เพราะ "ดารานักแสดง" เป็นอาชีพในฝันลำดับต้นๆ หลายคนจึงขวนขวายทุกวิถีทางให้ได้มา
ยิ่งในยุคนี้ที่มีเส้นทางมากมายให้เลือกเกิด ยิ่งง่าย ไม่ว่าจะเวทีประกวด รายการเรียลิตี้ โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือจะเดินเข้าไปสมัครกับบริษัทบันเทิงหรือพวกโมเดลลิ่งเองก็ยังได้
แต่อย่างหลังอาจต้องระวัง เพราะหากไม่ดูให้ดีอาจ "เสีย" มากกว่า "ได้"
"บริษัท จีเอ็มเอ็มไทหับ จำกัด" หรือ
"จีทีเอช" เองก็เพิ่งออกมาเตือน เพราะถูกมิจฉาชีพอ้างชื่อว่าเป็นพนักงานของบริษัทออกรับสมัครพนักงานและนักแสดงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้สนใจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครเพื่อเป็นค่าชุดพนักงาน
และถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ก็เคยมีกลุ่มอ้างตัวว่าเป็นผู้กำกับของค่ายชวนให้มาเป็นนักแสดงในสังกัดโดยคิดเงินค่าสมัครจำนวนหนึ่ง
ซึ่งฟังแล้วพึงระลึกไว้ว่าทุกอย่างล้วนเป็นการหลอกลวง
"เพราะหากมีการรับสมัครพนักงานหรือจัดหานักแสดงใดๆ จะเปิดผ่านช่องทางหลักของจีทีเอชเท่านั้น ที่สำคัญไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น"
หรือถ้าไม่แน่ใจว่าจริงหรือลวง การสอบถามไปยังบริษัทก่อนตัดสินใจเชื่อเห็นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ไม่งั้นนอกจากเสียเงิน ยังอาจต้องเจ็บใจอีกต่างหาก
ฝั่ง
"บริษัท สเตลล่าร์ อาร์ทิสท์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด" ที่เป็นทั้งโมเดลลิ่งและเอเจนซี่ของ "พอลล่า บัทเทอรี่" ก็ไม่วายโดนกับเขาเหมือนกัน
โดย
"วรเมศฐ์ ฉัตรสุคนธพงศ์" หนึ่งในทีมงานว่า "ปีที่แล้วเคยมีคนทำไอจี (อินสตาแกรม) ปลอมขึ้นมาแล้วแท็กไปหาน้องๆ ว่าถ้าสนใจจะมาอยู่สังกัดนี้ติดต่อมาได้ที่นี่"
ดีที่ยุคนี้ทุกอย่างตรวจสอบได้เพียงปลายนิ้วคลิก ว่าที่เหยื่อทั้งกลุ่มเด็กๆ และโมเดลลิ่งตัวจริงจึงไหวตัวทัน
"เราพยายามติดต่อเขาว่าคือใคร ก็พิมพ์ไปหาตามที่แจ้งไว้ที่ไอจีปลอม สักพักเขาก็ลบไปเลย เลยยังไม่เคยเอาไปแอบอ้างหลอกเงินใคร" เขาบอก
ก่อนจะว่าถึงขั้นตอนการทำงานในแบบสังกัดสเตลล่าที่มักจะไปหาเด็กตามโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ไม่ก็แนะนำผ่านคนรู้จัก จากนั้นจะขอดูตัวจริงถ้าผ่านก็ชวนมาถ่ายรูปทำประวัติไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หากคนใดน่าสนใจเป็นพิเศษก็จะมีการเซ็นสัญญาเพื่อเตรียมตัวผลักดันและพัฒนาเป็นดาวดวงต่อไป
