'ผู้บ่าวไทบ้าน ผู้สร้างปรากฏการณ์เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่' : คอลัมน์ เอกเขนกดูหนัง โดย... ณัฐพงษ์ โอฆะพนม
กลายเป็นข่าวครึกโครมที่เกิดขึ้นกับวงการหนังไทยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ “ศรีธนญชัย 555+” กำลังจะกระโดดตึกฆ่าตัวตายเพราะหนังถูกถอดออกจากโรง หลังเข้าฉายไม่กี่วันและทำรายได้ไปแค่ไม่กี่หมื่นบาท โดยอ้างว่าใช้เงินลงทุนในการสร้างหนังเรื่องนี้สูงถึง 40 ล้านบาท
แม้สุดท้ายนายทุนรายนี้จะเลิกล้มความตั้งใจฆ่าตัวตายท่ามกลางการเกลี้ยกล่อมของเพื่อนๆ และญาติมิตรที่หวังดี แต่ก็มีข้อสงสัยตามมามากมายต่อจากนั้นว่า เหตุใดหนังไร้กระแสเช่นนี้ อ่อนการประชาสัมพันธ์ขนาดนี้ หรือกระทั่งหนังตัวอย่างสั้นๆ ก็แทบจะไม่มีจุดขายที่แข็งแรงหรือหน้าหนังที่สื่อไม่ชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร ใช้เงินลงทุนมากมายขนาดนี้เชียวหรือ? แต่เชื่อแน่ว่ากระแสข่าวที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้หนังเป็นที่สนใจถึงขั้นนำกลับมาเข้าโรงฉายใหม่อย่างแน่นอน เพราะเอาเข้าจริงแล้วเสียงจากผู้ชมที่ไปดูมาส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่แสดงความผิดหวังต่อหนังเรื่องนี้แทบทั้งสิ้น
ในช่วงเวลาเดียวกัน มีหนังเล็กๆ ที่น่าจะใช้ทุนสร้างไม่ถึง 1 ใน 4 ของ ‘ศรีธนญชัย555+’และเข้าฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์แถบภาคอีสาน แต่กลับได้รับความนิยมถล่มทลายเหนือความคาดหมาย ตั๋วเต็มเกือบทุกโรงจนมีการเพิ่มรอบอย่างรวดเร็ว ผู้คนแห่กันไปชมชนิดล้นทะลัก จนในที่สุด “ผู้บ่าวไทบ้าน” หนังพูดอีสานเรื่องนี้ก็ทำรายได้ในสัปดาห์เปิดตัวไปถึง 5 ล้าน 6 แสนบาท ในขณะที่เรื่องแรก รายได้ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ‘ศรีธนญชัย 555+’เก็บไปได้ราว 1 แสน 4 หมื่นบาท
ด้วยทุนสร้างที่ห่างกันไกลราว 10 เท่าของ “ผู้บ่าวไทบ้าน” และ “ศรีธนญชัย555+” (ตามที่นายทุนหนัง “ศรีธนญชัย555+”กล่าวอ้างว่า 40 ล้านบาท) และผลลัพธ์ของรายได้ที่ต่างกันถึง 50 เท่า ที่หนังพูดอีสานเล็กๆ เรื่องหนึ่งทำได้ สะท้อนให้เห็นความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นกับวงการหนังไทยที่ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในรอบหลายปีเลยทีเดียว
