สวัสดีค่ะเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกท่าน
วันนี้หญิงกลับมาแบบจัดเต็มเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ลดรอยเเผลเป็นในร้านยาร่วม 10 แบรนด์ค่ะ
จากการเข้าเวรในร้านยาแห่งหนึ่ง ซึ่งมีหลายๆผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นจำหน่าย เราจะเลือกอันไหนดี วันนี้หญิงเลยถือวิสาสะหยิบเอาผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นทั้งสิบในร้านยามาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ เจาะลึกส่วนผสมหลัก โดยอิงจากหลักวิชาการ และรากฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักค่ะ
ขอเท้าความนิดหน่อยก่อน
ปกติเครื่องสำอางแทบทุกชนิดจะประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน คือ
1. Active Ingredients หรือ สารสำคัญ เป็นสารที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ แม้ว่าสถานการณ์ของอย.ประเทศไทยจะยังห้าม Claim ฤทธิ์บางประเภทที่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย แต่ส่วนนี้ก็ยังสามารถแอบๆเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ
2. Base หรือ เนื้อผลิตภัณฑ์ บางทีอาจเรียกว่า Vehicle เป็นเนื้อหลักที่ทำหน้าที่โอบอุ้มสารสำคัญเอาไว้ และเป็นตัวนำพาสารสำคัญไปสู่ผิวหนัง
3. Additives (คือสารที่ช่วยเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดี มีความน่าใช้)
เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว วันนี้จะขอหยิบเอาเฉพาะ Active Ingredients จากผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์เจาะลึกเท่านั้นนะคะ
ผลิตภัณฑ์ที่ร้านยาที่หญิงอยู่เวรสั่งเข้ามา มีดังนี้ค่ะ
** ขออนุญาต Blind ชื่อและยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ไว้นะคะ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนมาก หญิงยังไม่เคยใช้เอง เคยแต่ฟังลูกค้าและเพื่อนๆเล่าๆให้ฟังเฉยๆค่ะ จะมีก็เพียงตัว Hiruscar ที่เคยใช้เองค่ะ (เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินค่ะ)
มากันดีกว่า ว่าจะจัดเต็มอะไรบ้าง
กับอีกสองตัวค่ะ
ก่อนจะเริ่มจัดเต็ม ขอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับแผลเป็นเล็กน้อยนะคะ
"ว่าด้วยแผลเป็น"
เวลาผิวหนังบาดเจ็บ/มีบาดแผลก็จะเกิดการซ่อมแซม ซึ่งก็จะมีด้วยกัน 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ ขั้นตอนการอักเสบของผิว (Inflammation) ขั้นตอนการสร้างเนื้อเยื่อ (Tissue formation) และขั้นตอนการปรับโครงสร้างเนื้อเยื่อ (Tissue remodeling)
ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นแผลเป็น ซึ่งการเดาว่าใครจะเป็นหรือไม่เป็นแผลเป็นเองก็ยังไม่ทราบแน่ชัด และทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย
การดูแลแผลเป็นที่เราสามารถทำได้เองก็จะมี การทาผลิตภัณฑ์เพื่อลดรอยแผลเป็น และการใช้ซิลิโคนเจล มีรายงานการวิจัยหลายๆฉบับถกเถียงกันว่า ผลิตภัณฑ์ทาแผลเป็นให้ผลดีจริงหรือไม่ บางฉบับก็ทดสอบออกมาแล้วให้ผลไม่ดี บางฉบับก็ให้ผลดี ซึ่งมีงานวิจัยเชิงคลินิกชิ้นหนึ่งที่ทำในประเทศไทย ทดสอบในผู้หญิงผ่าท้องคลอดที่ทาเจลทดสอบที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากหัวหอมเข้มข้น 12% เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ารอยแผลเป็นมีความนูนลดลง มีสีจางลง และมีความเจ็บปวดบริเวณแผลลดลง (Dermatol Res Pract. 2012; 2012:212945.)
