อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากเกาะสมุยและเกาะพะงันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 40 เกาะ ตามเกาะต่างๆ จะมีหาดทรายอยู่เกือบทุกเกาะ บางเกาะหาดทรายมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ บางเกาะมีปะการังตามชายทะเลหลายชนิด สีสวยงามหลากสี อยู่ท่ามกลางความเงียบสงบ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองมีเนื้อที่ประมาณ 63,750 ไร่ หรือ 102 ตารางกิโลเมตร
บริเวณหมู่เกาะอ่างทองแต่เดิมเป็นพื้นที่หวงห้ามของกองทัพเรือซึ่งมีโครงการจะสร้างฐานทัพเรือเพื่อควบคุมความปลอดภัยของประเทศทางด้านอ่าวไทย แต่ด้วยมีทิวทัศน์สวยงาม ทะเลสาบ หน้าผา ถ้ำทะลุ เกาะรังนกนางแอ่น นกนานาชนิด และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ปลานานาชนิด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ตรี กองอุทยานแห่งชาติ ได้เขียนบทความสารคดีเรื่อง “หมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติทางทะเล” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2518 สรุปสาระสำคัญว่า ควรจัดหมู่เกาะอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ประกอบกับกองอุทยานแห่งชาติได้มีโครงการอยู่แล้วเช่นกัน และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 ให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกแห่งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกที่ กส.0708/915 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2518 เสนอกรมป่าไม้ ให้นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปทำการสำรวจ ปรากฏว่า หมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะประมาณ 40 เกาะ มีทิวทัศน์สวยงาม ทะเลสาบ หน้าผา ถ้ำทะลุ เกาะรังนกนางแอ่น และนกนานาชนิด ปะการัง เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ปลานานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2519 ให้กรมป่าไม้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหมู่เกาะอ่างทอง กับกระทรวงกลาโหม และทำการตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือที่ กส.0708/1613 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2519 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสินไชย บูรณะเรข นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือที่ กห. 0352 / 26927 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2519 ไม่ขัดข้องในการที่กรมป่าไม้ จะกำหนดหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบให้กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติได้ ทั้งทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีหนังสือที่ สฎ.25/21994 ลงวันที่ 18 เมษายน 2520 ให้การสนับสนุนการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณหมู่เกาะอ่างทองในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมเนื้อที่ 102 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 174 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2523 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 21 ของประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะ 42 เกาะ ลักษณะเกาะเป็นเขาหินปูนและมีหน้าผาสูงชันเกือบทั้งหมด มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 10-396 เมตรจากระดับน้ำทะเล เรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้ เกาะที่มีขนาดใหญ่ เช่น เกาะวัวตาหลับ เกาะพะลวย เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ และเกาะท้ายเพลา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองเป็นพื้นน้ำ มีพื้นป่าประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ สภาพป่าโดยทั่วไปมีไม้ขนาดใหญ่น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากเกาะที่เป็นเขาหินปูนมีเนื้อดินเป็นชั้นบาง
( ที่มา :
http://www.dnp.go.th/ )
[CR] Day Trips : Mue Koh Angthong National Park, Surat Thani, Thailand
บริเวณหมู่เกาะอ่างทองแต่เดิมเป็นพื้นที่หวงห้ามของกองทัพเรือซึ่งมีโครงการจะสร้างฐานทัพเรือเพื่อควบคุมความปลอดภัยของประเทศทางด้านอ่าวไทย แต่ด้วยมีทิวทัศน์สวยงาม ทะเลสาบ หน้าผา ถ้ำทะลุ เกาะรังนกนางแอ่น นกนานาชนิด และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ปลานานาชนิด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ตรี กองอุทยานแห่งชาติ ได้เขียนบทความสารคดีเรื่อง “หมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติทางทะเล” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2518 สรุปสาระสำคัญว่า ควรจัดหมู่เกาะอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ประกอบกับกองอุทยานแห่งชาติได้มีโครงการอยู่แล้วเช่นกัน และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 ให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกแห่งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกที่ กส.0708/915 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2518 เสนอกรมป่าไม้ ให้นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปทำการสำรวจ ปรากฏว่า หมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะประมาณ 40 เกาะ มีทิวทัศน์สวยงาม ทะเลสาบ หน้าผา ถ้ำทะลุ เกาะรังนกนางแอ่น และนกนานาชนิด ปะการัง เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ปลานานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2519 ให้กรมป่าไม้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหมู่เกาะอ่างทอง กับกระทรวงกลาโหม และทำการตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือที่ กส.0708/1613 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2519 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสินไชย บูรณะเรข นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือที่ กห. 0352 / 26927 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2519 ไม่ขัดข้องในการที่กรมป่าไม้ จะกำหนดหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบให้กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติได้ ทั้งทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีหนังสือที่ สฎ.25/21994 ลงวันที่ 18 เมษายน 2520 ให้การสนับสนุนการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณหมู่เกาะอ่างทองในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมเนื้อที่ 102 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 174 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2523 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 21 ของประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะ 42 เกาะ ลักษณะเกาะเป็นเขาหินปูนและมีหน้าผาสูงชันเกือบทั้งหมด มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 10-396 เมตรจากระดับน้ำทะเล เรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้ เกาะที่มีขนาดใหญ่ เช่น เกาะวัวตาหลับ เกาะพะลวย เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ และเกาะท้ายเพลา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองเป็นพื้นน้ำ มีพื้นป่าประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ สภาพป่าโดยทั่วไปมีไม้ขนาดใหญ่น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากเกาะที่เป็นเขาหินปูนมีเนื้อดินเป็นชั้นบาง
( ที่มา : http://www.dnp.go.th/ )