วันนี้ผมได้เจอบทความจากนิตยสาร แมรี่ แคลร์
หัวข้อ “ใส่แบรนด์เนม กับ ลากรองเท้าแตะ พนักงานจะบริการฉันอย่างไร”
เห็นชื่อเรื่องก็ชวนลองให้เปิดอ่านทันที พออ่านจบจึงขอนำเรื่องมาสรุปเล่าเรื่องเพื่อให้ทุกท่านได้เรียนรู้ร่วมกันครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ “แมรี่ แคลร์” นิตยสารแฟชั่นชื่อดัง ได้ทำการทดลองว่าพนักงานขาย จะมีปฏิกิริยาในการให้บริการแตกต่างกันไหม ระหว่าง คนที่แต่งตัวดีใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนม กับคนที่แต่งตัวไม่ดีลากรองเท้าแตะ
แมรี่ แคลร์ ได้นำคุณ “ออกัส” นางแบบโฆษณาโนเนม ไปเข้ารับการบริการสองแบบ วันแรกเธอแต่งตัวสไตล์สาวไร่อ้อยลากรองเท้าแตะ สามวันต่อมาเธอกลายเป็นคุณหนูสุดหรูหราเดินเข้าร้านเดิม โดยการทดลองนี้เกิดขึ้นที่ ห้างหรูกลางใจเมืองแห่งหนึ่ง ลองมาดูว่าปฏิกิริยาที่เธอได้รับเป็นอย่างไร
วันแรกที่เธอแต่งชุดชาวไร่ เดินไปร้านเสื้อผ้า 199 บาท รังสีพิฆาตลอยมาตั้งแต่ก้าวแรกที่เธอเดินเข้าร้าน พนักงานขายมองตั้งแต่หัวจดเท้ากลัวว่าเธอจะมาขโมยของ แต่สุดท้ายพนักงานก็เปลี่ยนท่าทีเมื่อเธอควักเงินจากกระเป๋ามาซื้อเสื้อไปหนึ่งตัว
ร้านต่อ ๆ ไปที่เธอเลือกเดินเข้า ทั้งร้านเสื้อผ้า รองเท้าแบรนด์เนมหรูราคาเกินกว่าหมื่นขึ้นไป หรือร้านเครื่องสำอางค์ราคาแพง พนักงานแต่ละร้านไม่ได้มีท่าทีเข้ามาดูแล มีเพียงแต่จับจ้องกลัวว่าเธอจะขโมยของ บางร้านพนักงานยังทำจมูกฟุดฟิดใส่เธอ เหมือนดูถูกกลาย ๆ
ที่ธนาคารเธอเลือกเข้าไปขอข้อมูลทำบัตรเครดิต พนักงานแนะนำให้เธอว่าถ้าบัตรธรรมดาต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท เธอจึงถามว่าถ้าจะทำบัตร Platinum ละ รอยยิ้มเยอะเย้ยก็ตามมา พร้อมคำพูดว่า “ต้องมีรายได้ 250,000 บาทขึ้นไป” พร้อมทั้งหยิบรายละเอียดให้ดูอย่างเสียไม่ได้
มิหนำซ้ำธนาคาร อีกธนาคารหนึ่งที่เธอเดินเข้าไปเพื่อถามเรื่องบัตรเครดิต เจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้เธอกดบัตรคิวด้วยซ้ำ พร้อมทั้งแจ้งว่าถ้าต้องการรู้รายละเอียดให้โทรมาถาม
สุดท้ายปฏิบัติการวันแรกเธอเดินเข้าโชว์รูม BMW ที่นี่เธอดีรับการดูแลจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดีเหมือนลูกค้าทั่ว ๆ ไป รวมถึงเชื้อเชิญเธอให้ไปทดลองนั่งรถราคา 17 ล้าน อย่างไม่อิดออด
แค่วันแรกเราก็เห็นแล้วว่าพนักงานร้านส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิบัติกับลูกค้าโดยดูจากการแต่งกายเป็นสำคัญ
สามวันถัดมาเธอแต่งตัวหรู คนละสภาพกับวันแรกกลับไปที่ร้านเดิมทุกร้านที่เธอเข้าไปในวันแรก ปฏิกิริยาและคำพูดที่เธอได้รับแตกต่างจากวันแรกโดยสิ้นเชิง พนักงานจำเธอไม่ได้ด้วยซ้ำว่านี่คือชาวไร้อ้อยเมื่อ 3 วันที่แล้ว
พนักงานร้านรองเท้าก้มตัวสวนรองเท้าให้เธออย่างกุลีกุจอ
พนักงานร้านแต่งหน้า แทบจะอุ้มเธอเข้าร้าน
พนักงานธนาคารใช้คำพูดว่า “เพียงมีรายได้ 250,000 บาทขึ้นไปก็สามารถทำบัตร Platinum ได้แล้ว” โดยไม่มีพูดถึงบัตรธรรมดา
