โครงสร้างศาลทหาร กับ จาตุรงค์ / สำนักข่าวอิศรา



ผ่าโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ "ศาลทหาร" ก่อนค้านประกันตัว ฝากขัง "จาตุรนต์"

หมายเหตุ : ในการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ ของคณะรักษาความแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นหัวหน้า "ศาลทหาร" ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินคดีของบุคคลที่กระทำความผิดฝ่าฝืนคำสั่งของ คสช.

ล่าสุดบุคคลแรกที่ถูกนำตัวขึ้นศาลทหารพิจารณาคดี คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากไม่เข้ามารายงานตัวตามคำสั่งเรียก และได้ไปปรากฏตัวและแถลง ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ กรุงเทพฯ ก่อนจะถูกควบคุมตัวในที่สุด  

โดยวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ที่ศาลทหารกรุงเทพฯ พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รองผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม ได้นำตัว นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาขออำนาจศาลในการฝากขัง ภายหลังเจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าควบคุมตัวเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีความผิด 2 ข้อหา

1. ไม่ได้มารายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

2. กล่าวปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ มีเนื้อในลักษณะที่ปลุกปั่น ยั่วยุ ให้เกิดความไม่สงบสุขในราชอาณาจักร เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116

เบื้องต้น  ศาลทหารกรุงเทพฯ ได้คัดค้านการประกันตัว นายจาตุรนต์ และอนุมัติฝากขังครั้งที่ 1 เป็นเวลา 12 วัน พร้อมทั้งนำตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และขั้นตอนต่อไปพนักงานสอบสวนจะรวบรวมหลักฐานและยื่นสำนวนส่งอัยการทหาร เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชนเห็นภาพ โครงสร้าง ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ ของศาลทหารมากขึ้น  สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้สรุปข้อมูลมานำเสนอในรูปแบบของ อินโฟกราฟิกส์ ดังนี้
http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/30032-่ja.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่