"ว่ากันว่า ฟุตบอลเป็นเกมที่สวยงาม เกมที่สวยงามเกิดจากสไตล์การเล่นที่สวยงาม สไตล์การเล่นที่สวยงามเกิดจากจินตนาการของของผู้เล่นและผู้จัดการทีม"
ย้อนเวลากลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 บทเว็บไซต์ฟุตบอลไทยอันดับหนึ่งของประเทศได้มีกระทู้เล็กๆปรากฎขึ้น
"รูปแบบการเล่นในไทยลีกคล้ายคลึงกับลีกประเทศอะไรมากที่สุดครับ" เป็นกระทู้ที่ได้เริ่มโดยคุณ mozzimo คำตอบที่น่าสนใจประกอบกับเหตุผลดีๆมากมาย ถูกโพสลงในกระทู้นี้ และเมื่อเลื่อนอ่านลงมาเรื่อยๆ ผมก็ไปสะดุดกับความเห็นคุณ NTT ซึ่งอย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าผมชอบอ่านบทความของคุณ NTT เป็นอย่างยิ่ง และการตอบครั้งนี้ก็ไม่ทำให้ผมผิดหวังอีกครั้ง และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของบทความเล็กๆในวันนี้
คำกล่าวที่ว่า
"เยอรมันใช่วิงแบกในการทำเกมรุก โดยครอสเข้ามายังปากประตู เพื่อใช้ผู้เล่นที่สูงใหญ่เล่นลูกกลางอากาศ นี่คือจุดเด่นของเยอรมันในยุค 1990" ทำให้ผมต้องเดินทางย้อนเวลาผ่านเว็บไซต์ Youtube.com อีกครั้ง การเดินทางบน Google ใช้เวลายาวนานพอสมควรกว่าจะไปถึงช่วงเวลาในอดีตได้ดั่งใจ ท้ายที่สุดเล้วการเดินทางข้ามเวลาของผมมาหยุดอยู่บนอัฒจันทร์ในเกมฟุตบอลโลกปี 1990 รอบรองชนะเลิศระหว่าง ทีมชาติเยอรมันตะวันตก ปะทะ กับ ทีมชาติอังกฤษ เรื่องราวในอดีตฉายซึ้งขึ้นมาอีกครั้งผ่านหน้าจอบนเว็บไซต์ Youtube.com ผมรีบขยายหน้าจอให้ใหญ่ที่สุด เปิดเสียงให้ดัง เพราะนี่คือประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
ผมยอมรับตามตรงว่าปี 1990 ผมยังไม่รู้เลยว่าชีวิตของผมอยู่ตรงไหน ไม่มีแม้กระทั้งความทรงจำ ณ เวลานี้ผมคงเหมือนโนบิตะที่หลงเข้ามายังสังเวียนเเข้งที่เมืองตูรินแห่งนี้ แต่ผมคงไม่ร้องเรียกหาโดเรมอนหรอกนะ ก็เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่ผมต้องการจะสัมผัสไงละ เสียงผู้คนที่กึกก้อง ความตื่นเต้นของนักเตะและแฟนบอล มันช่างน่าอัศจรรย์ เสียจริงเชียว ผมไม่รู้เลยว่าผู้เล่นในสนามเป็นใคร ไม่รู้เลยว่าใครมีผีเท้าอย่างไร จะมีที่คุ้นหูก็คงเป็น เจอร์เกมท์ คลินส์มัน เพียงเท่านั้น ดังนั้นนี่ก็คงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผมเช่นกันที่จะได้มองนักเตะจาก 0 ด้วยกันทั้งหมด
