ในครั้งนี้เราเดินทางไปประเทศ อินโดนีเซีย
ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะต่างๆ มากถึง 17,508 เกาะเลยทีเดียว แบ่งเกาะใหญ่ได้ 4 เกาะ คือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่,หมู่เกาะซุนดาน้อย,หมู่เกาะโมลุกะ(อีกชื่อหนึ่งเรียกว่าเกาะเครื่องเทศ) และอิเรียนจายา(ปาปัวนิกีนีตะวันตก) จุดหมายของเราในครั้งนี้อยู่ในพื้นที่ของเกาะ อิเรียนจายา เป็นหมู่เกาะเล็กที่อยู่ทางตอนเหนือของเกาะอิเรียนจายา ที่นั่นคือ
หมู่เกาะ ราชาอัมพัต
หมู่เกาะราชาอัมพัต ในภาษาอินโดนีเซียแปลว่า ราชาทั้ง 4 พระองค์ น่าจะหมายถึงเกาะหลักทั้ง 4 เกาะได้แก่ Waigeo,Misool,Salawati และ Batanta ปะการังมากถึง 540 ชนิด ปลามากกว่า 1000 ชนิด มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้ จนได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักดำน้ำที่สุดท้ายบนโลกก็ว่าได้
การเดินทางไปดำน้ำที่ ราชาอัมพัต ต้องต่อเครื่องบิน 2 ครั้งด้วยกัน คือเดินทางจากไทยไปลงที่ JAKARTA แล้วต่อเครื่องที่ MAKASSAR เพื่อที่จะไปเดินทางไปต่อที่ SORONG เพี่อที่จะลงเรือไปดำน้ำที่หมู่เกาะ ราชาอัมพัต
SORONG เป็นเมืองท่าที่มีความสัมคัญมาก เพราะเรือทุกลำที่ให้บริการดำน้ำที่ ราชาอัมพัต ต้องมาจอดรับส่งที่เมืองท่าแห่งนี้ทุกลำ
ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากคำบอกเล่าของพี่นัทที่เคยได้มาเยือนที่หมู่เกาะแห่งนี้ “เมื่อ 10 ปีที่แล้วเรือที่ให้บริการดำน้ำที่หมู่เกาะแห่งนี้มีไม่เยอะมาก ออกไปดำน้ำเป็นอาทิตย์แทบไม่ได้เห็นเรืออี่นๆเลย แต่ตอนนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ” เท่าที่ผมนับดูด้วยตาเห็นเราเป็นสิบลำ และเรือทุกลำแทบเป็นเรือให้บริการดำน้ำทั้งสิ้น
เอกลักษณ์ของที่ราชาอัมพัตเห็นที่แรกก็น่าจะเป็นเรือของที่นี่ เรือที่ให้บริการดำน้ำของที่นี่แทบทุกลำจะเป็นทรงเรือแบบโบราณ เหมือนเรือใบ และจะเป็นเรือไม้ทั้งลำ อาจเป็นเพราะไม้ที่อินโดถูก หรือช่างที่นี่ต่อเรือเป็นแค่แบบเดียวก็เป็นได้ แต่ก็สวยไปอีกแบบเหมือนกัน เหมือนเราได้ย้อนเวลากลับไปเมื่อในอดีตที่ยังใช้เรือใบเป็นพาหนะหลักในการคมนาคมอยู่ แปลกตาดีครับ
ถ้าให้นักดำน้ำมาลงคะเนน ว่าอยากเจอสัตว์น้ำอะไรในน้ำมากที่สุด ผมว่า เจ้าแมนต้า น่าจะติด 1 ใน 5 ชนิดที่นักดำน้ำอยากเห็นสักครั้งในการดำน้ำ แต่เจ้าแมนต้า ก็ไม่ได้เจอกันง่ายๆ(บางคนดำน้ำมาเป็นร้อยๆครั้งยังไม่ได้เห็นแมนต้าเลยซักครั้งก็มี ผมรู้จักหลายคน ไม่อยากบอกชื่อครับ 555) แต่ไม่ใช่ที่นี่ ที่ราชาอัมพัต
“ที่นี่มีแมนต้าเพียงพอให้นักดำน้ำทุกคน” ใช้คำนี้ก็ว่าได้ บางครั้งเราจะได้เห็นแมนต้ามากันทีเป็น 10 ตัวในครั้งเดียว หรือบางครั้งก็มาแบบไม่ได้นัดหมายก็มีอยู่บ่อยๆ ผมว่าเป็นที่ที่เหมาะให้คนที่ดำมาเป็นร้อยๆแต่ไม่เคยเห็นคุณแมนต้ามาลอดท้องแมนต้าแก้สะเดาะเคราะห์ให้รู้แล้วรู้รอดไป
divesiteที่มีโอกาสเจอแมนต้ามากที่สุดต้องยกให้ Manta sandy ครับ ที่นี่เป็นจุดที่แมนต้าจะมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะเข้ามาทำความสะอาด โดยจะว่ายอยู่บนกองหินที่จะมีปลานกขุนทอง คอยให้บริการทำความสะอาดให้ มันจะเข้าไปกัดกิน ตัวปรสิตที่เกาะอยู่ตามตัวของแมนต้า
