สวัสดีครับ กระทู้นี้น่าจะเป็นกระทู้ที่ตั้งใจจะเขียนยาวๆเป็นกระทู้แรก ดังนั้นถ้ามีอะไรผิดพลาดก็ต้องขออภัยล่วงหน้าครับ
ช่วงนี้เห็นกระแสวอลเลย์บอล Montreux กำลังดัง และเห็นหลายๆคนสนใจในทีมอเมริกา ทีมที่ได้ชื่อว่ามีผู้เล่นในสต๊อคเยอะเหลือเกิน โค้ชหลับตาหยิบใครมาเล่นก็ได้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่มีลีกระดับมหาวิทยาลัยหรือ NCAA Volleyball ที่แข็งแกร่งมากนั่นเอง
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับ NCAA Volleyball หรือ College Volleyball ครับ ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าข้อมูลที่จะเล่าเป็นความเข้าใจแบบบ้านๆของผม อาจจะมีผิดพลาดได้ครับ เพราะส่วนตัวผมก็เพิ่งจะได้เริ่มติดตาม NCAA Volleyball แบบจริงๆจังๆมาประมาณ 2 ปีนั่นเอง
1. NCAA Volleyball คืออะไร
NCAA หรือ National Collegiate Athletic Association คือหน่วยงานที่จัดการเกี่ยวกับนักกีฬา รวมไปทั้งดูแลจัดการแข่งขันกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกา ซึ่งกีฬาที่จัดแข่งขันก็มีเยอะมาก และก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ส่วนหนึ่งเพราะคนที่อเมริกาจะค่อนข้างรู้สึกผูกพันธ์กับมหาวิทยาลัยที่ตัวเองจบ ถึงแม้จะจบไปหลายปีก็ยังตามเชียร์กีฬาอยู่เสมอ รวมทั้งหลายๆคนที่อาจจะไม่ได้จบมหาวิทยาลัยนั้นๆ แต่อาศัยอยู่ในเมืองเดียวกัน ก็มักจะร่วมเชียร์ไปด้วยกัน โดยกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก American Football หรือที่คนที่นี่จะเรียกว่า Football (ส่วนฟุตบอลที่คนไทยและที่อื่นๆทั่วโลกเรียกนั้น คนอเมริกาเรียก Soccer) และอันดับต่อๆมาก็น่าจะเป็น Basketball กับ Baseball ... เอาล่ะเกริ่นมาซะนาน ขอเข้าเรื่องวอลเลย์บอลซักที โดยกีฬาวอลเลย์บอลนั้นก็ถือว่าได้รับความนิยมระดับหนึ่ง ไม่ได้ถือว่านิยมมากมาย การถ่ายทอดทางทีวีก็ยังมีไม่มาก แต่ช่วงที่ผ่านมาก็เห็นเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดย NCAA นั้นก็ได้จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับมหาวิทยาลัยทั้งประเภทชายและหญิง โดยทีมหญิงจะแข่งกันในเทอม Fall (ประมาณสิงหาคมถึงธันวาคม) และทีมชายจะแข่งในเทอม Spring (ประมาณมกราคมถึงพฤษภาคม) สำหรับจำนวนทีมที่แข่งนั้น ประเภทหญิงมีจำนวนมากกว่าประเภทชายมากพอสมควร ผมจึงสรุปเอาเองคร่าวๆว่าทีมหญิงน่าจะได้รับความนิยมมากกว่า (แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังถือว่าได้รับความนิยมไม่มากนักเมื่อเทียบกับกีฬาอื่นๆ) ส่วนตัวผมไม่ได้ติดตามทีมชายมากนัก ดังนั้นจะขอโฟกัสไปที่ทีมหญิงมากกว่าครับ
NCAA Volleyball ทีมหญิงนั้น จะประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 Divisions และแต่ละ Divisions ก็มีทีมมากมายมหาศาลเหลือเกิน หลักๆที่มีคนสนใจก็น่าจะเป็น Division 1 เท่านั้น เพราะการแข่งขันค่อนข้างเข้มข้น นักกีฬาเด็ดๆก็รวมตัวกันอยู่ในนี้ และ มหาวิทยาลัยชื่อดังทั้งหลายก็มักจะอยู่กันใน Division นี้ครับ
2. กฎกติกาการแข่งขันคร่าวๆ
กฎกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล NCAA นั้นก็คล้ายๆกับกฎวอลเลย์บอลที่เราเห็นทั่วไปนั่นล่ะครับ อาจจะมีข้อแตกต่างเล็กน้อย ซึ่งบางข้อนั้นตอนผมดูครั้งแรกก็ยอมรับว่างงเหมือนกัน อาทิเช่น
- อนุญาตให้ Libero เสิร์ฟได้ (และเท่าที่เห็นทีมส่วนมากก็จะให้ลิบเสิร์ฟนะครับ ดังนั้น MB หลายๆคนก็แทบจะเสิร์ฟไม่เป็นกันเลยทีเดียว)
- ไม่มี Technical timeout ที่แต้ม 8 หรือ 16 โดยที่แต่ละทีมเรียกเวลานอกได้เซตละ 2 ครั้งเหมือนทั่วไป
- ข้อยกเว้นคืออาจจะมี Media Timeout ได้ ซึ่ง Host school หรือมหาวิทยาลัยเจ้าบ้านสามารถตัดสินใจได้ว่าจะมีหรือไม่ ถ้ามีก็จะมีตอนที่ทีมใดทีมหนึ่งได้แต้มที่ 15 โดยจุดประสงค์ของ Media Timeout ก็คือให้การถ่ายทอดสดนั้นสามารถตัดเข้าโฆษณาได้ครับ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ทั้งสองทีมผลัดกันได้แต้มไปๆมาๆและแต้มไม่ห่าง ทำให้ไม่มีทีมใดขอเวลานอก ถ้าไม่มีการบังคับเวลานอกก็อาจจะไม่มีเวลาในการตัดเข้าโฆษณาได้ครับ
3. นักกีฬา
ต่อมามาดูวิธีคัดเลือกนักกีฬาหรือ Recruiting กันบ้างครับ นักกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมดจะได้รับทุนการศึกษา แต่นั่นก็หมายความว่าต้องลงแข่งกีฬาให้กับมหาวิทยาลัยด้วยนั่นเอง ซึ่งการคัดเลือกนักกีฬามาเข้าทีมนั้นก็จะเลือกจากนักกีฬาระดับมัธยม บางคนอยู่ Grade 9 (ม.3) ก็มีบางมหาวิทยาลัยสนใจตัวแล้ว ก็อาจจะมีการเจรจาเซ็นสัญญากันไว้เลย นอกจากนี้เค้าก็มักจะมี Tournament ของเด็กในระดับ High School หลายๆอัน เพื่อให้โค้ชในระดับมหาวิทยาลัยไปดูแววนักกีฬาเพื่อติดต่อไปเล่นให้กับมหาวิทยาลัยครับ นิตยสารเกี่ยวกับวอลเลย์บอลทั้งหลายก็จะจัดอันดับกันด้วยว่าปีนี้เด็ก High School คนไหนเป็นอันดับ 1 2 3 4 ไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการแสดงความฮอทในการแย่งตัวของแต่ละมหาวิทยาลัย
เมื่อนักกีฬาเข้ามาเล่นให้กับมหาวิทยาลัยแล้ว จะสามารถลงเล่นได้ทั้งหมด 4 Seasons (4 ปีนั่นเอง) ซึ่งก็เท่ากับเวลาเรียนในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีบางปีที่นักกีฬาบางคนบาดเจ็บ โค้ชก็อาจจะให้พักแข่งในปีนั้นหรือเรียกว่า Red Shirt ซึ่งหมายความว่าปีนั้นไม่นับเป็น 1 ใน 4 ปีที่สามารถลงแข่ง แต่นั่นก็หมายความว่าถ้านักกีฬาจะเล่นให้ครบ 4 ปี ก็ต้องขยายเวลาเรียนให้มากกว่า 4 ปีครับ นอกจากนี้ นักกีฬาก็สามารถโอนย้ายมหาวิทยาลัยได้เมื่อจบแต่ละ Season แต่ก็จะนับจำนวน Season ต่อจากมหาวิทยาลัยก่อน พูดง่ายๆก็คือแต่ละคนสามารถลงแข่งในระดับมหาวิทยาลัยได้ 4 Seasons เท่านั้น
4. การแข่งขัน
จากที่ได้เกริ่นไปในตอนต้นว่าทีมหญิงมีการแข่ง 3 Divisions แต่จุดสนใจหลักๆก็อยู่เพียงแค่ Division 1 เท่านั้น โดยระบบการแข่งขันนั้น ทีมทั้งหมดจะแข่งกันกับทีมอื่นๆใน Conference ของมหาวิทยาลัยตนเอง ซึ่งตอนนี้ก็อาจจะงงว่า Conference คืออะไร Conference นั้นคือกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่ได้มีการแบ่งกันเพื่อใช้แข่งขันกีฬา ยกตัวอย่างเช่น Ivy League ก็จะเป็น Conference หนึ่ง Conference อื่นๆที่ดังๆในวอลเลย์บอลก็คือ Big-10, PAC-12, SEC, Big-12 ซึ่งจะขอพูดถึงในส่วนถัดไป
