สเปค ASUS ZenFone 5
-ชิปประมวลผล Intel Atom Z2560 ความเร็วสูงสุด 1.6 GHz dual-core รองรับ Hyper Threading ทำให้เสมือนว่ามีคอร์ประมวลผล 4 คอร์
-ชิปกราฟิก PowerVR SGX544MP2
-แรม 1 GB (ในตลาดจะมีรุ่นแรม 2 GB มาวางจำหน่ายด้วยภายหลัง)
-หน้าจอ IPS ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียดระดับ HD (1280 x 720)
-กระจกหน้าจอ Gorilla Glass 3
-รอม 8 GB รองรับ MicroSD เพิ่มเติม สามารถย้ายแอพมาลงใน MicroSD ได้
-รองรับ 2 ซิม ใช้งาน 3G ได้ทุกเครือข่าย สามารถใช้งาน 3G ได้ทั้งสองช่อง (แต่ต้องเลือกใช้ทีละซิมตามปกติ)
-กล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มาพรอ้มเทคโนโลยี PixelMaster ช่วยให้ถ่ายภายในที่มีแสงน้อยได้ดี รองรับการถ่ายวิดีโอสูงสุดระดับ Full HD
-กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
-Android 4.3 Jelly Bean มาพร้อมอินเตอร์เฟส ZenUI
-สามารถฟังวิทยุ FM ได้
-แบตเตอรี่ความจุ 2110 mAh
-หนัก 140 กรัม
-ราคา 4,990 บาท
ดูสเปคเต็มๆได้ที่
http://specphone.com/Asus-ZenFone-5.html
ถ้ากล่าวถึงเรื่องสเปคล้วนๆ ก็มองว่า ZenFone 5 มาพร้อมกับสเปคทั่วไปที่ไม่หนีไปจาก ZenFone 4 มากนัก จะต่างกันก็ตรงที่ชิปประมวลผล, หน้าจอ, กล้องหลังและแบตเตอรี่เท่านั้นที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เป็นที่แน่นอนว่า ZenFone 5 ย่อมมาพร้อมกับความแรงและฟีเจอร์การทำงานที่มากกว่า ZenFone 4 ซึ่งถ้าวัดหน้าสเปคกันเพียวๆ ส่วนตัวผมมองว่าคุ้มค่าสำหรับการเพิ่มเงิน 2,000 บาทจาก ZenFone 4 (2,990) มาเป็น ZenFone 5 ตัวนี้เลยทีเดียว ส่วนเหตุผลนั้น มาชมกันต่อในรีวิวแต่ละจุดเลยครับ
Design
ถ้าใครได้เห็นหรือลองใช้งาน ZenFone 4 มาแล้ว ก็จะรู้สึกว่าหน้าตาของ ZenFone 5 นั้นแทบจะเหมือนกันอย่างกับแกะเลยทีเดียว เนื่องด้วย ASUS ใช้คอนเซ็ปท์ในการออกแบบสมาร์ทโฟนตระกูล ZenFone ออกมาในแนวทางเดียวกัน แตกต่างกันแค่เรื่องของขนาด ทำให้เรื่องหน้าตาของ ZenFone 5 จึงไม่มีจุดเด่นที่แปลกออกไปจาก ZenFone 4 เท่าไหร่นัก นอกจากเรื่องขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดจอ 5 นิ้ว ส่วนปุ่มกดสั่งงานทั้ง 3 ปุ่มด้านล่างคือปุ่ม Back, ปุ่ม Home (กดค้างแล้วลากขึ้น จะเป็นการเรียกใช้งาน Google Now) และปุ่ม Recent Apps ถ้าดูจากในภาพ จะรู้สึกเหมือนว่าแต่ละปุ่มมีไฟ LED อยู่ใช่มั้ยครับ แต่ความจริงแล้วทั้งสามปุ่มไม่มีไฟ LED ส่องสว่างแต่อย่างใด ซึ่งอาจจะทำให้การใช้งานในที่มืดค่อนข้างลำบากกันซักหน่อย