ระบบการจัดการที่ราชาอัมพัต ถึอว่าดีทีเดียวครับเห็นได้จาก ระบบของ Manta sandy ที่จะมีการนำก้อนหินมาเรียงไว้เป็นแนว ให้นักดำน้ำรอดู แมนต้าโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนมันมาก (แต่สำหรับคนที่มาถ่ายรูปผมว่าแนวหินที่วางไว้มันออกจะไกลไปที่จะถ่ายรูป น่าเสียดายครับ)
แมนต้าที่นี้มีสองสี มีสีที่เราเห็นได้ทั่วไปคือท้องขาวหลังดำ และดำทั้งตัว ที่หาดูยากในเมืองไทย(หรือผมไม่เห็นเองก็ไม่รู้) ยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมบางตัวเป็นสีดำ หรืออาจจะเหมือนปลาหลายๆชนิดที่ ในช่วง ฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีดำ เพื่อดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย ก็เป็นได้ จากที่สังเกตดูแมนต้าสีดำ จะดูอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าตัวสีขาวมันอาจเป็นตัวผู้ก็เป็นได้
แมนต้าเรย์แบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้สองพันธุ์คือ Oceanic manta ray และ Reef manta การสังเกตุที่เห็นได้ชัดก็คือที่ครีบด้านบนหางของมัน Oceanic จะมีสักษณะ ปลายแหลมกว่า Reef และอีกหนึ่งจุดที่เห็นได้ชัดคือขนาดของตัว Oceanic จะใหญ่กว่ามาก บางตัวที่ได้เห็นขนาด 5-6 เมตรเลยทีเดียวครับ
รอติดตามชมเรื่องราวจากสวรรค์สุดท้ายบนโลกใบนี้ว่าจะเราจะค้นหาสัตว์ชนิดไหนมาเป็นพระเอกอีกได้ในตอนหน้านะครับ
ขอบคุณที่ติดตามรับชม สามารถพูดคุยกับพวกเราและชมภาพสวยๆจากทีมงานโลกโสภาได้ในช่องทางแฟนเพจ www.facebook.com/loksopha ครับ
เรื่องและภาพโดย ชัยวัตน์ นิเวศมรินทร์
โลกโสภา
[CR] Raja Aumpat สวรรค์แห่งสุดท้าย ตอน 1 โดยทีมโลกโสภา
ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะต่างๆ มากถึง 17,508 เกาะเลยทีเดียว แบ่งเกาะใหญ่ได้ 4 เกาะ คือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่,หมู่เกาะซุนดาน้อย,หมู่เกาะโมลุกะ(อีกชื่อหนึ่งเรียกว่าเกาะเครื่องเทศ) และอิเรียนจายา(ปาปัวนิกีนีตะวันตก) จุดหมายของเราในครั้งนี้อยู่ในพื้นที่ของเกาะ อิเรียนจายา เป็นหมู่เกาะเล็กที่อยู่ทางตอนเหนือของเกาะอิเรียนจายา ที่นั่นคือ
หมู่เกาะ ราชาอัมพัต
หมู่เกาะราชาอัมพัต ในภาษาอินโดนีเซียแปลว่า ราชาทั้ง 4 พระองค์ น่าจะหมายถึงเกาะหลักทั้ง 4 เกาะได้แก่ Waigeo,Misool,Salawati และ Batanta ปะการังมากถึง 540 ชนิด ปลามากกว่า 1000 ชนิด มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้ จนได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักดำน้ำที่สุดท้ายบนโลกก็ว่าได้
การเดินทางไปดำน้ำที่ ราชาอัมพัต ต้องต่อเครื่องบิน 2 ครั้งด้วยกัน คือเดินทางจากไทยไปลงที่ JAKARTA แล้วต่อเครื่องที่ MAKASSAR เพื่อที่จะไปเดินทางไปต่อที่ SORONG เพี่อที่จะลงเรือไปดำน้ำที่หมู่เกาะ ราชาอัมพัต
SORONG เป็นเมืองท่าที่มีความสัมคัญมาก เพราะเรือทุกลำที่ให้บริการดำน้ำที่ ราชาอัมพัต ต้องมาจอดรับส่งที่เมืองท่าแห่งนี้ทุกลำ
ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากคำบอกเล่าของพี่นัทที่เคยได้มาเยือนที่หมู่เกาะแห่งนี้ “เมื่อ 10 ปีที่แล้วเรือที่ให้บริการดำน้ำที่หมู่เกาะแห่งนี้มีไม่เยอะมาก ออกไปดำน้ำเป็นอาทิตย์แทบไม่ได้เห็นเรืออี่นๆเลย แต่ตอนนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ” เท่าที่ผมนับดูด้วยตาเห็นเราเป็นสิบลำ และเรือทุกลำแทบเป็นเรือให้บริการดำน้ำทั้งสิ้น