และก็มีอีกหลายๆงานวิจัยที่บอกว่าสารสกัดจากใบบัวบกเองก็มีส่วนช่วยเรื่องแผลเป็นได้ดี
ดังนั้นการให้คะแนน Active Ingredients ในผลิตภัณฑ์สำหรับเเผลเป็นวันนี้ ก็จะมองจากคุณสมบัติ 5 ประการ ที่จำเป็นต่อการดูแลแผลเป็นค่ะ
จากรูป
* Wound healing คือ ความสามารถในการเร่งกระบวนการสมานแผล
* Anti-inflammatory คือ ความสามารถในการต้านกระบวนการอักเสบ ซึ่งกระบวนการอักเสบ จะส่งให้เกิดผลเสียต่อระบบการทำงานของผิวหนังมากมาย มีหลายสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสารที่เรียกว่า Cytokine ต่างๆที่ร่างกายสร้างขึ้นยามมีความผิดปกติ รังสี UV อนุมูลอิสระ ฯลฯ
* Collagen-Elastin Synthesis คือ ความสามารถในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งเป็นโครงสร้างของตาข่ายผิว ทำหน้าที่เพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง คงรูปร่างไว้ได้
* Moisturizing คือ ความสามารถในการเพิ่มความชุ่มชื้น
* Whitening คือ ความสามารถในการทำให้สีผิวจางลง ซึ่งเวลาเกิดกระบวนการอักเสบขึ้น ก็จะสามารถไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ Melanocyte ที่เป็นเซลล์สร้างเม็ดสีผิว ทำให้สีผิวเข้มข้น นี่ก็อาจจะตอบคำถามได้ว่า ทำไมแผลเป็นมีสีเข้มกว่า (หรืออ่อนกว่า) บริเวณรอบๆ
การให้คะแนนก็จะดูตาม Parameters ต่างๆเหล่านี้เป็นหลักค่ะ ซึ่งจะคิดเฉพาะส่วนที่เป็น Active ingredients เท่านั้น ส่วนของ Base หรือ Additives จะเป็นอย่างไร อาจจะต้องไปพิจารณากันอีกทีนอกรอบค่ะ
** การให้คะแนนเป็นความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาจะ Discredit หรือ Promote ผลิตภัณฑ์ใดๆ ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท หรือแบรนด์เครื่องสำอางใดๆ **
** update! การรีวิวนี้เป็นการรีวิวส่วนผสมหลักของเครื่องสำอางที่มี Claim สำหรับรอยแผลเป็น จึงขอกล่าวถึงในรายละเอียดของการเป็นเครื่องสำอางเท่านั้นค่ะ ผู้เขียนไม่ได้อิงตาม Guideline เรื่องการรักษาแผลเป็นของทางการแพทย์ค่ะ งานเขียนบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับผู้บริโภค ว่าส่วนผสมต่างๆในผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติแบบใด ซึ่งรายการส่วนผสมเหล่านี้ สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในอนาคต หรือตัวอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงด้วยค่ะ **
เข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ
ผลิตภัณฑ์ตัวแรก เจลลดรอยแผลเป็น Scagel จากยี่ห้อ C
เจลกล่องสีเขียว ที่มี Presenter เป็นคุณแตงโม นางบอกว่ามั่นใจ ลองมาดู Active Ingredients กันนะคะ
วิเคราะห์เจาะลึกกันเลยค่ะ
- สารสกัดจากหัวหอม (Allium cepa) เหมือนเป็นตัวชูโรงของผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นแทบทุกแบรนด์ เพราะว่ามีงานวิจัยหลายๆฉบับทดสอบถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งบางเปเปอร์ก็บอกว่าได้ผลดี บางเปเปอร์ก็บอกว่าไม่แตกต่างกับการใช้ครีมมอยส์เจอไรเซอร์ทั่วไป นอกจากนี้ก็ยังมีหลายๆรายงานที่กล่าวถึงคุณสมบัติของสารสกัดจากหัวหอมในการช่วยการสมานแผล (Wound healing) เป็น Antioxidant มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีผลระงับเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
- สารสกัดจากใบบัวบก (Centella asiatica) มีหลายๆรายงานกล่าวว่า สารสกัดจากใบบัวบกเป็น Antioxidant ที่ดี มีผลต่อการกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนและอิลาสติน ช่วยสมานแผล
- สารสกัดจากว่านหางจรเข้ (Aloe barbadensis) ปกติว่านหางจรเข้จะมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว นอกจากนี้ก็รายงานการวิจัยหลายๆฉบับพบว่าสารสกัดจากใบ Aloe vera สามารถออกฤทธิ์เป็นสารช่วยให้ผิวขาวได้โดยไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ Melanin aggregation ทำให้สีผิวจางลง โดยตัวที่เป็นตัวออกฤทธิ์คือ Aloin ที่พบในใบ(Planta Med. 2012; 78(8):767-71.) นอกจากนี้ก็ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งเซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte proliferation) และกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนได้อีก แต่การทดสอบนี้ใช้สารสกัดจากวุ้นว่านหางจรเข้บรรจุในไลโปโซม ซึ่งเป็นตัวนำพาเอาสารเข้าไปในผิวหนัง เครื่องสำอางทั่วๆไปในท้องตลาดอาจจะไม่เห็นผลนี้ก็ได้ เพราะการซึมผ่านเข้าผิวอาจจะน้อย (J Oleo Sci. 2009;58(12):643-50.)
