ทำไฟตั้งโต๊ะแอลอีดีใช้กันดีกว่า

เนื่องจากโต๊ะที่ลูกทำการบ้านนั้น เวลาใช้โคมไฟปกติ คุณแม่ชอบเตะสายไฟอยู่บ่อยๆ แล้วขั้วปลั้กมันก็หลวมเวลาขยับหลอดจะกระพริบบ่อยๆ ซึ่งไม่ค่อยดีกับพวกหลอดCFL ที่มีวงจรบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ในตัว  เราก็เลยจะทำไฟตั้งโต๊ะที่ไม่ต้องมีสายซะ จะได้ไม่ยุ่งยากนเรื่องนี้อีกต่อไป แอลอีดีพ่วงแบตที่โตหน่อยคือการตอบโจทย์นี้ จึงเป็นที่มาที่ทำไฟนี้ (อย่าเพิ่งสนใจความประนีตมาก แหะๆ เพราะใช้เวลาดมตะกั่วไม่ถึง 20 นาที)



ไฟตั้งโต๊ะเดิมขนาด 7 วัตต์ของ ซิลวาเนีย


  -------------------------------------------------------------------------------
จุดสำคัญคือการเลือกหลอดแอลอีดีที่เหมาะสม ผมใช้หลอดของโตชิบ้ารุ่นที่ปรากฎอยู่บนหน้าซอง เนื่องจากจุดเด่นของมันคือมันมีค่าแรงดันใช้งานอยู่ที่ 2.9 โวลต์ ที่กระแส 350 mA ขณะที่แอลอีดีขาวทั่วไปมันจะอยู่ประมาณ 3.2 โวลต์ทำให้หาแหล่งจ่ายไฟยากโดยเฉพาะแบตเตอรี่ แต่เจ้าตัวนี้เอา2 ตัวอนุกรมกันต่อกันแบต 6 โวลต์มีตัวต้านทานค่าต่ำๆ อนุกรมไว้ทำให้การสูญเสียกำลังในตัวต้านทานน้อยมาก   และมีประสิทธิภาพสูงถึง 112 ลูเมนส์ต่อวัตต์ (ดีกว่าหลอด CFL ถึง 2 เท่า ที่ระบุไว้ 57 ลูเมนส์ต่อวัตต์)



สเปคคร่าวๆ ของหลอดที่ใช้


สเปคของหลอด CFL


ลองต่อกับซัพพลายดู (ใช้ 2 หลอดอนุกรม และขนาดกัน 2 ชุดรวมเป็น 4 หลอด) ที่ 700 mA ก็ได้แรงดันใช้งานแถวๆ 5.8 โวลต์ตามสเปค


ลักษณะวงจร (ตัวต้านทาน 1 โอห์มใช้ 0.5 วัตต์ก็เหลือๆ แต่ผมใช้ 3 วัตต์เพราะแก้ปัญหา thermal drift และมีตัวนี้ตุนไว้เยอะอยู่แล้ว)

  ---------------------------------------------------------------------------

เนื่องจากเป็นหลอด SMD อาจจะบัดกรียากกว่าพวกมีขาหน่อย แต่ดีที่ตัวนี้มีขายื่นออกมานิดนึงเลยยังพอบัดกรีได้ ถ้าบางรุ่นขามันอยู่ข้างใต้ละก็ ไม่อยากจะคิด เพราะต้องใช้หัวพ่นลมร้อนเหรือไม่ก็เตาอบท่านั้น ส่วนแผ่นPCB นั้นเป็นแบบสำเร็จรูป ซึ่งมีข้อดีคือ แถบตัวนำสีเงินยาวๆ นั้นจะทำหน้าที่ช่วงพาความร้อนจากหลอดไปสู่อากาศได้ดี และรู ปรุ ทั่วแผ่นก็ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศ (air flow) ดีขึ้นด้วย


