จากคอลัมน์ หน้าต่างนักเขียน ของ วรรณฤกษ์ (พินิจ นิลรัตน์)
ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๓๑๑๑ (วันอังคารที่ ๓ มิ.ย. ๕๗)
ซึ่ง จขกท.เป็นสมาชิก จึงได้รับทางไปรษณีย์ล่วงหน้า...เมื่อ ๒ วันก่อน
(เป็นสมาชิก-ก็ดีไปอย่างหนึ่ง เพชรกลางไฟ ของ ว.วินิจฉัยกุล กำลังสนุกทีเดียว)
"สุขสันติ์" วันเกิด แด่...
๑ มิถุนายน ๒๕๑๗ พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์
๓ มิถุนายน ๒๕๐๑ ธีรภาพ โลหิตกุล
๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ ชมัยภร แสงกระจ่าง (ไพลิน รุ้งรัตน์, บุณฑริกา, บัวแพน นันทพิสัย, ชมจันทร์)
๕ มิถุนายน ๒๕-- ชมัยพร มาลัยทัต
๖ มิถุนายน ๒๔๙๙ ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๙ ชาครีนรทิพย์ เสวิกุล
๑๐ มิถุนายน ๒๔๕๐ มนัส จรรยงค์ (ถึงแก่กรรม)
๑๐ มิถุนายน ๒๕๐๓ เริงศักดิ์ กำธร (ผกามาศ ปรีชา)
๑๒ มิถุนายน ๒๕๐๔ เกษม จันทร์ดำ (ธัช ธาดา)
๑๖ มิถุนายน ๒๔๔๘ ไม้ เมืองเดิม (ถึงแก่กรรม)
๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๓ ประมูล อุณหธูป (อุษณา เพลิงธรรม)
๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๐ ปกรณ์ พงศ์วราภา (กรณ์ ไกรลาส)
๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๐ วงเดือน ทองเจียว
๒๐ มิถุนายน ๒๔๖๓ เรืองอุไร กุศลาสัย
๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สิ้นพระชนม์)
๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (สิงห์ สนามหลวง...เข้าใจว่าเป็นคนละคนกับที่เคยเห็นอยู่ในพันทิป)
๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๗ ชาติ กอบจิตติ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๐ ประยูร ลาแสง ("พระไม้)
๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ สุนทรภู่ (ถึงแก่อนิจกรรม)
๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๑ คำพูน บุญทวี (ถึงแก่กรรม)
๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕ วันรวี รุ่งแสง
นักเขียนเหล่านี้ บางท่านเป็นบรรณาธิการด้วย เช่น ประมูล อุณหธูป ปกรณ์ พงศ์วราภา
บางท่านเป็นครู หรือเคยเป็นครู เช่น เกษม จันทร์ดำ เรืองอุไร กุศลาสัย
บางท่านปกติประกอบอาชีพอื่น แต่เขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกด้วยใจรัก เช่น ชาครีนรทิพย์ เสวิกุล (นักการทูต)
บางท่านเป็น "ผู้สร้างคุณูปการอย่างมหาศาล" ในอดีต และยังส่งผลมาจนวันนี้
เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สุนทรภู่
บางท่านเป็น "ต้นแบบอันลือลั่น" ที่นักวรรณกรรม นักอ่าน ต้องรู้จัก
เช่น ไม้ เมืองเดิม (ต้นแบบนิยายลูกทุ่ง)
ประมูล อุณหธูป (อุษณา เพลิงธรรม) นักเขียน-นักแปลผู้ประณีตในการสรรคำใช้
เจ้าของสมญา "ตัดไม้ทั้งป่าทำเก้าอี้ตัวเดียว"
คำพูน บุญทวี เจ้านิยายชีวิตชนบทอีสานที่ถ่ายทอดชีวิตของชาวอีสานได้อย่างกินใจ
บางท่านเป็นระดับ "ปูชนียบุคคลแห่งวงการ" ที่ยังมีชีวิตอยู่
เช่น เรืองอุไร กุศลาสัย (เป็นผู้บรรยายสาธิตการอ่านทำนองเสนาะระดับ "เทพ" เจ้าของงานแปลชิ้นเอกชื่อ เมฆฑูต")
สุชาติ สวัสดิ์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ บรรณาธิการ นักเขียน นักแปล เสาหลักแห่งวงวรรณกรรมไทยสมัยใหม่)
บางท่านนับเป็น "ผู้ยิ่งใหญ่-อาวุโส" ของวงการ เช่น
ชมัยภร แสงกระจ่าง ชาติ กอบจิตติ ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
บางท่านเป็น "นักเขียนดาวรุ่ง" ที่น่าจะมีอนาคตสดใสรุ่งเรือง
หากว่าเขายังเดินทางด้วยความมุ่งมั่นสร้างสรรค์ต่อไป
เช่น พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์ ชมัยพร มาลัยทัต ชาครีนรทิพย์ เสวิกุล
บางท่านเคยสร้างสีสันอันแสนประหลาดให้แก่วงวรรณกรรม
และดูเหมือนยังคงจะสร้างอยู่เรื่อยไปตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ
เช่น เริงศักดิ์ กำธร
บางท่านเป็นนักเขียนอย่างเดียวไม่สนุก ลุกขึ้นมาทำสำนักพิมพ์
อยู่ได้บ้าง หืดขึ้นคอบ้าง เจ๊งไปบ้าง
นับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากในชีวิต "นักเขียน"
.............................................