นอกจากนี้เรื่องของระยะห่างระหว่างปุ่มทั้งสาม ส่วนตัวผมว่ามันค่อนข้างห่างกันไปหน่อย ซึ่งอันที่จริงปัญหานี้ ตัวผมก็รู้สึกมาตั้งแต่ ZenFone 4 แล้ว ยิ่งมาเจอใน ZenFone 5 ก็ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เลย เพราะขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาที่ถือเครื่องด้วยมือขวา แล้วต้องกดปุ่ม Back กลายเป็นว่าต้องถ่างนิ้วหัวแม่มือออกมาไกลจากตำแหน่งการวางมือปกติมากทีเดียว ขนาดมือถือรุ่นที่จอใหญ่กว่านี้ ปุ่มทั้งสามยังอยู่ชิดกันกว่าใน ZenFone 5 เลย จุดนี้คงต้องอาศัยการปรับตัวและความเคยชินสถานเดียวครับ เพราะเรื่องปุ่มนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ย้ายตำแหน่งได้เหมือนกับเครื่องรุ่นที่ใช้ปุ่มแบบซอฟต์แวร์
หน้าจอของ ASUS ZenFone 5 ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้พาเนลเป็น IPS ทำให้เรื่องของสีสัน มุมมองภาพออกมาดูดีกว่า ZenFone 4 ซึ่งเห็นได้ชัดนับตั้งแต่เปิดใช้งานเครื่องครั้งแรกเลยทีเดียว แต่ถ้าลองหันมามองจอจากด้านข้าง จะพบว่ายังมีมุมที่สีภาพเพี้ยนอยู่บ้างเหมือนกัน ดังตัวอย่างในภาพด้านขวา แสดงว่าพาเนล IPS ที่นำมาใส่ใน ZenFone 5 อาจจะยังมีเกรดที่ไม่สูงมากนัก (แต่ก็ยังดีกว่าใช้พาเนล TFT อยู่มาก) แสงสว่างก็จัดว่าสู้แสงภายนอกได้โอเคทีเดียว มีระบบปรับแสงสว่างอัตโนมัติ แต่เท่าที่ลองเปิดใช้งาน พบว่าระบบการปรับแสงยังทำได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่จะเกิดอาการหน้าจอมืดเกินไป ข้อนี้คิดว่าแก้ไขไม่ยากครับ เพราะเป็นในส่วนของซอฟต์แวร์ควบคุม ถ้ามีการอัพเดตออกมา ก็น่าจะแก้ไขได้ ส่วนในช่วงนี้ ถ้าเจอปัญหาหน้าจอปรับอัตโนมัติแล้วมืดไป ก็จัดการปรับความสว่างเองไปก่อนก็ได้ เพราะตัว ZenUI มีการสร้างทางลัดในการปรับความสว่างหน้าจอเอาไว้ที่ Quick Settings ตรงแถบ Notifications อยู่แล้ว
ด้านหลังของ ASUS ZenFone 5 ยังคงใช้งานพลาสติกผิวเรียบสีด้าน ให้ความรู้สึกที่ลื่นๆ เนียนมือเช่นเดียวกับใน ZenFone 4 อยู่ โดยดีไซน์ออกมาให้ส่วนโค้งรับกับฝ่ามือพอดีๆ ให้ความรู้สึกในการจับที่ดีมาก ผสมกับขนาดตัวเครื่องที่กำลังพอดีๆ ทำให้ ZenFone 5 เป็นมือถือที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวันมากจริงๆ อย่างที่ทางเราเคยบอกเอาไว้ในรีวิว ZenFone 4 ว่าถ้าหากอยากได้มือถือสำหรับใช้งานจริง ได้ส่วนผสมที่กำลังดีระหว่างความสะดวกในการพกพาและความสะดวกในการใช้งาน ZenFone 5 คือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในบรรดา 3 พี่น้อง ZenFone แล้วล่ะนะ ส่วนโลโก้ Intel ด้านล่างนี้เป็นโลโก้ที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวสำหรับมือถือที่ใช้ชิปประมวลผลจาก Intel ใกล้ๆ กันนั้นก็จะเป็นตำแหน่งของลำโพงในตัวเครื่อง ให้เสียงที่อยู่ในระดับไม่ต่างจากสมาร์ทโฟนทั่วไปเท่าไหร่นัก เสียงดังใช้ได้พอตัว