- สารสกัดจากมะขามป้อม (Phyllanthus emblica) มีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ที่ดี และมีรายงานเกี่ยวกับการเป็น Whitening
- สารสกัดจากมะขาม (Tamarindus indica) ตัวนี้ข้างกล่องไม่ได้บอกว่าใช้พืชส่วนไหน เพราะว่าถ้าเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด จะมีพวก Polysaccharide และ Polyphenol หลายๆชนิดที่มีประโยชน์ต่อผิวหนัง และมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามมีผลปกป้องผิวหนังจากรังสี UVA และเป็น Antioxidant ที่ดี (J Cosmet Sci. 2014; 65(1):11-24.) ถ้าเป็นส่วนใบก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ลดปวด (Sci Pharm. 2012; 80(3):685-700.) ส่วนถ้าเป็นผลก็จะมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant กับเป็น AHA ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและผลัดเซลล์ผิว (ขึ้นกับความเข้มข้น) จึงไม่ขอ Confirm
- สารสกัดจากผักบุ้งทะเล (Ipomea pes-caprae) มีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ต้านการอักเสบ และระงับปวด (Brazilian J Pharmacognosy. 2013; 23(1):72-78) กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Acta Pol Pharm. 2010 Jan-Feb;67(1):69-73.) ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Collagenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจน (J Nat Prod. 2005 May;68(5):794-6.)
- สารสกัดจาก Broussonetia papyrifera (พืชตระกูล Mulberry) ตัวนี้ก็ขึ้นอยู่กับส่วนของพืชด้วย ถ้าเป็นเปลือกต้นจะมีคุณสมบัติเป็น ต้านการอักเสบ (Indian J Pharmacol. 2012; 44(1): 26–30.) ถ้าเป็นผลจะมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant (PLoS One. 2012; 7(2):e32021.)
- สารสกัดจาก Portulaca olearaceae (คุณนายตื่นสาย) มีรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์กระตุ้นการสมานแผล (Wound healing) (J Ethnopharmacol. 2003; 88(2-3):131-6.) ลดการอักเสบ ลดปวด J (Ethnopharmacol. 2000 Dec;73(3):445-51.) และมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant (J Med Plants Res. 2011; 5(9):1589-1593)
- Sodium hyaluronate มีบทบาทเกี่ยวกับการเพิ่มความชุ่มชื้น
- Sodium PCA เป็นสารดูดน้ำให้ผิว ชนิดเดียวที่พบในผิว เรียกว่าเป็น Natural Moisturizing factor (NMF)
- Methylsilanol hydroxyproline aspartate เป็นสารกึ่งสังเคราะห์จากซิลิโคนกับกรดอะมิโน จากการทดสอบของผู้ผลิตวัตถุดิบพบว่า สารนี้สามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่หลังจากเกิดแผล กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวชนิดต่างๆ (Cytostimulation) รวมทั้ง Fibroblast ที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาเจนและอิลาสติน (ข้อมูลจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ, Hydroxyprolisilane C)
- Allantoin เป็นสารที่แยกได้จากรากคอมเฟรย์ และพืชหลายๆชนิด มีคุณสมบัติเป็นตัวลดการระคายเคือง ป้องกันการแพ้
- Tocopheryl actetate เป็นอนุพันธ์ของวิตามินอี มีประโยชน์เป็น Antioxidant แต่ส่วนมากจะให้คุณสมบัติเป็นตัวปกป้องสารต่างๆในตำรับไม่ให้เสื่อมสภาพ
ดูๆแล้วผลิตภัณฑ์นี้ค่อนข้างจะมาเต็ม มาครบค่ะ และเกือบจะสมบูรณ์แบบ
ขอให้คะแนนดังนี้ค่ะ
เนื้อที่การเขียนตัวที่สองไม่พอ เอาไปต่อใน rep ถัดไปนะคะ