  -----------------------------------------------------------------------------

แบตเตอรี่ที่เลือกใช้ก็มีขนาด 5AH ยี่ห้อนี้ก็ใช้ดีอยู่ (เคยซื่อแบตกล้องดิจิตอลยี่ห้อมาใช้ก็ทนดี ถึงจะสู้ของแท้ไม่ได้) น้ำหนักกำลังดีอยู่ที่ 750 กรัมรวมตัวหลอด ถ้าเบากว่านี้ก็อาจล้มง่าย หนักกว่านี้ก็จับถือยาก ระยะเวลาใช้งานจะอยู่ที่มากกว่า 10 ชั่วโมง (หลอดไฟใช้กระแส 440 mA) แต่จริงๆ แล้วไม่ควรใช้เกิน 6 ชั่วโมงเพื่อรักษาอายุใช้งานแบตเตอรี่



ถ้าต่อกับหลอดแล้วจะเป็นดังนี้

  ----------------------------------------------------------------------------

กระแสที่วัดได้ อยู่ที่ 440 mA หรือไหลผ่านตัวละ 220 mA ซึ่งแสงที่จะได้ต่อหลอดจะอยู่ที่ 70 % ของค่าใช้งานปกติ (ดูจากกราฟ relative luminous flux - If) หรือประมาณ 80 ลูเมนส์ ดังนั้นมี 4 หลอดก็จะได้ประมาณ 320 ลูเมนส์ ซึ่งก็ถือว่าไม่น้อย เมื่อเทียบกับกำลังงานที่ใช้ 6.2 * 0.44 =  2.73 วัตต์ หรือประมาณ 117 ลูเมนส์ต่อวัตต์



แรงดันแบตขณะ no load อยู่ที่ 6.5 โวลต์


แรงดันขณะมีโหลด (เปิดทิ้งไว้ 5 นาที) อยู่ที่ 6.2 โวลต์


กราฟด้านขวามือแสดงความสัมพันธ์ของกระะแสที่มีต่อความสว่าง (แกนตั้งที่ค่าเท่ากับ 1 ก็คือ 112 ลูเมนส์)


  ---------------------------------------------------------------------------------

เราลองมาเทียบกับไฟฉายดู คงบอกอะไรมากไม่ได้เพราะมันคนละจุดประสงค์กัน (ไฟฉายมีไว้ส่องหา แต่ที่ผมทำกะเอามาแทนไฟตั้งโต๊ะ)
ไฟฉายจะเป็นหลอดธรรมดา (คริปตัน) กับแอลอีดี 3 ดวง


ลักษณะแสงของหลอดธรรมดา (กระบอกเหลือง)


ลักษณะแสงของไฟฉายหลอดแอลอีดี (กระบอกดำ)


ลักษณะแสงของไฟตั้งโต๊ะประดิษฐ์เอง


  ------------------------------------------------------------------------------------

คราวนี้มาเทียบกับคู่แข่งโดยตรงมั่ง นั่นก็คือโคมไฟซิลวาเนีย โดยการวางระยะให้ใกล้เคียงกันแล้ววัดความเข้มของแสง (ลักซ์) ดู

ไฟตั้งโต๊ะประดิษฐ์ให้ความสว่างที่  1466 ลักซ์


โคมไฟซิลวาเนียให้ความสว่างที่  1584 ลักซ์


ลองกับโคมไฟที่ใช้หลอดไส้ 60 วัตต์ดู แม้จะหันเซนเซอร์รับแสงเต็มๆ ก็อ่านได้แค่ 168 ลักซ์


เป็นอันว่าพอใจกับปริมาณแสงที่ได้ เพราะอย่าลืมว่า ไฟที่ทำนี้กินไฟไม่ถึง 3 วัตต์ ขณะที่โคม CFL กินไฟถึง 7 วัตต์

  --------------------------------------------------------------------------------------

มาดูอุณหภูมิกัน ซึ่งตรงนี้จริงๆ แล้วผมไม่กังวลอะไรเพราะ ผมใช้กระแสแค่ 63 % ของการใช้งานปกติ (เปลืองหลอดไป 1 หลอด แต่ระยะยาวจะดีกว่า) ต่อมาก็คือแผงที่บัดกรีหลอดนั้นระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีแถบเส้นตัวนำ และรูพรุนอยู่ทั่ว อุณหภูมิของแผงวงจรจะวัดได้ 75 องศาซึ่งปกติอุณภูมิของหลอดก็จะอยู่ราว 70-90 องศาอยู่แล้ว