ความรู้สึกโดยรวมที่ใช้งานเครื่องในระหว่างรีวิว ASUS ZenFone 5 มา ส่วนตัวคิดว่าด้านฮาร์ดแวร์นั้นโอเคเลย ทั้งรูปทรง วัสดุ งานประกอบรวมๆ จัดว่าอยู่ในระดับดีเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับมือถือรุ่นอื่นๆ ที่ราคาใกล้เคียงกัน จะมีก็เรื่องปุ่มกดสั่งงานทั้งสามปุ่มที่วางห่างกันไปหน่อยนึงเท่านั้น ส่วนเรื่องซอฟต์แวร์ ยอมรับว่ายังต้องปรับปรุงแก้ไขในบางจุดอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น เรื่องระบบปรับความสว่าง และระบบอื่นๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปในรีวิว ZenFone 5 ครั้งนี้ครับ
ฝาหลังของ ASUS ZenFone 5 สามารถแกะออกได้เช่นเดียวกับ ZenFone 4 แต่ไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ออกได้ โดยส่วนที่สามารถใส่เข้า ถอดออกได้เองก็จะมีแค่ซิมทั้งสองซิมและการ์ด MicroSD เท่านั้น สำหรับซิมที่ใช้ก็จะเป็นแบบไมโครซิมทั้งสองช่องเลย โดยการใส่ซิมใน ZenFone 5 นี้ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะให้ซิมไหนใช้อะไร เพราะทั้งสองซิมสามารถใช้งาน 3G ได้ ใช้งานเป็นโทรศัพท์ได้ตามปกติทั้งคู่เลย ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าจากระบบได้ว่าจะให้ซิมไหนใช้ 3G (ใช้ได้ทีละซิม) ซิมไหนใช้เป็นเบอร์หลักสำหรับโทรออก ต่างจากในหลายๆ รุ่นของแบรนด์อื่นที่บังคับว่าซิม 1 เท่านั้นที่สามารถใช้งาน 3G ได้ ก็นับว่าเป็นการสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้ดีระดับหนึ่งเลย ด้านของอุปกรณ์ที่แถมมาภายในกล่องก็จะมีสาย Micro USB, อะแดปเตอร์ชาร์จไฟ 1.35A, หูฟังแบบ in-ear พร้อมจุกยางอีกสองคู่, คู่มือการใช้งานเบื้องต้นและเอกสารการรับประกัน ไม่มีแถมแบตเตอรี่มาให้แบบใน ZenFone 4 นะครับ ก็เพราะว่า ZenFone 5 ไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ได้ แถมที่ติดมาในเครื่องก็ให้มา 2110 mAh แล้ว
อ้อ!! ส่วนของปุ่ม Power และแถบปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง จะอยู่ทางฝั่งขวาในตำแหน่งที่พอดีกับหัวแม่มือขวา (ถือเครื่องด้วยมือขวา หันหน้าจอเข้าหาตัว) โดยปุ่ม Power จะอยู่เหนือแถบปุ่มเพิ่ม/ลดเสียงเล็กน้อย ตัวปุ่มนูนออกมาจากขอบเครื่องพอสมควร สำหรับรูปร่างหน้าตาของ ASUS ZenFone 5 ก็สามารถคลิกเพื่อรับชมได้จากแกลเลอรี่นี้กันแบบเต็มๆ ยาวๆ กันได้ ไล่ตั้งแต่อุปกรณ์ในกล่อง ไปจนถึงภาพหลังจากแกะฝาหลังเลย