ตลอดการแข่งขัน ถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วงนั่นคือ เวลาปกติ 2 ครึ่ง ครึ่งล่ะ 45 นาที และ ช่วงต่อเวลาพิเศษ 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที ในช่วง 45 นาทีในครึ่งเวลาเเรกต้องยอมรับว่าทีมชาติอังกฤษทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถเน้นเกมรุกบุกสร้างความกดดันในหลายต่อหลายจังหวะให้กับทีมชาติเยอรมันตะวันตก การครองบอลส่วนใหญ่ของเกมในครึ่งแรกตกเป็นของอังกฤษเสียเป้นส่วนใหญ่ นักเตะที่เล่นได้โดดเด่นก็คือ Paul GASCOIGNE, Paul PARKER,Gary LINEKER นี่คือ สามผู้เล่นที่ผมคิดว่าดีที่สุดสำหรับอังกฤษในครึ่งแรก ด้านเยอรมันตะวันตกเเม้จะโดนกดดันอย่างหนักเเตะพวกเขาก็มีเกมโต้กลับที่น่ากลัวไม่น้อย จากสถิติที่ผมได้บันทึกเอาไว้ เป็นดังนี้
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 12 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 5 ครั้ง
แต่ที่น่าเสียดายจากโอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษนั้น
ไม่มีแม้เเต่ครั้งเดียวที่ผู้เล่นเยอรมันตะวันตกจะสัมผัสบอลได้จาการครอสทั้ง 12 ครั้ง และที่น่าสนใจก็คือ
โอกาสการยิงหวังผลทั้ง 5 ครั้ง เป็นการยิงจากแถวสอง หรือ นอกกรอบเขตโทษทั้งสิ้นครับ
ผู้เล่นที่โดดเด่นในครึ่งเวลาแรกของเยอรมันตะวันตก Rudi VOELLER,Juergen KOHLER
กลับมาเริ่มครึ่งหลัง 45 นาทีที่เหลือ ราวกับว่าหนังคนละม้วนกับในครึ่งแรกเมื่อ เยอรมันตะวันตกสามารถครองเกมได้ตั้งเเต่ต้นครึ่งหลังและพยายามบุกเข้าใส่อังกฤษในหลายๆทิศทาง และจากเกมในครึ่งหลังนี้เองที่ทำให้ผมสังเกตเห็นอะไรบางอย่างขึ้นมาในใจ ผมคิดว่า "ผมเหมือนเห็นการเล่นสไตล์ธีรศิลป์ในผู้เล่นหลายๆคนของทั้งสองชาติ" หรือ ถ้าจะกล่าวในอีกแบบคือ ผมค้นพบว่า ธีรศิลป์มีสไตล์การเล่นแบบโบราณหรือนี่
"มันเป็นการเล่นด้วยสไตล์ที่เรียบง่าย แต่มีพลัง เพียงพุ่งไปข้างหน้า และใช้เท้าทั้งสองข้างเพื่อเปลี่ยนทิศทางบอล"
ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้ ถ้าอย่างไรขอเชิญท่านผู้อ่านพิสูจน์ด้วยสายตาตัวเองได้เลยครับ
นอกจากนี้ ในหลายๆจังหวะผู้เล่นมักชอบตอกซ้น ซึ่งน่าจะเป็นลูกฮิตติดชาร์ทในสมัยนั้น สรุปสาระสำคัญในเกมครึ่งหลังของเยอรมันตะวันตก
พวกเขาทำประตูได้จากลูกยิงฟรีคิกที่ไปแฉลบ Paul PARKER เข้าประตูไปอย่างโชคช่วย ก่อนที่จะมาเสียประตูตีเสมอจากลูกยิงของ Gary LINEKER
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 6 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 4 ครั้ง
สิ่งที่ไม่น่าเชื่อคือ โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้ง 6 ครั้งถูกปฎิเสธด้วยกองหลังของทีมชาติอังกฤษทั้งหมด
ผู้เล่นที่โดดเด่นของทีมชาติอังกฤษในครึ่งเวลาหลัง Paul GASCOIGNE,Gary LINEKER,David PLATT
ผู้เล่นที่โดดเดนของทีมชาติเยอรมันตะวันตกในครึ่งหลัง Juergen KLINSMANN, Lothar MATTHAEUS, Andreas BREHME
