http://www.peopleunitynews.com/web02/2014/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A-%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3/
สำนักข่าวออนไลน์ พีเพิล ยูนิตี้ - คำแถลงหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. สะท้อนจุดยืนของ คสช.ได้ชัดเจนในประเด็นห้วงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่หัวหน้า คสช.บอกว่า ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าเหตุการณ์จะสงบอย่างแท้จริง ขณะที่เรื่องตำแหน่งนายกฯ หัวหน้า คสช.บอกว่า ยังไปไม่ถึงขั้นตอนนั้น
หมายความว่า โอกาสเป็นไปได้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะขึ้นรับตำแหน่งนายกฯเอง หรืออาจมอบให้คนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขึ้นมารับตำแหน่งแทน ซึ่งต้องจับตามองการตัดสินใจของ คสช.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีอยู่ประเด็นหนึ่ง ซึ่ง “ซ่อน” อยู่ในถ้อยแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่อาจจะสำคัญไม่แพ้เรื่องนายกฯ ครม. และแนวทางการแก้ปัญหาประเทศของ คสช.
นั่นคือ ประเด็นการ “ทบทวนบทเรียน” ของกองทัพ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเหตุการณ์ในอดีต โดยเฉพาะการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ที่กลายเป็นชนวนความขัดแย้งมาจนถึงวันนี้
พล.อ.ประยุทธ์ พูดถึงประเด็นนี้ชัดเจนในวันที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯว่า “พวกเราเข้าใจดี พวกเรามีบทเรียนต่างๆมากมายในอดีต ฉะนั้นคำว่าบทเรียนมีสำหรับทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ ข้าราชการพลเรือนที่มีสำหรับพวกผมอยู่แล้ว ผมได้เอาบทเรียนเหล่านั้นมาทบทวน และแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตด้วย”
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ภายหลังเข้ามายึดอำนาจรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ คสช.ได้ดำเนินแนวทางที่แตกต่างจากคณะรัฐประหารปี 49 ในหลายเรื่อง เช่น
แนวทางที่ 1 หลังยึดอำนาจได้ไม่ถึง 1 เดือน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ได้แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อลดแรงกดดันทั้งภายใน-ภายนอก
แต่การแสดงความเป็น “สุภาพบุรุษ” ของบิ๊กบังได้ทำให้แรงกดดันทั้งหมดพุ่งตรงไปยัง พล.อ.สุรยุทธ์ เลยเถิดไปถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ
ส่งผลให้รัฐบาลขิงแก่ที่ไม่ประสาการเมืองเท่ากับนักการเมืองพรรคไทยรักไทย ถูกรุมกระหน่ำทางการเมืองจนต้องแบ่งเวลามากมายไปกับข้อกล่าวหาทางการเมือง
แนวทางที่ 2 หลังการยึดอำนาจ คมช.ได้เรียกนักการเมืองฝั่งตรงข้ามมารายงานตัว และส่งทหารไปลงพื้นที่ชี้แจงกับประชาชน แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังเท่าใดนัก
ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามตั้งตัวได้อย่างรวดเร็ว และปฏิบัติการตอบโต้ทั้งการจัดตั้งกองกำลังใต้ดิน และการสร้างงานมวลชนจนพัฒนาเป็น “เสื้อแดง” ที่เข้มแข็งอย่างถึงที่สุดในปี 53