เธอไม่ลืมที่จะแวะไปที่โชว์รูม BMW อีกครั้งพร้อมทั้งพร้อมทั้งไปเฉลยปฏิบัติการนี้ให้พนักงานขายฟัง พร้อมทั้งถามคำถามว่าทำไมถึงให้การบริการที่ดีแม้กับคนที่แต่งตัวไม่ดี และไม่น่าจะซื้อรถแน่ ๆ
พนักงาน BMW แจ้งให้ทราบว่า เค้าเคยไม่เอาใจใส่ลูกค้าคนแก่ ๆ ใส่เสื้อยืด นุ่งกางเกงขาด ๆ คนหนึ่ง แต่สุดท้ายแกเอาเงินสด ๆ มาซื้อ BMW ซีรี่ 7 ไป ตั้งแต่นั้นเขาไม่เคยดูถูกคนที่แต่งตัวซอมซ่อเลย
คุณออกัส ในความเห็นหลังเสร็จภาระกิจว่า “ในวันที่เธอแต่งตัวไม่ดี เธอรู้สึกไม่มั่นใจเลย แต่พอแต่งตัวดีความมั่นใจกลับมาเกินร้อย ไม่น่าเชื่อว่าภาพลักษณ์นอกจากจะมีผลต่อคนที่มองเราแล้ว ยังมีผลต่อจิตใจเธอโดยตรงด้วย”
จากเรื่องนี้ พ.ญ. อัมพร เบญจพลพิทักษ์ จากกรมสุขภาพจิต ให้ความรู้ไว้ว่า “มนุษย์จะรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากว่านามธรรม รูปธรรมคือสิ่งที่คนเรามองเห็นด้วยตาอันเป็นประตูแรกในการรับรู้ พอรับรู้แล้วก็นำมาแปลความจากประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ แล้วใช้ค่านิยมเดิมมาตัดสินคนอื่นซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยเฉพาะในยุคทุนนิยมที่เรายึดถือความมี และไม่มีเป็นหลัก”
ขอขอบคุณเรื่องและภาพประกอบจากนิตยสาร แมรี่ แคลร์ ที่นำสิ่งดี ๆ มาเล่าให้พวกเราอ่านครับ
https://www.facebook.com/groups/721880084529324/ ชุมชน SMP.
Service Mind ชุมชนหัวใจบริการ สู่ระดับบริการมาตรฐานสากล
ถ้าคุณเป็นพนักงานคุณจะบริการอย่างไร? เหตุเกิดที่ห้างหรูกลางใจเมือง
หัวข้อ “ใส่แบรนด์เนม กับ ลากรองเท้าแตะ พนักงานจะบริการฉันอย่างไร”
เห็นชื่อเรื่องก็ชวนลองให้เปิดอ่านทันที พออ่านจบจึงขอนำเรื่องมาสรุปเล่าเรื่องเพื่อให้ทุกท่านได้เรียนรู้ร่วมกันครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ “แมรี่ แคลร์” นิตยสารแฟชั่นชื่อดัง ได้ทำการทดลองว่าพนักงานขาย จะมีปฏิกิริยาในการให้บริการแตกต่างกันไหม ระหว่าง คนที่แต่งตัวดีใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนม กับคนที่แต่งตัวไม่ดีลากรองเท้าแตะ
แมรี่ แคลร์ ได้นำคุณ “ออกัส” นางแบบโฆษณาโนเนม ไปเข้ารับการบริการสองแบบ วันแรกเธอแต่งตัวสไตล์สาวไร่อ้อยลากรองเท้าแตะ สามวันต่อมาเธอกลายเป็นคุณหนูสุดหรูหราเดินเข้าร้านเดิม โดยการทดลองนี้เกิดขึ้นที่ ห้างหรูกลางใจเมืองแห่งหนึ่ง ลองมาดูว่าปฏิกิริยาที่เธอได้รับเป็นอย่างไร
วันแรกที่เธอแต่งชุดชาวไร่ เดินไปร้านเสื้อผ้า 199 บาท รังสีพิฆาตลอยมาตั้งแต่ก้าวแรกที่เธอเดินเข้าร้าน พนักงานขายมองตั้งแต่หัวจดเท้ากลัวว่าเธอจะมาขโมยของ แต่สุดท้ายพนักงานก็เปลี่ยนท่าทีเมื่อเธอควักเงินจากกระเป๋ามาซื้อเสื้อไปหนึ่งตัว
ร้านต่อ ๆ ไปที่เธอเลือกเดินเข้า ทั้งร้านเสื้อผ้า รองเท้าแบรนด์เนมหรูราคาเกินกว่าหมื่นขึ้นไป หรือร้านเครื่องสำอางค์ราคาแพง พนักงานแต่ละร้านไม่ได้มีท่าทีเข้ามาดูแล มีเพียงแต่จับจ้องกลัวว่าเธอจะขโมยของ บางร้านพนักงานยังทำจมูกฟุดฟิดใส่เธอ เหมือนดูถูกกลาย ๆ