**
ขออนุญาตสงวนลิขสิทธิ์ในเนื้อหาและรูปภาพ ห้ามนำไปใช้ในเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และในเชิงพาณิชย์ค่ะ
**
ถ้าชื่นชอบรีวิวแนวๆวิชาการจัดๆ แบบนี้ ติดตามเพิ่มเติมได้ในแฟนเพจ Cosmetic Knowledge from Dr.Naphatsorn บนเฟสบุค นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/PinkCosmetIS
ยอมรับเลยค่ะ ว่าอ่อนต่อกราฟฟิค และคอมพิวเตอร์มาก จัดโครงสร้าง Blog ไม่เป็นเลยไม่ค่อยได้อัพเดท Blog
ขอบคุณค่ะที่ติดตามอ่าน ผลิตภัณฑ์ตัวถัดๆไปอ่านได้ที่ Rep ถัดไป เลยค่ะ
ขออนุญาตติดแท๊ก ศัลยกรรมความงามไว้ด้วยนะคะ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจะได้ใช้หลังการผ่าตัดค่ะ
จริงๆอยากติดแท๊ก ห้องสมุด หมวดวิชาการ ไว้ด้วย แต่กลัวจะไปรบกวนหลายๆท่านค่ะ
[CR] [~Comparative Review~] จัดเต็มรีวิวเชิงเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ลดรอยเเผลเป็น 10 แบรนด์ในร้านยา
สวัสดีค่ะเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกท่าน
วันนี้หญิงกลับมาแบบจัดเต็มเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ลดรอยเเผลเป็นในร้านยาร่วม 10 แบรนด์ค่ะ
จากการเข้าเวรในร้านยาแห่งหนึ่ง ซึ่งมีหลายๆผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นจำหน่าย เราจะเลือกอันไหนดี วันนี้หญิงเลยถือวิสาสะหยิบเอาผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นทั้งสิบในร้านยามาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ เจาะลึกส่วนผสมหลัก โดยอิงจากหลักวิชาการ และรากฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักค่ะ
ขอเท้าความนิดหน่อยก่อน
ปกติเครื่องสำอางแทบทุกชนิดจะประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน คือ
1. Active Ingredients หรือ สารสำคัญ เป็นสารที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ แม้ว่าสถานการณ์ของอย.ประเทศไทยจะยังห้าม Claim ฤทธิ์บางประเภทที่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย แต่ส่วนนี้ก็ยังสามารถแอบๆเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ
2. Base หรือ เนื้อผลิตภัณฑ์ บางทีอาจเรียกว่า Vehicle เป็นเนื้อหลักที่ทำหน้าที่โอบอุ้มสารสำคัญเอาไว้ และเป็นตัวนำพาสารสำคัญไปสู่ผิวหนัง
3. Additives (คือสารที่ช่วยเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดี มีความน่าใช้)
เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว วันนี้จะขอหยิบเอาเฉพาะ Active Ingredients จากผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์เจาะลึกเท่านั้นนะคะ
ผลิตภัณฑ์ที่ร้านยาที่หญิงอยู่เวรสั่งเข้ามา มีดังนี้ค่ะ
** ขออนุญาต Blind ชื่อและยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ไว้นะคะ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนมาก หญิงยังไม่เคยใช้เอง เคยแต่ฟังลูกค้าและเพื่อนๆเล่าๆให้ฟังเฉยๆค่ะ จะมีก็เพียงตัว Hiruscar ที่เคยใช้เองค่ะ (เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินค่ะ)
มากันดีกว่า ว่าจะจัดเต็มอะไรบ้าง
กับอีกสองตัวค่ะ
ก่อนจะเริ่มจัดเต็ม ขอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับแผลเป็นเล็กน้อยนะคะ
"ว่าด้วยแผลเป็น"
เวลาผิวหนังบาดเจ็บ/มีบาดแผลก็จะเกิดการซ่อมแซม ซึ่งก็จะมีด้วยกัน 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ ขั้นตอนการอักเสบของผิว (Inflammation) ขั้นตอนการสร้างเนื้อเยื่อ (Tissue formation) และขั้นตอนการปรับโครงสร้างเนื้อเยื่อ (Tissue remodeling)
ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นแผลเป็น ซึ่งการเดาว่าใครจะเป็นหรือไม่เป็นแผลเป็นเองก็ยังไม่ทราบแน่ชัด และทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย
การดูแลแผลเป็นที่เราสามารถทำได้เองก็จะมี การทาผลิตภัณฑ์เพื่อลดรอยแผลเป็น และการใช้ซิลิโคนเจล มีรายงานการวิจัยหลายๆฉบับถกเถียงกันว่า ผลิตภัณฑ์ทาแผลเป็นให้ผลดีจริงหรือไม่ บางฉบับก็ทดสอบออกมาแล้วให้ผลไม่ดี บางฉบับก็ให้ผลดี ซึ่งมีงานวิจัยเชิงคลินิกชิ้นหนึ่งที่ทำในประเทศไทย ทดสอบในผู้หญิงผ่าท้องคลอดที่ทาเจลทดสอบที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากหัวหอมเข้มข้น 12% เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ารอยแผลเป็นมีความนูนลดลง มีสีจางลง และมีความเจ็บปวดบริเวณแผลลดลง (Dermatol Res Pract. 2012; 2012:212945.)
และก็มีอีกหลายๆงานวิจัยที่บอกว่าสารสกัดจากใบบัวบกเองก็มีส่วนช่วยเรื่องแผลเป็นได้ดี
ดังนั้นการให้คะแนน Active Ingredients ในผลิตภัณฑ์สำหรับเเผลเป็นวันนี้ ก็จะมองจากคุณสมบัติ 5 ประการ ที่จำเป็นต่อการดูแลแผลเป็นค่ะ
จากรูป
* Wound healing คือ ความสามารถในการเร่งกระบวนการสมานแผล
* Anti-inflammatory คือ ความสามารถในการต้านกระบวนการอักเสบ ซึ่งกระบวนการอักเสบ จะส่งให้เกิดผลเสียต่อระบบการทำงานของผิวหนังมากมาย มีหลายสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสารที่เรียกว่า Cytokine ต่างๆที่ร่างกายสร้างขึ้นยามมีความผิดปกติ รังสี UV อนุมูลอิสระ ฯลฯ
* Collagen-Elastin Synthesis คือ ความสามารถในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งเป็นโครงสร้างของตาข่ายผิว ทำหน้าที่เพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง คงรูปร่างไว้ได้
* Moisturizing คือ ความสามารถในการเพิ่มความชุ่มชื้น
* Whitening คือ ความสามารถในการทำให้สีผิวจางลง ซึ่งเวลาเกิดกระบวนการอักเสบขึ้น ก็จะสามารถไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ Melanocyte ที่เป็นเซลล์สร้างเม็ดสีผิว ทำให้สีผิวเข้มข้น นี่ก็อาจจะตอบคำถามได้ว่า ทำไมแผลเป็นมีสีเข้มกว่า (หรืออ่อนกว่า) บริเวณรอบๆ
การให้คะแนนก็จะดูตาม Parameters ต่างๆเหล่านี้เป็นหลักค่ะ ซึ่งจะคิดเฉพาะส่วนที่เป็น Active ingredients เท่านั้น ส่วนของ Base หรือ Additives จะเป็นอย่างไร อาจจะต้องไปพิจารณากันอีกทีนอกรอบค่ะ
** การให้คะแนนเป็นความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาจะ Discredit หรือ Promote ผลิตภัณฑ์ใดๆ ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท หรือแบรนด์เครื่องสำอางใดๆ **
** update! การรีวิวนี้เป็นการรีวิวส่วนผสมหลักของเครื่องสำอางที่มี Claim สำหรับรอยแผลเป็น จึงขอกล่าวถึงในรายละเอียดของการเป็นเครื่องสำอางเท่านั้นค่ะ ผู้เขียนไม่ได้อิงตาม Guideline เรื่องการรักษาแผลเป็นของทางการแพทย์ค่ะ งานเขียนบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับผู้บริโภค ว่าส่วนผสมต่างๆในผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติแบบใด ซึ่งรายการส่วนผสมเหล่านี้ สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในอนาคต หรือตัวอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงด้วยค่ะ **
เข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ
ผลิตภัณฑ์ตัวแรก เจลลดรอยแผลเป็น Scagel จากยี่ห้อ C