จบครึ่งเวลาหลัง เยอรมันตะวันตก 1-1 อังกฤษ
หลังจากพักเหนื่อยกันไปไ่ม่นาน ช่วงต่อเวลาพิเศษ 15 นาทีแรกจึงเริ่มขึ้น
เกมยังคงเป็นไปอย่างสูสี โดยส่วนใหญ่เป็นอังกฤษที่มีโอกาสทำเกมรุก และกดดันได้ดีกว่า เป้าหมายของทีมชาติอังกฤษอยู่ที่ Gary LINEKER ซึ่งเป็นเหมือนหัวใจหลักในแดนหน้าของทีม สรุปสาระสำคัญของทีมชาติเยอรมันตัวนตกได้ดังนี้
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 5 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 4 ครั้ง
จากโอกาสโยนบอลเข้าไปในกรอบเขตโทษทั้ง 5 ครั้ง เป็น Juergen KLINSMANN เข้าฮอสได้ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการเข้าฮอสได้ครั้งแรกในเกมนี้ของทีมชาติเยอรมัน
ผู้เล่นที่โดดเด่นของทีมชาติอังกฤษในช่วงต่อเวลาครึ่งแรก Paul GASCOIGNE,Gary LINEKER,David PLATT ,Peter SHILTON
ผู้เล่นที่โดดเดนของทีมชาติเยอรมันตะวันตกในช่วงต่อเวลาครึ่งแรก Juergen KLINSMANN, Lothar MATTHAEUS, Andreas BREHME
และช่วงเวลาสุดท้ายของการเเข่งขันในเกมนี้ก็กลับมาเริ่มขึ้นอีกครั้ง 15 นาทีสุดท้ายของการต่อสู้ เกมยังคงเปิด ทั้งสองมีโอกาสได้สวนกันไปมาและเยอรมันตะวันตกเองก็มีโอกาสในการคว้าตั๋วเข้าชิงหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถผ่านมือของ Peter SHILTON เกมจึงจบลงไปด้วยสกอร์ 1-1
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 2 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 4 ครั้ง
และสิ่งที่น่าสนใจ การโยนบอลเข้ามายังกรอบเขตโทษ 2 ครั้ง มีหนึ่งครั้งที่ Juergen KLINSMANN เข้าฮอสได้ ซึ่งหากจะมองได้ว่านักเตะน่าจะล้าและเหนื่อยจนเกิดความผิดพลาดในเกมรับ
สิ่งที่ค้นพบ ; หลังจากใช้เวลาถึงสามวัน(ดูวันละครึ่ง)ในการดูการแข่งขันรอบรองชนะเลิศคู่นี้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ เกมยุคโบราณเป็นเกมที่ทรงพลังวิ่งกันอย่างหนักหน่วง และปะทะกันอย่างรุนแรงจริง หากเป็นยุคนี้ไปเล่นด้วยสไตล์นั้นผมคาดว่าอาจจะมีผู้เล่นหลายท่านตะคริวกินก็เป็นได้ การเล่นฟุตบอลในยุคนั้นเป็นการเล่นที่ตรงไปตรงมา ไม่ค่อยจะมีลูกหลอกลวงมากนัก จ่ายเป็นจ่าย โยนเป็นโยน รวมถึงนักเตะหลายๆคนมั่นใจนในความเร็วของตัวเอง โดยจะสังเกตเห็นได้ว่า พวกเขาพยายามจะเเตะผ่านกองหลังและวิ่งไปเอาบอลนั้น และสุดท้ายลูกเล่นที่เป็นดังแฟชันใสนามบอลผมเชื่อว่าคงจะเป็นลูกตอกส้น ที่เห็นหลายๆคนพยายามจะเล่นให้ได้
และสุดท้ายก็ขอจบบทความลงด้วยประการ ฉะนี้ ขอบคุณครับ
บทความเก่าๆขอบชายคนนี้
45 นาทีหลังของเกม ลิเวอร์พูล ปะทะ นิวคาสเซิล
เวียดนามกับไทย ใครดีกว่ากัน
บทความ"Teerasil 's touch ในเกมเมืองทอง ปะทะ ชลบุรี"