"ของทางเราไม่มีเก็บเงินเลย ยกเว้นถ้าน้องอยากพัฒนาตรงนู่นตรงนี้ เช่นเรื่องสุขภาพผิว เรียนร้องเรียนเต้นก็ต้องจ่ายเอง แต่เราจะมีคอนเน็กเป็นส่วนลดหรือแนะนำว่าที่ไหนดีให้"
จากนั้นถ้ามีรายได้จากวงการบันเทิงก็ค่อยหักเปอร์เซ็นต์ตามที่ตกลงกันไว้
อย่างที่ผ่านมาก็มีประสบความสำเร็จหลายคน ไม่ว่าจะ
"แคท-ตฤณญา มอร์สัน, คริสซี่-กฤษณ์สิรี สุขสวัสดิ์, ชิปปี้-ศิรินทร์ ปรีดียานนท์, ผักไผ่-ปรีณา บุศยศิริ"
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าหน้าตาดีมีความสามารถก็อาจไม่ต้องเสียเงิน หรือดีไม่ดีอาจมากกว่านั้นเช่นที่ "โมเดลลิ่งมืออาชีพ" แห่งหนึ่งเล่าให้ฟัง
"เคยมีกลุ่มคนซึ่งไม่รู้ว่าใครหลอกผู้หญิงถอดเสื้อผ้าให้ดู"
โดยนำโลโก้ของบริษัทเขาไปใช้แอบอ้างในเฟซบุ๊กแล้วติดต่อไปยังหญิงสาวรายต่างๆ ว่าจะมีการแคสติ้งนางแบบชุดชั้นในยี่ห้อดังระดับโลก ซึ่งเหยื่อจะต้องอวดหุ่นผ่านโปรแกรมสไกป์ บ้างก็ต้องถอดเสื้อผ้าเหลือแต่ชุดชั้นใน บ้างก็ถูกสั่งให้เปลือยอก
ขณะที่อีกฝ่ายจะถ่ายคลิปวิดีโอไว้ด้วยข้ออ้างว่าจะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ และสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าคลิปเหล่านั้นแพร่กระจายไปทางใดบ้าง
แต่ที่รู้ๆ คือหญิงสาวเหล่านั้นโดยมากมักเป็นคนหน้าใหม่ผู้ไม่ประสีประสาในวงการบันเทิง แต่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งมากจนยอมทำทุกสิ่งได้ตามสั่ง
"พวกฝรั่งจะโดนหลอกเยอะ เขาก็ส่งอีเมล์มาถามเราว่ามีแคสติ้งอย่างนี้ไหม ส่วนคนไทยยังไม่เคยได้รับการติดต่อมา คืออาจจะไม่เคยโดนหรืออาจจะโดนแล้วไม่กล้า"
เมื่อเขารู้และลองติดต่อไป ไม่นานเฟซบุ๊กที่ว่าก็เปลี่ยนภาพเป็นโลโก้โมเดลลิ่งของประเทศอื่น เมื่อจับไม่มั่นคั้นไม่ตายจึงต้องใช้วิธีแจ้งเตือนผ่านหน้าเว็บไซต์ว่าถ้าอยากเข้าวงการบันเทิงให้ติดต่อบริษัทโดยตรงเท่านั้น
เพราะเขาว่า "ตอนนี้มีคนใช้อาชีพโมเดลลิ่งหาผลประโยชน์ด้านอื่นเยอะ ทำให้เราทำงานยาก"
"มีเคสหนึ่งเป็นเด็ก 1-2 คน หลอกว่าเป็นโมเดลลิ่งพอไปถึงบ้านแถวลาดพร้าวจะลวนลามเด็กพวกนี้ก็จะเข็ด ทำให้เข้าใจว่าโมเดลลิ่งเหมือนกันหมด"
"บางคนใช้โมเดลลิ่งเพื่อรับสมัครเด็กมาถ่ายรูป แล้วเก็บตังค์ เมื่อก่อนเก็บ 300 บาท 10 คนก็ 3,000 แล้ว บางคนหลอกเป็นแสนๆ บอกจะออกเทปให้ ถึงเวลาเปล่าเลย ออกเทปก็จริงแต่ไม่ได้วางขาย ซึ่งตรงนี้จะเป็นคนที่อยากเป็นดารา พ่อแม่สนับสนุนเต็มที่"