โดยการแข่งขันนั้น แต่ละทีมใน Conference ก็จะแข่งขันแบบพบกันหมดใน Conference ของตัวเอง โดยจะเจอกันทีมละ 2 ครั้ง ก็คือเป็นทีมเหย้า 1 ครั้งและทีมเยือน 1 ครั้ง นอกจากนี้ ทีมส่วนใหญ่ก็มักจะขอตกลงแข่งกับทีมอื่นๆนอก Conference ตัวเองอีกด้วย ส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ และอีกส่วนหนึ่งก็เพื่อหวังว่า Ranking จะดีขึ้น
เมื่อการแข่งขันในแต่ละสัปดาห์สิ้นสุดลง โค้ชของแต่ละทีมจะจัดอันดับทีมทั้งหมดว่าทีมใดควรจะอยู่ในลำดับ 1 ถึง 25 และเมื่อนำคะแนนทั้งหมดมาประมวลผล ก็จะได้ทีมที่มีอันดับ 1-25 โดยจะมีการอัพเดทคะแนนใหม่ทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ก็จะมี Ranking อีกอันหนึ่ง ซึ่งจัดอันดับโดยใช้คะแนนเป็นหลัก (รายละเอียดตรงนี้ยอมรับว่าไม่ทราบครับ แต่เหมือนกับว่าจะมีระบบคะแนนชัดเจน ทำให้ไม่มีการลำเอียงจากโค้ชของแต่ละทีม) และก็จะประมวลผลจัดอันดับทีมลำดับที่ 1-25 ของแต่ละสัปดาห์ออกมาให้ทราบกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลอันดับของ 2 ระบบนี้จะคล้ายๆกัน แต่จะไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ
พอถึงตรงนี้อาจจะทำให้พอรู้กันแล้วใช่มั้ยครับว่าทำไมหลายๆทีมจึงอยากไปแข่งกับทีมใน Conference อื่นๆด้วย สมมุติว่าทีม A ได้อยู่ใน Conference ที่ทีมอื่นๆถือว่าไม่แข็งแกร่งมากนัก ทีม A นั้นก็อาจจะสามารถเอาชนะทีมอื่นๆได้หมด แต่โค้ชส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่เหลียวแล เพราะทุกคนทราบว่าทีมอื่นๆใน Conference ของทีม A นั้นไม่แข็งแกร่ง ดังนั้นการออกมาเก็บเลเวลกับทีมที่เก่งๆอื่นๆนอก Conference และถ้าชนะได้ก็จะทำให้อันดับดีขึ้นมาครับ
เมื่อการแข่งขันในระดับ Conference สิ้นสุดลง จะมีการประกาศอันดับ Ranking เป็นครั้งสุดท้าย และก็จะมีทีมทั้งหมด 64 ทีมที่ได้ไปต่อในการแข่งขันรอบ Knock out ครับ (ไม่จำเป็นว่าจะเป็นทีมลำดับที่ 1-64 นะครับ กฎตรงนี้ค่อนข้างยิบย่อยผมขอข้ามไป) ซึ่งก็คือการแข่งแบบแพ้คัดออกนั่นเอง นี่แหละครับคือส่วนที่สนุกของการแข่งขัน บางทีมอาจจะไม่แพ้ใครเลยในการแข่งขันระดับ Conference แต่พอเข้ามาแข่งในรอบ 64 ทีมสุดท้าย ปรากฎว่าตกรอบแรกรอบสองก็มีครับ ส่วนบางทีมตอนแข่ง Conference ลุ่มๆดอนๆ แต่พอแข่งรอบ 64 ทีมสุดท้ายกลับเข้าได้ถึงรอบลึกๆ
โดยในการแข่งขันรอบ 64 ทีมสุดท้ายนั้น จะมีทีมที่ได้เป็นทีมวางทั้งหมด 16 ทีม และ 16 ทีมนี้ก็จะได้สิทธิ์ในการจัดแข่งขันรอบแรกกับรอบสอง ซึ่งจะแข่งกันในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมครับ
เมื่อผ่านสัปดาห์แรกไปก็จะมีทีมที่ได้ไปต่อในบ้านเดอะสตาร์ทั้งหมด 16 ทีม และก็จะแข่งใน 4 สนาม เรียกว่าเป็นรอบ Regional ครับ
ส่วนสัปดาห์สุดท้ายก็จะเป็นสัปดาห์ของ Championship ซึ่งก็จะมีเพียง 4 ทีมเท่านั้นที่ได้เข้ามาแข่งในสนามสุดท้าย และเราก็จะได้แชมป์ NCAA ของปีนั้นๆมาครับ
5. Conference เด่นๆ
จริงๆแล้วใน Division 1 ก็มี Conference ที่แข่งกันเยอะมาก แต่ถ้าจะเอาเด่นๆในเรื่องวอลเลย์บอลจริงๆก็มีไม่กี่อันหรอกครับ เด่นสุดๆจริงๆมี 2 อันคือ Big-10 และ PAC-12 ครับ