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ “ผู้บ่าวไทบ้าน” ในโรงหนังทั่วภาคอีสาน ทั้งขอนแก่น อุบลฯ อุดรฯ มหาสารคาม กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด สกลนคร บุรีรัมย์ หนองคาย ฯลฯ ผู้กำกับ อุเทน ศรีริวิ เล่าให้ฟังว่า เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับ “พี่มากพระโขนง” เมื่อปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีคนมารอต่อคิวซื้อตั๋วยาวเหยียด, ขายตั๋วหมดก่อนฉายล่วงหน้าหลายรอบ ในหลายโรงๆ หลายๆ จังหวัดภาคอีสาน และสุดท้ายที่คนทำปลาบปลื้มใจก็คือ เสียงชื่นชมจากคนดูว่าหนังสนุกเหลือหลาย
อุเทน บอกว่า ก่อนหน้านี้เขาเคยไปติดต่อเครือโรงหนังยักษ์ใหญ่มาแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา จนสุดท้ายตัดสินใจนำหนังไปฉายให้สายหนังดูและตามมาด้วยการตกลงนำเข้าฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์เฉพาะเขตภาคอีสาน ซึ่งอุเทน ต่อรองด้วยการขอสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของหนังแลกกับการแบ่งรายได้กับโรงหนัง ไม่ได้ขายขาดในสิทธิ์การเป็นเจ้าของให้กับสายหนังเหมือนหนังไทยหลายๆ เรื่องที่ผ่านมา แม้จะรู้ว่าส่วนแบ่งจากโรงอาจจะน้อยกว่าปกติ เพราะส่วนใหญ่โรงหนังภาคอีสานเป็นโรงขนาดเล็กจุผู้ชมได้ไม่มากนัก และสุดท้ายสิ่งที่อุเทน คิดและตั้งใจทำ ก็นำมาซึ่งความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เจ้าตัวคาดคิดไว้ อุเทน บอกว่าหลังโรงหนังเครือยักษใหญ่รู้ถึงกระแสความนิยมทะลักล้นถล่มทลายของ “ผู้บ่าวไทบ้าน” ในแถบอีสาน เขาก็ได้รับการติดต่อให้นำหนังเข้ามาฉายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทันที (ขณะนี้กำลังวางแผนเรื่องโปรแกรมฉายกันอยู่ คาดว่าไม่น่าจะเกิน 1-2 สัปดาห์จากนี้)
อุเทน ตั้งใจลงมือลงแรงทำหนังเรื่องนี้ ด้วยสายเลือดแห่งความเป็นคนอีสานฉีดแรง ตั้งแต่อยากนำเสนอเรื่องราวของคนและวัฒนธรรมอีสานร่วมสมัยลงไปในหนังโดยได้ไอเดียจากหนังสั้นชื่อเดียวกัน ที่เขาและเพื่อนๆ ช่วยกันทำสนุกๆ จนได้รับความนิยมในโลกออนไลน์ ก่อนจะมองเห็นช่องทางในการทำหนัง และตัดสินใจหยิบมาพัฒนาเป็นหนังขนาดยาวโดยใช้เวลาถึง 3 ปี ตั้งแต่จรดปากกาเขียนบท ก่อนจะตัดสินใจเอาที่นาไปจำนอง เอารถไปเข้าไฟแนนซ์ เพื่อหาเงินมาทำ และโชคดีที่มีคนเห็นความน่าสนใจในตัวหนังและร่วมลงขันลงทุน จนสำเร็จเสร็จออกมาพร้อมฉาย ที่สำคัญอุเทนรู้ว่า คนดูของเขาเป็นใคร ฉะนั้น “ผู้บ่าวไทบ้าน” จึงเป็นหนังที่พูดภาษาอีสานตลอดทั้งเรื่องและโรงหนังไม่สนใจ เขาก็ลองมองหาช่องทางใหม่ๆ ด้วยการนำออกฉายให้คนพื้นถิ่นเดียวกันได้ดู อุเทนและเพื่อนๆ ไม่มีเงินซื้อโฆษณาในหนังบันเทิงของหนังสือพิมพ์หัวสี ไม่มีงบประมาณพอจะเวลาฉายสปอทโฆษณาทางทีวี ไม่มีแม้กระทั่ง จะทำป้ายแบนเนอร์ใหญ่ๆ ไปติดตามโรงภาพยนตร์ ทำได้ก็เพียงช่วยกันออกแบบโปสเตอร์กับเพื่อนๆ แล้วพิมพ์ไปแจกจ่ายตามโรงที่หนังเข้าฉาย และสุดท้ายสิ่งที่พวกเขาใช้มากกว่าเงินคือแรงกาย ใจ และสติปัญญา ก็นำมาซึ่งการต้อนรับอย่างอบอุ่นและยิ่งใหญ่จากคนดูในท้ายที่สุด