เจลกล่องสีเขียว ที่มี Presenter เป็นคุณแตงโม นางบอกว่ามั่นใจ ลองมาดู Active Ingredients กันนะคะ
วิเคราะห์เจาะลึกกันเลยค่ะ
- สารสกัดจากหัวหอม (Allium cepa) เหมือนเป็นตัวชูโรงของผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นแทบทุกแบรนด์ เพราะว่ามีงานวิจัยหลายๆฉบับทดสอบถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งบางเปเปอร์ก็บอกว่าได้ผลดี บางเปเปอร์ก็บอกว่าไม่แตกต่างกับการใช้ครีมมอยส์เจอไรเซอร์ทั่วไป นอกจากนี้ก็ยังมีหลายๆรายงานที่กล่าวถึงคุณสมบัติของสารสกัดจากหัวหอมในการช่วยการสมานแผล (Wound healing) เป็น Antioxidant มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีผลระงับเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
- สารสกัดจากใบบัวบก (Centella asiatica) มีหลายๆรายงานกล่าวว่า สารสกัดจากใบบัวบกเป็น Antioxidant ที่ดี มีผลต่อการกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนและอิลาสติน ช่วยสมานแผล
- สารสกัดจากว่านหางจรเข้ (Aloe barbadensis) ปกติว่านหางจรเข้จะมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว นอกจากนี้ก็รายงานการวิจัยหลายๆฉบับพบว่าสารสกัดจากใบ Aloe vera สามารถออกฤทธิ์เป็นสารช่วยให้ผิวขาวได้โดยไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ Melanin aggregation ทำให้สีผิวจางลง โดยตัวที่เป็นตัวออกฤทธิ์คือ Aloin ที่พบในใบ(Planta Med. 2012; 78(8):767-71.) นอกจากนี้ก็ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งเซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte proliferation) และกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนได้อีก แต่การทดสอบนี้ใช้สารสกัดจากวุ้นว่านหางจรเข้บรรจุในไลโปโซม ซึ่งเป็นตัวนำพาเอาสารเข้าไปในผิวหนัง เครื่องสำอางทั่วๆไปในท้องตลาดอาจจะไม่เห็นผลนี้ก็ได้ เพราะการซึมผ่านเข้าผิวอาจจะน้อย (J Oleo Sci. 2009;58(12):643-50.)
- สารสกัดจากมะขามป้อม (Phyllanthus emblica) มีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ที่ดี และมีรายงานเกี่ยวกับการเป็น Whitening
- สารสกัดจากมะขาม (Tamarindus indica) ตัวนี้ข้างกล่องไม่ได้บอกว่าใช้พืชส่วนไหน เพราะว่าถ้าเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด จะมีพวก Polysaccharide และ Polyphenol หลายๆชนิดที่มีประโยชน์ต่อผิวหนัง และมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามมีผลปกป้องผิวหนังจากรังสี UVA และเป็น Antioxidant ที่ดี (J Cosmet Sci. 2014; 65(1):11-24.) ถ้าเป็นส่วนใบก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ลดปวด (Sci Pharm. 2012; 80(3):685-700.) ส่วนถ้าเป็นผลก็จะมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant กับเป็น AHA ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและผลัดเซลล์ผิว (ขึ้นกับความเข้มข้น) จึงไม่ขอ Confirm
- สารสกัดจากผักบุ้งทะเล (Ipomea pes-caprae) มีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ต้านการอักเสบ และระงับปวด (Brazilian J Pharmacognosy. 2013; 23(1):72-78) กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Acta Pol Pharm. 2010 Jan-Feb;67(1):69-73.) ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Collagenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจน (J Nat Prod. 2005 May;68(5):794-6.)
