ตลาดหลักทรัพย์ฯเตรียมถอด 5 บริษัท ออกจากตลาดหุ้น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้แจ้งให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 จำนวน 24 บริษัท เร่งดำเนินการให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ขอพ้นเหตุเพิกถอน หรือเกณฑ์ขอขยายระยะเวลาฟื้นฟูกิจการ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557 นั้น ล่าสุดมีบริษัทที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ขอพ้นเหตุเพิกถอนและเกณฑ์ขอขยายระยะเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนจำนวน 5 บริษัท ได้แก่ 1บริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)4.บริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)5.บริษัท วีจีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ตลท.จะเปิดโอกาสให้บริษัทดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงและนำส่งเอกสารหลักฐานมายังตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้ง ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 หากบริษัทไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงและนำส่งเอกสารหลักฐานใดๆ มายังตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในเวลาที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะถือว่าบริษัทไม่ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอน และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเสนอข้อเท็จจริงที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีอยู่ต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนการเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ตลท. ได้ขยายเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนให้บริษัทจำนวน 19 บริษัทออกไปถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558ได้แก่ บริษัท เอบิโก้ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด (มหาชน) บริษัท เค-เทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันวู้ดอินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน) ส่วนบริษัท แมงป่อง 1989 จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะต้องยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งอาจมีการขอซื้อหุ้นคืนจากบริษัทได้ แต่ส่วนมากบริษัทเหล่านี้จะไม่มีการซื้อขายมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในกรณีดังกล่าวเป็นเหตุสืบเนื่องจากการปรับปรุงแนวทางดำเนินการต่อบริษัทจด ทะเบียนที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานตามข้อบังคับตลาด หลักทรัพย์ฯ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2542 ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2554 เป็นต้นมา โดยตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนอัน เนื่องมาจากปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงาน (NC&NPG) ต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานให้พ้นเหตุเพิกถอนภายใน 3 ปี หากบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การขอขยายระยะเวลาฟื้นฟูกิจการ บริษัทสามารถขอขยายเวลาได้ 1 ครั้งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี (รวมระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 4 ปี)
ที่มา มติชนออนไลน์
อยากทราบตัวย่อหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเตรียมถอด 5 บริษัท ออกจากตลาดหุ้น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้แจ้งให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 จำนวน 24 บริษัท เร่งดำเนินการให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ขอพ้นเหตุเพิกถอน หรือเกณฑ์ขอขยายระยะเวลาฟื้นฟูกิจการ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557 นั้น ล่าสุดมีบริษัทที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ขอพ้นเหตุเพิกถอนและเกณฑ์ขอขยายระยะเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนจำนวน 5 บริษัท ได้แก่ 1บริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)4.บริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)5.บริษัท วีจีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ตลท.จะเปิดโอกาสให้บริษัทดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงและนำส่งเอกสารหลักฐานมายังตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้ง ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 หากบริษัทไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงและนำส่งเอกสารหลักฐานใดๆ มายังตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในเวลาที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะถือว่าบริษัทไม่ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอน และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเสนอข้อเท็จจริงที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีอยู่ต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนการเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ตลท. ได้ขยายเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนให้บริษัทจำนวน 19 บริษัทออกไปถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558ได้แก่ บริษัท เอบิโก้ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด (มหาชน) บริษัท เค-เทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันวู้ดอินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน) ส่วนบริษัท แมงป่อง 1989 จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะต้องยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งอาจมีการขอซื้อหุ้นคืนจากบริษัทได้ แต่ส่วนมากบริษัทเหล่านี้จะไม่มีการซื้อขายมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในกรณีดังกล่าวเป็นเหตุสืบเนื่องจากการปรับปรุงแนวทางดำเนินการต่อบริษัทจด ทะเบียนที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานตามข้อบังคับตลาด หลักทรัพย์ฯ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2542 ซึ่งเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2554 เป็นต้นมา โดยตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนอัน เนื่องมาจากปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงาน (NC&NPG) ต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานให้พ้นเหตุเพิกถอนภายใน 3 ปี หากบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การขอขยายระยะเวลาฟื้นฟูกิจการ บริษัทสามารถขอขยายเวลาได้ 1 ครั้งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี (รวมระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 4 ปี)
ที่มา มติชนออนไลน์