การทำหนังด้วยความรักกับการทำหนังเพื่อหวังผลทางธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงผลตอบรับกลับมายังคนทำอย่างเด่นชัดโดยเฉพาะกรณีของ “ผู้บ่าวไทบ้าน” และ “ศรีธนญชัย555+” แม้ในความเป็นจริงสองสิ่งนี้ ไม่อาจแยกห่างและต่างต้องอาศัยพึ่งพาในการเดินทางร่วมกันกว่าที่หนังสักเรื่องจะออกสู่สายตาผู้ชมได้แต่ถ้าความตั้งใจแรกเริ่มหากมีน้ำหนักของการลงมือทำด้วยความรักมากกว่าแสวงหาผลกำไร หนังเรื่องนั้นก็มักจะประสบความสำเร็จทุกครั้งไป และถึงแม้รายได้กลับมาไม่มากมาย แต่อย่างน้อยก็ยังได้เสียงชื่นชมกลับมาหล่อเลี้ยงหัวใจเป็นการทดแทน เพราะภาพที่ปรากฏในหนังแต่ละฉาก แต่ละเฟรม ไม่เพียงถ่ายทอดเรื่องราวจากจินตนาการของคนทำหนังเท่านั้น หากแต่มันยังสะท้อนถึงมุ่งมั่นทุ่มเท ประณีตบรรจงลงมือ ลงแรงผ่านหลังใจมหาศาล ซึ่งเชื่อว่ามันสามารถสื่อไปยังคนดูให้รับรู้ถึงพลังและปณิธานอันแรงกล้าเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย
.......................................
(หมายเหตุ 'ผู้บ่าวไทบ้าน ผู้สร้างปรากฏการณ์เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่' : คอลัมน์ เอกเขนกดูหนัง โดย... ณัฐพงษ์ โอฆะพนม)
ขออนุญาตแท็กหลายห้องนะคะ
'ผู้บ่าวไทบ้าน ผู้สร้างปรากฏการณ์เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่'
กลายเป็นข่าวครึกโครมที่เกิดขึ้นกับวงการหนังไทยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ “ศรีธนญชัย 555+” กำลังจะกระโดดตึกฆ่าตัวตายเพราะหนังถูกถอดออกจากโรง หลังเข้าฉายไม่กี่วันและทำรายได้ไปแค่ไม่กี่หมื่นบาท โดยอ้างว่าใช้เงินลงทุนในการสร้างหนังเรื่องนี้สูงถึง 40 ล้านบาท
แม้สุดท้ายนายทุนรายนี้จะเลิกล้มความตั้งใจฆ่าตัวตายท่ามกลางการเกลี้ยกล่อมของเพื่อนๆ และญาติมิตรที่หวังดี แต่ก็มีข้อสงสัยตามมามากมายต่อจากนั้นว่า เหตุใดหนังไร้กระแสเช่นนี้ อ่อนการประชาสัมพันธ์ขนาดนี้ หรือกระทั่งหนังตัวอย่างสั้นๆ ก็แทบจะไม่มีจุดขายที่แข็งแรงหรือหน้าหนังที่สื่อไม่ชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร ใช้เงินลงทุนมากมายขนาดนี้เชียวหรือ? แต่เชื่อแน่ว่ากระแสข่าวที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้หนังเป็นที่สนใจถึงขั้นนำกลับมาเข้าโรงฉายใหม่อย่างแน่นอน เพราะเอาเข้าจริงแล้วเสียงจากผู้ชมที่ไปดูมาส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่แสดงความผิดหวังต่อหนังเรื่องนี้แทบทั้งสิ้น
