คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446)
หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)”
ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีนายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่าพระญาณติโลก มหาเถร)
และนายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็น
พระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน
ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา
อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจาก
ศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวน
ไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้ แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke)
ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติ ธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรกบนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่
รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา
ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann
Oldenburg),ยอร์จ กริมม์ (George Grimm),คาร์ล นูมานน์(Karl- Nueumann),คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์(Karl Seidenstucker),
ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann),ฮันส์ มุช(Hans Much)ฯลฯนั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง
คือเเฮร์มัน เฮสเส(Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์
(Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ(Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha)
แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่องสิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปีค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
ต่อมาในปีค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่
ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ
และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธ จนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมา
ปิดกั้น พวกเขาจึงนำความ รู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนใน
ปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกาย มหายานและวัชรยาน
ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิต
ที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลาย
เป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็น กลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ
เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนา
อย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์(Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา
ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น นีน่ากล่าวพร้อม
อารมณ์ขันว่า
“อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศ ยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”
ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน
จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียด
กับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม
ประจำเมืองต่างๆ
ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่ม
พุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน(German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน
มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม
จากสถิติปีพ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ
เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ ใหม่ของ
ประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบัน ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติธรรมในเครือรวม 52 แห่ง
ได้มีนโยบายส่งเสริมพุทธศาสนา โดยเฉพาะนิกายเถรวาท อย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มีรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมที่ได้รับ
อิทธิพลมาจากศาสนาอื่น เช่น ฮินดู ชินโต เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้พยายามผลักดันจนทำให้พุทธศาสนาเป็นวิชาเลือกหนึ่ง
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง และยังได้พิมพ์ตำราและเอกสารทางพุทธศาสนาที่จำเป็นแจกจ่าย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเงินบริจาค
ของกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเชค สวิตเซอร์แลนด์ ศรีลังกา ไทย
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดในระดับสากล นับว่าเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาที่กำลังเบ่งบานในประเทศเยอรมัน
อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%
รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอรมัน
เมืองบาเยิร์น (Bayern)
- วัดไทยมิวนิค,วัดไทยเนิร์นแบร์ก,วัดพุทธเอาสบวร์กใหม่
เมืองเบอร์ลิน (Berlin)
- วัดพุทธวิหาร,วัดพุทธารามเบอร์ลิน
เมืองฮัมบวร์ก (Hamburg)
- วัดพุทธบารมี
เมืองเฮสเสน (Hessen)
- วัดพุทธปิยวราราม,วัดพุทธเบญจพล,วัดโพธิธรรม,วัดป่าภูริทัตตาราม
เมืองไนเดอร์ซัสเชน (Niedersachsen)
- วัดธรรมวิหาร
เมืองนอร์ดรินเวสฟาแลง (Nordrhein-Westfalen)
- วัดป่าอนาลโย,วัดธรรมบารมี,วัดธรรมนิวาส
เมืองซาอาแลนด์ (Saarland)
- วัดสมเด็จฯ เยอรมนี
เมืองชูวิก โฮสไตน์ (Schleswig-Holstein)
- วัดกตัญญุตาราม
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9470000045203
ศาสนาพุทธบูม!! ในเยอรมัน
หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446)
หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)”
ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีนายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่าพระญาณติโลก มหาเถร)
และนายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็น
พระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน
ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา
อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจาก
ศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวน
ไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้ แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke)
ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติ ธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรกบนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่
รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา
ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann
Oldenburg),ยอร์จ กริมม์ (George Grimm),คาร์ล นูมานน์(Karl- Nueumann),คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์(Karl Seidenstucker),
ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann),ฮันส์ มุช(Hans Much)ฯลฯนั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง
คือเเฮร์มัน เฮสเส(Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์
(Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ(Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha)
แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่องสิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปีค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
ต่อมาในปีค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่
ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ
และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธ จนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมา
ปิดกั้น พวกเขาจึงนำความ รู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนใน
ปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกาย มหายานและวัชรยาน
ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิต
ที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลาย
เป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็น กลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ
เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนา
อย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์(Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา
ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น นีน่ากล่าวพร้อม
อารมณ์ขันว่า
“อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศ ยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”
ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน
จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียด
กับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม
ประจำเมืองต่างๆ
ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่ม
พุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน(German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน
มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม
จากสถิติปีพ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ
เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ ใหม่ของ
ประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบัน ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติธรรมในเครือรวม 52 แห่ง
ได้มีนโยบายส่งเสริมพุทธศาสนา โดยเฉพาะนิกายเถรวาท อย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มีรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมที่ได้รับ
อิทธิพลมาจากศาสนาอื่น เช่น ฮินดู ชินโต เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้พยายามผลักดันจนทำให้พุทธศาสนาเป็นวิชาเลือกหนึ่ง
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง และยังได้พิมพ์ตำราและเอกสารทางพุทธศาสนาที่จำเป็นแจกจ่าย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเงินบริจาค
ของกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเชค สวิตเซอร์แลนด์ ศรีลังกา ไทย
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดในระดับสากล นับว่าเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาที่กำลังเบ่งบานในประเทศเยอรมัน
อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%
รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอรมัน
เมืองบาเยิร์น (Bayern)
- วัดไทยมิวนิค,วัดไทยเนิร์นแบร์ก,วัดพุทธเอาสบวร์กใหม่
เมืองเบอร์ลิน (Berlin)
- วัดพุทธวิหาร,วัดพุทธารามเบอร์ลิน
เมืองฮัมบวร์ก (Hamburg)
- วัดพุทธบารมี
เมืองเฮสเสน (Hessen)
- วัดพุทธปิยวราราม,วัดพุทธเบญจพล,วัดโพธิธรรม,วัดป่าภูริทัตตาราม
เมืองไนเดอร์ซัสเชน (Niedersachsen)
- วัดธรรมวิหาร
เมืองนอร์ดรินเวสฟาแลง (Nordrhein-Westfalen)
- วัดป่าอนาลโย,วัดธรรมบารมี,วัดธรรมนิวาส
เมืองซาอาแลนด์ (Saarland)
- วัดสมเด็จฯ เยอรมนี
เมืองชูวิก โฮสไตน์ (Schleswig-Holstein)
- วัดกตัญญุตาราม
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9470000045203
แสดงความคิดเห็น
ความสําคัญของศาสนาพุทธที่มีต่อประเทศเยอรมันีมีอะไรบ้างอ่ะคับ
พอจะมีใครบอกได้บ้างอ่าาา