ทั้งๆ ที่ "ตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย"
ยกเว้นการทำแฟ้มสะสมผลงานไว้เสนอลูกค้า ซึ่งอาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างภาพ ช่างแต่งหน้า ช่างผมเพื่อให้รูปที่ประกอบอยู่ในแฟ้มออกมาสวยที่สุด แต่ก็เป็นแค่บางสังกัดเท่านั้นที่เรียกเก็บเงิน
ดังนั้น "ถ้าเสียค่าใช่จ่ายสันนิษฐานไว้เลยว่าอาจจะโดนหลอก"
"ที่อยากเตือนเลย คือ ต้องสำรวจก่อนว่าบริษัทที่มีคนติดต่อเรามาน่าเชื่อถือแค่ไหน ออฟฟิศมีไหม อยู่ที่ไหน โปรไฟล์มีไร ซึ่งเดี๋ยวนี้ง่ายมากเพราะมีอินเตอร์เน็ต"
"ต้องเช็กก่อนเชื่อ ก่อนจะยอมไปทำอะไร"
"ยิ่งตอนนี้ช่องต่างๆ มีความต้องการในจำนวนบุคลากรทั้งนักแสดงและทีมงานมากขึ้นเพื่อรองรับทีวียุคดิจิตอล ยิ่งต้องระวัง เพราะพวก "โมเดลหลอก" ก็เพิ่มจำนวนตามไปด้วย แถมยังขุดสารพัดวิธีมาล่อหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ"
ซึ่งถ้าพลาดไปนอกจากอนาคตในวงการจะริบหรี่
"ยังอาจ "เสีย" อะไรมากกว่าที่คิดไว้นัก"
หน้า 22 ,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557
โมเดลลิ่ง...โมเดลหลอก ภัยใกล้ตัวของคนอยากเป็นดารา!?
ยิ่งในยุคนี้ที่มีเส้นทางมากมายให้เลือกเกิด ยิ่งง่าย ไม่ว่าจะเวทีประกวด รายการเรียลิตี้ โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือจะเดินเข้าไปสมัครกับบริษัทบันเทิงหรือพวกโมเดลลิ่งเองก็ยังได้
แต่อย่างหลังอาจต้องระวัง เพราะหากไม่ดูให้ดีอาจ "เสีย" มากกว่า "ได้"
"บริษัท จีเอ็มเอ็มไทหับ จำกัด" หรือ "จีทีเอช" เองก็เพิ่งออกมาเตือน เพราะถูกมิจฉาชีพอ้างชื่อว่าเป็นพนักงานของบริษัทออกรับสมัครพนักงานและนักแสดงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้สนใจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครเพื่อเป็นค่าชุดพนักงาน
และถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ก็เคยมีกลุ่มอ้างตัวว่าเป็นผู้กำกับของค่ายชวนให้มาเป็นนักแสดงในสังกัดโดยคิดเงินค่าสมัครจำนวนหนึ่ง
ซึ่งฟังแล้วพึงระลึกไว้ว่าทุกอย่างล้วนเป็นการหลอกลวง
"เพราะหากมีการรับสมัครพนักงานหรือจัดหานักแสดงใดๆ จะเปิดผ่านช่องทางหลักของจีทีเอชเท่านั้น ที่สำคัญไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น"
