ทำไม พ่อแม่จึงรักลูกมากกว่าที่ลูกรักพ่อแม่?

ทำไม พ่อแม่จึงรักลูกมากกว่าที่ลูกรักพ่อแม่?

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=papabenz&month=14-06-2014&group=1&gblog=5
---------------------------------------------------------------------------------

ผมคิดว่าหลายคนที่เห็นคำถามนี้ น่าจะเกิดคำถาม รวมทั้งตัวผมเอง

เป็นคนหนึ่งที่เมื่อมีลูกแล้ว ตัวเราเองเป็นทั้ง 2 บทบาท ทั้งลูก และพ่อ เกิด

คำถาม ยอมรับว่าแม้ผมจะพยายาม ขนาดไหน ก็ไม่มีทางที่ผมจะรักท่านได้

มากกว่าที่ท่านรักผมได้ และในอีกทางหนึ่ง ผมเองก็รักลูกมากกว่าที่ลูกจะรักผมได้

จริงๆ (หัวข้อที่พูดนี้ โดยทั่วไปหมายถึงเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่อยากมีลูก และรัก

ลูกจริงๆในด้านดีนะครับ ไม่รวมถึงเหตุการณ์ผิดธรรมชาติอื่นๆตามที่ปรากฎ ตาม

ข่าวหน้าหนึ่งอยู่เรื่อยๆ)



เริ่มต้นผมขออนุญาตทำความเข้าใจกับความรัก ในทางพุทธศาสนา

ก่อนนะครับ



ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า

“ความรัก คือ ความใจกว้างเห็นแก่ผู้อื่นจนไม่มีตัวตนเหลืออยู่”



และจาก http://www.buddhabucha.net/love-in-buddhism/

ได้สรุปลำดับขั้นความรักในพระพุทธศาสนาได้เป็น 4 ขั้นง่ายๆดังนี้

1.สเน่หา, ตัณหา – ความรักตัวเอง

2.เปม – ความรักครอบครัว

3.เมตตา – ความรักคนรอบข้าง

4.ฉันทะ – ความรักในความต้องการการหลุดพ้นจากกิเลส



แน่นอนว่ามนุษย์เราทั่วไปเมื่อเกิดมา คงไม่มีใครมา

พร้อมกับความรักในขั้นที่ 3, 4 จิตย่อมต้องใช้เวลาค่อยๆพัฒนาขึ้นมา  

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พ่อแม่ย่อม(อาจ)มีความพร้อมในความรัก

และเสียสละขั้นสูงมากกว่าลูกที่เพิ่งเกิด




ทีนี้เราลองมาดูสาเหตุที่พ่อแม่รักลูกมากกว่าที่ลูกรักพ่อแม่

??? ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ???

เท่าที่ผมได้ลองหาข้อมูลดู ยังไม่เจอข้อมูลทางศาสนาพุทธที่ผมนับถืออยู่

อธิบายไว้ชัดเจน แต่ไปเจอของศาสนาคริสต์ กล่าวถึง

5 เหตุผลที่พ่อแม่รักลูก

1) การสืบทอดสิทธิในการสร้างสรรค์จากพระเจ้า

2) เป็นเพราะมนุษย์อยู่ในขอบเขตของความรักในแนวดิ่ง

3) เพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานที่ยิ่งใหญ่และเป้าหมายของชีวิต

4) เนื่องจากลูกเป็นเงาสะท้อนของพ่อแม่

5) เพื่อที่จะดำรงอยู่

แต่อ่านดูแล้ว เหมือนต้องใช้ศรัทธาให้เชื่อมากกว่า

ไม่เป็นวิทยาศาสตร์เหมือนทางพุทธ ซึ่งผมลองคิดดูในฐานะ 2 บทบาทของเรา

ก็คิดได้ 2 สาเหตุที่น่าสนใจ (ผมมั่นใจว่าในพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนา

ย่อมมีคำอธิบายไว้ เพียงแต่ผมยังไม่ได้ค้นคว้า เพียงแต่คิดด้วยหลักทาง

จิตวิทยา) คือ

1.ความตั้งใจเริ่มต้น เกิดมาจากพ่อแม่อยากมีลูก แต่ลูกไม่ได้อยาก

มีพ่อแม่

เหตุผลเริ่มต้นของการกำเนิดของลูก (โดยความตั้งใจนะครับ)

ก็มาจากความต้องการ และการวางแผนของพ่อแม่ ในขณะที่ลูกเริ่มต้น

ก็เป็นเพียงดวงจิตที่มาจุติในร่างมนุษย์ เมื่อเกิดมาก็มีเพียงความผูกพัน

และความรักในเบื้องต้นคือเสน่หา หรือเปมะเท่านั้น แต่ความรักในขั้นสูง

ขึ้นไปโดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน (หรือตายแทนได้) นั้นยังไม่มี ส่วนพ่อแม่นั้น

ความรักในขั้นสูงเช่นนี้เริ่มตั้งแต่เสี้ยววินาทีแรกที่ลูกลืมตาดูโลกแล้ว


2.ระยะเวลาที่รู้ความ และรู้คุณ(จริงๆ) ต่างกันมาก

ผมกล้าพูดอย่างมั่นใจว่าระยะเวลาที่พ่อแม่รักลูกต้องมากกว่า

พ่อแม่ เช่นพ่อแม่อายุ 30 ปี มีลูกคนแรก กว่าที่ลูกจะเริ่มรู้ความ

ที่ลูกจะเริ่มรักและรู้คุณจริงๆ โดยทั่วไปผมว่าอย่างเร็วคือ 10 ขวบ

(บางคนก็อาจเร็วกว่านั้นได้ เช่นบางท่านคงเคยอ่านข่าวเด็กกตัญญู

7 ขวบเลี้ยงแม่อัมพาต) เวลาผ่านไปอีก 30 ปี พ่อแม่อายุ 60 ปี

เวลาที่พ่อแม่รักลูกคือ 60-30 = 30 ปี แต่เวลาลูกรักพ่อแม่คือ

30-10 = 20 ปี เป็นอย่างมากนะครับ ดังนั้น เรื่องระยะเวลาที่ต่างกัน

ชัดเจนก็เป็นปัจจัยสำคัญ


นอกจากนี้ ถ้านับกันจริงๆ เวลาที่พ่อแม่รักลูกน่าจะมากกว่า

คิดตรงๆด้วยซ้ำ เพราะต้องบวกกับเวลาที่ทั้งคู่พยายาม และตั้งตารอคอย

ลูกคนนี้ อาจ 1 ปี 3 ปี 5 ปี ต่างกันไป


**โดยสรุปบทความนี้ ถ่ายทอดมาจากความรัก

ในแนวดิ่ง(ขอยืมคำคริสต์มาใช้ ผมว่ามันเห็นภาพดี แต่คงคนละ

ความหมายครับ) ที่ผมรู้สึกได้ ผมคิดว่าอย่างน้อยมนุษย์เราทุกคน

ก็ต้องอยู่ในฐานะหนึ่ง คือ ลูก ซึ่งมีหน้าที่ต้องกตัญญูต่อทิศเบื้องหน้า

คือบิดามารดา เพียงแค่เราทำหน้าที่ของเราเองให้ดีให้ถูกต้อง

ก็น่าจะเพียงพอในการลดปัญหาสังคม ที่ส่วนมากมีพื้นฐานมาจาก

ปัญหาครอบครัวได้อย่างมากมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่