จขกท. ตั้งใจใช้คำว่า สุขสันติ์
เพราะคิดว่า ความสุขอย่างสันติ นั้น
มีค่ายิ่งนักกับสังคมไทย...วันนี้...และวันหน้า
สุขสันติ์...วันเกิด "นักเขียน" ที่เกิดเดือนมิถุนายน
ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๓๑๑๑ (วันอังคารที่ ๓ มิ.ย. ๕๗)
ซึ่ง จขกท.เป็นสมาชิก จึงได้รับทางไปรษณีย์ล่วงหน้า...เมื่อ ๒ วันก่อน
(เป็นสมาชิก-ก็ดีไปอย่างหนึ่ง เพชรกลางไฟ ของ ว.วินิจฉัยกุล กำลังสนุกทีเดียว)
"สุขสันติ์" วันเกิด แด่...
๑ มิถุนายน ๒๕๑๗ พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์
๓ มิถุนายน ๒๕๐๑ ธีรภาพ โลหิตกุล
๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ ชมัยภร แสงกระจ่าง (ไพลิน รุ้งรัตน์, บุณฑริกา, บัวแพน นันทพิสัย, ชมจันทร์)
๕ มิถุนายน ๒๕-- ชมัยพร มาลัยทัต
๖ มิถุนายน ๒๔๙๙ ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๙ ชาครีนรทิพย์ เสวิกุล
๑๐ มิถุนายน ๒๔๕๐ มนัส จรรยงค์ (ถึงแก่กรรม)
๑๐ มิถุนายน ๒๕๐๓ เริงศักดิ์ กำธร (ผกามาศ ปรีชา)
๑๒ มิถุนายน ๒๕๐๔ เกษม จันทร์ดำ (ธัช ธาดา)
๑๖ มิถุนายน ๒๔๔๘ ไม้ เมืองเดิม (ถึงแก่กรรม)
๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๓ ประมูล อุณหธูป (อุษณา เพลิงธรรม)
๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๐ ปกรณ์ พงศ์วราภา (กรณ์ ไกรลาส)
๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๐ วงเดือน ทองเจียว
๒๐ มิถุนายน ๒๔๖๓ เรืองอุไร กุศลาสัย
๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สิ้นพระชนม์)
๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (สิงห์ สนามหลวง...เข้าใจว่าเป็นคนละคนกับที่เคยเห็นอยู่ในพันทิป)
๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๗ ชาติ กอบจิตติ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๐ ประยูร ลาแสง ("พระไม้)
๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ สุนทรภู่ (ถึงแก่อนิจกรรม)
๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๑ คำพูน บุญทวี (ถึงแก่กรรม)
๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕ วันรวี รุ่งแสง
นักเขียนเหล่านี้ บางท่านเป็นบรรณาธิการด้วย เช่น ประมูล อุณหธูป ปกรณ์ พงศ์วราภา
บางท่านเป็นครู หรือเคยเป็นครู เช่น เกษม จันทร์ดำ เรืองอุไร กุศลาสัย
บางท่านปกติประกอบอาชีพอื่น แต่เขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกด้วยใจรัก เช่น ชาครีนรทิพย์ เสวิกุล (นักการทูต)
บางท่านเป็น "ผู้สร้างคุณูปการอย่างมหาศาล" ในอดีต และยังส่งผลมาจนวันนี้
เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สุนทรภู่
บางท่านเป็น "ต้นแบบอันลือลั่น" ที่นักวรรณกรรม นักอ่าน ต้องรู้จัก
เช่น ไม้ เมืองเดิม (ต้นแบบนิยายลูกทุ่ง)
ประมูล อุณหธูป (อุษณา เพลิงธรรม) นักเขียน-นักแปลผู้ประณีตในการสรรคำใช้
เจ้าของสมญา "ตัดไม้ทั้งป่าทำเก้าอี้ตัวเดียว"
คำพูน บุญทวี เจ้านิยายชีวิตชนบทอีสานที่ถ่ายทอดชีวิตของชาวอีสานได้อย่างกินใจ
บางท่านเป็นระดับ "ปูชนียบุคคลแห่งวงการ" ที่ยังมีชีวิตอยู่
เช่น เรืองอุไร กุศลาสัย (เป็นผู้บรรยายสาธิตการอ่านทำนองเสนาะระดับ "เทพ" เจ้าของงานแปลชิ้นเอกชื่อ เมฆฑูต")
สุชาติ สวัสดิ์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ บรรณาธิการ นักเขียน นักแปล เสาหลักแห่งวงวรรณกรรมไทยสมัยใหม่)
บางท่านนับเป็น "ผู้ยิ่งใหญ่-อาวุโส" ของวงการ เช่น
ชมัยภร แสงกระจ่าง ชาติ กอบจิตติ ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
บางท่านเป็น "นักเขียนดาวรุ่ง" ที่น่าจะมีอนาคตสดใสรุ่งเรือง
หากว่าเขายังเดินทางด้วยความมุ่งมั่นสร้างสรรค์ต่อไป
เช่น พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์ ชมัยพร มาลัยทัต ชาครีนรทิพย์ เสวิกุล
บางท่านเคยสร้างสีสันอันแสนประหลาดให้แก่วงวรรณกรรม
และดูเหมือนยังคงจะสร้างอยู่เรื่อยไปตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ
เช่น เริงศักดิ์ กำธร
บางท่านเป็นนักเขียนอย่างเดียวไม่สนุก ลุกขึ้นมาทำสำนักพิมพ์
อยู่ได้บ้าง หืดขึ้นคอบ้าง เจ๊งไปบ้าง
นับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากในชีวิต "นักเขียน"
.............................................
จขกท. ตั้งใจใช้คำว่า สุขสันติ์
เพราะคิดว่า ความสุขอย่างสันติ นั้น
มีค่ายิ่งนักกับสังคมไทย...วันนี้...และวันหน้า