หรือถ้าไม่แน่ใจว่าจริงหรือลวง การสอบถามไปยังบริษัทก่อนตัดสินใจเชื่อเห็นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ไม่งั้นนอกจากเสียเงิน ยังอาจต้องเจ็บใจอีกต่างหาก
ฝั่ง "บริษัท สเตลล่าร์ อาร์ทิสท์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด" ที่เป็นทั้งโมเดลลิ่งและเอเจนซี่ของ "พอลล่า บัทเทอรี่" ก็ไม่วายโดนกับเขาเหมือนกัน
โดย "วรเมศฐ์ ฉัตรสุคนธพงศ์" หนึ่งในทีมงานว่า "ปีที่แล้วเคยมีคนทำไอจี (อินสตาแกรม) ปลอมขึ้นมาแล้วแท็กไปหาน้องๆ ว่าถ้าสนใจจะมาอยู่สังกัดนี้ติดต่อมาได้ที่นี่"
ดีที่ยุคนี้ทุกอย่างตรวจสอบได้เพียงปลายนิ้วคลิก ว่าที่เหยื่อทั้งกลุ่มเด็กๆ และโมเดลลิ่งตัวจริงจึงไหวตัวทัน
"เราพยายามติดต่อเขาว่าคือใคร ก็พิมพ์ไปหาตามที่แจ้งไว้ที่ไอจีปลอม สักพักเขาก็ลบไปเลย เลยยังไม่เคยเอาไปแอบอ้างหลอกเงินใคร" เขาบอก
ก่อนจะว่าถึงขั้นตอนการทำงานในแบบสังกัดสเตลล่าที่มักจะไปหาเด็กตามโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ไม่ก็แนะนำผ่านคนรู้จัก จากนั้นจะขอดูตัวจริงถ้าผ่านก็ชวนมาถ่ายรูปทำประวัติไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หากคนใดน่าสนใจเป็นพิเศษก็จะมีการเซ็นสัญญาเพื่อเตรียมตัวผลักดันและพัฒนาเป็นดาวดวงต่อไป
"ของทางเราไม่มีเก็บเงินเลย ยกเว้นถ้าน้องอยากพัฒนาตรงนู่นตรงนี้ เช่นเรื่องสุขภาพผิว เรียนร้องเรียนเต้นก็ต้องจ่ายเอง แต่เราจะมีคอนเน็กเป็นส่วนลดหรือแนะนำว่าที่ไหนดีให้"
จากนั้นถ้ามีรายได้จากวงการบันเทิงก็ค่อยหักเปอร์เซ็นต์ตามที่ตกลงกันไว้
อย่างที่ผ่านมาก็มีประสบความสำเร็จหลายคน ไม่ว่าจะ "แคท-ตฤณญา มอร์สัน, คริสซี่-กฤษณ์สิรี สุขสวัสดิ์, ชิปปี้-ศิรินทร์ ปรีดียานนท์, ผักไผ่-ปรีณา บุศยศิริ"
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าหน้าตาดีมีความสามารถก็อาจไม่ต้องเสียเงิน หรือดีไม่ดีอาจมากกว่านั้นเช่นที่ "โมเดลลิ่งมืออาชีพ" แห่งหนึ่งเล่าให้ฟัง
"เคยมีกลุ่มคนซึ่งไม่รู้ว่าใครหลอกผู้หญิงถอดเสื้อผ้าให้ดู"
โดยนำโลโก้ของบริษัทเขาไปใช้แอบอ้างในเฟซบุ๊กแล้วติดต่อไปยังหญิงสาวรายต่างๆ ว่าจะมีการแคสติ้งนางแบบชุดชั้นในยี่ห้อดังระดับโลก ซึ่งเหยื่อจะต้องอวดหุ่นผ่านโปรแกรมสไกป์ บ้างก็ต้องถอดเสื้อผ้าเหลือแต่ชุดชั้นใน บ้างก็ถูกสั่งให้เปลือยอก
ขณะที่อีกฝ่ายจะถ่ายคลิปวิดีโอไว้ด้วยข้ออ้างว่าจะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ และสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าคลิปเหล่านั้นแพร่กระจายไปทางใดบ้าง