[CR] รีวิว ASUS ZenFone 5 ฉบับเต็ม
สเปค ASUS ZenFone 5
-ชิปประมวลผล Intel Atom Z2560 ความเร็วสูงสุด 1.6 GHz dual-core รองรับ Hyper Threading ทำให้เสมือนว่ามีคอร์ประมวลผล 4 คอร์
-ชิปกราฟิก PowerVR SGX544MP2
-แรม 1 GB (ในตลาดจะมีรุ่นแรม 2 GB มาวางจำหน่ายด้วยภายหลัง)
-หน้าจอ IPS ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียดระดับ HD (1280 x 720)
-กระจกหน้าจอ Gorilla Glass 3
-รอม 8 GB รองรับ MicroSD เพิ่มเติม สามารถย้ายแอพมาลงใน MicroSD ได้
-รองรับ 2 ซิม ใช้งาน 3G ได้ทุกเครือข่าย สามารถใช้งาน 3G ได้ทั้งสองช่อง (แต่ต้องเลือกใช้ทีละซิมตามปกติ)
-กล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มาพรอ้มเทคโนโลยี PixelMaster ช่วยให้ถ่ายภายในที่มีแสงน้อยได้ดี รองรับการถ่ายวิดีโอสูงสุดระดับ Full HD
-กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
-Android 4.3 Jelly Bean มาพร้อมอินเตอร์เฟส ZenUI
-สามารถฟังวิทยุ FM ได้
-แบตเตอรี่ความจุ 2110 mAh
-หนัก 140 กรัม
-ราคา 4,990 บาท
ดูสเปคเต็มๆได้ที่ http://specphone.com/Asus-ZenFone-5.html
ถ้ากล่าวถึงเรื่องสเปคล้วนๆ ก็มองว่า ZenFone 5 มาพร้อมกับสเปคทั่วไปที่ไม่หนีไปจาก ZenFone 4 มากนัก จะต่างกันก็ตรงที่ชิปประมวลผล, หน้าจอ, กล้องหลังและแบตเตอรี่เท่านั้นที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เป็นที่แน่นอนว่า ZenFone 5 ย่อมมาพร้อมกับความแรงและฟีเจอร์การทำงานที่มากกว่า ZenFone 4 ซึ่งถ้าวัดหน้าสเปคกันเพียวๆ ส่วนตัวผมมองว่าคุ้มค่าสำหรับการเพิ่มเงิน 2,000 บาทจาก ZenFone 4 (2,990) มาเป็น ZenFone 5 ตัวนี้เลยทีเดียว ส่วนเหตุผลนั้น มาชมกันต่อในรีวิวแต่ละจุดเลยครับ
Design
ถ้าใครได้เห็นหรือลองใช้งาน ZenFone 4 มาแล้ว ก็จะรู้สึกว่าหน้าตาของ ZenFone 5 นั้นแทบจะเหมือนกันอย่างกับแกะเลยทีเดียว เนื่องด้วย ASUS ใช้คอนเซ็ปท์ในการออกแบบสมาร์ทโฟนตระกูล ZenFone ออกมาในแนวทางเดียวกัน แตกต่างกันแค่เรื่องของขนาด ทำให้เรื่องหน้าตาของ ZenFone 5 จึงไม่มีจุดเด่นที่แปลกออกไปจาก ZenFone 4 เท่าไหร่นัก นอกจากเรื่องขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดจอ 5 นิ้ว ส่วนปุ่มกดสั่งงานทั้ง 3 ปุ่มด้านล่างคือปุ่ม Back, ปุ่ม Home (กดค้างแล้วลากขึ้น จะเป็นการเรียกใช้งาน Google Now) และปุ่ม Recent Apps ถ้าดูจากในภาพ จะรู้สึกเหมือนว่าแต่ละปุ่มมีไฟ LED อยู่ใช่มั้ยครับ แต่ความจริงแล้วทั้งสามปุ่มไม่มีไฟ LED ส่องสว่างแต่อย่างใด ซึ่งอาจจะทำให้การใช้งานในที่มืดค่อนข้างลำบากกันซักหน่อย