ขณะที่แนวทางของ คสช. มีทั้งการเรียกนักการเมือง กลุ่มแกนนำม็อบ และกลุ่มที่คุมกองกำลังใต้ดินมาเพื่อป้องปราม และโอนคดีทั้งหมดไปขึ้น “ศาลทหาร” เพื่อความเด็ดขาดฉับไว
ทั้งนี้ คสช. ได้สรุปบทเรียนจาก คมช. มาแล้วกรณี “ตีงูแค่หลังหัก”
แนวทางที่ 3 คมช. ไม่ได้เน้นหนักไปในการ “ควบคุมสื่อ” เท่าใดนัก เพราะมองว่า น่าจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของ คมช.ให้ดีกว่านักรัฐประหารยุคก่อน
นั่นจึงเป็นการเปิดช่องให้ระบอบทักษิณเดินเกมรุกทางสื่ออย่างเต็มกำลัง ทั้งในอินเทอร์เน็ต และทีวีดาวเทียม-วิทยุชุมชน
ส่งผลให้ฐานมวลชนของทักษิณที่ปกติหนาแน่นอยู่แล้วมีความกล้าแข็งขึ้นตามลำดับ ซึ่งเมื่อบวกกับน้ำเลี้ยงและการรุกทางสื่ออย่างหนักจึงทำให้ม็อบเสื้อแดงแกร่งกล้าขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น การสั่งปิด 14 ช่องทีวีดาวเทียม รวมทั้งวิทยุชุมชนที่บิดเบือน-ปลุกระดม จึงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของ คสช. เพราะถ้าสถานการณ์ “ไม่นิ่ง” คสช.ย่อมไม่อาจเดินหน้าแก้ไขปัญหาอื่นๆได้เลย
แนวทางที่ 4 การบริการงานในรัฐบาลขิงแก่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และไม่ได้คิดอะไรใหม่ๆขึ้นมาแก้ไขปัญหาประเทศนอกจากทำงานตามแนวทางของข้าราชการที่มีอยู่แล้ว จนโดนค่อนแคะว่ามานั่งยุบหนอพองหนอ รอกลับบ้านไปวันๆ
ขณะที่สไตล์ของ คสช.ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า คิดเร็ว-ทำเร็ว โดยเฉพาะการจับประเด็น “จ่ายค่าจำนำข้าวชาวนา” ที่ได้รับผลเชิงจิตวิทยาอย่างมาก
หาก คสช.สามารถดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการ “ซื้อใจ” กลุ่มคนรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงการเมืองของฝั่งตรงข้ามได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งจะลดแรงกดดันได้เร็วขึ้นเท่านั้น
ทั้ง 4 แนวทางข้างต้นที่เดินเกมแตกต่างจาก คมช. อย่างสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่า คสช.ได้ “ทบทวนบทเรียน” เป็นอย่างดีแล้ว เพื่อไม่ให้ก้าวพลาดซ้ำรอยครั้งที่ผ่านมาอีก
วิเคราะห์ // คสช.ทบทวนบทเรียน คมช.
โดย – เสมา พิทักษ์ราชัน
2 มิถุนายน 2557
10.00 น.
วิเคราะห์ // คสช.ทบทวนบทเรียน คมช.
สำนักข่าวออนไลน์ พีเพิล ยูนิตี้ - คำแถลงหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. สะท้อนจุดยืนของ คสช.ได้ชัดเจนในประเด็นห้วงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่หัวหน้า คสช.บอกว่า ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าเหตุการณ์จะสงบอย่างแท้จริง ขณะที่เรื่องตำแหน่งนายกฯ หัวหน้า คสช.บอกว่า ยังไปไม่ถึงขั้นตอนนั้น
หมายความว่า โอกาสเป็นไปได้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะขึ้นรับตำแหน่งนายกฯเอง หรืออาจมอบให้คนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขึ้นมารับตำแหน่งแทน ซึ่งต้องจับตามองการตัดสินใจของ คสช.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีอยู่ประเด็นหนึ่ง ซึ่ง “ซ่อน” อยู่ในถ้อยแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่อาจจะสำคัญไม่แพ้เรื่องนายกฯ ครม. และแนวทางการแก้ปัญหาประเทศของ คสช.