EDIT : แก้ไขคำว่า ซ้น เป็น ส้น ขอบคุณมากครับ
ย้อนเวลาไปยัง ฟุตบอลโลกปี 1990 เยอรมัน ปะทะ อังกฤษ
ย้อนเวลากลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 บทเว็บไซต์ฟุตบอลไทยอันดับหนึ่งของประเทศได้มีกระทู้เล็กๆปรากฎขึ้น "รูปแบบการเล่นในไทยลีกคล้ายคลึงกับลีกประเทศอะไรมากที่สุดครับ" เป็นกระทู้ที่ได้เริ่มโดยคุณ mozzimo คำตอบที่น่าสนใจประกอบกับเหตุผลดีๆมากมาย ถูกโพสลงในกระทู้นี้ และเมื่อเลื่อนอ่านลงมาเรื่อยๆ ผมก็ไปสะดุดกับความเห็นคุณ NTT ซึ่งอย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าผมชอบอ่านบทความของคุณ NTT เป็นอย่างยิ่ง และการตอบครั้งนี้ก็ไม่ทำให้ผมผิดหวังอีกครั้ง และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของบทความเล็กๆในวันนี้
คำกล่าวที่ว่า "เยอรมันใช่วิงแบกในการทำเกมรุก โดยครอสเข้ามายังปากประตู เพื่อใช้ผู้เล่นที่สูงใหญ่เล่นลูกกลางอากาศ นี่คือจุดเด่นของเยอรมันในยุค 1990" ทำให้ผมต้องเดินทางย้อนเวลาผ่านเว็บไซต์ Youtube.com อีกครั้ง การเดินทางบน Google ใช้เวลายาวนานพอสมควรกว่าจะไปถึงช่วงเวลาในอดีตได้ดั่งใจ ท้ายที่สุดเล้วการเดินทางข้ามเวลาของผมมาหยุดอยู่บนอัฒจันทร์ในเกมฟุตบอลโลกปี 1990 รอบรองชนะเลิศระหว่าง ทีมชาติเยอรมันตะวันตก ปะทะ กับ ทีมชาติอังกฤษ เรื่องราวในอดีตฉายซึ้งขึ้นมาอีกครั้งผ่านหน้าจอบนเว็บไซต์ Youtube.com ผมรีบขยายหน้าจอให้ใหญ่ที่สุด เปิดเสียงให้ดัง เพราะนี่คือประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
ผมยอมรับตามตรงว่าปี 1990 ผมยังไม่รู้เลยว่าชีวิตของผมอยู่ตรงไหน ไม่มีแม้กระทั้งความทรงจำ ณ เวลานี้ผมคงเหมือนโนบิตะที่หลงเข้ามายังสังเวียนเเข้งที่เมืองตูรินแห่งนี้ แต่ผมคงไม่ร้องเรียกหาโดเรมอนหรอกนะ ก็เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่ผมต้องการจะสัมผัสไงละ เสียงผู้คนที่กึกก้อง ความตื่นเต้นของนักเตะและแฟนบอล มันช่างน่าอัศจรรย์ เสียจริงเชียว ผมไม่รู้เลยว่าผู้เล่นในสนามเป็นใคร ไม่รู้เลยว่าใครมีผีเท้าอย่างไร จะมีที่คุ้นหูก็คงเป็น เจอร์เกมท์ คลินส์มัน เพียงเท่านั้น ดังนั้นนี่ก็คงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผมเช่นกันที่จะได้มองนักเตะจาก 0 ด้วยกันทั้งหมด
