[๗๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระลกุณฏกภัททิยะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ
[๗๐๔] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระลกุณฏกภัททิยะมาแต่ที่ไกลเทียว
แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอเห็นหรือไม่ ซึ่งภิกษุกำลังมาอยู่โน่น
มีวรรณะไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นที่ดูแคลนของภิกษุทั้งหลาย ฯ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั่นแล มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
อนึ่ง
สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็ได้โดยง่าย
เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
[๗๐๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกระเรียน นกยูง ช้าง
เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์ ความเสมอกันในกายไม่มี ฉันใด
ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา เขาก็ย่อมเป็นใหญ่ในมนุษย์เหล่านั้น
ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือร่างกายเป็นใหญ่ ดังนี้ ฯ
ภัททีสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=7344&Z=7365&pagebreak=0
พวกเธอเห็นหรือไม่ ซึ่งภิกษุกำลังมาอยู่โน่น มีวรรณะไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นที่ดูแคลนของภิกษุทั้งหลาย ฯ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระลกุณฏกภัททิยะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯ
[๗๐๔] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระลกุณฏกภัททิยะมาแต่ที่ไกลเทียว
แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอเห็นหรือไม่ ซึ่งภิกษุกำลังมาอยู่โน่น มีวรรณะไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นที่ดูแคลนของภิกษุทั้งหลาย ฯ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั่นแล มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็ได้โดยง่าย
เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
[๗๐๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกระเรียน นกยูง ช้าง
เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์ ความเสมอกันในกายไม่มี ฉันใด
ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา เขาก็ย่อมเป็นใหญ่ในมนุษย์เหล่านั้น
ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือร่างกายเป็นใหญ่ ดังนี้ ฯ
ภัททีสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=7344&Z=7365&pagebreak=0