Big-10 นั้นมีทั้งหมด 12 ทีมครับ ทีมที่ดังสุดๆใน Volleyball ก็ไม่พ้น Penn State ที่กวาดแชมป์มาหลายสมัยมาก นักกีฬาเด่นๆ (ที่ผมพอจะรู้จัก) ที่มาจาก Penn State ก็คือ Megan Hodge และ Alisha Glass ครับ โดยปีล่าสุด (2013) Penn State ก็คว้าแชมป์ไปอีกเช่นกัน ทีมอื่นๆที่ดังๆใน Big-10 ก็คือ Illinois, Minnesota (โค้ชคนปัจจุบันคือ Hugh McCutcheon ซึ่งก็คือคนคุมทีมชาติอเมริกาในชุดที่ได้เหรียญเงินที่ลอนดอนเกมครับ), Wisconsin (รองแชมป์ปี 2013 ซึ่งถือว่าเป็นม้ามืดอย่างแรง เข้ารอบทุกรอบมาแบบงงๆไม่แพ้
ลูกตบน้องเดียร์มิราเคิล), และ Nebraska ซึ่งมี Kelsey Robinson ที่ติดทีมชุด Montreux ด้วย
PAC-12 ก็มีทั้งหมด 12 ทีมเช่นเดียวกันครับ ทีมเด่นๆเลยก็คือ Stanford ที่ Logan Tom เคยเล่นให้มาก่อน, Washington (เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายปี 2013 โดยแพ้ให้กับ Penn State), USC ที่มี Ebony Nwanebu ดาวรุ่งที่ติดทีม Montruex ไปด้วย นอกจากนี้ก็คือพวกมหาวิทยาลัยใน Cal System ทั้งหลาย เช่น UC Berkeley, UCLA (แชมป์ปี 2011) ครับ
SEC มีทั้งหมด 14 ทีมครับ เด่นๆก็คือ Florida กับ Missouri ครับ Conference นี้ปีที่แล้วโดนเสียงวิจารณ์พอประมาณว่าเป็น Conference ที่คนให้ค่ามากเกินไป (overrated) เพราะมีทีมที่ติดเข้ามาในรอบ 64 ทีมสุดท้ายเยอะทีเดียว รวมไปถึง Florida ที่เข้ามาเป็นทีมวางอันดับ 5 และ Missouri ที่เข้ามาเป็นทีมวางอันดับ 4 แต่ทั้ง 2 ทีมก็ตกรอบไปตั้งแต่รอบ 2 (รอบ 32 ทีมสุดท้าย) ในบ้านตัวเองเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงการแข่งขันของ Conference ทีม Missouri ไม่แพ้ทีมใดเลยในการแข่งขันทั้งหมด 34 นัด ทำให้ขึ้นทำเนียบเต็งแชมป์ แต่สุดท้ายก็มาพลาดตกรอบ 2 ไปแบบง่ายๆ
Big-12 มีทั้งหมด 10 ทีม แต่ส่งแข่งวอลเลย์บอลเพียง 9 ทีม ทีมเด่นๆมีทีมเดียวจริงๆครับคือ Texas แต่จะไม่ให้พูดถึงก็ไม่ได้เพราะถึงแม้จะเด่นทีมเดียวแต่ผลงานในรอบหลายปีที่ผ่านมาก็ถือว่าดีมาก ปีที่แล้วถูกจัดให้เป็นมือวางอันดับ 1 และเข้าได้ถึงรอบ 4 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ให้กับ Wisconsin แบบพลิกล๊อก นอกจากนี้ Texas ก็เคยได้แชมป์มาแล้วในปี 2012 ครับ โดยชนะ Oregon ไปแบบหมดทางสู้ 3 โบ๋ นักกีฬาเด่นๆของ Texas ก็ Destinee Hooker, Laren Paolini (ติดทีม Montreux), Rachel Adams (ติดทีม Montreux), Juliann Faucette (ติดทีม Montreux)
จริงๆข้อมูลมีอีกเยอะมากครับแต่รู้สึกว่าจัดระบบความคิดตัวเองไม่ค่อยถูกเลยขอพิมพ์มาเท่านี้ก่อน ถ้ามีข้อมูลอันใดผิดพลาดหรือตกหล่นก็ขออภัยด้วยนะครับ ส่วนใครที่สงสัยอะไรถ้าพอตอบได้ก็ยินดีตอบนะครับ ตอนนี้ทีมทั้งหลายก็เตรียมพร้อมกันอยู่เพื่อให้พร้อมกับการเปิดฤดูกาลใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ถ้ามีเวลาและมีคนสนใจผมจะพยายามมาอัพเดทผลการแข่งขันใน Season ปี 2014 ให้ทราบกันเป็นระยะๆครับ
อัพเดทเพิ่มเติมสายการแข่งขันของปีที่แล้วครับ เป็น 2 รูปต่อกันนะครับ ดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.ncaa.com/interactive-bracket/volleyball-women/d1