เอกลักษณ์ของที่ราชาอัมพัตเห็นที่แรกก็น่าจะเป็นเรือของที่นี่ เรือที่ให้บริการดำน้ำของที่นี่แทบทุกลำจะเป็นทรงเรือแบบโบราณ เหมือนเรือใบ และจะเป็นเรือไม้ทั้งลำ อาจเป็นเพราะไม้ที่อินโดถูก หรือช่างที่นี่ต่อเรือเป็นแค่แบบเดียวก็เป็นได้ แต่ก็สวยไปอีกแบบเหมือนกัน เหมือนเราได้ย้อนเวลากลับไปเมื่อในอดีตที่ยังใช้เรือใบเป็นพาหนะหลักในการคมนาคมอยู่ แปลกตาดีครับ
ถ้าให้นักดำน้ำมาลงคะเนน ว่าอยากเจอสัตว์น้ำอะไรในน้ำมากที่สุด ผมว่า เจ้าแมนต้า น่าจะติด 1 ใน 5 ชนิดที่นักดำน้ำอยากเห็นสักครั้งในการดำน้ำ แต่เจ้าแมนต้า ก็ไม่ได้เจอกันง่ายๆ(บางคนดำน้ำมาเป็นร้อยๆครั้งยังไม่ได้เห็นแมนต้าเลยซักครั้งก็มี ผมรู้จักหลายคน ไม่อยากบอกชื่อครับ 555) แต่ไม่ใช่ที่นี่ ที่ราชาอัมพัต
“ที่นี่มีแมนต้าเพียงพอให้นักดำน้ำทุกคน” ใช้คำนี้ก็ว่าได้ บางครั้งเราจะได้เห็นแมนต้ามากันทีเป็น 10 ตัวในครั้งเดียว หรือบางครั้งก็มาแบบไม่ได้นัดหมายก็มีอยู่บ่อยๆ ผมว่าเป็นที่ที่เหมาะให้คนที่ดำมาเป็นร้อยๆแต่ไม่เคยเห็นคุณแมนต้ามาลอดท้องแมนต้าแก้สะเดาะเคราะห์ให้รู้แล้วรู้รอดไป
divesiteที่มีโอกาสเจอแมนต้ามากที่สุดต้องยกให้ Manta sandy ครับ ที่นี่เป็นจุดที่แมนต้าจะมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะเข้ามาทำความสะอาด โดยจะว่ายอยู่บนกองหินที่จะมีปลานกขุนทอง คอยให้บริการทำความสะอาดให้ มันจะเข้าไปกัดกิน ตัวปรสิตที่เกาะอยู่ตามตัวของแมนต้า
ระบบการจัดการที่ราชาอัมพัต ถึอว่าดีทีเดียวครับเห็นได้จาก ระบบของ Manta sandy ที่จะมีการนำก้อนหินมาเรียงไว้เป็นแนว ให้นักดำน้ำรอดู แมนต้าโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนมันมาก (แต่สำหรับคนที่มาถ่ายรูปผมว่าแนวหินที่วางไว้มันออกจะไกลไปที่จะถ่ายรูป น่าเสียดายครับ)
แมนต้าที่นี้มีสองสี มีสีที่เราเห็นได้ทั่วไปคือท้องขาวหลังดำ และดำทั้งตัว ที่หาดูยากในเมืองไทย(หรือผมไม่เห็นเองก็ไม่รู้) ยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมบางตัวเป็นสีดำ หรืออาจจะเหมือนปลาหลายๆชนิดที่ ในช่วง ฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีดำ เพื่อดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย ก็เป็นได้ จากที่สังเกตดูแมนต้าสีดำ จะดูอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าตัวสีขาวมันอาจเป็นตัวผู้ก็เป็นได้
แมนต้าเรย์แบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้สองพันธุ์คือ Oceanic manta ray และ Reef manta การสังเกตุที่เห็นได้ชัดก็คือที่ครีบด้านบนหางของมัน Oceanic จะมีสักษณะ ปลายแหลมกว่า Reef และอีกหนึ่งจุดที่เห็นได้ชัดคือขนาดของตัว Oceanic จะใหญ่กว่ามาก บางตัวที่ได้เห็นขนาด 5-6 เมตรเลยทีเดียวครับ
รอติดตามชมเรื่องราวจากสวรรค์สุดท้ายบนโลกใบนี้ว่าจะเราจะค้นหาสัตว์ชนิดไหนมาเป็นพระเอกอีกได้ในตอนหน้านะครับ
ขอบคุณที่ติดตามรับชม สามารถพูดคุยกับพวกเราและชมภาพสวยๆจากทีมงานโลกโสภาได้ในช่องทางแฟนเพจ www.facebook.com/loksopha ครับ
เรื่องและภาพโดย ชัยวัตน์ นิเวศมรินทร์
โลกโสภา