นั่นคือ ประเด็นการ “ทบทวนบทเรียน” ของกองทัพ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเหตุการณ์ในอดีต โดยเฉพาะการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ที่กลายเป็นชนวนความขัดแย้งมาจนถึงวันนี้
พล.อ.ประยุทธ์ พูดถึงประเด็นนี้ชัดเจนในวันที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯว่า “พวกเราเข้าใจดี พวกเรามีบทเรียนต่างๆมากมายในอดีต ฉะนั้นคำว่าบทเรียนมีสำหรับทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ ข้าราชการพลเรือนที่มีสำหรับพวกผมอยู่แล้ว ผมได้เอาบทเรียนเหล่านั้นมาทบทวน และแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตด้วย”
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ภายหลังเข้ามายึดอำนาจรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ คสช.ได้ดำเนินแนวทางที่แตกต่างจากคณะรัฐประหารปี 49 ในหลายเรื่อง เช่น
แนวทางที่ 1 หลังยึดอำนาจได้ไม่ถึง 1 เดือน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ได้แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อลดแรงกดดันทั้งภายใน-ภายนอก
แต่การแสดงความเป็น “สุภาพบุรุษ” ของบิ๊กบังได้ทำให้แรงกดดันทั้งหมดพุ่งตรงไปยัง พล.อ.สุรยุทธ์ เลยเถิดไปถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ
ส่งผลให้รัฐบาลขิงแก่ที่ไม่ประสาการเมืองเท่ากับนักการเมืองพรรคไทยรักไทย ถูกรุมกระหน่ำทางการเมืองจนต้องแบ่งเวลามากมายไปกับข้อกล่าวหาทางการเมือง
แนวทางที่ 2 หลังการยึดอำนาจ คมช.ได้เรียกนักการเมืองฝั่งตรงข้ามมารายงานตัว และส่งทหารไปลงพื้นที่ชี้แจงกับประชาชน แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังเท่าใดนัก
ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามตั้งตัวได้อย่างรวดเร็ว และปฏิบัติการตอบโต้ทั้งการจัดตั้งกองกำลังใต้ดิน และการสร้างงานมวลชนจนพัฒนาเป็น “เสื้อแดง” ที่เข้มแข็งอย่างถึงที่สุดในปี 53
ขณะที่แนวทางของ คสช. มีทั้งการเรียกนักการเมือง กลุ่มแกนนำม็อบ และกลุ่มที่คุมกองกำลังใต้ดินมาเพื่อป้องปราม และโอนคดีทั้งหมดไปขึ้น “ศาลทหาร” เพื่อความเด็ดขาดฉับไว
ทั้งนี้ คสช. ได้สรุปบทเรียนจาก คมช. มาแล้วกรณี “ตีงูแค่หลังหัก”
แนวทางที่ 3 คมช. ไม่ได้เน้นหนักไปในการ “ควบคุมสื่อ” เท่าใดนัก เพราะมองว่า น่าจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของ คมช.ให้ดีกว่านักรัฐประหารยุคก่อน
นั่นจึงเป็นการเปิดช่องให้ระบอบทักษิณเดินเกมรุกทางสื่ออย่างเต็มกำลัง ทั้งในอินเทอร์เน็ต และทีวีดาวเทียม-วิทยุชุมชน
ส่งผลให้ฐานมวลชนของทักษิณที่ปกติหนาแน่นอยู่แล้วมีความกล้าแข็งขึ้นตามลำดับ ซึ่งเมื่อบวกกับน้ำเลี้ยงและการรุกทางสื่ออย่างหนักจึงทำให้ม็อบเสื้อแดงแกร่งกล้าขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น การสั่งปิด 14 ช่องทีวีดาวเทียม รวมทั้งวิทยุชุมชนที่บิดเบือน-ปลุกระดม จึงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของ คสช. เพราะถ้าสถานการณ์ “ไม่นิ่ง” คสช.ย่อมไม่อาจเดินหน้าแก้ไขปัญหาอื่นๆได้เลย
แนวทางที่ 4 การบริการงานในรัฐบาลขิงแก่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และไม่ได้คิดอะไรใหม่ๆขึ้นมาแก้ไขปัญหาประเทศนอกจากทำงานตามแนวทางของข้าราชการที่มีอยู่แล้ว จนโดนค่อนแคะว่ามานั่งยุบหนอพองหนอ รอกลับบ้านไปวันๆ
ขณะที่สไตล์ของ คสช.ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า คิดเร็ว-ทำเร็ว โดยเฉพาะการจับประเด็น “จ่ายค่าจำนำข้าวชาวนา” ที่ได้รับผลเชิงจิตวิทยาอย่างมาก
หาก คสช.สามารถดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการ “ซื้อใจ” กลุ่มคนรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงการเมืองของฝั่งตรงข้ามได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งจะลดแรงกดดันได้เร็วขึ้นเท่านั้น
ทั้ง 4 แนวทางข้างต้นที่เดินเกมแตกต่างจาก คมช. อย่างสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่า คสช.ได้ “ทบทวนบทเรียน” เป็นอย่างดีแล้ว เพื่อไม่ให้ก้าวพลาดซ้ำรอยครั้งที่ผ่านมาอีก
วิเคราะห์ // คสช.ทบทวนบทเรียน คมช.
โดย – เสมา พิทักษ์ราชัน
2 มิถุนายน 2557
10.00 น.