ในช่วงเวลาเดียวกัน มีหนังเล็กๆ ที่น่าจะใช้ทุนสร้างไม่ถึง 1 ใน 4 ของ ‘ศรีธนญชัย555+’และเข้าฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์แถบภาคอีสาน แต่กลับได้รับความนิยมถล่มทลายเหนือความคาดหมาย ตั๋วเต็มเกือบทุกโรงจนมีการเพิ่มรอบอย่างรวดเร็ว ผู้คนแห่กันไปชมชนิดล้นทะลัก จนในที่สุด “ผู้บ่าวไทบ้าน” หนังพูดอีสานเรื่องนี้ก็ทำรายได้ในสัปดาห์เปิดตัวไปถึง 5 ล้าน 6 แสนบาท ในขณะที่เรื่องแรก รายได้ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ‘ศรีธนญชัย 555+’เก็บไปได้ราว 1 แสน 4 หมื่นบาท
ด้วยทุนสร้างที่ห่างกันไกลราว 10 เท่าของ “ผู้บ่าวไทบ้าน” และ “ศรีธนญชัย555+” (ตามที่นายทุนหนัง “ศรีธนญชัย555+”กล่าวอ้างว่า 40 ล้านบาท) และผลลัพธ์ของรายได้ที่ต่างกันถึง 50 เท่า ที่หนังพูดอีสานเล็กๆ เรื่องหนึ่งทำได้ สะท้อนให้เห็นความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นกับวงการหนังไทยที่ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในรอบหลายปีเลยทีเดียว
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ “ผู้บ่าวไทบ้าน” ในโรงหนังทั่วภาคอีสาน ทั้งขอนแก่น อุบลฯ อุดรฯ มหาสารคาม กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด สกลนคร บุรีรัมย์ หนองคาย ฯลฯ ผู้กำกับ อุเทน ศรีริวิ เล่าให้ฟังว่า เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับ “พี่มากพระโขนง” เมื่อปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีคนมารอต่อคิวซื้อตั๋วยาวเหยียด, ขายตั๋วหมดก่อนฉายล่วงหน้าหลายรอบ ในหลายโรงๆ หลายๆ จังหวัดภาคอีสาน และสุดท้ายที่คนทำปลาบปลื้มใจก็คือ เสียงชื่นชมจากคนดูว่าหนังสนุกเหลือหลาย
อุเทน บอกว่า ก่อนหน้านี้เขาเคยไปติดต่อเครือโรงหนังยักษ์ใหญ่มาแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา จนสุดท้ายตัดสินใจนำหนังไปฉายให้สายหนังดูและตามมาด้วยการตกลงนำเข้าฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์เฉพาะเขตภาคอีสาน ซึ่งอุเทน ต่อรองด้วยการขอสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของหนังแลกกับการแบ่งรายได้กับโรงหนัง ไม่ได้ขายขาดในสิทธิ์การเป็นเจ้าของให้กับสายหนังเหมือนหนังไทยหลายๆ เรื่องที่ผ่านมา แม้จะรู้ว่าส่วนแบ่งจากโรงอาจจะน้อยกว่าปกติ เพราะส่วนใหญ่โรงหนังภาคอีสานเป็นโรงขนาดเล็กจุผู้ชมได้ไม่มากนัก และสุดท้ายสิ่งที่อุเทน คิดและตั้งใจทำ ก็นำมาซึ่งความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เจ้าตัวคาดคิดไว้ อุเทน บอกว่าหลังโรงหนังเครือยักษใหญ่รู้ถึงกระแสความนิยมทะลักล้นถล่มทลายของ “ผู้บ่าวไทบ้าน” ในแถบอีสาน เขาก็ได้รับการติดต่อให้นำหนังเข้ามาฉายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทันที (ขณะนี้กำลังวางแผนเรื่องโปรแกรมฉายกันอยู่ คาดว่าไม่น่าจะเกิน 1-2 สัปดาห์จากนี้)