ที่ธนาคารเธอเลือกเข้าไปขอข้อมูลทำบัตรเครดิต พนักงานแนะนำให้เธอว่าถ้าบัตรธรรมดาต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท เธอจึงถามว่าถ้าจะทำบัตร Platinum ละ รอยยิ้มเยอะเย้ยก็ตามมา พร้อมคำพูดว่า “ต้องมีรายได้ 250,000 บาทขึ้นไป” พร้อมทั้งหยิบรายละเอียดให้ดูอย่างเสียไม่ได้
มิหนำซ้ำธนาคาร อีกธนาคารหนึ่งที่เธอเดินเข้าไปเพื่อถามเรื่องบัตรเครดิต เจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้เธอกดบัตรคิวด้วยซ้ำ พร้อมทั้งแจ้งว่าถ้าต้องการรู้รายละเอียดให้โทรมาถาม
สุดท้ายปฏิบัติการวันแรกเธอเดินเข้าโชว์รูม BMW ที่นี่เธอดีรับการดูแลจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดีเหมือนลูกค้าทั่ว ๆ ไป รวมถึงเชื้อเชิญเธอให้ไปทดลองนั่งรถราคา 17 ล้าน อย่างไม่อิดออด
แค่วันแรกเราก็เห็นแล้วว่าพนักงานร้านส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิบัติกับลูกค้าโดยดูจากการแต่งกายเป็นสำคัญ
สามวันถัดมาเธอแต่งตัวหรู คนละสภาพกับวันแรกกลับไปที่ร้านเดิมทุกร้านที่เธอเข้าไปในวันแรก ปฏิกิริยาและคำพูดที่เธอได้รับแตกต่างจากวันแรกโดยสิ้นเชิง พนักงานจำเธอไม่ได้ด้วยซ้ำว่านี่คือชาวไร้อ้อยเมื่อ 3 วันที่แล้ว
พนักงานร้านรองเท้าก้มตัวสวนรองเท้าให้เธออย่างกุลีกุจอ
พนักงานร้านแต่งหน้า แทบจะอุ้มเธอเข้าร้าน
พนักงานธนาคารใช้คำพูดว่า “เพียงมีรายได้ 250,000 บาทขึ้นไปก็สามารถทำบัตร Platinum ได้แล้ว” โดยไม่มีพูดถึงบัตรธรรมดา
เธอไม่ลืมที่จะแวะไปที่โชว์รูม BMW อีกครั้งพร้อมทั้งพร้อมทั้งไปเฉลยปฏิบัติการนี้ให้พนักงานขายฟัง พร้อมทั้งถามคำถามว่าทำไมถึงให้การบริการที่ดีแม้กับคนที่แต่งตัวไม่ดี และไม่น่าจะซื้อรถแน่ ๆ
พนักงาน BMW แจ้งให้ทราบว่า เค้าเคยไม่เอาใจใส่ลูกค้าคนแก่ ๆ ใส่เสื้อยืด นุ่งกางเกงขาด ๆ คนหนึ่ง แต่สุดท้ายแกเอาเงินสด ๆ มาซื้อ BMW ซีรี่ 7 ไป ตั้งแต่นั้นเขาไม่เคยดูถูกคนที่แต่งตัวซอมซ่อเลย
คุณออกัส ในความเห็นหลังเสร็จภาระกิจว่า “ในวันที่เธอแต่งตัวไม่ดี เธอรู้สึกไม่มั่นใจเลย แต่พอแต่งตัวดีความมั่นใจกลับมาเกินร้อย ไม่น่าเชื่อว่าภาพลักษณ์นอกจากจะมีผลต่อคนที่มองเราแล้ว ยังมีผลต่อจิตใจเธอโดยตรงด้วย”
จากเรื่องนี้ พ.ญ. อัมพร เบญจพลพิทักษ์ จากกรมสุขภาพจิต ให้ความรู้ไว้ว่า “มนุษย์จะรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากว่านามธรรม รูปธรรมคือสิ่งที่คนเรามองเห็นด้วยตาอันเป็นประตูแรกในการรับรู้ พอรับรู้แล้วก็นำมาแปลความจากประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ แล้วใช้ค่านิยมเดิมมาตัดสินคนอื่นซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยเฉพาะในยุคทุนนิยมที่เรายึดถือความมี และไม่มีเป็นหลัก”
ขอขอบคุณเรื่องและภาพประกอบจากนิตยสาร แมรี่ แคลร์ ที่นำสิ่งดี ๆ มาเล่าให้พวกเราอ่านครับ
https://www.facebook.com/groups/721880084529324/ ชุมชน SMP.
Service Mind ชุมชนหัวใจบริการ สู่ระดับบริการมาตรฐานสากล