จุดเริ่มต้นของนักกีฬาวอลเลย์บอลอเมริกา...NCAA Volleyball
ช่วงนี้เห็นกระแสวอลเลย์บอล Montreux กำลังดัง และเห็นหลายๆคนสนใจในทีมอเมริกา ทีมที่ได้ชื่อว่ามีผู้เล่นในสต๊อคเยอะเหลือเกิน โค้ชหลับตาหยิบใครมาเล่นก็ได้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่มีลีกระดับมหาวิทยาลัยหรือ NCAA Volleyball ที่แข็งแกร่งมากนั่นเอง
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับ NCAA Volleyball หรือ College Volleyball ครับ ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าข้อมูลที่จะเล่าเป็นความเข้าใจแบบบ้านๆของผม อาจจะมีผิดพลาดได้ครับ เพราะส่วนตัวผมก็เพิ่งจะได้เริ่มติดตาม NCAA Volleyball แบบจริงๆจังๆมาประมาณ 2 ปีนั่นเอง
1. NCAA Volleyball คืออะไร
NCAA หรือ National Collegiate Athletic Association คือหน่วยงานที่จัดการเกี่ยวกับนักกีฬา รวมไปทั้งดูแลจัดการแข่งขันกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกา ซึ่งกีฬาที่จัดแข่งขันก็มีเยอะมาก และก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ส่วนหนึ่งเพราะคนที่อเมริกาจะค่อนข้างรู้สึกผูกพันธ์กับมหาวิทยาลัยที่ตัวเองจบ ถึงแม้จะจบไปหลายปีก็ยังตามเชียร์กีฬาอยู่เสมอ รวมทั้งหลายๆคนที่อาจจะไม่ได้จบมหาวิทยาลัยนั้นๆ แต่อาศัยอยู่ในเมืองเดียวกัน ก็มักจะร่วมเชียร์ไปด้วยกัน โดยกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก American Football หรือที่คนที่นี่จะเรียกว่า Football (ส่วนฟุตบอลที่คนไทยและที่อื่นๆทั่วโลกเรียกนั้น คนอเมริกาเรียก Soccer) และอันดับต่อๆมาก็น่าจะเป็น Basketball กับ Baseball ... เอาล่ะเกริ่นมาซะนาน ขอเข้าเรื่องวอลเลย์บอลซักที โดยกีฬาวอลเลย์บอลนั้นก็ถือว่าได้รับความนิยมระดับหนึ่ง ไม่ได้ถือว่านิยมมากมาย การถ่ายทอดทางทีวีก็ยังมีไม่มาก แต่ช่วงที่ผ่านมาก็เห็นเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดย NCAA นั้นก็ได้จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับมหาวิทยาลัยทั้งประเภทชายและหญิง โดยทีมหญิงจะแข่งกันในเทอม Fall (ประมาณสิงหาคมถึงธันวาคม) และทีมชายจะแข่งในเทอม Spring (ประมาณมกราคมถึงพฤษภาคม) สำหรับจำนวนทีมที่แข่งนั้น ประเภทหญิงมีจำนวนมากกว่าประเภทชายมากพอสมควร ผมจึงสรุปเอาเองคร่าวๆว่าทีมหญิงน่าจะได้รับความนิยมมากกว่า (แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังถือว่าได้รับความนิยมไม่มากนักเมื่อเทียบกับกีฬาอื่นๆ) ส่วนตัวผมไม่ได้ติดตามทีมชายมากนัก ดังนั้นจะขอโฟกัสไปที่ทีมหญิงมากกว่าครับ
NCAA Volleyball ทีมหญิงนั้น จะประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 Divisions และแต่ละ Divisions ก็มีทีมมากมายมหาศาลเหลือเกิน หลักๆที่มีคนสนใจก็น่าจะเป็น Division 1 เท่านั้น เพราะการแข่งขันค่อนข้างเข้มข้น นักกีฬาเด็ดๆก็รวมตัวกันอยู่ในนี้ และ มหาวิทยาลัยชื่อดังทั้งหลายก็มักจะอยู่กันใน Division นี้ครับ
2. กฎกติกาการแข่งขันคร่าวๆ
กฎกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล NCAA นั้นก็คล้ายๆกับกฎวอลเลย์บอลที่เราเห็นทั่วไปนั่นล่ะครับ อาจจะมีข้อแตกต่างเล็กน้อย ซึ่งบางข้อนั้นตอนผมดูครั้งแรกก็ยอมรับว่างงเหมือนกัน อาทิเช่น
- อนุญาตให้ Libero เสิร์ฟได้ (และเท่าที่เห็นทีมส่วนมากก็จะให้ลิบเสิร์ฟนะครับ ดังนั้น MB หลายๆคนก็แทบจะเสิร์ฟไม่เป็นกันเลยทีเดียว)
- ไม่มี Technical timeout ที่แต้ม 8 หรือ 16 โดยที่แต่ละทีมเรียกเวลานอกได้เซตละ 2 ครั้งเหมือนทั่วไป
- ข้อยกเว้นคืออาจจะมี Media Timeout ได้ ซึ่ง Host school หรือมหาวิทยาลัยเจ้าบ้านสามารถตัดสินใจได้ว่าจะมีหรือไม่ ถ้ามีก็จะมีตอนที่ทีมใดทีมหนึ่งได้แต้มที่ 15 โดยจุดประสงค์ของ Media Timeout ก็คือให้การถ่ายทอดสดนั้นสามารถตัดเข้าโฆษณาได้ครับ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ทั้งสองทีมผลัดกันได้แต้มไปๆมาๆและแต้มไม่ห่าง ทำให้ไม่มีทีมใดขอเวลานอก ถ้าไม่มีการบังคับเวลานอกก็อาจจะไม่มีเวลาในการตัดเข้าโฆษณาได้ครับ
3. นักกีฬา
ต่อมามาดูวิธีคัดเลือกนักกีฬาหรือ Recruiting กันบ้างครับ นักกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมดจะได้รับทุนการศึกษา แต่นั่นก็หมายความว่าต้องลงแข่งกีฬาให้กับมหาวิทยาลัยด้วยนั่นเอง ซึ่งการคัดเลือกนักกีฬามาเข้าทีมนั้นก็จะเลือกจากนักกีฬาระดับมัธยม บางคนอยู่ Grade 9 (ม.3) ก็มีบางมหาวิทยาลัยสนใจตัวแล้ว ก็อาจจะมีการเจรจาเซ็นสัญญากันไว้เลย นอกจากนี้เค้าก็มักจะมี Tournament ของเด็กในระดับ High School หลายๆอัน เพื่อให้โค้ชในระดับมหาวิทยาลัยไปดูแววนักกีฬาเพื่อติดต่อไปเล่นให้กับมหาวิทยาลัยครับ นิตยสารเกี่ยวกับวอลเลย์บอลทั้งหลายก็จะจัดอันดับกันด้วยว่าปีนี้เด็ก High School คนไหนเป็นอันดับ 1 2 3 4 ไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการแสดงความฮอทในการแย่งตัวของแต่ละมหาวิทยาลัย
เมื่อนักกีฬาเข้ามาเล่นให้กับมหาวิทยาลัยแล้ว จะสามารถลงเล่นได้ทั้งหมด 4 Seasons (4 ปีนั่นเอง) ซึ่งก็เท่ากับเวลาเรียนในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีบางปีที่นักกีฬาบางคนบาดเจ็บ โค้ชก็อาจจะให้พักแข่งในปีนั้นหรือเรียกว่า Red Shirt ซึ่งหมายความว่าปีนั้นไม่นับเป็น 1 ใน 4 ปีที่สามารถลงแข่ง แต่นั่นก็หมายความว่าถ้านักกีฬาจะเล่นให้ครบ 4 ปี ก็ต้องขยายเวลาเรียนให้มากกว่า 4 ปีครับ นอกจากนี้ นักกีฬาก็สามารถโอนย้ายมหาวิทยาลัยได้เมื่อจบแต่ละ Season แต่ก็จะนับจำนวน Season ต่อจากมหาวิทยาลัยก่อน พูดง่ายๆก็คือแต่ละคนสามารถลงแข่งในระดับมหาวิทยาลัยได้ 4 Seasons เท่านั้น
4. การแข่งขัน
จากที่ได้เกริ่นไปในตอนต้นว่าทีมหญิงมีการแข่ง 3 Divisions แต่จุดสนใจหลักๆก็อยู่เพียงแค่ Division 1 เท่านั้น โดยระบบการแข่งขันนั้น ทีมทั้งหมดจะแข่งกันกับทีมอื่นๆใน Conference ของมหาวิทยาลัยตนเอง ซึ่งตอนนี้ก็อาจจะงงว่า Conference คืออะไร Conference นั้นคือกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่ได้มีการแบ่งกันเพื่อใช้แข่งขันกีฬา ยกตัวอย่างเช่น Ivy League ก็จะเป็น Conference หนึ่ง Conference อื่นๆที่ดังๆในวอลเลย์บอลก็คือ Big-10, PAC-12, SEC, Big-12 ซึ่งจะขอพูดถึงในส่วนถัดไป