อุเทน ตั้งใจลงมือลงแรงทำหนังเรื่องนี้ ด้วยสายเลือดแห่งความเป็นคนอีสานฉีดแรง ตั้งแต่อยากนำเสนอเรื่องราวของคนและวัฒนธรรมอีสานร่วมสมัยลงไปในหนังโดยได้ไอเดียจากหนังสั้นชื่อเดียวกัน ที่เขาและเพื่อนๆ ช่วยกันทำสนุกๆ จนได้รับความนิยมในโลกออนไลน์ ก่อนจะมองเห็นช่องทางในการทำหนัง และตัดสินใจหยิบมาพัฒนาเป็นหนังขนาดยาวโดยใช้เวลาถึง 3 ปี ตั้งแต่จรดปากกาเขียนบท ก่อนจะตัดสินใจเอาที่นาไปจำนอง เอารถไปเข้าไฟแนนซ์ เพื่อหาเงินมาทำ และโชคดีที่มีคนเห็นความน่าสนใจในตัวหนังและร่วมลงขันลงทุน จนสำเร็จเสร็จออกมาพร้อมฉาย ที่สำคัญอุเทนรู้ว่า คนดูของเขาเป็นใคร ฉะนั้น “ผู้บ่าวไทบ้าน” จึงเป็นหนังที่พูดภาษาอีสานตลอดทั้งเรื่องและโรงหนังไม่สนใจ เขาก็ลองมองหาช่องทางใหม่ๆ ด้วยการนำออกฉายให้คนพื้นถิ่นเดียวกันได้ดู อุเทนและเพื่อนๆ ไม่มีเงินซื้อโฆษณาในหนังบันเทิงของหนังสือพิมพ์หัวสี ไม่มีงบประมาณพอจะเวลาฉายสปอทโฆษณาทางทีวี ไม่มีแม้กระทั่ง จะทำป้ายแบนเนอร์ใหญ่ๆ ไปติดตามโรงภาพยนตร์ ทำได้ก็เพียงช่วยกันออกแบบโปสเตอร์กับเพื่อนๆ แล้วพิมพ์ไปแจกจ่ายตามโรงที่หนังเข้าฉาย และสุดท้ายสิ่งที่พวกเขาใช้มากกว่าเงินคือแรงกาย ใจ และสติปัญญา ก็นำมาซึ่งการต้อนรับอย่างอบอุ่นและยิ่งใหญ่จากคนดูในท้ายที่สุด
การทำหนังด้วยความรักกับการทำหนังเพื่อหวังผลทางธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงผลตอบรับกลับมายังคนทำอย่างเด่นชัดโดยเฉพาะกรณีของ “ผู้บ่าวไทบ้าน” และ “ศรีธนญชัย555+” แม้ในความเป็นจริงสองสิ่งนี้ ไม่อาจแยกห่างและต่างต้องอาศัยพึ่งพาในการเดินทางร่วมกันกว่าที่หนังสักเรื่องจะออกสู่สายตาผู้ชมได้แต่ถ้าความตั้งใจแรกเริ่มหากมีน้ำหนักของการลงมือทำด้วยความรักมากกว่าแสวงหาผลกำไร หนังเรื่องนั้นก็มักจะประสบความสำเร็จทุกครั้งไป และถึงแม้รายได้กลับมาไม่มากมาย แต่อย่างน้อยก็ยังได้เสียงชื่นชมกลับมาหล่อเลี้ยงหัวใจเป็นการทดแทน เพราะภาพที่ปรากฏในหนังแต่ละฉาก แต่ละเฟรม ไม่เพียงถ่ายทอดเรื่องราวจากจินตนาการของคนทำหนังเท่านั้น หากแต่มันยังสะท้อนถึงมุ่งมั่นทุ่มเท ประณีตบรรจงลงมือ ลงแรงผ่านหลังใจมหาศาล ซึ่งเชื่อว่ามันสามารถสื่อไปยังคนดูให้รับรู้ถึงพลังและปณิธานอันแรงกล้าเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย
.......................................
(หมายเหตุ 'ผู้บ่าวไทบ้าน ผู้สร้างปรากฏการณ์เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่' : คอลัมน์ เอกเขนกดูหนัง โดย... ณัฐพงษ์ โอฆะพนม)
ขออนุญาตแท็กหลายห้องนะคะ