นอกจากนี้เรื่องของระยะห่างระหว่างปุ่มทั้งสาม ส่วนตัวผมว่ามันค่อนข้างห่างกันไปหน่อย ซึ่งอันที่จริงปัญหานี้ ตัวผมก็รู้สึกมาตั้งแต่ ZenFone 4 แล้ว ยิ่งมาเจอใน ZenFone 5 ก็ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เลย เพราะขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาที่ถือเครื่องด้วยมือขวา แล้วต้องกดปุ่ม Back กลายเป็นว่าต้องถ่างนิ้วหัวแม่มือออกมาไกลจากตำแหน่งการวางมือปกติมากทีเดียว ขนาดมือถือรุ่นที่จอใหญ่กว่านี้ ปุ่มทั้งสามยังอยู่ชิดกันกว่าใน ZenFone 5 เลย จุดนี้คงต้องอาศัยการปรับตัวและความเคยชินสถานเดียวครับ เพราะเรื่องปุ่มนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ย้ายตำแหน่งได้เหมือนกับเครื่องรุ่นที่ใช้ปุ่มแบบซอฟต์แวร์
หน้าจอของ ASUS ZenFone 5 ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้พาเนลเป็น IPS ทำให้เรื่องของสีสัน มุมมองภาพออกมาดูดีกว่า ZenFone 4 ซึ่งเห็นได้ชัดนับตั้งแต่เปิดใช้งานเครื่องครั้งแรกเลยทีเดียว แต่ถ้าลองหันมามองจอจากด้านข้าง จะพบว่ายังมีมุมที่สีภาพเพี้ยนอยู่บ้างเหมือนกัน ดังตัวอย่างในภาพด้านขวา แสดงว่าพาเนล IPS ที่นำมาใส่ใน ZenFone 5 อาจจะยังมีเกรดที่ไม่สูงมากนัก (แต่ก็ยังดีกว่าใช้พาเนล TFT อยู่มาก) แสงสว่างก็จัดว่าสู้แสงภายนอกได้โอเคทีเดียว มีระบบปรับแสงสว่างอัตโนมัติ แต่เท่าที่ลองเปิดใช้งาน พบว่าระบบการปรับแสงยังทำได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่จะเกิดอาการหน้าจอมืดเกินไป ข้อนี้คิดว่าแก้ไขไม่ยากครับ เพราะเป็นในส่วนของซอฟต์แวร์ควบคุม ถ้ามีการอัพเดตออกมา ก็น่าจะแก้ไขได้ ส่วนในช่วงนี้ ถ้าเจอปัญหาหน้าจอปรับอัตโนมัติแล้วมืดไป ก็จัดการปรับความสว่างเองไปก่อนก็ได้ เพราะตัว ZenUI มีการสร้างทางลัดในการปรับความสว่างหน้าจอเอาไว้ที่ Quick Settings ตรงแถบ Notifications อยู่แล้ว
ด้านหลังของ ASUS ZenFone 5 ยังคงใช้งานพลาสติกผิวเรียบสีด้าน ให้ความรู้สึกที่ลื่นๆ เนียนมือเช่นเดียวกับใน ZenFone 4 อยู่ โดยดีไซน์ออกมาให้ส่วนโค้งรับกับฝ่ามือพอดีๆ ให้ความรู้สึกในการจับที่ดีมาก ผสมกับขนาดตัวเครื่องที่กำลังพอดีๆ ทำให้ ZenFone 5 เป็นมือถือที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวันมากจริงๆ อย่างที่ทางเราเคยบอกเอาไว้ในรีวิว ZenFone 4 ว่าถ้าหากอยากได้มือถือสำหรับใช้งานจริง ได้ส่วนผสมที่กำลังดีระหว่างความสะดวกในการพกพาและความสะดวกในการใช้งาน ZenFone 5 คือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในบรรดา 3 พี่น้อง ZenFone แล้วล่ะนะ ส่วนโลโก้ Intel ด้านล่างนี้เป็นโลโก้ที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวสำหรับมือถือที่ใช้ชิปประมวลผลจาก Intel ใกล้ๆ กันนั้นก็จะเป็นตำแหน่งของลำโพงในตัวเครื่อง ให้เสียงที่อยู่ในระดับไม่ต่างจากสมาร์ทโฟนทั่วไปเท่าไหร่นัก เสียงดังใช้ได้พอตัว