โดยการแข่งขันนั้น แต่ละทีมใน Conference ก็จะแข่งขันแบบพบกันหมดใน Conference ของตัวเอง โดยจะเจอกันทีมละ 2 ครั้ง ก็คือเป็นทีมเหย้า 1 ครั้งและทีมเยือน 1 ครั้ง นอกจากนี้ ทีมส่วนใหญ่ก็มักจะขอตกลงแข่งกับทีมอื่นๆนอก Conference ตัวเองอีกด้วย ส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ และอีกส่วนหนึ่งก็เพื่อหวังว่า Ranking จะดีขึ้น
เมื่อการแข่งขันในแต่ละสัปดาห์สิ้นสุดลง โค้ชของแต่ละทีมจะจัดอันดับทีมทั้งหมดว่าทีมใดควรจะอยู่ในลำดับ 1 ถึง 25 และเมื่อนำคะแนนทั้งหมดมาประมวลผล ก็จะได้ทีมที่มีอันดับ 1-25 โดยจะมีการอัพเดทคะแนนใหม่ทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ก็จะมี Ranking อีกอันหนึ่ง ซึ่งจัดอันดับโดยใช้คะแนนเป็นหลัก (รายละเอียดตรงนี้ยอมรับว่าไม่ทราบครับ แต่เหมือนกับว่าจะมีระบบคะแนนชัดเจน ทำให้ไม่มีการลำเอียงจากโค้ชของแต่ละทีม) และก็จะประมวลผลจัดอันดับทีมลำดับที่ 1-25 ของแต่ละสัปดาห์ออกมาให้ทราบกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลอันดับของ 2 ระบบนี้จะคล้ายๆกัน แต่จะไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ
พอถึงตรงนี้อาจจะทำให้พอรู้กันแล้วใช่มั้ยครับว่าทำไมหลายๆทีมจึงอยากไปแข่งกับทีมใน Conference อื่นๆด้วย สมมุติว่าทีม A ได้อยู่ใน Conference ที่ทีมอื่นๆถือว่าไม่แข็งแกร่งมากนัก ทีม A นั้นก็อาจจะสามารถเอาชนะทีมอื่นๆได้หมด แต่โค้ชส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่เหลียวแล เพราะทุกคนทราบว่าทีมอื่นๆใน Conference ของทีม A นั้นไม่แข็งแกร่ง ดังนั้นการออกมาเก็บเลเวลกับทีมที่เก่งๆอื่นๆนอก Conference และถ้าชนะได้ก็จะทำให้อันดับดีขึ้นมาครับ
เมื่อการแข่งขันในระดับ Conference สิ้นสุดลง จะมีการประกาศอันดับ Ranking เป็นครั้งสุดท้าย และก็จะมีทีมทั้งหมด 64 ทีมที่ได้ไปต่อในการแข่งขันรอบ Knock out ครับ (ไม่จำเป็นว่าจะเป็นทีมลำดับที่ 1-64 นะครับ กฎตรงนี้ค่อนข้างยิบย่อยผมขอข้ามไป) ซึ่งก็คือการแข่งแบบแพ้คัดออกนั่นเอง นี่แหละครับคือส่วนที่สนุกของการแข่งขัน บางทีมอาจจะไม่แพ้ใครเลยในการแข่งขันระดับ Conference แต่พอเข้ามาแข่งในรอบ 64 ทีมสุดท้าย ปรากฎว่าตกรอบแรกรอบสองก็มีครับ ส่วนบางทีมตอนแข่ง Conference ลุ่มๆดอนๆ แต่พอแข่งรอบ 64 ทีมสุดท้ายกลับเข้าได้ถึงรอบลึกๆ
โดยในการแข่งขันรอบ 64 ทีมสุดท้ายนั้น จะมีทีมที่ได้เป็นทีมวางทั้งหมด 16 ทีม และ 16 ทีมนี้ก็จะได้สิทธิ์ในการจัดแข่งขันรอบแรกกับรอบสอง ซึ่งจะแข่งกันในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมครับ
เมื่อผ่านสัปดาห์แรกไปก็จะมีทีมที่ได้ไปต่อในบ้านเดอะสตาร์ทั้งหมด 16 ทีม และก็จะแข่งใน 4 สนาม เรียกว่าเป็นรอบ Regional ครับ
ส่วนสัปดาห์สุดท้ายก็จะเป็นสัปดาห์ของ Championship ซึ่งก็จะมีเพียง 4 ทีมเท่านั้นที่ได้เข้ามาแข่งในสนามสุดท้าย และเราก็จะได้แชมป์ NCAA ของปีนั้นๆมาครับ
5. Conference เด่นๆ
จริงๆแล้วใน Division 1 ก็มี Conference ที่แข่งกันเยอะมาก แต่ถ้าจะเอาเด่นๆในเรื่องวอลเลย์บอลจริงๆก็มีไม่กี่อันหรอกครับ เด่นสุดๆจริงๆมี 2 อันคือ Big-10 และ PAC-12 ครับ
