Copyright © 2010-2014 คืออะไร

กระทู้คำถาม
อยู่ในเว็บ คือเครื่องหมายอะไร
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
Copyright © คืออะไร

Copyright คือลิขสิทธิ์ ใช้กับงานสร้างสรรทุกประเภท ได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียน เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่าง แต่สามารถถือเอาได้และกฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive rights) ที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ได้ทำขึ้น โดยหลักแล้วกฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองเฉพาะรูปแบบของการแสดงออกของความคิด (expression of ideas) ไม่คุ้มครองถึงตัวความคิดที่ยังไม่ได้ถ่ายทอดให้ปรากฎออกมา งานลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องมี “ความใหม่” (novelty) ขอเพียงให้เกิดจากความคิดริเริ่มของตนเอง (original) ไม่ลอกเลียนแบบใคร และเป็นการสร้างสรรค์โดยใช้ความพยายามและสติปัญญาในระดับหนึ่งก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว

          อนึ่ง กฎหมายลิขสิทธิ์นั้นมุ่งคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์มิให้ผู้อื่นลอกเลียนแบบหรือทำซ้ำตลอดจนห้ามมิให้มีการใช้ประโยชน์จากรูปแบบของการแสดงออกทางความคิดของผู้สร้างสรรค์โดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยเหตุนี้อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงมีระยะยาวนานกว่าการคุ้มครองตัวความคิด ซึ่งเป็นเรื่องของการคุ้มครองการประดิษฐ์ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร ทั้งนี้การคุ้มครองดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อประโยชน์ของสาธารณชนโดยรวมด้วย

Copyright © เอาไปใช้เมื่อไร

ฉ Copyright สงวนลิขสิทธิ์ (c) :: ใช้เมื่องานของเรามีลิขสิทธิ์ หรือสิ่งนั้นเราสร้างเอง หากนำบางส่วนมาจากคนอื่นต้องมาด้วยวิธีชอบธรรม หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ก็อปเขามาดื้อๆ แต่ใส่เครดิตไว้ แบบนี้ก็ไม่ได้นะครับ เพราะมันก็แปลไว้ตรงตัวอยู่แล้ว Copy (คัดลอก) Right (อย่างถูกต้อง) ส่วนมากแล้ว จะมีปีกำกับไว้ด้วย เช่น Copyright © 2013 - 2015 เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า สงวนลิขสิทธิ์ผลงานนั้นๆในปีที่ระบุไว้นั่นเองครับ

All Right Reserved คืออะไร

All Right Reserve คือ ห้ามลอกห้ามก็อบทั้งหมด แปลแบบบ้านนา ๆ อย่างผมก็ (Reserve = สงวน Right = ลิขสิทธิ์ All = ทั้งหมด) เรียงคำใหม่ให้ดูสะสลวยได้ว่า ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ไปใช้ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ก่อนได้รับอนุญาต ...

  ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
    1. งานวรรณกรรม  ( หนังสือ  จุลสาร  สิ่งเขียน  สิ่งพิมพ์  ปาฐกถา คำปราศรัย  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ )
    2. งานนาฏกรรม  ( ท่ารำ  ท่าเต้น  การแสดงโดยวิธีใบ้ ฯลฯ )
    3. งานศิลปกรรม  ( จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  สถาปัตยกรรม  ภาพถ่าย   ศิลปประยุกต์ ฯลฯ )
    4. งานดนตรีกรรม ( ทำนอง  ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ )
    5. งานสิ่งบันทึกเสียง ( เทป  ซีดี )
    6. งานโสตทัศนวัสดุ  ( วีซีดี  ดีวีดี  ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง )
    7. งานภาพยนตร์
    8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
    9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี  แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ผม ค้นหาจาก google เอาครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่