- สารสกัดจาก Broussonetia papyrifera (พืชตระกูล Mulberry) ตัวนี้ก็ขึ้นอยู่กับส่วนของพืชด้วย ถ้าเป็นเปลือกต้นจะมีคุณสมบัติเป็น ต้านการอักเสบ (Indian J Pharmacol. 2012; 44(1): 26–30.) ถ้าเป็นผลจะมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant (PLoS One. 2012; 7(2):e32021.)
- สารสกัดจาก Portulaca olearaceae (คุณนายตื่นสาย) มีรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์กระตุ้นการสมานแผล (Wound healing) (J Ethnopharmacol. 2003; 88(2-3):131-6.) ลดการอักเสบ ลดปวด J (Ethnopharmacol. 2000 Dec;73(3):445-51.) และมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant (J Med Plants Res. 2011; 5(9):1589-1593)
- Sodium hyaluronate มีบทบาทเกี่ยวกับการเพิ่มความชุ่มชื้น
- Sodium PCA เป็นสารดูดน้ำให้ผิว ชนิดเดียวที่พบในผิว เรียกว่าเป็น Natural Moisturizing factor (NMF)
- Methylsilanol hydroxyproline aspartate เป็นสารกึ่งสังเคราะห์จากซิลิโคนกับกรดอะมิโน จากการทดสอบของผู้ผลิตวัตถุดิบพบว่า สารนี้สามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่หลังจากเกิดแผล กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวชนิดต่างๆ (Cytostimulation) รวมทั้ง Fibroblast ที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาเจนและอิลาสติน (ข้อมูลจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ, Hydroxyprolisilane C)
- Allantoin เป็นสารที่แยกได้จากรากคอมเฟรย์ และพืชหลายๆชนิด มีคุณสมบัติเป็นตัวลดการระคายเคือง ป้องกันการแพ้
- Tocopheryl actetate เป็นอนุพันธ์ของวิตามินอี มีประโยชน์เป็น Antioxidant แต่ส่วนมากจะให้คุณสมบัติเป็นตัวปกป้องสารต่างๆในตำรับไม่ให้เสื่อมสภาพ
ดูๆแล้วผลิตภัณฑ์นี้ค่อนข้างจะมาเต็ม มาครบค่ะ และเกือบจะสมบูรณ์แบบ
ขอให้คะแนนดังนี้ค่ะ
เนื้อที่การเขียนตัวที่สองไม่พอ เอาไปต่อใน rep ถัดไปนะคะ
**
ขออนุญาตสงวนลิขสิทธิ์ในเนื้อหาและรูปภาพ ห้ามนำไปใช้ในเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และในเชิงพาณิชย์ค่ะ
**
ถ้าชื่นชอบรีวิวแนวๆวิชาการจัดๆ แบบนี้ ติดตามเพิ่มเติมได้ในแฟนเพจ Cosmetic Knowledge from Dr.Naphatsorn บนเฟสบุค นะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยอมรับเลยค่ะ ว่าอ่อนต่อกราฟฟิค และคอมพิวเตอร์มาก จัดโครงสร้าง Blog ไม่เป็นเลยไม่ค่อยได้อัพเดท Blog
ขอบคุณค่ะที่ติดตามอ่าน ผลิตภัณฑ์ตัวถัดๆไปอ่านได้ที่ Rep ถัดไป เลยค่ะ
ขออนุญาตติดแท๊ก ศัลยกรรมความงามไว้ด้วยนะคะ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจะได้ใช้หลังการผ่าตัดค่ะ
จริงๆอยากติดแท๊ก ห้องสมุด หมวดวิชาการ ไว้ด้วย แต่กลัวจะไปรบกวนหลายๆท่านค่ะ