  ----------------------------------------------------------------------------------------

ปัญหาหลักที่จะถามกันก็คือแล้วถ้าแบตหมดจะชาจน์ยังไงหละ สำหรับผมนั้นก็มีวิธีแก้ปัญหาส่วนตัวไปแล้วคือใช้เพาเวอร์ซัพพลายที่ปรับกระแสได้เป็นตัวชาจน์แบต หรือคนทั่วไปอาจจะไปดูที่ชาจน์แบตมอเตอร์ไซด์ 6 โวลต์ตัวนึงไม่น่าจะเกินพัน  แต่ตัวที่ผมใช้มันดีตรงที่ปรับกระแสแรงดันได้ตามต้องการเลย โดยผมปรับแรงดันไว้ที่ 7.1 โวลต์ และกระแสชาจน์อยู่ที่ 450 mA หรือ 0.09 ใช้เวลาชาจน์ 12 ชั่วโมงจากแบตเกลี้ยงหม้อจนเต็ม หรืออยากให้เร็วขึ้นก็ชาจน์ 1.6 แอมป์ตามสเปคของแบต หรือ 0.32 C ใช้เวลา 3 ชั่วโมงเศษจากแบตเกลี้ยงหม้อจนเต็ม (แนะนำให้ไปหามา เพราะชาจน์แบตรถยนต์ก็ได้ดี)



----------------------------------------------------------------------------------------

สุดท้ายก็จะเป็นเรื่องราคา ถ้าเทียบกับไฟฉายอันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 300 (ตัวนึง Energizer อีกตัว Eveready) ยิ่งเป็นโคมตั้งโต๊ะดีๆ ก็ 6-7 ร้อยบาท แต่โคมไฟที่ทำมีหลอดแอลอีดีหลอดละ 15 บาท 4 หลอด ตัวต้านทาน 2 ตัว ตัวละ 2 บาท ปากคีบ 2 ตัว ตัวละ 10 บาท (แพงหน่อยเพราะเป็นของญี่ปุ่น แต่หนีบแน่นดี) แผ่น PCB 12 บาท (แต่ทำได้ไม่ต่ำกว่า 4 ชุด) รวมกันก็ประมาณ 96 บาทเท่านั้น แบตที่ใช้ซื้อมาลูกละ 250 บาท รวมๆ ก็ ประมาณ 350 บาทจะตกแต่งเพิ่มเติมยังไงก็ขึ้นกับฝีมือทางศิลป์แล้วครับ

โคมไฟ 350 บาทนี้นอกจากจะเป็นโคมอ่านหนังสือแล้ว ยังเหมาะกับปาร์ตี้เอ้าท์ดอร์เล็กๆ ด้วยเพราะหิ้วสะดวกแถมอยู่ได้ทั้งคืน หรือจะใช้กับพวกเปิดท้ายขายของก็เหมาะมากเพราะแสงกระจายไปทั่วด้วยมุมกว้างพอควรที่ 120 องศา หรือจะยกส่องใกล้ๆ สินค้าก็ทำได้สะดวก

ที่เขียนมานี้เพราะอยากจะแชร์ในสิ่งที่ทำจะได้ไม่ต้องซื้อของแพงๆ และไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์อะไรใหม่ใช้ค่าที่กำหนดมาทำได้เลย เวิร์คแน่นอน หรืออาจมีฟังค์ชั่นเพิ่มเติมเช่นบูสความสว่างก็โดยการช้อต (bypass) ตัวต้านทานซะตัวนึง ความสว่างก็จะเพิ่มแต่ก็ร้อนขึ้น (สเปคโรงงานแอลอีดีตัวนี้รับกระแสไฟตรงได้ถึง 800 mA) หรือต่อวงจรหรี่ไฟเพิ่มก็อีกประมาณ 30 กว่าบาท ลองคิดเพิ่มเติมดูแล้วกันนะครับ

    ----------------------------------------------------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่