่บางทีผู้ใช้ก็ชอบดึงกระตุกออกมาจากเต้าเสียบ เพราะฉะนั้น มันก็ต้องขาดแน่นอนอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับการพันสายอะไรเลย ซึ่งบางคนจะใช้วิธีทำข้อต่อให้มันนิ่ง ก็จะเอาสก๊อตเทปมาพันล็อกไว้กับสายเพื่อไม่ให้มันขยับ แต่มันก็คงไม่สวย เลยมีแฟชั่นแบบนี้ออกมา
แนะนำเลยคือวิธีการดึงของผู้ใช้เอง ต้องจับให้หมดแล้วดึง ไม่ใช่กระชากออกมา แต่มันก็เป็นธรรมชาติของคนอ่ะนะครับ อย่างปลั๊กไฟธรรมดาเองก็ดึงกระชากเหมือนกันแหละ ที่พันสายชาร์จมันก็แค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและอาจจะแก้อะไรไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คือเราไม่ควรไปดัดแปลง ไปห่อไปหุ้มสายชาร์จทั้งสิ้น ยิ่งถ้าพังเสียขึ้นมา บริษัทเค้าก็ไม่รับผิดชอบด้วยครับ” รศ.ดร.ชัยวุฒิกล่าวทิ้งท้าย
สุดท้าย คงอยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคน ใครอยากสร้างสีสันสวยๆ ให้ที่ชาร์จของตัวเองก็ทำได้ เพราะทั้งเม็ดบีทและเกลียวพลาสติกสีอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโทษรุนแรงขนาดนั้น เพียงแต่เวลาจะใช้งานก็โปรดถนอมมันสักนิดเพื่อยืดอายุการใช้งานแบบง่ายๆ เท่านั้นเอง
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live