ความรู้สึกโดยรวมที่ใช้งานเครื่องในระหว่างรีวิว ASUS ZenFone 5 มา ส่วนตัวคิดว่าด้านฮาร์ดแวร์นั้นโอเคเลย ทั้งรูปทรง วัสดุ งานประกอบรวมๆ จัดว่าอยู่ในระดับดีเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับมือถือรุ่นอื่นๆ ที่ราคาใกล้เคียงกัน จะมีก็เรื่องปุ่มกดสั่งงานทั้งสามปุ่มที่วางห่างกันไปหน่อยนึงเท่านั้น ส่วนเรื่องซอฟต์แวร์ ยอมรับว่ายังต้องปรับปรุงแก้ไขในบางจุดอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น เรื่องระบบปรับความสว่าง และระบบอื่นๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปในรีวิว ZenFone 5 ครั้งนี้ครับ
ฝาหลังของ ASUS ZenFone 5 สามารถแกะออกได้เช่นเดียวกับ ZenFone 4 แต่ไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ออกได้ โดยส่วนที่สามารถใส่เข้า ถอดออกได้เองก็จะมีแค่ซิมทั้งสองซิมและการ์ด MicroSD เท่านั้น สำหรับซิมที่ใช้ก็จะเป็นแบบไมโครซิมทั้งสองช่องเลย โดยการใส่ซิมใน ZenFone 5 นี้ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะให้ซิมไหนใช้อะไร เพราะทั้งสองซิมสามารถใช้งาน 3G ได้ ใช้งานเป็นโทรศัพท์ได้ตามปกติทั้งคู่เลย ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าจากระบบได้ว่าจะให้ซิมไหนใช้ 3G (ใช้ได้ทีละซิม) ซิมไหนใช้เป็นเบอร์หลักสำหรับโทรออก ต่างจากในหลายๆ รุ่นของแบรนด์อื่นที่บังคับว่าซิม 1 เท่านั้นที่สามารถใช้งาน 3G ได้ ก็นับว่าเป็นการสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้ดีระดับหนึ่งเลย ด้านของอุปกรณ์ที่แถมมาภายในกล่องก็จะมีสาย Micro USB, อะแดปเตอร์ชาร์จไฟ 1.35A, หูฟังแบบ in-ear พร้อมจุกยางอีกสองคู่, คู่มือการใช้งานเบื้องต้นและเอกสารการรับประกัน ไม่มีแถมแบตเตอรี่มาให้แบบใน ZenFone 4 นะครับ ก็เพราะว่า ZenFone 5 ไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ได้ แถมที่ติดมาในเครื่องก็ให้มา 2110 mAh แล้ว
อ้อ!! ส่วนของปุ่ม Power และแถบปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง จะอยู่ทางฝั่งขวาในตำแหน่งที่พอดีกับหัวแม่มือขวา (ถือเครื่องด้วยมือขวา หันหน้าจอเข้าหาตัว) โดยปุ่ม Power จะอยู่เหนือแถบปุ่มเพิ่ม/ลดเสียงเล็กน้อย ตัวปุ่มนูนออกมาจากขอบเครื่องพอสมควร สำหรับรูปร่างหน้าตาของ ASUS ZenFone 5 ก็สามารถคลิกเพื่อรับชมได้จากแกลเลอรี่นี้กันแบบเต็มๆ ยาวๆ กันได้ ไล่ตั้งแต่อุปกรณ์ในกล่อง ไปจนถึงภาพหลังจากแกะฝาหลังเลย