ตลอดการแข่งขัน ถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วงนั่นคือ เวลาปกติ 2 ครึ่ง ครึ่งล่ะ 45 นาที และ ช่วงต่อเวลาพิเศษ 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที ในช่วง 45 นาทีในครึ่งเวลาเเรกต้องยอมรับว่าทีมชาติอังกฤษทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถเน้นเกมรุกบุกสร้างความกดดันในหลายต่อหลายจังหวะให้กับทีมชาติเยอรมันตะวันตก การครองบอลส่วนใหญ่ของเกมในครึ่งแรกตกเป็นของอังกฤษเสียเป้นส่วนใหญ่ นักเตะที่เล่นได้โดดเด่นก็คือ Paul GASCOIGNE, Paul PARKER,Gary LINEKER นี่คือ สามผู้เล่นที่ผมคิดว่าดีที่สุดสำหรับอังกฤษในครึ่งแรก ด้านเยอรมันตะวันตกเเม้จะโดนกดดันอย่างหนักเเตะพวกเขาก็มีเกมโต้กลับที่น่ากลัวไม่น้อย จากสถิติที่ผมได้บันทึกเอาไว้ เป็นดังนี้
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 12 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 5 ครั้ง
แต่ที่น่าเสียดายจากโอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษนั้น ไม่มีแม้เเต่ครั้งเดียวที่ผู้เล่นเยอรมันตะวันตกจะสัมผัสบอลได้จาการครอสทั้ง 12 ครั้ง และที่น่าสนใจก็คือ โอกาสการยิงหวังผลทั้ง 5 ครั้ง เป็นการยิงจากแถวสอง หรือ นอกกรอบเขตโทษทั้งสิ้นครับ
ผู้เล่นที่โดดเด่นในครึ่งเวลาแรกของเยอรมันตะวันตก Rudi VOELLER,Juergen KOHLER
กลับมาเริ่มครึ่งหลัง 45 นาทีที่เหลือ ราวกับว่าหนังคนละม้วนกับในครึ่งแรกเมื่อ เยอรมันตะวันตกสามารถครองเกมได้ตั้งเเต่ต้นครึ่งหลังและพยายามบุกเข้าใส่อังกฤษในหลายๆทิศทาง และจากเกมในครึ่งหลังนี้เองที่ทำให้ผมสังเกตเห็นอะไรบางอย่างขึ้นมาในใจ ผมคิดว่า "ผมเหมือนเห็นการเล่นสไตล์ธีรศิลป์ในผู้เล่นหลายๆคนของทั้งสองชาติ" หรือ ถ้าจะกล่าวในอีกแบบคือ ผมค้นพบว่า ธีรศิลป์มีสไตล์การเล่นแบบโบราณหรือนี่
"มันเป็นการเล่นด้วยสไตล์ที่เรียบง่าย แต่มีพลัง เพียงพุ่งไปข้างหน้า และใช้เท้าทั้งสองข้างเพื่อเปลี่ยนทิศทางบอล"
ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้ ถ้าอย่างไรขอเชิญท่านผู้อ่านพิสูจน์ด้วยสายตาตัวเองได้เลยครับ
นอกจากนี้ ในหลายๆจังหวะผู้เล่นมักชอบตอกซ้น ซึ่งน่าจะเป็นลูกฮิตติดชาร์ทในสมัยนั้น สรุปสาระสำคัญในเกมครึ่งหลังของเยอรมันตะวันตก
พวกเขาทำประตูได้จากลูกยิงฟรีคิกที่ไปแฉลบ Paul PARKER เข้าประตูไปอย่างโชคช่วย ก่อนที่จะมาเสียประตูตีเสมอจากลูกยิงของ Gary LINEKER
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 6 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 4 ครั้ง
สิ่งที่ไม่น่าเชื่อคือ โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้ง 6 ครั้งถูกปฎิเสธด้วยกองหลังของทีมชาติอังกฤษทั้งหมด
ผู้เล่นที่โดดเด่นของทีมชาติอังกฤษในครึ่งเวลาหลัง Paul GASCOIGNE,Gary LINEKER,David PLATT
ผู้เล่นที่โดดเดนของทีมชาติเยอรมันตะวันตกในครึ่งหลัง Juergen KLINSMANN, Lothar MATTHAEUS, Andreas BREHME
จบครึ่งเวลาหลัง เยอรมันตะวันตก 1-1 อังกฤษ
