ไปอ่านดูสมัยสุรยุทธืเคยมีร่างกฏหมายนี้เข้าสภา
มีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม หรือกฎหมาย 7ชั่วโคตร ผ่านเข้าสภา แต่ถูกสภาปัดตก
เนื้อหาถ้ามีผลบังคับใช้จะทำให้ข้าราชการหรือนักการเมือง ที่มีญาติพี่น้องที่เป็นนักธุรกิจที่ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐได้รับความเดือดร้อน
เพราะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายในทุกทาง ตัวอย่าง
มาตรา 3 ได้ให้ความหมายคำว่า "ญาติ" ไว้อย่างกว้างขวาง ประกอบด้วย
(1) บุพการีของตน
(2) ผู้สืบสันดานของตน
(3) คู่สมรสของบุตรของตน
(4) พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันของตนหรือของคู่สมรส
(5) ลุง ป้า น้า อาของตนหรือของคู่สมรส
(6) บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายของคู่สมรส
(7) บุตรของบุคคลตาม (4)
และ (8) บุตรของบุตรของพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันของตน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีความเกี่ยวพันโดยทางนิตินัยหรือพฤตินัย
"ญาติ" ทั้ง 8 ประเภทเหล่านี้อาจมีจำนวนมากมายถึง 84 คน
จนถูกเรียกว่าเป็น "กฎหมาย 7 ชั่วโคตร"
เพราะสามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงญาติใกล้ชิดและไม่ใกล้ชิด ย้อนหน้าย้อนหลังไปได้ถึง 7 ชั่วคน
และในมาตรา 5 ยังระบุว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำการใดอันมีลักษณะเข้ามามีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมไม่ได้ ดังนี้
(1) การกระทำที่เกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
(2) การใช้ข้อมูลภายในของรัฐที่ยังเป็นความลับอยู่ที่ตนได้รับหรือทราบจากการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติหน้าที่ หรือในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต
(3) การใช้ทรัพย์สินของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ ของตนเองหรือบุคคลอื่นซึ่งไม่มีสิทธิโดยทุจริต
(4) การริเริ่ม เสนอ จัดทำ หรืออนุมัติโครงการของรัฐที่มีเจตนาโดยทุจริตเพื่อจะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
(5) การใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งตนมีอยู่ไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยอิสระในการใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งอื่นโดยทุจริตไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
มาตรา 6 ในกรณีที่บุคคลใดได้รับประโยชน์จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคู่สมรส หรือญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 5
ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และรับโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคู่สมรสหรือญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแต่กรณี
เว้นแต่บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วยในการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคู่สมรสหรือญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว
ในมาตรา 8 ยังกล่าวถึงหลักเกณฑ์การรับของขวัญ ของที่ระลึก เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่มีผู้มอบให้ในโอกาสที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ แม้ว่าผู้มอบจะระบุให้เป็นการส่วนตัวก็ตาม
จะต้องตกเป็นของรัฐทั้งสิ้น
ทั้งนี้ยังใช้บังคับรวมไปถึงคู่สมรสและญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย
คิดเห็นกันว่าอย่างไรบ้างครับ
อยากให้รื้อฟื้น กฏหมายตรวจสอบ 7 ชั่วโคตร
มีร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม หรือกฎหมาย 7ชั่วโคตร ผ่านเข้าสภา แต่ถูกสภาปัดตก
เนื้อหาถ้ามีผลบังคับใช้จะทำให้ข้าราชการหรือนักการเมือง ที่มีญาติพี่น้องที่เป็นนักธุรกิจที่ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐได้รับความเดือดร้อน
เพราะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายในทุกทาง ตัวอย่าง
มาตรา 3 ได้ให้ความหมายคำว่า "ญาติ" ไว้อย่างกว้างขวาง ประกอบด้วย
(1) บุพการีของตน
(2) ผู้สืบสันดานของตน
(3) คู่สมรสของบุตรของตน
(4) พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันของตนหรือของคู่สมรส
(5) ลุง ป้า น้า อาของตนหรือของคู่สมรส
(6) บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายของคู่สมรส
(7) บุตรของบุคคลตาม (4)
และ (8) บุตรของบุตรของพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันของตน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีความเกี่ยวพันโดยทางนิตินัยหรือพฤตินัย
"ญาติ" ทั้ง 8 ประเภทเหล่านี้อาจมีจำนวนมากมายถึง 84 คน
จนถูกเรียกว่าเป็น "กฎหมาย 7 ชั่วโคตร"
เพราะสามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงญาติใกล้ชิดและไม่ใกล้ชิด ย้อนหน้าย้อนหลังไปได้ถึง 7 ชั่วคน
และในมาตรา 5 ยังระบุว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำการใดอันมีลักษณะเข้ามามีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมไม่ได้ ดังนี้
(1) การกระทำที่เกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
(2) การใช้ข้อมูลภายในของรัฐที่ยังเป็นความลับอยู่ที่ตนได้รับหรือทราบจากการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติหน้าที่ หรือในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต
(3) การใช้ทรัพย์สินของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ ของตนเองหรือบุคคลอื่นซึ่งไม่มีสิทธิโดยทุจริต
(4) การริเริ่ม เสนอ จัดทำ หรืออนุมัติโครงการของรัฐที่มีเจตนาโดยทุจริตเพื่อจะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
(5) การใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งตนมีอยู่ไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยอิสระในการใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งอื่นโดยทุจริตไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
มาตรา 6 ในกรณีที่บุคคลใดได้รับประโยชน์จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคู่สมรส หรือญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 5
ให้ถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และรับโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคู่สมรสหรือญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแต่กรณี
เว้นแต่บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วยในการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคู่สมรสหรือญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว
ในมาตรา 8 ยังกล่าวถึงหลักเกณฑ์การรับของขวัญ ของที่ระลึก เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่มีผู้มอบให้ในโอกาสที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ แม้ว่าผู้มอบจะระบุให้เป็นการส่วนตัวก็ตาม
จะต้องตกเป็นของรัฐทั้งสิ้น
ทั้งนี้ยังใช้บังคับรวมไปถึงคู่สมรสและญาติของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย
คิดเห็นกันว่าอย่างไรบ้างครับ