Big-10 นั้นมีทั้งหมด 12 ทีมครับ ทีมที่ดังสุดๆใน Volleyball ก็ไม่พ้น Penn State ที่กวาดแชมป์มาหลายสมัยมาก นักกีฬาเด่นๆ (ที่ผมพอจะรู้จัก) ที่มาจาก Penn State ก็คือ Megan Hodge และ Alisha Glass ครับ โดยปีล่าสุด (2013) Penn State ก็คว้าแชมป์ไปอีกเช่นกัน ทีมอื่นๆที่ดังๆใน Big-10 ก็คือ Illinois, Minnesota (โค้ชคนปัจจุบันคือ Hugh McCutcheon ซึ่งก็คือคนคุมทีมชาติอเมริกาในชุดที่ได้เหรียญเงินที่ลอนดอนเกมครับ), Wisconsin (รองแชมป์ปี 2013 ซึ่งถือว่าเป็นม้ามืดอย่างแรง เข้ารอบทุกรอบมาแบบงงๆไม่แพ้ลูกตบน้องเดียร์มิราเคิล), และ Nebraska ซึ่งมี Kelsey Robinson ที่ติดทีมชุด Montreux ด้วย
PAC-12 ก็มีทั้งหมด 12 ทีมเช่นเดียวกันครับ ทีมเด่นๆเลยก็คือ Stanford ที่ Logan Tom เคยเล่นให้มาก่อน, Washington (เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายปี 2013 โดยแพ้ให้กับ Penn State), USC ที่มี Ebony Nwanebu ดาวรุ่งที่ติดทีม Montruex ไปด้วย นอกจากนี้ก็คือพวกมหาวิทยาลัยใน Cal System ทั้งหลาย เช่น UC Berkeley, UCLA (แชมป์ปี 2011) ครับ
SEC มีทั้งหมด 14 ทีมครับ เด่นๆก็คือ Florida กับ Missouri ครับ Conference นี้ปีที่แล้วโดนเสียงวิจารณ์พอประมาณว่าเป็น Conference ที่คนให้ค่ามากเกินไป (overrated) เพราะมีทีมที่ติดเข้ามาในรอบ 64 ทีมสุดท้ายเยอะทีเดียว รวมไปถึง Florida ที่เข้ามาเป็นทีมวางอันดับ 5 และ Missouri ที่เข้ามาเป็นทีมวางอันดับ 4 แต่ทั้ง 2 ทีมก็ตกรอบไปตั้งแต่รอบ 2 (รอบ 32 ทีมสุดท้าย) ในบ้านตัวเองเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงการแข่งขันของ Conference ทีม Missouri ไม่แพ้ทีมใดเลยในการแข่งขันทั้งหมด 34 นัด ทำให้ขึ้นทำเนียบเต็งแชมป์ แต่สุดท้ายก็มาพลาดตกรอบ 2 ไปแบบง่ายๆ
Big-12 มีทั้งหมด 10 ทีม แต่ส่งแข่งวอลเลย์บอลเพียง 9 ทีม ทีมเด่นๆมีทีมเดียวจริงๆครับคือ Texas แต่จะไม่ให้พูดถึงก็ไม่ได้เพราะถึงแม้จะเด่นทีมเดียวแต่ผลงานในรอบหลายปีที่ผ่านมาก็ถือว่าดีมาก ปีที่แล้วถูกจัดให้เป็นมือวางอันดับ 1 และเข้าได้ถึงรอบ 4 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ให้กับ Wisconsin แบบพลิกล๊อก นอกจากนี้ Texas ก็เคยได้แชมป์มาแล้วในปี 2012 ครับ โดยชนะ Oregon ไปแบบหมดทางสู้ 3 โบ๋ นักกีฬาเด่นๆของ Texas ก็ Destinee Hooker, Laren Paolini (ติดทีม Montreux), Rachel Adams (ติดทีม Montreux), Juliann Faucette (ติดทีม Montreux)
จริงๆข้อมูลมีอีกเยอะมากครับแต่รู้สึกว่าจัดระบบความคิดตัวเองไม่ค่อยถูกเลยขอพิมพ์มาเท่านี้ก่อน ถ้ามีข้อมูลอันใดผิดพลาดหรือตกหล่นก็ขออภัยด้วยนะครับ ส่วนใครที่สงสัยอะไรถ้าพอตอบได้ก็ยินดีตอบนะครับ ตอนนี้ทีมทั้งหลายก็เตรียมพร้อมกันอยู่เพื่อให้พร้อมกับการเปิดฤดูกาลใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ถ้ามีเวลาและมีคนสนใจผมจะพยายามมาอัพเดทผลการแข่งขันใน Season ปี 2014 ให้ทราบกันเป็นระยะๆครับ
อัพเดทเพิ่มเติมสายการแข่งขันของปีที่แล้วครับ เป็น 2 รูปต่อกันนะครับ ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ncaa.com/interactive-bracket/volleyball-women/d1