หลังจากพักเหนื่อยกันไปไ่ม่นาน ช่วงต่อเวลาพิเศษ 15 นาทีแรกจึงเริ่มขึ้น
เกมยังคงเป็นไปอย่างสูสี โดยส่วนใหญ่เป็นอังกฤษที่มีโอกาสทำเกมรุก และกดดันได้ดีกว่า เป้าหมายของทีมชาติอังกฤษอยู่ที่ Gary LINEKER ซึ่งเป็นเหมือนหัวใจหลักในแดนหน้าของทีม สรุปสาระสำคัญของทีมชาติเยอรมันตัวนตกได้ดังนี้
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 5 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 4 ครั้ง
จากโอกาสโยนบอลเข้าไปในกรอบเขตโทษทั้ง 5 ครั้ง เป็น Juergen KLINSMANN เข้าฮอสได้ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการเข้าฮอสได้ครั้งแรกในเกมนี้ของทีมชาติเยอรมัน
ผู้เล่นที่โดดเด่นของทีมชาติอังกฤษในช่วงต่อเวลาครึ่งแรก Paul GASCOIGNE,Gary LINEKER,David PLATT ,Peter SHILTON
ผู้เล่นที่โดดเดนของทีมชาติเยอรมันตะวันตกในช่วงต่อเวลาครึ่งแรก Juergen KLINSMANN, Lothar MATTHAEUS, Andreas BREHME
และช่วงเวลาสุดท้ายของการเเข่งขันในเกมนี้ก็กลับมาเริ่มขึ้นอีกครั้ง 15 นาทีสุดท้ายของการต่อสู้ เกมยังคงเปิด ทั้งสองมีโอกาสได้สวนกันไปมาและเยอรมันตะวันตกเองก็มีโอกาสในการคว้าตั๋วเข้าชิงหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถผ่านมือของ Peter SHILTON เกมจึงจบลงไปด้วยสกอร์ 1-1
โอกาสการโยนบอลเข้าไปยังกรอบเขตโทษทั้งสิ้น 2 ครั้ง
โอกาสยิงหวังผล 4 ครั้ง
และสิ่งที่น่าสนใจ การโยนบอลเข้ามายังกรอบเขตโทษ 2 ครั้ง มีหนึ่งครั้งที่ Juergen KLINSMANN เข้าฮอสได้ ซึ่งหากจะมองได้ว่านักเตะน่าจะล้าและเหนื่อยจนเกิดความผิดพลาดในเกมรับ
สิ่งที่ค้นพบ ; หลังจากใช้เวลาถึงสามวัน(ดูวันละครึ่ง)ในการดูการแข่งขันรอบรองชนะเลิศคู่นี้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ เกมยุคโบราณเป็นเกมที่ทรงพลังวิ่งกันอย่างหนักหน่วง และปะทะกันอย่างรุนแรงจริง หากเป็นยุคนี้ไปเล่นด้วยสไตล์นั้นผมคาดว่าอาจจะมีผู้เล่นหลายท่านตะคริวกินก็เป็นได้ การเล่นฟุตบอลในยุคนั้นเป็นการเล่นที่ตรงไปตรงมา ไม่ค่อยจะมีลูกหลอกลวงมากนัก จ่ายเป็นจ่าย โยนเป็นโยน รวมถึงนักเตะหลายๆคนมั่นใจนในความเร็วของตัวเอง โดยจะสังเกตเห็นได้ว่า พวกเขาพยายามจะเเตะผ่านกองหลังและวิ่งไปเอาบอลนั้น และสุดท้ายลูกเล่นที่เป็นดังแฟชันใสนามบอลผมเชื่อว่าคงจะเป็นลูกตอกส้น ที่เห็นหลายๆคนพยายามจะเล่นให้ได้
และสุดท้ายก็ขอจบบทความลงด้วยประการ ฉะนี้ ขอบคุณครับ
บทความเก่าๆขอบชายคนนี้
45 นาทีหลังของเกม ลิเวอร์พูล ปะทะ นิวคาสเซิล
เวียดนามกับไทย ใครดีกว่ากัน
บทความ"Teerasil 's touch ในเกมเมืองทอง ปะทะ ชลบุรี"
EDIT : แก้ไขคำว่า ซ้น เป็น ส้น ขอบคุณมากครับ