แต่ที่รู้ๆ คือหญิงสาวเหล่านั้นโดยมากมักเป็นคนหน้าใหม่ผู้ไม่ประสีประสาในวงการบันเทิง แต่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งมากจนยอมทำทุกสิ่งได้ตามสั่ง
"พวกฝรั่งจะโดนหลอกเยอะ เขาก็ส่งอีเมล์มาถามเราว่ามีแคสติ้งอย่างนี้ไหม ส่วนคนไทยยังไม่เคยได้รับการติดต่อมา คืออาจจะไม่เคยโดนหรืออาจจะโดนแล้วไม่กล้า"
เมื่อเขารู้และลองติดต่อไป ไม่นานเฟซบุ๊กที่ว่าก็เปลี่ยนภาพเป็นโลโก้โมเดลลิ่งของประเทศอื่น เมื่อจับไม่มั่นคั้นไม่ตายจึงต้องใช้วิธีแจ้งเตือนผ่านหน้าเว็บไซต์ว่าถ้าอยากเข้าวงการบันเทิงให้ติดต่อบริษัทโดยตรงเท่านั้น
เพราะเขาว่า "ตอนนี้มีคนใช้อาชีพโมเดลลิ่งหาผลประโยชน์ด้านอื่นเยอะ ทำให้เราทำงานยาก"
"มีเคสหนึ่งเป็นเด็ก 1-2 คน หลอกว่าเป็นโมเดลลิ่งพอไปถึงบ้านแถวลาดพร้าวจะลวนลามเด็กพวกนี้ก็จะเข็ด ทำให้เข้าใจว่าโมเดลลิ่งเหมือนกันหมด"
"บางคนใช้โมเดลลิ่งเพื่อรับสมัครเด็กมาถ่ายรูป แล้วเก็บตังค์ เมื่อก่อนเก็บ 300 บาท 10 คนก็ 3,000 แล้ว บางคนหลอกเป็นแสนๆ บอกจะออกเทปให้ ถึงเวลาเปล่าเลย ออกเทปก็จริงแต่ไม่ได้วางขาย ซึ่งตรงนี้จะเป็นคนที่อยากเป็นดารา พ่อแม่สนับสนุนเต็มที่"
ทั้งๆ ที่ "ตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย"
ยกเว้นการทำแฟ้มสะสมผลงานไว้เสนอลูกค้า ซึ่งอาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างภาพ ช่างแต่งหน้า ช่างผมเพื่อให้รูปที่ประกอบอยู่ในแฟ้มออกมาสวยที่สุด แต่ก็เป็นแค่บางสังกัดเท่านั้นที่เรียกเก็บเงิน
ดังนั้น "ถ้าเสียค่าใช่จ่ายสันนิษฐานไว้เลยว่าอาจจะโดนหลอก"
"ที่อยากเตือนเลย คือ ต้องสำรวจก่อนว่าบริษัทที่มีคนติดต่อเรามาน่าเชื่อถือแค่ไหน ออฟฟิศมีไหม อยู่ที่ไหน โปรไฟล์มีไร ซึ่งเดี๋ยวนี้ง่ายมากเพราะมีอินเตอร์เน็ต"
"ต้องเช็กก่อนเชื่อ ก่อนจะยอมไปทำอะไร"
"ยิ่งตอนนี้ช่องต่างๆ มีความต้องการในจำนวนบุคลากรทั้งนักแสดงและทีมงานมากขึ้นเพื่อรองรับทีวียุคดิจิตอล ยิ่งต้องระวัง เพราะพวก "โมเดลหลอก" ก็เพิ่มจำนวนตามไปด้วย แถมยังขุดสารพัดวิธีมาล่อหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ"
ซึ่งถ้าพลาดไปนอกจากอนาคตในวงการจะริบหรี่
"ยังอาจ "เสีย" อะไรมากกว่าที่คิดไว้นัก"
หน้า 22 ,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557